"กติกาการเก็บข้อมูลและการศึกษา"

โดย สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล สุภาวดี ธีรดิษฐานันท
นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2535)



กลับสู่หน้าหลัก

งานศึกษาวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามจำนวน 240 ชุด เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้กรอกแบบสอบถามเอง (self-administration questionnaire) และกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการสำรวจไว้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ และอาชีพ

งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยกระแสข่าวและรายงานประกอบการศึกษาวิชาวิจัยโฆษณา หลักสูตรปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต ของ พูนศิริ บุญนิกรวรวิทย์ และคณะ ในความเอื้อเฟื้อของรศ. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นพื้นฐานในการเรียบเรียงผลการวิจัย

ความหมายและสัญลักษณ์

การรับรู้ หมายถึง การรู้จักและเข้าใจของผู้บริโภค ต่อคุณสมบัติและยี่ห้อของสินค้า

ทัศนคติ หมายถึง ความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการรับรู้ในสินค้า

ทัศนคติเชิงบวก หมายถึง ทัศนคติความรู้สึกของผู้บริโภคต่อเครื่องเล่นวิดีโอคาราโอเกะว่าเป็นสิ่งบันเทิงที่ทุกบ้านควรจะมี สามารถใช้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และใช้ฝึกร้องเพลงได้

ทัศนคติเชิงปานกลาง หมายถึง ความรู้สึกหรืออาการที่ไม่แน่ใจของผู้บริโภคต่อเครื่องเล่นวิดีโอคาราโอเกะว่าเป็นไปในเชิงบวกหรือเชิงลบ

แนวโน้มการซื้อ หมายถึง ประเภทของสินค้า ระดับราคา และสถานที่ที่ผู้บริโภคจะเลือกสำหรับการซื้อสินค้า

สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ให้คะแนนโดยพิจารณาจากรายได้/เงินเดือน, จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, เครื่องคอมพิวเตอร์, รถยนต์, โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

oc หมายถึง ระดับนัยสำคัญ (level of significant)

df หมายถึง องศาอิสระ (degree of freefom)

X2 หมายถึง ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-Square) ที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง

X2s หมายถึง ค่าสถิติไค-สแควร์จากตารางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญที่กำหนดให้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.