ปัญหาอีกด้าน การปรับโครงสร้างหนี้


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

สุเทพ กิตติกุล ซิงห์ กรรมการผู้จัดการของอัลฟากรุ๊ป (Alpha Group) กำลังปวดหัวอย่างหนักกับกิจการสิ่งทอของเขา ซึ่งหยุดชำระหนี้ถึงกว่า 3,000 ล้านบาท (80 ล้านดอลลาร์) ในช่วงวิกฤติการเงินเอเชียพุ่งขึ้นสูงสุด แต่ เขายังคงมีเงินทุนดำเนินการภายในที่ทำให้สามารถบริหารกิจการต่อไปได้ และตอนนี้บริษัทก็กำลังต้องการเงินทุนก้อนใหม่ เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพ เครื่องจักร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

ปัญหาของสุเทพอยู่ ที่ข้อตกลงการปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ ซึ่งเข้มงวดในเรื่องการใช้จ่ายของบริษัทโดยจำกัดวงอยู่ ที่ 2% ของสินทรัพย์ คง ที่ในแต่ละปี สุเทพต้องการให้ตัวเลขขยับขึ้นเป็น 10% เพื่อให้กิจการสามารถคงอยู่ในตลาดได้ "เรารู้ว่ามีความต้อง การสินค้าอยู่ แต่เราขาดเงินลงทุน จึงสนองความต้องการตลาดไม่ได้" สุเทพบอก "ตอนนี้เรามีเงินเหลือแค่ พอชำระหนี้เท่านั้น ไม่เพียงพอ ที่จะปรับปรุงกิจการให้ทันสมัย"

อัลฟามีกิจการตั้งอยู่ ที่สมุทรปราการ มีพนักงาน ราว 2,700 คน ผลิต เสื้อผ้าป้อนให้กับผู้ค้าปลีกในตลาดบนอย่างมาร์คส์ แอนด์ สเปนเซอร์ (Marks and Spen-cer) แห่งอังกฤษ และเจ. ครูว์ (J. Crew) แห่งสหรัฐฯ สุเทพบอกว่าหากต้องการให้แข่งขันในตลาดได้ อัลฟาต้องปรับปรุงเครื่องจักรทุกปี แต่หลังจากวิกฤติการณ์การเงินเป็นต้นมา อัลฟาก็ไม่เคยปรับปรุง เครื่องจักร และต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบริษัทต่างประเทศ ที่ยังคงลงทุนใน เรื่องคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สุเทพคิดว่าสถานการณ์กิจการกำลังลุกลาม และน่าเป็นห่วง "ในเมืองไทย มันไม่ได้เป็นแค่ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ไม่กี่รายเท่านั้น แต่กำลังเป็น ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคอย่างรวดเร็ว" สุเทพบอกหากการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้มีเงื่อนไข ที่หนักหนาขนาดนี้ "อีกหน่อยเศรษฐกิจของเราคงเหลือแต่ผีดิบ ซอมบี้เต็มไปหมด"

รากฐานของปัญหาอยู่ ที่ธนาคาร และบริษัทต่างก็กำลังระดมเงินทุน ซึ่งมี จำกัดในเวลา ที่เศรษฐกิจเดินหน้าไปสู่ภาวะพลิกฟื้น บริษัทไทยหลายแห่ง ต้องการเงินทุนก้อนใหม่ เพื่อผลักดันกิจการให้พ้นจากปัญหา ส่วนธนาคารก็ ต้องคงสัดส่วนเงินทุนให้ได้ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่ง กำหนดว่าธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินกู้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ดังนั้น ในการเจรจาประนอมหนี้ ธนาคารจึงพยายาม ที่จะเข้าไปถือหุ้นในกิจการของลูกหนี้ในส่วน ที่จะแปรเป็นเงินสดหมุนเวียนในอนาคตได้

"บริษัท ที่ฉลาดๆ เป็นจำนวนมากต้องการเงินทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อปรับปรุงกิจการตลอดเวลา" อัมมาร สยามวาลา นักเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าว และเสริมว่า "มีบ่อยครั้ง ที่ดูเหมือนว่าค่าใช้จ่าย ด้านทุนถูกรีดเค้นจากข้อสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เข้มงวด" อัมมารคาดว่าธนาคารพาณิชย์อนุญาตให้บริษัทต่างๆ มีเงิ นทุนเพียงพอเพียงแค่การชำระหนี้เท่านั้น ซึ่ง "จะเป็นการทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจมีความผันผวนตามการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย"

แม้ว่าด้านของธนาคารพาณิชย์จะมองประเด็นต่างไป แต่ทั้งสองฝ่ายต่าง ก็รู้ว่าต่ างต้องการกัน และกัน "ความสำเร็จของการปรับโครงสร้างระยะยาวจะขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูอย่างเข้มแข็ง" กฤษดา ล่ำซำ รองประธานอาวุโสธนาคารกสิกรไทยกล่าว เขาเสริมด้วยว่าธนาคารต่างๆ ควรจะวางข้อกำหนดในการปรับโครงสร้างหนี้โดยอิงกับ "ความสามารถ ที่แท้จริงของลูกค้าในการชำระหนี้"

แอนดรูว์ สโทตซ์ (Andrew Stotz) นัก วิเคราะห์ด้านธนาคารแห่งเอสจี ซีเคียวริตีส์ (SG Securities) ในกรุงเทพฯ คาดหมายว่าในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ของไทยต้องการเงินทุนราว 92,000-1,000,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการจัดการภาระหนี้เสีย และแม้ว่าจะเป็นตัวเลข ที่ลดลงมาจากราว 300,000 ล้านบาทในปีที่แล้ว แต่ก็ยังหนักหนาเอาการสำหรับบรรดาบริษัทลูกหนี้ "สิ่งสุดท้าย ที่ธนาคารต้องการทำก็คือ การให้เงินกับบริษัทลูกหนี้เพิ่ม" สโทตซ์ กล่าว "ทุกๆ อย่างถูกตัด รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านทุน แล้วสมควรทำอย่างนี้หรือเปล่า"

ผลที่ตามมาก็ย่ำแย่เช่นกัน เพรา ะราว 15%-20% ของเงินกู้ เพื่อการปรับโครงสร้างในไทยก็ส่งผลทางลบเช่นกัน จากรายงานของเมอร์ริล ลินช์ ที่วิเคราะห์ปริมาณเงินสดหมุนเวียนระบุว่า 60% ของบริษัทธุรกิจไทย ที่ประสบปัญหาเงินกู้ ที่ไม่ก่อรายได้ มีโอกาสจัดการสะสางปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะต้อง ใช้เงินกู้อีกถึงราว 1 ล้านล้านบาท เพื่อค้ำไม่ให้กิจการล้ม ซึ่งตัวเลขดังกล่าว นับว่ามหาศาลทีเดียว

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทธุรกิจไทยจำนวนมากใช้เงินทุนไป อย่างไม่ระมัดระวังในช่วง ที่เศรษฐกิจบูม และนี่เอง ที่ทำให้ธนาคาร และสถาบันการเงินต้องคิดหนักในการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยก็ยังผจญกับกำลังการผลิต ที่เกินความต้องการในอุตสาหกรรมหลายแขนง อาทิ รถยนต์ และปูนซีเมนต์ ในขณะที่ทุกๆ อุตสาหกรรมต่างก็ต้องการเงินทุนกันอย่างเร่งด่วน และการที่บรรดาธนาคารพาณิชย์มุ่งสนใจอยู่แต่ธุรกิจ ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างโทรคมนาคม และผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ที่มีอนาคตสดใส ก็ทำให้ธนาคารต้องเสี่ยงกับภาวะบีบรัดของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยด้วย

"การปรับโครงสร้างหนี้เหมือนการชกจมูกกิจการธุรกิจขนาดใหญ่หลายต่อหลายแห่งอย่างจัง" บุญชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการของโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมิว นิเคชัน หรือแทค ให้ความเห็นแทคต้องเผชิญกับภาวะบีบรัดทำนองเดียวกับกิจการสิ่งทออัลฟา กล่าวคือ การปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 338 ล้านดอลลาร์ ได้จำกัดการใช้จ่ายด้านทุนไว้เพียง 1 พันล้านบาทต่อ ปี เป็นเพดาน ที่แทคกำลังขอผ่อนปรนกับบรรดาเจ้าหนี้อยู่

นักวิเคราะห์รายหนึ่งแห่งเมอร์ริล ลินช กรุงเทพฯ กล่าวว่าแทคเผชิญกับการบีบรัดขีดความสามารถ และกำลังต้องการที่จะปรับปรุง บริการแก่ลูก ค้าจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล ในปัจจุบันลูกค้าราว 60% ยังใช้ บริการในระบบอนาล็อก ซึ่งไม่สอดคล้องกับบริการส่งข้อมูล แต่เจ้าหนี้ของแทคก็ปฏิเสธข้อ เรียกร้องของ แทค ที่ขออนุมัติใช้เงิน 4 พันล้านบาทในการขยายเครือข่าย ระบบดิจิตอล แทคยังมีหนี้สินในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน และพันธบัตรเป็นจำนวน 700 ล้านดอลลาร์ อีกทั้งต้องนำเงินราว 70 ล้านดอลลาร์จากการขายหุ้นใน เดือนมิถุนายนปีที่แล้วไปชำระหนี้ให้กับธนาคารด้วย และจะต้องชำระหนี้เพิ่มเติมให้กับธนาคารอีกจำนวน 80 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ หลังจาก ที่การขายหุ้นเสร็จ สิ้นลง

ในขณะที่แทควุ่นวายอยู่กับการสะสางภาระหนี้สิน คู่แข่งรายสำคัญของบริษัทคือ แอดวานซ์ อินฟอร์เมชัน เซอร์วิส (เอไอเอส) ก็กำลังลงทุน 10,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเครือข่ายระบบดิจิตอล โดยเล็งว่าธุรกิจจะก้าวไปสู่ยุคการส่งข้อมูลแบบไร้สาย ช่วงหลายส ัปดาห์ ที่ผ่านมา เอไอเอสยังได้ดำเนิน การซื้อกิจการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับสามของประเทศไทย โดยชิน คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ก็ดูเหมือนจะเข้าซื้อกิจการผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใหญ่รายหนึ่งในไทยด้วย

ผลกระทบของการลดการใช้จ่ายด้านทุน ที่มีต่อบริษัทธุรกิจไทย และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังเห็นได้ไม่ชัดเจนในขณะนี้ แต่บริษัท ที่แบกภาระหนี้สิน เป็นจำนวนมากอาจต้องเลือกปิดกิจการหรือควบกิจการรวมกับคู่แข่ง ที่เข้มแข็งกว่า เพื่อพากิจการให้รอด ความเสี่ยงของทางเลือกอย่างหลังก็คือ บริษัท ที่แข็งแกร่งอย่างอัลฟา และแทคอาจจะมีอาการง่อยเปลี้ยกับการปลดภาระหนี้ สิน ซึ่งอาจจะทำให้โอกาสเติบโตระยะกลางของไทยอ่อนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลกำหนด ที่จะตัดทอนมาตรการกระตุ้นทางการเงินในปีหน้า

(Far Eastern Economic Review/February 17, 2000)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.