ธุรกิจอินเตอร์เน็ตของตระกูลลี จากลี กา-ชิง ถึงริชาร์ด ลี


นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

สองพ่อลูกตระกูลลีแห่งฮ่องกงกำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจ อันทรงพลังต้อนรับยุคอินเตอร์เน็ต และให้สมกับคำกล่าวขานถึง "เศรษฐกิจใหม่ของเอเชีย"

สหัสวรรษใหม่เพิ่งเริ่มต้นได้ไม่ นาน นัก แต่ริชาร์ด ลี ผู้ก่อตั้งบริษัท "แปซิฟิก เซ็นจูรี ไซเบอร์เวิร์คส์" (Pa- cific Century CyberWorks) ก็สร้างตำนานธุรกิจยุคอินเตอร์เน็ตชนิดก้าวไกล ฝันของเขาก็คือ ใช้จานดาวเทียม และเคเบิล เป็นสื่อสัญญาณไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วเอเชีย เพื่อให้โทรทัศน์กลายเป็นอุปกรณ์อินเตอร์แอคทีฟ ที่เข้าถึงได้ทุกครัวเรือน

ริชาร์ด ลี ฝันไกลขนาดนั้น ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเขาเป็นลูกชายของมหาเศรษฐี ลี กา-ชิง ผู้กุมธุรกิจสำคัญแทบทุกประเภทของฮ่องกงไว้ในมือ อีกส่วนก็เพราะความกล้าบ้าบิ่นส่วนตัว ดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้ง ที่เขาบินตรงไปยังสหรัฐฯ ติดต่อให้นักร้องเพลงป๊อป ชื่อดังอย่างวิทนีย์ ฮูสตัน ไปขับกล่อมในงาน ฉลองปีใหม่ของเขาตลอดคืน ท่ามกลางแขกเหรื่อนับพัน

ริชาร์ดในวัย 33 ใช้ทั้งอำนาจ และเงินทำธุรกิจประสบความสำเร็จเรื่อยมา ตอนนี้เขากำลังเตรียมทำการใหญ่อีกครั้ง โดยหวังเอาชนะ "สิงคโปร์ เทเลคอมมิวนิเคชันส์" (SingTel) ในการประมูลซื้อ "เคเบิล แอนด์ ไวร์เลส เอชเคที" (Cable and Wireless HKT) บริษัทโทรศัพท์ภายในประเทศ รายใหญ่ ที่มีมูลค่าทุน ตามราคาตลาด ถึง 37,000 ล้านดอลลาร์

อันที่จริง ลีผู้ลูกก็เหมือนกับพ่อของเขา ในแง่ ที่นิยมทำธุรกิจระดับยักษ์ กิจการของลี กา-ชิง มีทั้ง ฮัทชิสัน วัมเปา (Hutchison Whampoa) และ "เฉิง คง" Chueng Kong) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกิจการท่าเรือใหญ่ที่สุดในโลก ลี กา-ชิง ยังถือครองเรียลเอสเตทราคาสูงในฮ่องกง อีกทั้งเป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์เซลลูลาร์ชั้นนำในอิสราเอล กับเชนค้าปลีกชั้นนำหลายแห่ง

ปัจจุบันลีผู้พ่ออายุ 71 ปีแล้ว และยังเป็นผู้นำทางด้านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย เมื่อปี 1994 เขาเจรจาเข้าลงทุนในบริษัทด้านโทรคมนาคมหลายแห่งของยุโรป จนมีกำไรแบบลาภลอยถึง 21,000 ล้านดอลลาร์ จากการที่ "โวดาโฟน แอร์ทัช" แห่งอังกฤษ ชนะการประมูลซื้อ "แมนเนสมานน์" แห่งเยอรมนี ลี กา-ชิง ยังมีพันธมิตร ในธุรกิจเน็ต อย่าง "Price line.com" ซึ่งร่วมกันเปิดตัวพอร์ตทัลภาษาจีน อีกทั้งยังร่วมทุนด้านไฟเบอร์ออปติกกับ "โกลบัล ครอสซิง" (Global Crossing) ด้วย แต่เท่านี้ก็ยังเป็นการลงทุนส่วนหนึ่งเท่านั้น

ตระกูลลีเป็นตระกูล ที่มีอำนาจทางธุรกิจอยู่ในฮ่องกงมายาวนาน และกำลังเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกกันว่า "เศรษฐกิจใหม่แห่งเอเชีย" เมื่อใด ที่การประมูลซื้อ "เอชเคที" ของริชาร์ดสำเร็จลุล่วง เป้าหมายของตระกูลลีก็จะเป็นจริงขึ้นมาได้ เนื่องจากเครือข่ายบรอดแบนด์ของเอชเคที ซึ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย จะเพิ่มพูนรายได้ให้กับ "ไซเบอร์เวิร์คส์" และเสริมส่งแผนการที่จะให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั่วภูมิภาค

นอกจากนั้น ลี กา-ชิง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์เซลลูลาร์รายใหญ่ที่สุดของฮ่องกง รวมทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ แบบคู่สาย ก็จะมีสถานะทางธุรกิจดีขึ้นหากริชาร์ดแยกธุรกิจของ "เอชเคที" โดยเก็บไว้เฉพาะธุรกิจอินเตอร์เน็ต แล้ว ขายหุ้นส่วน ที่เหลือให้กับฮัทชิสัน

ดังนั้น ไม่ว่าสองพ่อลูกจะทำธุรกิจคนละส่วนหรือร่วมมือกัน ธุรกิจของทั้งสองก็จะประสานกันลงตัว และสร้างธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับกรณี ของสตีเฟน เอ็ม เคส (Stephen M. Case) แห่งอเมริกา ออนไลน์ อิงค์ (America Online Inc) และมาซาโยชิ ซัน (Masayoshi Son) แห่งซอฟต์แบงก์ คอร์ป (Softbank Corp.) ซึ่งต่างก็เป็นผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมระดับโลก ซึ่งรวมเอาโทรศัพท์ไร้สายกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าด้วยกัน

สิ่งที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ว่า "ไซเบอร์ เวิร์คส์" ของริชาร์ด เป็นกิจการที่ไม่มีรายได้ และกำไรจากการดำเนินการ แต่ราคาหุ้นทะยานขึ้นเรื่อยมา ซึ่งเป็นเพราะเป็นกิจการที่มีบทบาทในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ที่กว้างขวาง และนักลงทุนต่างก็เชื่อมั่นในกลเม็ดเด็ดพรายของลี

อย่างไรก็ตาม มูลค่าทุนตามราคา ตลาดของ "ไซเบอร์เวิร์คส์" ซึ่งสูงราว 30,000 ล้านดอลลาร์ ก็ยังสูงกว่าของ "Amazon.com" หากตกลงธุรกิจได้สำเร็จ ก็อาจจะหมายความว่า บริษัทในยุคเศรษฐกิจใหม่จะฝ่าแนวทางขององค์กรรูปแบบเดิมๆ ของเอเชียไปได้

"นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น" พีท ฮินเชนส์ (Pete Hitchens) นักวิเคราะห์ธุรกิจอินเตอร์เน็ตแห่งซาโล มอน สมิธ บาร์นีย์ ให้ความเห็น เขาบอกต่อไปจะมีหุ้นของธุรกิจด้านอินเตอร์เน็ตอีกมาก ที่จะเป็นหุ้นบลูชิป

ในเชิงการเมืองก็เช่นกัน หากสองพ่อลูกตระกูลลีเอาชนะสิงคโปร์ได้แล้ว ก็จะยิ่งเห็นได้ชัดถึงข้อได้เปรียบจากการเป็นผู้เล่นในประเทศ ที่อาศัยสายสัมพันธ์ทางธุรกิจมาเป็นเวลานาน ลี กา-ชิง มีสายสัมพันธ์ ที่ทรงพลังกับทางปักกิ่ง และมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับตง เจียน หัว ผู้นำของฮ่องกงด้วยข่าวลือ ที่ว่า ริชาร์ดเดินทางไปปักกิ่ง เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เพื่อเจรจากับทางการจีน ทำให้เห็นชัดว่าตระกูลลีมีบทบาทมากเพียงไรในเศรษฐกิจฮ่องกง

แต่โลกอินเตอร์เน็ตสมัยใหม่ก็เป็นสนามธุรกิจ ที่ใหญ่โตเกินกว่าฮ่องกงมากนัก หุ้นของ "ไซเบอร์ เวิร์คส์" ซึ่งริชาร์ดจะใช้ค้ำประกันการซื้อ "เอชเคที" ไต่ระดับราคาขึ้นสูงก็เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศมีทางเลือกน้อยในการเล่นหุ้นกลุ่มอินเตอร์เน็ตในเอเชีย ริชาร์ดจะต้องเร่งเปลี่ยนเงินกระดาษในมือให้เป็นสินทรัพย์โดยเร็วที่สุด ก่อน ที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในเกม

ด้านเคเบิลแอนด์ไวร์เลส ซึ่งจะขายหุ้น 54% ของ "เอชเคที" ก็อาจต้องเร่งดำเนินการในทำนองเดียวกัน เพราะแม้ว่าริชาร์ดจะระดมทุนได้ 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ในการซื้อหุ้นดังกล่าว แต่เขายังต้องการสิ่งอื่นนอกจากเงินสด เพื่อโน้มน้าวให้ "เอชเคที" ยอมขายหุ้น หลังจาก ที่ฝ่ายผู้ขายไม่ยอมรับหุ้น ที่ราคา ทะยานโดยไม่มีฐานรองรับ

อย่างไรก็ตาม หาก "เอชเคที" ไม่ยอมขายหุ้น ริชาร์ดก็ยังจะต้องเดินหน้าธุรกิจของเขาต่อไป เพราะเขามีความคิด ที่แจ่มชัดแล้วว่าจะสร้างอะไรบางอย่างขึ้น เมื่ออายุ 24 ปี ริชาร์ดเป็นคนสร้าง "สตาร์ทีวี" ซึ่งออกอากาศทั่วเอเชียมาแล้ว แต่สองพ่อลูกตระกูลลีก็ต้องขาย "สตาร์ทีวี" ให้กับรูเพิร์ต เมอร์ ดอค (Rupert Murdoch) ไปในปี 1993

ริชาร์ดได้รับคำชม ที่มีความห้าวหาญในทางธุรกิจ เขาต้องการทำ "สตาร์ ทีวี" ต่อไป แต่พ่อของเขาเป็นฝ่าย ที่ยืนยันว่าจะต้องจัดการกับสินทรัพย์ดังกล่าว ความคิดของริชาร์ดไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนกระทั่งอินเตอร์เน็ตแพร่หลายในเอเชีย ซึ่งริชาร์ดรุกเข้าสู่โลก ไซเบอร์อย่างว่องไว และคว้าโอกาสเป็นครั้ง ที่สองในการสร้างอาณาจักรของเขา

ก่อนหน้านี้ไม่ถึงปี "ไซเบอร์เวิร์คส์" สร้างปรากฏการณ์สำคัญในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นทะยานขึ้น นับแต่เข้าตลาดวันที่ 28 ธันวาคม และเป็นหุ้น ที่เข้าตานักลงทุนทันที ริชาร์ด ได้รับคำชมว่าก้าวเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว แต่การสร้างศูนย์ไฮเทค ที่ชื่อ "ไซเบอร์-พอร์ต" มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ โดยร่วมมือกับรัฐบาลฮ่องกง กลับสร้างความไม่พอใจให้กับหลายฝ่าย เพราะเป็นโครงการที่ไม่มีการประมูลแข่งขัน วงการ "dot-com" เองก็สาปส่งโครงการดังกล่าวเพราะแต่ละบริษัทต่างต้องดิ้นรนให้อยู่รอด ในช่วง ที่เศรษฐกิจตกต่ำถึงขีดสุด โชคดี ที่เงินนับพันล้านดอลลาร์ในรูปของการลงทุน ที่มีความเสี่ยงสูงไหลเข้ามา และได้ช่วย ทำให้เศรษฐกิจของฮ่องกงกระเตื้องขึ้นบ้าง จึงนับเป็นอีกผลงานหนึ่งของ ริชาร์ด ซึ่งมีบุคลิกแตกต่างจากพ่อของเขา

ริชาร์ด ซึ่งเป็นลูกชายคนที่สองของลี กา-ชิง รับเอาลักษณะ ที่ไม่เป็นทางการของซิลิกอน วัลเลย์ มา ทุกวันนี้ เขาจึงยังสะพายเป้ และสวมสเวตเตอร์ปรากฏตัวในที่สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ ลี กา-ชิง นิยม สวมสูทสีเข้ม และสงวนท่าทีในสไตล์นักธุรกิจจีนรุ่นเก่า

การผ่อนปรนกฎระเบียบในภาคธุรกิจโทรคมนาคมในเอเชียยังเปิดช่องให้ริชาร์ดคว้า "เอชเคที" ได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อรัฐบาลฮ่องกงให้มีการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ "เอชเคที" จึงกลายเป็นกิจการที่มีความสำคัญน้อย ลงสำหรับเคเบิลแอนด์ไวร์เลส

ราวสามเดือนก่อน เมื่อมีการประกาศแผนขายหุ้นให้กับ "สิงคโปร์ เทเลคอม" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ บริหารโดยลีเซียนหยาง บุตรชายคนที่สองของอดีต นายกรัฐมนตรี ลีกวนยู แห่งสิงคโปร์ "สิงคโปร์เทเลคอม" กำลังประสบปัญหาในด้านการแข่งขัน จากการที่รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม นักลงทุนพากันมองว่ากิจการทั้งสองกำลังอ่อนแรง และเป็นเหมือนไดโนเสาร์ ที่จะสูญพันธุ์ ราคาหุ้นจึงลดฮวบ ซึ่งเป็นการ ดีสำหรับริชาร์ดอีกเช่นกัน

ตระกูลลี (Li) ของฮ่องกงจะเอา ชนะตระกูลลี (Lee) ของสิงคโปร์ได้หรือไม่ ย่อมจะเป็นสิ่งชี้บอกถึงสายสัมพันธ์ทางธุรกิจของฮ่องกงได้อย่างดี ลี กา-ชิง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงเศรษฐกิจบูมก่อนปิดฉากลงในปี 1997 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวธุรกิจแขนงนี้ ก็กลับมาทรงพลังอีกครั้ง

ลี กา-ชิง เป็นผู้ควบคุมกิจการสาธารณูปโภค "ฮ่องกง อิเล็กทริค โฮลดิ้งส์" ซึ่งมีกำไรงดงามจากการที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคา นอกจากนั้น ยังมีเชนค้าปลีก "ปาร์คแอนชอพ" (Parkn- Shop) และ "วัตสัน" (Watson) ที่เปิดตัวอยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ลีเป็นเจ้าของ และเชนทั้งสองก็ยังผูกขาดธุรกิจอยู่ทั่วเกาะฮ่องกง นี่ยังไม่รวมถึงเชน "ฟอร์เทรส" (Fortress) ที่เป็นเชนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพียงแห่งเดียวในฮ่องกงด้วย

นักข่าวในฮ่องกงต่างเรียกลีว่า "ซูเปอร์แมน" ลีเป็นคนที่มีสัมผัสไวในเรื่องของเวลาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากการที่เขาเร่งระดมเงินสดได้ทันท่วงทีก่อนเหตุการณ์ตลาดหุ้นทรุดในเดือนตุลาคม 1987

แต่ความสำเร็จก็มีราคาค่างวดเช่นกัน เพราะลีก็ต้องมีบอดี้การ์ดห้อมล้อมอยู่ตลอดเวลา หลังจาก ที่เกิดกรณีลักพาตัววิคเตอร์ ลูกชายคนโตของเขาเมื่อปี 1996 ปัจจุบันวิคเตอร์เป็นรองประธานกรรมการคนหนึ่งของฮัทชิสัน

อย่างไรก็ตาม ลีก็ไม่เคยทำเงินได้มากมายเท่ากับในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา มาก่อน ในปี 1994 ลีเข้าไปลงทุนใน "โอเรนจ์" (Orange) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์ เซลลูลาร์ในอังกฤษ เมื่อปีที่แล้ว เขาตัดสินใจขายหุ้นกิจการโอเรนจ์ให้กับแมนเนสมานน์ทำกำไรถึง 13,600 ล้านดอลลาร์ โดยมีแคนนิง ฟอค (Canning Fok) เป็นผู้ประสานการเจรจากับเคลาส์ เอสเซอร์ (Klaus Esser) แห่งแมนเนสมานน์ การตกลงธุรกิจสำเร็จลุล่วงในอีกสองวันถัดมาเท่านั้น

เมื่อโวดาโฟนเข้าซื้อกิจการแมนเนสมานน์ ลีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับโวดาโฟน เขาส่งฟอคไปยุโรป อีกครั้ง ให้เจรจากับคริส เจนท์ (Chris Gent) ผู้บริหารของโวดาโฟน และลงเอยด้วยการที่ฮัทชิสันได้ถือหุ้น 5% ในกิจการโวดาโฟน-แมนเนสมานน์

เท่า ที่ผ่านมาแม้ลีไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีกลยุทธ์ในด้านโทรคมนาคม-อินเตอร์เน็ต ระดับโลกอย่างต่อเนื่องมากนัก แต่ผู้ที่อยู่ในวงการต่างมองว่าเขาเป็นใบเบิกทาง ในการเข้าตลาดจีน ลี กา-ชิง มีกิจการร่วมทุนกับ "คอมแพ็ค คอมพิวเตอร์" (Compact Computer) ด้วย โดยจะจัดทำเว็บไซต์ e-government ในฮ่องกง ซึ่งจะให้ชาวฮ่องกงขอรับบริการต่างๆ เช่น สูติบัตร ผ่านระบบออนไลน์ได้

ริชาร์ด ลี ก็มีกลยุทธ์ดึงความร่วมมือจากพันธมิตรในต่างแดนเช่นกัน เมื่อเดือนมกราคม เขาตั้งกิจการร่วมทุนกับซีเอ็มจีไอ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอินเตอร์ เน็ตของสหรัฐฯ เพื่อนำเอา Alta Vista. com และเว็บไซต์อื่นๆ มายังเอเชีย ลีสองพ่อลูกยังรุกเข้าไปในญี่ปุ่นด้วย โดย ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ริชาร์ด ได้สวอปหุ้นมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ กับผู้นำทางด้านไซเบอร์ของญี่ปุ่นอย่าง "ฮิการิทสีชิน อิงค์" (Hikari Tsushin)

ตอนนี้ ริชาร์ดกำลังนั่งรอผลกำไร ถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ จากการลงทุนในธุรกิจด้านไซเบอร์ในบริษัทอินเตอร์เน็ตอีกกว่า 30 แห่ง ซึ่งมีทั้งพอร์ตทัล ที่เป็นภาษาจีนอย่าง SINA.com จนถึงผู้ให้บริการประเภทบรอดแบนด์ในสหรัฐฯ อย่าง SoftNet Systems

นอกจากจะทุ่มลงทุนนับล้านในกิจการเกิดใหม่แล้ว ริชาร์ดยังกำลังดำเนินโครงการใหญ่อีก ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างไซเบอร์พอร์ต ไปจนถึงการสร้างสตูดิโอ เพื่อผลิตรายการป้อนให้กับ "เน็ตเวิร์ค ออฟ เดอะ เวิลด์" (Network of the World หรือ NOW) ซึ่งเป็นบริการแบบบรอดแบนด์ทั่วเอเชีย ที่อิงอยู่กับโทรทัศน์

อเล็กซ์ อรีนา กรรมการผู้จัดการ ของกลุ่ม และเป็นคนสนิทของริชาร์ด ยอมรับว่า กลยุทธ์ดังกล่าวอาจดูแปลกไปสักหน่อย "แต่ ที่เรากำลังทำก็คือ ต่อภาพจิ๊กซอว์ให้สมบูรณ์" เขาบอก "ถ้าหากเราสร้างโอกาสให้มากที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้ เราจะมีธุรกิจ ที่แข็งแกร่งในการเดินไปข้างหน้า"

ริชาร์ดกำลังสานความคิด ที่ว่าให้เป็นจริง ด้วยการระดมทุนเพิ่มอีก 2,400 ล้านดอลลาร์จากตลาดหุ้น รวมทั้งส่วน ที่เพิ่งระดมทุนราว 1,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์

แนวคิดเบื้องหลังของโครงการ "NOW" ก็คือ การใช้ดาวเทียม และเคเบิล ส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อ ให้ครัวเรือนราวร้อยล้านครัวเรือนทั่วเอเชียเข้าถึงอินเตอร์เน็ตแบบอินเตอร์ แอคทีฟได้ จากนั้น ก็ขยายต่อให้ครอบคลุมส่วนอื่นๆ ทั่วโลก

โครงการ "NOW" จะเปิดตัวในปีนี้ เป็นโปรแกรมภาคภาษาอังกฤษ ที่คล้ายกับโทรทัศน์ทั่วไป แต่ผู้ชมจะโต้ ตอบแบบอินเตอร์แอคทีฟได้เหมือนกับใช้เว็บไซต์ สตูดิโอ ที่ผลิตรายการของ ริชาร์ดทั้งในฮ่องกง และลอนดอน ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านงานสร้างสรรค์มาจาก แคลิฟอร์เนีย เพื่อรับงานนี้

อย่างไรก็ดี รายการในระบบ บรอดแบนด์ยังยาก ที่จะประสบผลสำเร็จ ในตลาดเอเชีย โทรทัศน์แบบอินเตอร์ แอคทีฟยังไม่เคยมีการออกอากาศจริง ที่ใดในโลก เท่า ที่ผ่านมามีผู้ดำเนินการระบบเคเบิลเพียงจำนวนหนึ่งในบางภูมิภาค ที่สามารถดำเนินการรองรับการโต้ตอบสองทางได้ หากไม่มีการปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น บริการดังกล่าวก็จะเป็นภาระอันหนักอึ้ง

ด้วยเหตุนี้เอง ลีจึงต้องการครอบ ครอง "เอชเคที" ซึ่งมีเครือข่ายบรอดแบนด์ ที่ทันสมัย สามารถรองรับงานของ NOW ได้ ในขณะเดียวกันธุรกิจในระบบทางไกล ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเอชเคทีก็กำลังเผชิญปัญหากำไรหดหาย เนื่องจากมีคู่แข่งหน้าใหม่หลายราย และ โครงสร้างองค์กรของเอชเคทีไม่อาจ ตอบสนองตลาดได้รวดเร็วเพียงพอ

สิ่งที่จะต้องรอดูกันต่อไปก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลีผู้พ่อเห็นด้วยกับแนวคิดของริชาร์ดในเรื่องโลก อินเตอร์เน็ต ที่ผ่านมา ลี กา-ชิง ได้เข้าไปลงทุนในกิจการของริชาร์ดครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น ฮัทชิสันเข้าซื้อหุ้น 45% ในโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่ง หนึ่งในโตเกียวของริชาร์ด เมื่อปี 1997 ทั้ง ที่มีผู้วิจารณ์ว่า ริชาร์ดซื้อไว้ในราคาสูงเกินไป ฮัทชิสันไม่เพียงไม่ สนใจแต่ยังแถมพ่วงค่าธรรมเนียม นายหน้าให้อีก 3% ด้วย ทุกวันนี้ ริชาร์ด นั่งอยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการของฮัทชิสัน แต่เขาไม่พอใจข้อวิจารณ์ ที่ว่าความสำเร็จของเขา ไม่ได้ได้มาด้วยตัวเอง

แม้จะมีข้อวิจารณ์ว่าครอบครัวลี นั้น มีบทบาทมากเกินไปหรือไม่ในระบบเศรษฐกิจของฮ่องกง เพราะ "ชิปปิ้งธุรกิจ ค้าปลีก และโทรคมนาคม ล้วนแต่อยู่ในมือของตระกูลลี" ซิน ชุง ไค สมาชิกสภา นิติบัญญัติ ที่ดูแลด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีข้อมูล กล่าว "เราควรจะมีกฎหมายป้องกันการผูกขาดได้แล้ว"

แต่เสียงคัดค้านการผูกขาดของลียังอ่อนแรง ตราบใด ที่สายสัมพันธ์ทางธุรกิจยังทรงพลัง โดยเฉพาะในกรณีของ "สิงคโปร์เทเลคอม" ทุกๆ คน ตั้งแต่วาณิชธนกรไปจนถึงนักวิเคราะห์การ เมืองต่างก็เชื่อว่าปักกิ่งนั้น พอใจข้อเสนอ ของลีมากกว่า เมื่อเศรษฐกิจใหม่กำลังสะพัดไปทั่วเอเชีย ตระกูลธุรกิจต่างๆ ก็พากันเข้าร่วมลงสนามการแข่งขันกันอีกครั้ง

(แปล และเรียบเรียงโดย เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์ จาก BusinessWeek February 28,2000)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.