ความหวังศูนย์กลางไฮเทคของไทย


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

การที่ "ฮานา ไมโครอิเล็กทรอนิกส์" (Hana Microelectronics) รอดพ้นจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และกำลังขยายกิจการไปต่างประเทศ ได้นำพาความหวัง ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางอิเล็กทรอนิกส์เอเชียกลับมาอีกครั้ง แต่ริ ชาร์ด ดี. ฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮานา บอกว่าการบริหารบริษัท อิเล็กทรอนิกส์ไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนมักตีขลุมว่าบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ทุก แห่งก็เหมือนๆ กัน

ฮันกล่าวว่าบริษัทของเขามีมูลค ่ากิจการต่ำกว่าความเป็นจริง ทั้งๆ ที่ฮานา ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้ประกอบ และทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ และ ผลิตแผงวงจรป้อนให้กับบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง ซึ่งมีปริมาณความต้องการ แหล่งจัดหาชิ้นส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นทั่วโลก

ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากกิจการ "อัลฟาเทค อิเล็กทรอนิกส์" (Alphatec Electronic) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิพของไทยล้มในปี 1998 ทำให้นักลงทุนพากันเข็ดขยาด และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของ ไทยส่วนใหญ่ก็อยู่ในสภาพย่ำแย่ ปานกัน เนื่องจากปัญหาเงินทุนหมุนเวียน ที่เกิดในช่วงวิกฤติการเงินเอเชีย

"เราต้องเจ็บปวดกับการถูกตีขลุมว่าเป็นแบบเดียวกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของ ไทย" ฮันเล่า "เราถูกมองว่ามีปัญหาเดียวกัน"

ฮันเร่งผลักดันแผนการที่จะหลุดพ้นจากความคิดแบบตีขลุมดังกล่าว บริษัทได้จัดการกับปัญหาเครดิตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปลอดภาระหนี้ และ สามารถขยายกิจการได้อีก

ปัจจุบันฮันอายุ 42 ปี เขาเป็นลูกชายของผู้ก่อตั้งกิจการฮานา ฮันจบการศึกษาระดับเอ็มบีเอจาก "ซิตี้ ยูนิเวอร์ซิตี้ แห่งลอนดอน" (City University of London) เขาพยายามแตกแขนงกิจการธุรกิจแบบครอบครัวออกไป และ ล่าสุดได้เข้าไปลงทุนในจีน อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ เป้าหมายของฮันไม่ใช่ เพียงแค่ต้องการมีส่วนผสมของสินค้ากับลูกค้า ที่กว้างกว่าเดิม แต่ต้องการ ขยายกิจการในเชิงพื้นที่ โดยให้ฮานาแตกแขนงกิจการไปเป็นผู้ผลิตระดับโลก มา กกว่าจะเป็นเพียงบริษัทไทยแห่งหนึ่ง ฮันยังมีแผนที่จะนำกิจการในเครือ แห่งหนึ่งเข้าตลาด หลักทรัพย์ต่างประเทศในปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็น Nasdaq ใน สหรัฐฯ หรือในสิงคโปร์ ซึ่งหากทำสำเร็จก็อาจจะช่วยทำให้ไทยกลับมาเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าไฮเทคของเอเชียได้อีกครั้ง หลังจาก ที่ความมุ่งหวัง ดังกล่าวได้เลือนหาย ไปโดยสิ้นเชิง จนมีผู้วิจารณ์ในช่วงวิกฤติการเงินเอเชีย ว่าไทยควรจะมุ่งไป ที่ธุรกิจการเกษตรมากกว่า

นักลงทุนเองก็เริ่มรับรู้ข่าวคราวเกี่ยวกับฮานากันบ้างแล้วเช่นกัน และบริษัทก็กำลังดำเนินการเกี่ยวกับอัตราส่วนลดปรับความเสี่ยง กล่าวคือ แม้ว่า ฮานาประสบขาดทุน 26 ล้านดอลลาร์ในปี 1997 บริษัทก็ได้บริหารจัดการ จนกิจการกลับมามีกำไรได้ ปีที่แล้ว บริษัทมีกำไร 23 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 220 ล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มทำกำไร และยอดขายเพิ่มขึ้นอีก ราว 9% ในปี 2000 ด้านราคาหุ้น ที่เคยซบเซามาหลายเดือนก็ทะยานข ึ้นถึง 270% ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา นำหน้าอัตรา ที่เพิ่ม 47% ในดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย "วงจรธุรกิจเซมิ-คอนดักเตอร์กำลังมีแนวโน้มขึ้น และคนก็กำลังสนใจบริษัท ที่กำลังกระเตื้องขึ้น" กูรินเดอร์ คาลรา นั กวิเคราะห์เทคโนโลยี ระดับภูมิภาค แห่ง มอร์แกน สแตนลีย์ ดีน วิตเตอร์ ในฮ่องกง อธิบาย

ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปริมาณความต้องการที่เพิ่ม ขึ้นในเอเชียช่วยเสริมแนวโน้มดังกล่าว ดังจะเห็นได้ ว่ายอดส่งออกของไทยใน เดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 14% จากเดือนเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากยอดสั่งซื้อ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ที่เพิ่มขึ้น และขณะที่เศรษฐกิจ เอเชียฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เช่ นเดียวกับปริมาณความต้องการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ กิจการของฮานาเติบโตขึ้น โดยที่ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานของบริษัทนี้คิดเป็นเพียง 25% เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ เช่น ไต้หวัน เป็นต้น

แต่การพลิกฟื้นกิจการของฮานาก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายดาย เมื่อเกิดวิกฤติ การณ์ในปี 1997 ฮานาละเมิดข้อสัญญาเงินกู้จากกลุ่มธนาคาร หรือ syndicated l oan จำนวน 90 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีซิตี้แบงก์เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ใน ช่วงเวลาเดียวกันนั้น เอง ก็เกิดเหตุไฟไหม้ในโรงงาน ทำให้ขีดความสามารถ ของโรงงานลดลงถึง 20% และทำให้ลูกค้าพากันหนีหาย

ฮานาต้องแก้ปั ญหาด้วยการเพิ่มทุน 10 ล้านดอลลาร์ โดยเสนอหุ้น แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ซึ่งทำให้จำนวนหุ้นกิจการเพิ่มขึ้นสองเท่าโดยปริยาย จากนั้น ฮานาก็เจรจาปรับเปลี่ยนการชำระหนี้

"นั่นเป็นเรื่อง ที่ยากมากๆ" เทอรี่ เวียร ์ (Terry Weir) ประธานเจ้าหน้าที่ ด้านการเงินของฮานา เล่า แต่ยอดสั่งซื้อ ที่เพิ่มต่อเนื่องบวกกับการที่ฮานามี รายได้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ บริษัทจึงมีปริมาณเงินสดหมุนเวียนเพียงพอ ที่จะชำระหนี้ได้ และฮ านาก็พร้อม ที่จะขยายกิจการต่อไปแล้ว โดยเตรียม ขยายโรงงานเพิ่มในไทย และจีน

ฮันยังใช้วิธีซื้อกิจการในการขยายกิจการของเขา ในเดือนตุลาคม เขาตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ "แอดวานซ์ อินเตอร์คอนเน็ค เทคโนโลยี" (Advanced Interconnect Technology) กับบริษัทผู้ผลิตชิพแห่งหนึ่งในอินโดนีเซีย ลูกค้าของบริษัทมีโมโตโรลา อิงค์ และซีเมนส์ มียอดขายอยู่ในราว 13 ล้าน ดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากนั้น บริษัทนิวบริดจ์ (Newbridge) แห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีฐานกิจการอยู่ ที่เกาะบาตัมใกล้สิงคโปร์ ก็เข้าซื้อกิจการนี้ แต่ฮานายังคงรักษาหุ้นกิจการไว้ 43% ฮันกล่าวว่าแผนการนำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์จะทำให้หุ้นกิจการ "มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่ารวมของกิจการฮานาในปัจจุบัน"

ความเสี่ยง ที่สูงที่สุดของฮันก็คือ การซื้อกิจการโรงงานผลิตไมโครดิสเพลย์สำหรับอุปกรณ์เวอร์ชวลเรียลีตี้ (virtual reality) แห่งหนึ่ง ในสหรัฐฯ มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ แต่ฮันมีความเห็นว่า การซื้อกิจการแห่งนี้เป็นการลงทุน ในโลกเทคโนโลยีสำหรับอนาคต ซึ่งหากแนวทางของเขาเป็นการชี้ทิศทางอนาคตแล้ว มันก็จะเกิดดอกออกผลที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง (BusinessWeek/February 21, 2 000)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.