"สำหรับประเด็นเรื่องอุปสรรคของ Asset Securitization นั้น "ผู้จัดการ"
ได้ทำการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญสองท่านถึงความเห็นในเรื่องนี้ คนแรกเป็นนักกฎหมาย
คือ ดร.พิเศษ เสตเสถียร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สองเป็น วาณิชธนากร
คือ ณรงค์ ปัทมะเสวี กรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นิธิภัทร"
อุปสรรคในการทำ Asset Securitization อยู่ที่ไหนบ้าง ?
ณรงค์ : สิ่งที่ทำให้ธุรกิจนี้ไม่เกิด มีหลายเรื่องมาก เรื่องแรกก็คือ เรื่องการ
package security ตัวนี้เพื่อไปขาย กฎหมายยังไม่เอื้ออำนวย ตัวอย่างเช่น
เอาที่ดินแปลงหนึ่งจะเอาไป securitized โดยการกู้เงินจากนักลงทุน ในลักษณะที่เอาที่ดินไปจำนอง
สิ่งเหล่านี้ทำไม่ได้ เพราะสมมติว่าถ้าเอาที่ดินเหล่านี้ไปจำนองให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับเป็นผู้จำนองแทน และบริษัทผู้กู้ก็ออก Security
ในแง่ของการปฏิบัติ เมื่อเกิด Default ขึ้นมา การที่จะไปฟ้องร้องเพื่อที่จะ
Enforce mortgage นั้น กฎหมายของเรายังไม่มีความคล่องตัว อย่างในอเมริกาจะสามารถบอกได้เลยว่า
บริษัทนี้จะยกผลประโยชน์ในหนี้จำนวนเท่านี้ให้กับพวกทรัสต์หรืออะไรก็แล้วแต่
ซึ่งในส่วนของเราจะต้องไประบุว่าผลประโยชน์ของลูกหนี้รายน้อยจำนวนเท่านี้
ให้กับผู้กู้รายนี้เสร็จแล้วลูกหนี้รายย่อยเหล่านั้นก็ต้องได้รับการแจ้งด้วยว่า
หนี้ที่คุณเป็นหนี้ บริษัทเรานี้ได้ยกผลประโยชน์ให้กับผู้กู้ไปแล้ว ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้การพิจารณา
Package ในการทำ Security ค่อนข้างยุ่งยากมากและเสียค่าใช้จ่ายมาก อย่างบริษัทเรามีลูกค้าทางด้าน
housing loan มาก เราต้องการที่จะขายออกไป เราก็ขายไม่ได้จะ package ด้วย
securities พวกนั้นเราก็ทำไม่ได้ ลูกค้าเราจะมากู้เงินเอาพวกที่ดินบ้านจดจำนองอันดับ
2 เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก และจะจดให้ใครในเมื่อคนมาซื้อหนี้ 4-5 พันคนมาซื้อหนี้พวกนี้ไป
การ package จึงเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะทำสินทรัพย์ให้เป็น security แต่ถ้าหากปัญหานี้แก้ได้
แต่ก็ต้องเจอปัญหาอีก คือ จะเอาไปขายใครตลาดมันไม่มี ไม่มีพวกนักลงทุนสถาบัน
พวกนักลงทุนรายย่อยก็ไม่นิยมซื้อ debt security เพราะมันมี return ต่ำกว่า
ความคล่องตัวไม่มี ดังนั้น การที่จะพัฒนา Investor base จึงเป็นสิ่งที่น่าท้าทาย
เพราะถึงจะ package มาได้ แต่ก็ไม่มีใครซื้อ กฎหมายที่จะออกมาใหม่นี้ก็พยายามที่จะแก้ทั้งสองจุดนั้นพร้อม
ๆ กัน SIB จึงมีข้อที่พูดถึงการที่จะทำการ Package ได้ง่ายขึ้น แต่รายละเอียดจริง
ๆ ยังไม่ทราบ แต่เท่าที่ทราบเขาต้องการจะตั้ง Trustee ขึ้นมา โดยเอาสินทรัพย์เหล่านี้มาจำนองกับ
Trustee โดยให้ Trustee เหล่านี้เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์แทนผู้ลงทุนทั้งหลาย
แล้วบริษัทก็จะออก Security ได้ โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ สรุปไว้ว่า ถ้าหากเกิด
Default ขึ้นมาก็ให้ Trustee เอาสินทรัพย์เหล่านี้ไป manipulate โดยเอาทรัพย์สินนี้ไปขายเพื่อเอาเงินมาจ่ายให้แก่นักลงทุนรายย่อย
ในแง่ของธนาคารชาติ มองว่า ถ้าหากว่าให้ Package Security ออกมาขายได้แล้ว
อีกทางหนึ่งที่จะสร้าง Investor base ขึ้นมาได้ เพื่อให้มาซื้อก็ต้องมีการปรับดอกเบี้ยให้มีการลอยตัว
ซึ่งดอกเบี้ยลอยตัวได้เมื่อไร คนที่ซื้อ Instrument เหล่านี้ นอกจากหวังเพื่อเอาดอกเบี้ยเป็นรายได้อย่างหนึ่งแล้ว
ทุกครั้งที่มีการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะมีการ trade กันเกิดขึ้น ก็จะเกิด
capital gain ได้ เช่น ถ้าคุณซื้อตั๋วที่มีอายุ 3-5 ปีในระหว่างนี้ คุณจะมีความมั่นใจได้ว่า
จะได้ Net income ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งเป็น Fixed income และในขณะเดียวกัน
ถ้าดอกเบี้ยมันขึ้นลง คนก็จะซื้อขายเอากำไรได้ ซึ่งคนไทยจะชอบลักษณะนี้มาก
คนหลายคนอาจคิดว่าการปล่อยดอกเบี้ยลอยตัวจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในตลาด
จริง ๆ แล้ว ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันสร้างตลาดขึ้นมาได้ จริง
ๆ แล้ว เรื่องดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องให้มันเป็นไปตามวิถีทางตลาดอย่างจริง
ๆ ทั้ง SUPPLY และ DEMAND แต่ในขณะนี้ ธนาคารชาติออกมาพูดไม่ค่อยเคลียร์
เป็นลักษณะที่ว่าจะเปิดให้ดอกเบี้ยลอยตัวเสรีสำหรับอนาคต แต่ไม่ได้บอกในรายละเอียดว่าอะไร
พิเศษ : อุปสรรคทางด้านกฎหมายที่เกิดขึ้น เนื่องจากกฎหมายไม่เคยคิดสิ่งที่เรากำลังคิด
เราคิด 2 ชั้น แต่กฎหมายคิดชั้นเดียว คือว่ากฎหมายมีไว้สำหรับชั้นเดียว คือ
คุณมีหนี้ คิดจะให้ใครก็โอนไป คุณจำนองทรัพย์สินไว้กับใคร คุณก็คู่กับคนนั้น
นี่คือชั้นเดียว คือเฉพาะคู่กรณี ไม่เคยคิดถึงชั้นที่สองคือ securitization
อย่างเช่น คุณมีหนี้อยู่ คุณเอาที่ดินไปจำนองกับใคร กฎหมายก็จะพูดถึงแต่ว่าผู้จำนองและผู้รับจำนองทั้งสองคน
แต่พอมีการทำ securitization นั่นคือ การเปลี่ยนไปหลายคน เพราะเปลี่ยนเป็นตั๋วหรือตราสารก็ปล่อยออกเป็นสิบเป็นร้อยเป็น
public ไปเลย ปัญหาคือว่า กฎหมายไม่เคยมีการพูดถึงว่าคนหลาย ๆ คนเหล่านี้จะมาแทนสิทธิคนเก่าคนเดียวได้อย่างไร
นี่คือจุดที่ขาดความเชื่อมต่อ