บททดสอบทางธุรกิจรถไฟฟ้ากรุงเทพ


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

โครงการรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ฤกษ์เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา นับเป็นความสำเร็จท่ามกลางความขัดแย้งในหมู่ผู้ถือหุ้น ที่ยืดเยื้อมาจนถึงกระทั่งนาทีสุดท้ายก่อนรถออกวิ่ง

ครดิต สวิส เฟิร์ส บอสตัน (ซีเอสเอฟบี) ถือว่าตน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในกิจการบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) ซึ่งดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในแบบบีโอที (build-operate-transfer) แต่ซีเอสเอฟบีก็ต้องเจอเรื่องน่าปวดหัว ที่กว่าจะลงเอยด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ ก็ต้องต่อสู้ขับเคี่ยว เพื่อยึดหุ้นจากหนี้สินของผู้กู้รายหนึ่ง

บริการรถไฟฟ้าในขณะนี้ได้ปรับเข้า ที่เข้าทางแล้วหลังจาก ที่เกิดความโกลาหลในช่วงแรกเปิดบริการ โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายตั๋ว และมีเสียงตำหนิเรื่อง ที่ไม่มีเสียงเพลงในขบวนรถ และผู้ใช้บริการบางรายมีอาการวิงเวียนในขณะเดินทาง ซึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่คุ้นเคยกับการเดินทางในอัตราเร็วในเขตเมือง ที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่นมาตลอด

อย่างไรก็ตาม เส้นทางของผู้ได้รับสัมปทานโครงการบีทีเอสซีก็ดูไม่ค่อยราบรื่นเช่นกัน หลังจาก ที่บริษัทธนายง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้นำหุ้นของกิจการบีทีเอสซีไปค้ำประกันเงินกู้ธนาคารให้กับซีเอสเอฟบี และเจ้าหนี้รายอื่น ได้แก่ แบงก์ ออฟ ไชนา, ดา อัน คอมเมอร์เชียล แบงก์, กรอสวีเนอร์ ฟาร์ อีสเทิร์น ซีเล็กทีฟ ฟันด์, ธนาคาร เพื่อการพาณิชย์ และอุตสาหกรรมจีน, ธนาคารกวางตุ้ง และธนาคารเซี่ยงไฮ้ คอมเมอร์เชียล และเซฟวิงส์

ในกลุ่มเจ้าหนี้เหล่านี้ ธนาคารต่างๆ ได้ให้วงเงินกู้ยืมแก่ธนายงจำนวน 80 ล้านดอลลาร์ โดยมีหุ้นกิจการบีทีเอสซีจำนวน 265 ล้านหุ้นค้ำประกันเงินกู้ประเภทซิน ดิเคท โลน ระยะเวลาหนึ่งปี โดยลงนามกู้ยืมเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1996 และมีวาณิชธนกิจคือ ชโรเดอร์ อินเตอร์ เนชันแนล เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ซีเอสเอฟบีได้ปล่อยกู้เป็นสัดส่วน 5% ของวงเงินดังกล่าว

ส่วนเงินกู้ก้อน ที่สองจำนวน 3.1 พันล้านบาท (81.6 ล้านดอลลาร์) จากธนาคารไทยพาณิชย์ มีหุ้นกิจการของบีทีเอสซีจำนวน 248 ล้านหุ้นค้ำประกัน ซึ่งต่อมาซีเอสเอฟบีได้ไถ่ถอนเงินกู้ดังกล่าวจากธนาคารไทยพาณิชย์โดยไม่ได้เปิดเผยจำนวนเงิน จนเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง และเงินทุน ซึ่งต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยยังไม่มีทีท่าว่าจะได้คืนในเร็ววัน ทำให้ธนาคารเจ้าหนี้นำหุ้นบีทีเอสซีออกประมูลขาย ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญากู้ยืม

การประมูลขายหุ้นล็อตแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน โดยทางครอบครัวกาญจนพาสน์ ซึ่งบริหารกิจการบริษัทธนายงพยายาม ที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งยับยั้งการประมูล แต่ซีเอสเอฟบีก็ประมูลซื้อหุ้นทั้งล็อตได้ในราคาหุ้นละ 14.20 บาท หรือรวม 3.75 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของหุ้น 23% ราคาเสนอซื้อต่ำสุดในการประมูลคือ หุ้นละ 13.50 บาท ทั้งนี้ซีเอสเอฟบีได้ชำระเงินทั้งหมดยกเว้นเงินจำนวนไม่กี่ล้านบาทจากยอด 3.7 พันล้านบาท ที่เป็นหนี้อยู่ รวมทั้งส่วน ที่เป็นดอกเบี้ย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาสองปี และเงินตอบแทน ที่ต้องให้แก่เจ้าหนี้ตามสัดส่วน

คีรี กาญจนพาสน์ ยืนยันว่าการประมูลซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย และปฏิเสธ ที่จะรับจดทะเบียนชื่อของซีเอสเอฟบีในฐานะผู้ถือหุ้น ซีเอสเอฟบี เองก็โต้ตอบการกระทำดังกล่าว ด้วยการฟ้องร้องต่อศาล และกล่าวว่าตนยินดี ที่จะจำหน่ายหุ้นคืน และยินดี ที่จะถือครองหุ้นไว้จนกว่าจะมีการจำหน่ายแก่สาธารณชนตามกำหนดในปีหน้า

"ผมขอชี้แจงให้หายสงสัยในเรื่องบางเรื่อง การประมูลซื้อหุ้นมีการประกาศต่อสาธารณะตามระเบียบการของไทย และประกาศล่วงหน้าถึงสี่สัปดาห์" ทอม กริมเมอร์ ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กรของซีเอสเอฟบีกล่าว

มีผู้วิจารณ์รายหนึ่งให้ความเห็นว่าการที่ไม่มีผู้ประมูลรายอื่นก็เพราะการดำเนินการประมูลที่ไม่ชัดเจน

"มันคล้ายกับการเล่นไพ่ ผมว่าคนกำลังนั่งดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และคงจะมีคนสนใจเพิ่มมากขึ้นในการประมูลล็อต ที่สอง" ผู้ให้ความเห็นรายเดิมกล่าว และว่า "เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ามีความเสี่ยงอยู่ในการประมูลนี้ โครงการก็ยังไม่เริ่มให้บริการ อุปกรณ์ ที่ลงทุนไปไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าหรือเปล่า"

ซีเอสเอฟบีได้ติดต่อ ที่ปรึกษาจากโครงการรถไฟฟ้าในฮ่องกงมาช่วยให้คำแนะนำ เมื่อการประมูลรอบ ที่สองใกล้เข้ามา การต่อสู้ขับเคี่ยวก็ร้อนแรงขึ้น ธนายงเริ่มเปิดฉากก่อนจากการเป็นผู้ถือหุ้นกิจการรถไฟฟ้าถึง 61% แต่เมื่อ การประมูล เพื่อไถ่ถอนหุ้นทั้งสองรอบอาจทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของธนายงลดลงเหลือต่ำกว่า 51% ซึ่งเป็นสัดส่วน ที่ธนายงจะต้องถือครองไว้จนกว่าโครงการจะเริ่มดำเนินการให้บริการตามข้อตกลงในการรับสัมปทาน ดังนั้น จึงเกิดข่าวลือเกี่ยวกับการเปิดจำหน่ายหุ้นกิจการรถไฟฟ้า และเรื่องการปฏิเสธการชำระหนี้บางส่วน แต่ต่อมาซีเอสเอฟบีก็ได้ปฏิเสธ

หลังจากนั้น ก่อนกำหนดการประมูลครั้ง ที่สองในวันที่ 7 ธันวาคม 1999 เพียงหกวัน หรือสองวันหลังโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการคีรีก็นำเงินสดจำนวน 3.5 พันล้านบาทไปชำระเงินกู้พร้อมกับดอกเบี้ย โดยบอกว่าเป็นเงินจาก " เพื่อนฝูงชาวจีนด้วยกัน การประมูลหุ้นจึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย"

ไม่มีการเปิดเผยว่าอัศวิน ที่ขี่ม้าขาวมาช่วยคีรีไว้คือ ใคร แม้ว่าจะมีรายงานว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากโรงจำนำก็ตาม นอกจากนั้น ยังมีการคาดอีกว่าคีรีกำลังพยายามหาเงินมาไถ่ถอนหุ้น ที่ขายไปล็อตแรกคืนมาด้วย

ในขณะเดียวกัน เจสัน ยอร์ก นักวิเคราะห์แห่งซีมิโก ซีเคียวริตีส์ (Seamico Securities) ได้ระบุในรายงานวิจัย ว่าธนายงนั้น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของหรือ deb to equity ratios สูงถึงกว่า 30 เท่า "เราคงเห็นถึงความสำคัญของบีทีเอสซีในการพยายามเต็มที่ ที่จะรักษาหน้า และกิจการธนายงไว้ โครงการบีทีเอสซีอาจจะเป็นจุดสูงสุดของปัญหาหนี้สิน ที่น่าวิตกของไทย"

นักสังเกตการณ์อีกรายหนึ่งกล่าวว่า "นับเป็นกรณีทดสอบสำหรับระบบกฎหมายในเมืองไทยอย่างแท้จริง ข้อเท็จจริง ที่ว่า ศาลไทยได้โยนคำสั่งทิ้งไปในวันที่ 3 พฤศจิกายน 1999 บอกอะไรอย่างมากเกี่ยวกับประเทศไทย"

"คุณจะไม่เห็นเรื่องแบบนี้บ่อยนักในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศ ที่ยังไม่พัฒนา มันเป็นสัญญาณบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของประเทศไทย" ทันที ที่ซีเอสเอฟบีได้รับจดทะเบียนชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบีทีเอสซี ซีเอสเอฟบีก็จะถือหุ้นโครงการรถไฟฟ้าเป็นสัดส่วน 23%

"เราเชื่อว่าหุ้นมีมูลค่าอยู่" ผู้บริหารรายหนึ่งของ ซีเอสเอฟบีกล่าว "เราพอใจกับสินทรัพย์ ที่ซื้อมา แต่ยังกังวลเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สิน

"เราคิดว่าเราสามารถสร้างมูลค่าในหุ้นได้ และเรามีความสามารถในด้านการลงทุน ที่จะนำเงินก้อนใหม่เข้ามา" เขากล่าว และเสริมว่าทางธนาคารต้องการให้มีการส่งต่อทางด้านการบริหาร และอยากให้มีบันไดเลื่อนเพิ่มเติม รวมทั้งเครื่องจำหน่ายตั๋วเพิ่มด้วย

การไขปัญหานี้จะอยู่ ที่การต่อสู้ในชั้นศาลอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจดทะเบียนผู้ถือหุ้น แต่เขาเตือนว่าหากการจดทะเบียนไม่สามารถดำเนินการได้แล้ว ก็จะส่งผลอย่างมากเพราะ "จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศพากันหวาดผวา ถ้าหากคิดจะมาลงทุนในไทย"

(Euromoney/January 2000)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.