ถามหาบรรษัทภิบาลกับคุณหญิงทิพาวดี กรณีความไม่โปร่งใสโครงการบิลลิ่งทศท.


ผู้จัดการรายวัน(23 พฤษภาคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

หากบอร์ดทศท. ดันทุรังอนุมัติโครงการบิลลิ่งให้ เทเลเมติคส์ชนะประมูลในวันนี้ คุณหญิงทิพาวดี ในฐานะประธาน บอร์ดจำเป็นต้องอธิบายเหตุผลชัดเจนถึงการถือหุ้นโยงใยระหว่าง บริษัทชนะประมูลกับบริษัทที่ปรึกษากับ 3 ประเด็นร้อนที่ส่อถึงความไม่โปร่งใสในการประมูล หาก ต้องการรักษาภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลขององค์กรแห่งนี้

โครงการระบบบิลลิ่งและคอลเซ็นเตอร์ของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กำลังเข้าถึงจุดคับขัน ในการประชุมบอร์ดทศท.ที่มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร(ไอซีที) เป็นประธานในวันนี้ (23พ.ค.) จะมีการพิจารณาทั้ง 2 โครงการ ซึ่งในส่วนของคอลเซ็น เตอร์ คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะ บริษัท โลคัส ที่ชนะประมูลผ่านการ คัดเลือกอย่างโปร่งใส พร้อมทั้งยังลดราคาให้ทศท.ถึง 34 ล้านบาท

แต่สำหรับโครงการบิลลิ่งที่บริษัท เทเลเมติคส์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อาจไม่สมควรเป็นผู้ชนะ การประกวดราคาครั้งนี้ หากไม่สามารถชี้แจงตอบปัญหาทุกอย่างได้ใสกระจ่าง เพราะวันนี้ไม่ใช่มีเพียงประเด็นที่บริษัท U.C.E.C. กับบริษัท เทเลเมติคส์ ที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่ามีการถือหุ้นโยงใยแสดงถึงความสัมพันธ์ในการเอื้อประ- โยชน์เท่านั้น แต่ยังมีมีอีก 2-3 ประ เด็นที่แสดงถึงความไม่โปร่งใสในการประกวดราคาที่กำลังรอการชี้แจง

นายชัยเชวง กฤตยาคม รองกรรมการผู้จัดการ ทศท.ที่รับผิดชอบการประกวดราคาโครงการนี้ กล่าวยอมรับว่าบริษัท U.C.E.C. โดยนายไพศาล สินธนา ผู้ถือหุ้น ได้รับมอบหมายจากศูนย์บริการทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ เข้ามาเกี่ยวข้องในลักษณะการประสานงานตั้งแต่ต้นในการออก สเปกจนถึงขั้นตอนการขายทีโออาร์

แหล่งข่าวที่เป็นเต็งหนึ่งในการประมูลครั้งนี้กล่าวว่า การยอม รับของทศท.ว่า U.C.E.C.เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานประมูลนี้ แสดงให้เห็นชัดจนถึง ประเด็น Conflict of Interest ที่เกี่ยวโยงกับบริษัทที่ชนะประมูล ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่โปร่งใสอย่างยิ่งคุณหญิงทิพาวดี ในฐานะประธานบอร์ดควรให้ความ เป็นธรรมกับผู้เข้าประมูลทุกราย เพื่อ แสดงให้เห็นภาพลักษณ์บรรษัท ภิบาลที่ดีของทศท.ไม่ใช่พยายามปิดปากคนที่เกี่ยวข้องไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบ

"นายชัยเชวงเป็นคนที่รู้ความ จริงทุกอย่างอยู่ที่จะพูดหรือไม่พูด โครงการนี้มีตัวละครอีกคนที่สำคัญมาก แต่ถูกเปลี่ยนตัวไปก่อนหน้านี้เพื่อเปิดทางให้นายชัยเชวงมาทำแทน เนื่องจากคนนั้นไม่ยอมทำเรื่องทุจริต ไม่สามารถคุมได้ คุณหญิงน่าจะรู้ดีว่าจะถามใครได้ว่าคนนั้นเป็นใคร เพราะเขาคนนั้นเป็นอีกคนที่รู้เบื้องหลังความไม่โปร่งใสทั้งหมด"

หากบอร์ดทศท.ของคุณหญิง ทิพาวดี จะดึงดันอนุมัติให้เทเลเม-ติคส์ชนะการประกวดราคาโครงการ บิลลิ่ง นอกจากต้องหาคำอธิบายชัดเจนถึงเรื่องการถือหุ้นโยงใยระหว่างเทเลเมติคส์กับ บริษัทU.C.E.C ที่นายชัยเชวงยอมรับว่ามีตัวตนและเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นจริงแล้ว ยังมีคำถามเด็ดอีก 2-3 คำถามที่คุณหญิงควรหาคำตอบที่แท้จริง ก่อนจะผลีผลามอนุมัติ

1.หัวใจสำคัญในการตัดสินโครงการนี้ประการหนึ่งอยู่ที่การทำ Benchmark ซึ่งในสัญญาจ้างที่ปรึกษา 18 ล้านบาทครอบคลุมการ ทำทีโออาร์ 6 ล้านบาทและการทำ Benchmark 12 ล้านบาท หมายถึงที่ปรึกษาเป็นผู้ทำ Benchmark และการที่ U.C.E.C. เข้ามาประสาน งานเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น แสดงว่าใครเป็นผู้ทำ Benchmark ใครเป็นคนเขียนวิธีในการทำ Benchmark

หากทศท.อ้างว่าทศท.เป็นคน ทำ Benchmark ก็อาจมีคำถามต่อ ว่าแล้วเงิน 12 ล้านบาทเอาไปไหน จ่ายเป็นค่าอะไร นอกจากนี้มีข้อพิสูจน์อีกประการว่าทศท.ไม่ได้เป็นคนทำโจทย์ Benchmark เพราะซีดีตอนแรกที่ส่งให้ผู้ประ กวดราคาทำข้อสอบกลับมา ปรากฏ ว่าทศท.ต้องเรียกซีดีพวกนั้นกลับมาแก้ไขถ้อยคำบางประการ เนื่อง จากมีการใช้คำที่หมิ่นเบื้องสูง ซึ่งหากทศท.เป็นคนทำโจทย์ Benchmark ดังกล่าว ไม่มีโอกาสที่ถ้อย คำพวกนั้นจะผิดพลาดเด็ดขาด

2.โจทย์ในการทำ Benchmark ปรากฏว่ามีคู่มือเฉลยที่รั่วออกมาอยู่ในมือบริษัทที่เข้าประมูล เพื่อเป็นแนวทางในการตอบโจทย์ Benchmark ซึ่งเอกสารทุกอย่างมีตัวตนอยู่ในมือบริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคาจริง สามารถตรวจสอบดูได้ ซึ่งหากการประกวดราคา ครั้งนี้เป็นไปอย่างโปร่งใส ไร้ข้อครหา ทำไมเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้

3.ความเป็นตัวตนของศูนย์บริการทางวิชาการแห่งจุฬาฯ ที่เป็น ที่ปรึกษาโครงการนี้ ทำไมต้องให้ บริษัท U.C.E.C มาเป็นคนประ สานงานหรือเข้ามาทำงานเกี่ยวข้องด้วย ทำไมศูนย์บริการทางวิชาการแห่งจุฬาฯ ไม่ทำหน้าที่ที่ปรึกษาให้สมบูรณ์แบบเอง รวมทั้งการจ่ายเงินของทศท.ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเด็นนี้ควรมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามีการยักย้ายถ่าย เทผ่าน U.C.E.C. หรืออย่างไร จึง จำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

นอกจาก 3 ประเด็นใหญ่ที่คุณหญิงจำเป็นต้องอธิบายให้ชัด เจนแล้ว ยังมีประเด็นย่อยรองลงมา อีก คือในการเปิดซองราคาของผู้ประกวดราคามี 1 บริษัทที่กรรม การไม่ยอมเปิดเผยว่าได้คะแนนด้านเทคนิค ด้าน DEMO และคะแนน Benchmark เท่าไหร่ คือ กลุ่มเอ็นอีซี ที่ใช้ซอฟต์แวร์คอนเวอร์จีส์ ในขณะที่บางบริษัทที่ยื่นซองราคาสลับกันระหว่างโครงการบิลลิ่งกับคอลเซ็นเตอร์ กรรมการกลับเปิดรายละเอียดด้านคะแนนทั้งหมด

ประเด็นที่น่าสนใจคือซอฟต์ แวร์คอนเวอร์จีส ถือว่าอยู่ในระดับ แถวหน้าของโลก ที่สำคัญบริษัท เอไอเอส ที่เป็นผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเลือกใช้ซอฟต์ แวร์ตัวนี้อยู่

"กรรมการของนายชัยเชวง อาจกลัวคุณบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารชินคอร์ป เสีย หน้าที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่สอบ ตก Benchmark ได้คะแนนด้าน เทคนิค ด้าน DEMO ต่ำจากการพิจารณาของทศท. เลยหวังดีไม่ยอมเปิดเผยคะแนนให้สาธารณ-ชนได้รับรู้ก็เป็นได้"

เขากล่าวว่าโครงการนี้ไม่เพียง เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติอย่างโซเฟรคอมที่หวังเห็นการประ มูลที่โปร่งใส แต่กำลังเป็นที่จับตามองของคณะกรรมาธิการบางชุดของวุฒิสภา เพราะข้อมูลที่เปิดเผย ออกมาส่อถึงความทุจริตไม่โปร่ง ใสอย่างชัดเจน รวมทั้งอาจต้อง เตรียมตอบคำถามหากมีการฟ้องร้องไปยังศาลปกครองด้วย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.