Green Mirror...แผ่นดินไหว ใกล้หรือไกลตัวเรา

โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2550)



กลับสู่หน้าหลัก

จะมีใครสักกี่คนที่รู้ว่าแผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราได้ตลอดเวลา ในความเป็นจริงโลกของเรามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง รู้สึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ประมาณว่าในปีหนึ่งๆ มีแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงกว่า 5 ริกเตอร์ เกิดขึ้นทั่วโลกถึงปีละ 1,000 ครั้ง บางครั้งเราไม่รู้สึกเพราะเกิดขึ้นใต้ท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล หรือในพื้นที่ป่าเขาที่ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ นอกจากนั้นยังมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทีละน้อยๆ โดยผู้คนไม่รู้สึกตัวเลยวันละหลายครั้ง

เมื่อไม่นานมานี้ในปี 2547 เราได้เผชิญกับผลพวงของแผ่นดินไหว ขนาดใหญ่โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย นั่นคือคลื่นยักษ์สึนามิที่เป็นผลพวงของแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ในทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา ทำให้เราเริ่มตื่นตัวให้ ความสนใจในการสำรวจ ศึกษา เผยแพร่ข้อมูล และมีมาตรการป้องกัน ออกมารับภัยกับแผ่นดินไหวกันมากขึ้น

แผ่นดินไหวคืออะไรกันแน่

แผ่นดินไหวก็คือการไหวสะเทือนของเปลือกโลก มีทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเป็น ส่วนใหญ่นั้นมาจากธรรมชาติ อันเป็นการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ซึ่งมีรอยเลื่อน รอยแตก รอยร้าวอยู่ภายใต้ในภาวะที่ไม่มั่นคง จึง เกิดการชนกันบ้าง มุดตัวบ้าง ไถลเลื่อนออกจากกันบ้าง จนเกิดแรงเสียดสีและแรงดันสะเทือนขึ้นมายังพื้นผิวโลกที่เราอาศัยอยู่

ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดจากมนุษย์นั้น เป็นผลพวงมาจากการระเบิดขนาดใหญ่ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การสร้างเขื่อน การกักเก็บน้ำในเขื่อน การขุดเจาะแหล่งน้ำมัน การทำเหมือง และอื่นๆ ที่เป็นการทำร้ายพื้นผิวโลกอย่างแรงๆ นอกจากนั้นแผ่นดินไหว ยังเกิดได้จากลูกอุกกาบาตที่ตกมาจากนอกโลก อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวลักษณะนี้เกิดขึ้นได้น้อยครั้งมากเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวโดยธรรมชาติ

ถ้าเราจะอุตริเปรียบเทียบกับสภาวะโลกร้อน (global warming) ที่กำลังฮือฮากันอยู่ในเวลานี้ก็อาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวโดยธรรมชาตินั้นคืออะไรที่สืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนจากภายใน เพราะการแตกร้าวและรอยเลื่อนของเปลือกโลกมีสาเหตุมาจากความร้อนของหินหลอมละลายที่คุกรุ่นอยู่ในแกนกลางของโลก ทำให้เกิดแรงปะทุแรงดันขึ้นมา ทำให้เปลือกโลกแตกร้าวไหวตัวหรือโก่งตัว

เราเคยได้ยินบ่อยๆ ถึงแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน มานี้เองก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ จนชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยตกใจกันมากนัก บ้านเรือน ของชาวญี่ปุ่นก็เป็นแบบง่ายๆ มีฝาผนังเป็นไม้ไผ่ที่มีน้ำหนักเบา ไม่มีเฟอร์นิเจอร์หรูหรามากมาย ทั้งนี้เพื่อให้บรรเทาความเสียหายและ ฟื้นฟูซ่อมแซมได้ง่าย เพราะญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ตั้งอยู่ในทะเลแปซิฟิกตะวันตกซึ่งอยู่ในแนว ring of fires (แนวรอยเลื่อนใน ทะเลที่มีพลังสูงและคุกรุ่นด้วยภูเขาไฟ) หากเปรียบกับประเทศไทยแล้ว นับว่าเราโชคดีมาก แต่เราจะโชคดีไปได้นานเท่าไรไม่ทราบ เพราะ จากการไหวตัวอย่างรุนแรงของรอยเลื่อนในทะเลอันดามัน ซึ่งเราเคยได้รับบทเรียนมาแล้ว จากคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 และที่เกิดไหวขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ไม่น่าทำให้เราสบายใจได้เลย การให้ความรู้เกี่ยวกับ แผ่นดินไหวมากเท่าไรก็จะช่วยให้ประชาชนพลเมืองเอาตัวรอดได้มากเท่านั้น ดังตัวอย่าง ในเหตุการณ์สึนามิในไทย ที่เด็กชาวอังกฤษได้เรียนรู้เรื่องสึนามิจากครูในโรงเรียน และได้ตะโกนเตือนคนที่อยู่รอบๆ ช่วยชีวิตคนไว้ได้หลายคน

ประวัติศาสตร์บอกอะไรเราได้บ้าง

แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันว่า ประเทศไทยไม่ใช่พื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แต่จากการสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบว่าในอดีตนับพันปีได้เคยเกิดแผ่นดินไหวทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมาแล้ว หลายครั้ง และจากภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้นในปี 2547 ก็ทำให้เราเริ่มสำนึกได้ว่าแผ่นดินไหวและผลพวงแห่งแผ่นดินไหวนั้นไม่ได้อยู่ไกลตัวเลย

การย้อนดูข้อมูล ตำนาน พงศาวดาร ใบลาน ศิลาจารึก จดหมายเหตุในประวัติ ศาสตร์ชี้แนะให้เราเห็นภาพย้อนหลังไปได้ในอดีต ในช่วงพันกว่าปีมานี้เองได้เคยมีเหตุการณ์ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถล่มทลายขึ้นไม่ต่ำกว่า หนึ่งครั้ง ที่ปรากฏชัดจากหลักฐานในประวัติ ศาสตร์นั้นคือ เหตุการณ์ธรณีสูบกลืนบ้านกลืนเมืองของเวียงหนองหล่ม ในแถบอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ณ บริเวณที่เชื่อกันว่าเคยเป็นโยนกนคร เมืองทั้งเมืองจมสู่บาดาลพร้อมกับราชาผู้ครองนครนั้นและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจำนวนมาก กลายเป็นทะเลสาบ ที่ปัจจุบันเรียกว่า "กว๊านพะเยา" หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ชี้ชัดไม่ได้มากนัก จึงมีการศึกษา สำรวจเพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียม (remote sensing image) เครื่องบันทึกความสั่นสะเทือน (seismograph) และการตรวจวัดตัวอย่างดินด้วยวิธีกัมมันตรังสี carbon 14 (ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ผลการศึกษายืนยันได้ว่า บริเวณนั้นได้เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาในช่วงเวลาพันปีที่แล้ว และมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

การศึกษาและข้อมูลทางธรณีวิทยา
และธรณีสัณฐาน

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกัน ศึกษา สำรวจ และตรวจวัดภาคสนาม เมื่อปี 2540 ศึกษาลักษณะการกระจายตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อระบุรอยเลื่อนมีพลัง (active faults) และดูความ โน้มเอียงที่จะเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาเบื้องต้นได้ระบุรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ไว้เป็น 7 กลุ่ม (ตามที่แสดงในแผนที่)

จากข้อมูลที่วัดได้และข้อมูลสำรวจภาคสนาม รอยเลื่อนเหล่านี้มิได้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ได้ (แนวโน้ม จะเป็นการไหวในระดับอ่อนขนาด 3-4 ริกเตอร์) ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกของประเทศ ครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ควรเฝ้าระวังจริงๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ (ในภาคเหนือ) ตาก แม่ฮ่องสอน (ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) กาญจนบุรี ราชบุรี (ภาคตะวันตก) ส่วนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และภาคกลาง มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้น้อยมาก กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างต่ำๆ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น รายงานดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาก่อนปี 2547 ก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมากขึ้น การศึกษาเผยแพร่จึงควรที่จะมีการทบทวนด้วย

จากรายงานการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในปี 2549 ในวารสาร Science Asia โดยคณะอาจารย์ของภาควิชาธรณีวิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำการตรวจสอบรอย เลื่อนมีพลังโดยใช้เทคนิคข้อมูลทางไกลจากดาวเทียม (remote-sensing technique) มีพื้นที่ศึกษาอยู่ทางเหนือและตะวันตกของประเทศ ผลการศึกษาและสำรวจพบว่ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ปิง ซึ่งต่อเนื่องกัน มีร่องรอยที่ได้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์มาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 4,500-5,000 ปีที่ผ่านมา รอยเลื่อนดังกล่าว จัดอยู่ในประเภทรอยเลื่อนใหม่ที่มีศักย์ในการไหว (potentially active) แต่ที่มีนัยสำคัญ คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์มีแนวพาดผ่านเขื่อนศรีนครินทร์ พอดีและมีบางส่วนที่กำลัง active อยู่

จากรายงานอีกฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน "ข่าวสารการธรณี" ได้ศึกษา พื้นที่ทางเหนือแถบจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งมีแนว เดียวกับรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานที่มีรายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง บ่อยครั้ง พบน้ำพุร้อนอยู่ทั่วไปกระจายไปตามแนวรอยเลื่อน (การพบภูเขาไฟหรือน้ำพุร้อน แสดงว่าภายใต้ผิวโลกบริเวณนั้นอยู่ภายใต้แรงดัน ของหินหลอมละลายภายในโลก) ข้อมูลประวัติศาสตร์ก็บ่งบอกชัดว่า การล่มสลายของโยนกนครน่าจะเกิดจากรอยเลื่อนนี้ ผลการหาอายุของรอยเลื่อนโดยวิธี C-14 พบว่าได้เคยเกิดการไหวใหญ่ในอดีตเมื่อ 1,600 ปี มาแล้ว สัมพันธ์กับข้อมูลประวัติศาสตร์และการยุบตัวของเมืองซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าแม่น้ำกก จนทำให้น้ำจากแม่น้ำกกไหลทะลักเข้าไปกลาย เป็นกว๊านพะเยา

นอกจากนั้นการศึกษาทางธรณีสัณฐาน (ซึ่งบ่งบอกการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก) บ่งชี้ว่ารอยเลื่อนเหล่านี้เป็นรอยเลื่อนใหม่ที่อาจจะแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ และรอยเชื่อมต่อของรอยเลื่อนเหล่านี้กับรอยเลื่อนมีพลังนอกประเทศก็นับว่าป็นจุดอ่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เหมือนกัน

นอกจากรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในประเทศ แล้ว รอยเลื่อนนอกประเทศ ในพม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ และหมู่เกาะในทะเลอันดามันและแปซิฟิกตะวันตก ก็มีพลังที่จะส่ง ผลกระทบเข้ามาในประเทศไทยได้ และมักจะ ก่อเหตุเขย่าเมืองเชียงใหม่และเชียงรายให้ตื่นเต้นกันอยู่เนืองๆ ส่วนเหตุการณ์สึนามิที่สร้างความเสียหายที่ต้องจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์ก็เกิดจากรอยเลื่อนมีพลังนอกประเทศ เช่นกัน มีศูนย์กลางอยู่ในทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา

การศึกษาที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านยังมีข้อมูล จำกัดอยู่มาก เป็นแค่การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นการนำร่องเท่านั้น และข้อมูลที่ได้ก็ไม่สัมพันธ์กัน จำเป็นต้องมีการสำรวจและเก็บ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิธีการทันสมัยอย่างเป็นระบบและจำเป็นต้องมีการศึกษาร่วมกันโดยวิทยาการจากหลายๆ สาขา จึงจะสามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนน่าเชื่อถือขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงขึ้นในเมืองไทยได้หรือไม่

จากข้อมูลในและนอกประเทศที่มีอยู่ชี้ได้ว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบริเวณที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ 22 โซน ในจำนวนนี้อยู่ในพม่า 7 โซน ในไทย 6 โซน ในทะเลอันดามัน 5 โซน ในลาวและเวียดนาม 2 โซน ในส่วนของประเทศไทยระบุว่า พื้นที่อ่อนไหวอยู่ทางเหนือและตะวันตกของประเทศ แต่แนวโน้มจะเป็นแผ่นดินไหวอย่างอ่อนประมาณ 3-4 ริกเตอร์ ส่วนทางภาคอีสานและ ภาคใต้สุดติดชายแดนมาเลเซียเกือบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย

แม้รอยเลื่อนมีพลังต่างๆ ในประเทศจะขยับตัวในระดับอ่อนๆ แต่นักวิชาการได้เน้นกลุ่มรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-ด่านเจดีย์สามองค์ และกลุ่มรอยเลื่อนทางภาคเหนือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-เจดีย์สามองค์นี้อยู่ทางภาคตะวันตก ของประเทศ ติดชายแดนประเทศพม่าในเขต จังหวัดกาญจนบุรีเรื่อยไปจนถึงราชบุรี ที่สำคัญคือมีแนวพาดผ่านเขื่อนศรีนครินทร์พอดี และมีแนวต่อเนื่องกับรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในพม่า ซึ่งตามทฤษฎีแล้วมีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดต่ำและปานกลางได้บ่อยครั้ง ถึง แม้ว่าจะมีพลังในระดับอ่อนๆ ก็อาจก่อให้เกิด ความเสียหายได้มาก เพราะเขื่อนอยู่ตรงกับรอยเลื่อนพอดี และการไหวตัวอ่อนๆ อาจมีพลังสะสมตัวขึ้นได้ ยิ่งกว่านั้นการกักเก็บน้ำในเขื่อนก็เป็นปัจจัยกระตุ้นอีกทางหนึ่ง

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ อ้างว่าการไหวสะเทือนที่บันทึกได้เป็นผลเนื่องมาจากการกักเก็บน้ำ แต่เมื่อประมวลข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน (จากกรมทรัพยากรธรณี ภาควิชา ธรณีวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา) ทำให้เชื่อได้ว่า นอกจากผลจากการกักเก็บน้ำในเขื่อนแล้ว เปลือกโลกในบริเวณดังกล่าวก็มีแนวโน้มของแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถทำให้เกิดเขื่อนร้าวได้ และจะทำให้น้ำในเขื่อนไหลทะลักพรั่งพรู ออกมาอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายได้มากทีเดียว

กลุ่มรอยเลื่อนทางเหนือของประเทศ หลักฐานทางธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์พบว่า มีหลายรอยที่อยู่ในแนวเดียวกับรอยเลื่อนในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีการไหวรุนแรงบ่อยครั้งทั้งในอดีตและปัจจุบัน จึงมีการสำรวจ เพิ่มเติมโดยการขุดร่องสำรวจเก็บตัวอย่างดิน ตามแนวรอยเลื่อนที่ความลึกระดับต่างๆ พิสูจน์ได้ว่า โซนแผ่นดินไหวทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยรอยเลื่อนมีพลังจริงๆ ส่วนโซนอื่นๆ เป็น แค่รอยเลื่อนน่ามีพลังทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อประมวลผลการศึกษาแล้วจึงจัดแบ่งพื้นที่เสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวในประเทศออกมาได้เป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 คือ บริเวณที่ไม่มี ความเสี่ยง ไปจนถึงระดับ 4 ได้แก่ บริเวณ ที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงค่อนข้างสูง หรือขนาด 5 ริกเตอร์ขึ้นไป (ดังแสดงรายละเอียด อยู่ในแผนที่)

ในจำนวนกลุ่มรอยเลื่อนนอกประเทศ นับว่ากลุ่มอินโด-พม่า-ออสเตรเลียนั้นน่าจับตา มองที่สุด รอยเลื่อนนี้มีแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ต่อเชื่อมกัน เรียกว่า Indo-Australian Plate มีรอยต่อของรอยเลื่อนที่ active มากๆ อยู่ใน ทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา ซึ่งก่อให้เกิด แผ่นดินไหวประเภทมุดตัว (subduction) ที่มีจุดกำเนิดอยู่ลึกๆ และหลายครั้งที่มีความรุนแรงสูง รอยเลื่อนอันนี้นี่เองที่ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในทะเลและมีขนาดสูงถึง 9.1 ริกเตอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็เกิดการไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์ แต่ก่อความเสียหายได้ไม่มากนัก เพราะปัจจุบันในหลายประเทศแถบนี้มีระบบตรวดจับและเตือนภัยอย่างดีเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ จากการตรวจวัดพบว่ารอยเลื่อนนี้มีพลังไหวตัวสูงและได้สะสม พลังไว้ทีละนิดมาเป็นเวลาหลายร้อยปี สามารถที่จะไหวอย่างรุนแรงได้อีกในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้

ส่วนรอยเลื่อนในประเทศลาวก็ไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน เพราะทำให้ เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อเร็วๆ นี้เองในเดือนพฤษภาคม 2550 รู้สึกได้ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศลาว จากการขยับของรอยเลื่อนแม่น้ำมา

หากกรุงเทพฯ ถูกเขย่าด้วยแผ่นดินไหว

กรุงเทพฯ จัดอยู่ในโซนที่มีความเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวระดับ 2 คือ ต่ำถึงปานกลาง มีโอกาสรับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาด 4-5 ริกเตอร์ได้ และจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างอาคารให้รับแรงสะเทือนแผ่นดิน ไหวขนาดนี้ให้ได้

แต่เนื่องจากภูมิสัณฐานของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และชั้นดินเป็นดินเหนียวอ่อน จึงทำให้รู้สึกถึงความไหวสะเทือนได้ง่ายและเร็ว แม้ว่าจะเป็นการไหวที่ไม่รุนแรง หรือไม่ได้อยู่ใกล้ศูนย์กลางมากนัก ดินเหนียวอ่อนเป็นตัวกลางที่ส่งผ่านแรงสะเทือนได้มากและเร็ว

ความเสี่ยงภัยของชาวกรุงเทพฯ อยู่ที่ความหนาแน่นของอาคารบ้านเรือน ตึกสูงระฟ้า ทางด่วน และการจราจรอันหนาแน่น แม้แต่ป้าย โฆษณาที่ตั้งอยู่ริมทางก็หล่นลงมาทับคนตายได้ แรงสั่นสะเทือนที่ไม่รุนแรงนักอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในกรุงเทพฯได้มาก ซึ่งอาจบรรเทาความเสียหายได้ด้วยการวางแผนและป้องกันไว้ล่วงหน้า

แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ในกรุงเทพฯ นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากรอยเลื่อนมีพลังภายในประเทศหรือนอกประเทศ ที่ผ่านมามิได้ทำให้เกิดความเสียหายจริงจัง เพียงแต่เกิดการโยกไหวให้ตื่นเต้นกันเล่นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะประมาทมิได้เป็นอันขาด เพราะถ้าเกิดอะไรเพียงเล็กน้อยขึ้น นั่นหมายถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินและคนจำนวนมากและอาจจะต่อเนื่องไปถึงไฟไหม้ใหญ่ได้ด้วย นอกจากนั้นแนวโน้มที่แผ่นดินไหวจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงขึ้นในภูมิภาคแถบนี้ ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ย่อมส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ได้รอบด้านอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากการไหวของรอยเลื่อนที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศ หรือนอกประเทศ เช่น ในพม่า ลาว ทะเลอันดามัน ก็ตาม จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ชาว กรุงเทพฯ จะนิ่งนอนใจได้สนิทนัก

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่กรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้อง เข้มงวดและทบทวนกฎระเบียบในการก่อสร้างอาคารสูง และถนนหนทาง ในกรุงเทพฯ ให้รับแรงสะเทือนแผ่นดินไหวระดับนั้นให้ได้ ซึ่งเข้าใจว่าขณะนี้ก็กำลังดำเนิน การทบทวนเพิ่มข้อบังคับอยู่ ในส่วนของอาคาร ที่ยังไม่ได้สร้างนั้นไม่น่ามีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ อาคารเก่าหรืออาคารที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหลายๆอาคารก็มีอันตรายมากอยู่แล้วแม้ว่าจะไม่เกิดแผ่นดินไหวสักนิด

เราจะไหวตัวกันอย่างไร
เพื่อเตรียมรับภัยพิบัติที่อาจจจะเกิดขึ้น

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่พยากรณ์ได้ยาก ยังไม่สามารถระบุได้แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร มีความรุนแรงขนาดไหน และตรงบริเวณไหน การเตือนภัยจึงเป็นการลดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตผู้คนได้ดีที่สุด นอกจากนั้นก็ต้องมีการวางแผนการจัด การเมืองที่ดี มีการวางผังเมือง การออกข้อกำหนดอาคารและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่อย่าง รอบคอบ การสร้างถนนหนทาง สะพาน ให้มี ความแข็งแรงพอที่จะรับแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารและ ให้ความรู้แก่ประชาชน

เราจำเป็นต้องยอมรับว่าข้อมูลเกี่ยวกับ แผ่นดินไหวและการศึกษาทางธรณีวิทยาของเรายังอ่อนนัก จำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจเพิ่มเติมในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต้องมีการพิสูจน์ การขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลังที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ติดตามบันทึกผล มีการวิเคราะห์ และคาดการณ์ที่เป็นระบบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

หลายคนคงตระหนักดีว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้สั่นสะเทือนอยู่ทุกขณะ แต่ที่เขย่าความรู้สึกมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ ลมปากของ คนที่มีอัตตาหลายกลุ่มหลายฝ่ายประชันกัน ชิงอำนาจชิงความเด่นดังเหนือกัน โดยไม่คำนึง ถึงประชาชนส่วนรวมว่าเขาจะรู้สึกกันอย่างไร ทำให้เศรษฐกิจ สังคม ของประเทศสั่นไหวไป ยิ่งกว่าแผ่นดินไหวใดๆ เสียอีก

รอยเลื่อน (faults)

คือรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ในสภาพที่ไม่เสถียร มีการขยับตัวอยู่ เรื่อยๆ เมื่อเกิดการขยับตัวขึ้นครั้งหนึ่งก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวมากบ้างน้อยบ้าง รอยเลื่อนมีกระจายตัวอยู่ทั่วโลก รอยเลื่อนเก่ามักจะอยู่กับที่และหมดพลัง แต่รอยเลื่อนใหม่ๆ ยังมีพลังสะสมอยู่มาก และพร้อมจะไหวตัว เรียกว่า รอยเลื่อนมีพลัง (active faults) รอยเลื่อนมีพลังนี้แหละที่เราต้องเฝ้าระวัง


แผ่นดินไหว
ใกล้หรือไกลตัวเรา
เรื่องโดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร

จะมีใครสักกี่คนที่รู้ว่าแผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราได้ตลอดเวลา ในความเป็นจริงโลกของเรามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง รู้สึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ประมาณว่าในปีหนึ่งๆ มีแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงกว่า 5 ริกเตอร์เกิดขึ้นทั่วโลกถึงปีละ 1,000 ครั้ง บางครั้งเราไม่รู้สึกเพราะเกิดขึ้นใต้ท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล หรือในพื้นที่ป่าเขาที่ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ นอกจากนั้นยังมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทีละน้อยๆ โดยผู้คนไม่รู้สึกตัวเลย วันละหลายครั้ง

เมื่อไม่นานมานี้ในปี 2547 เราได้เผชิญกับผลพวงของแผ่นดินไหว ขนาดใหญ่โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย นั่นคือคลื่นยักษ์สึนามิที่เป็นผลพวงของแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ในทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา ทำให้เราเริ่มตื่นตัวให้ ความสนใจในการสำรวจ ศึกษา เผยแพร่ข้อมูล และมีมาตรการป้องกัน ออกมารับภัยกับแผ่นดินไหวกันมากขึ้น

แผ่นดินไหวคืออะไรกันแน่

แผ่นดินไหวก็คือการไหวสะเทือนของเปลือกโลก มีทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเป็น ส่วนใหญ่นั้นมาจากธรรมชาติ อันเป็นการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ซึ่งมีรอยเลื่อน รอยแตก รอยร้าวอยู่ภายใต้ในภาวะที่ไม่มั่นคง จึง เกิดการชนกันบ้าง มุดตัวบ้าง ไถลเลื่อนออกจากกันบ้าง จนเกิดแรงเสียดสีและแรงดันสะเทือนขึ้นมายังพื้นผิวโลกที่เราอาศัยอยู่

ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดจากมนุษย์นั้น เป็นผลพวงมาจากการระเบิดขนาดใหญ่ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การสร้างเขื่อน การกักเก็บน้ำในเขื่อน การขุดเจาะแหล่งน้ำมัน การทำเหมือง และอื่นๆ ที่เป็นการทำร้ายพื้นผิวโลกอย่างแรงๆ นอกจากนั้นแผ่นดินไหว ยังเกิดได้จากลูกอุกกาบาตที่ตกมาจากนอกโลก อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวลักษณะนี้เกิดขึ้นได้น้อยครั้งมากเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวโดยธรรมชาติ

ถ้าเราจะอุตริเปรียบเทียบกับสภาวะโลกร้อน (global warming) ที่กำลังฮือฮากันอยู่ในเวลานี้ก็อาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวโดยธรรมชาตินั้นคืออะไรที่สืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนจากภายใน เพราะการแตกร้าวและรอยเลื่อนของเปลือกโลกมีสาเหตุมาจากความร้อนของหินหลอมละลายที่คุกรุ่นอยู่ในแกนกลางของโลก ทำให้เกิดแรงปะทุแรงดันขึ้นมา ทำให้เปลือกโลกแตกร้าวไหวตัวหรือโก่งตัว

เราเคยได้ยินบ่อยๆ ถึงแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน มานี้เองก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ จนชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยตกใจกันมากนัก บ้านเรือน ของชาวญี่ปุ่นก็เป็นแบบง่ายๆ มีฝาผนังเป็นไม้ไผ่ที่มีน้ำหนักเบา ไม่มีเฟอร์นิเจอร์หรูหรามากมาย ทั้งนี้เพื่อให้บรรเทาความเสียหายและ ฟื้นฟูซ่อมแซมได้ง่าย เพราะญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ตั้งอยู่ในทะเลแปซิฟิกตะวันตกซึ่งอยู่ในแนว ring of fires (แนวรอยเลื่อนใน ทะเลที่มีพลังสูงและคุกรุ่นด้วยภูเขาไฟ) หากเปรียบกับประเทศไทยแล้ว นับว่าเราโชคดีมาก แต่เราจะโชคดีไปได้นานเท่าไรไม่ทราบ เพราะ จากการไหวตัวอย่างรุนแรงของรอยเลื่อนในทะเลอันดามัน ซึ่งเราเคยได้รับบทเรียนมาแล้ว จากคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 และที่เกิดไหวขึ้นอีกครั้งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ไม่น่าทำให้เราสบายใจได้เลย การให้ความรู้เกี่ยวกับ แผ่นดินไหวมากเท่าไรก็จะช่วยให้ประชาชนพลเมืองเอาตัวรอดได้มากเท่านั้น ดังตัวอย่าง ในเหตุการณ์สึนามิในไทย ที่เด็กชาวอังกฤษได้เรียนรู้เรื่องสึนามิจากครูในโรงเรียน และได้ตะโกนเตือนคนที่อยู่รอบๆ ช่วยชีวิตคนไว้ได้หลายคน

ประวัติศาสตร์บอกอะไรเราได้บ้าง

แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันว่า ประเทศไทยไม่ใช่พื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แต่จากการสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบว่าในอดีตนับพันปีได้เคยเกิดแผ่นดินไหวทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมาแล้ว หลายครั้ง และจากภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้นในปี 2547 ก็ทำให้เราเริ่มสำนึกได้ว่าแผ่นดินไหวและผลพวงแห่งแผ่นดินไหวนั้นไม่ได้อยู่ไกลตัวเลย

การย้อนดูข้อมูล ตำนาน พงศาวดาร ใบลาน ศิลาจารึก จดหมายเหตุในประวัติ ศาสตร์ชี้แนะให้เราเห็นภาพย้อนหลังไปได้ในอดีต ในช่วงพันกว่าปีมานี้เองได้เคยมีเหตุการณ์ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถล่มทลายขึ้นไม่ต่ำกว่า หนึ่งครั้ง ที่ปรากฏชัดจากหลักฐานในประวัติ ศาสตร์นั้นคือ เหตุการณ์ธรณีสูบกลืนบ้านกลืนเมืองของเวียงหนองหล่ม ในแถบอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ณ บริเวณที่เชื่อกันว่าเคยเป็นโยนกนคร เมืองทั้งเมืองจมสู่บาดาลพร้อมกับราชาผู้ครองนครนั้นและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจำนวนมาก กลายเป็นทะเลสาบ ที่ปัจจุบันเรียกว่า "กว๊านพะเยา" หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ชี้ชัดไม่ได้มากนัก จึงมีการศึกษา สำรวจเพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียม (remote sensing image) เครื่องบันทึกความสั่นสะเทือน (seismograph) และการตรวจวัดตัวอย่างดินด้วยวิธีกัมมันตรังสี carbon 14 (ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ผลการศึกษายืนยันได้ว่า บริเวณนั้นได้เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาในช่วงเวลาพันปีที่แล้ว และมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

การศึกษาและข้อมูลทางธรณีวิทยา
และธรณีสัณฐาน

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกัน ศึกษา สำรวจ และตรวจวัดภาคสนาม เมื่อปี 2540 ศึกษาลักษณะการกระจายตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อระบุรอยเลื่อนมีพลัง (active faults) และดูความ โน้มเอียงที่จะเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาเบื้องต้นได้ระบุรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ไว้เป็น 7 กลุ่ม (ตามที่แสดงในแผนที่)

จากข้อมูลที่วัดได้และข้อมูลสำรวจภาคสนาม รอยเลื่อนเหล่านี้มิได้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ได้ (แนวโน้ม จะเป็นการไหวในระดับอ่อนขนาด 3-4 ริกเตอร์) ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกของประเทศ ครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ควรเฝ้าระวังจริงๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ (ในภาคเหนือ) ตาก แม่ฮ่องสอน (ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) กาญจนบุรี ราชบุรี (ภาคตะวันตก) ส่วนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และภาคกลาง มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้น้อยมาก กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างต่ำๆ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น รายงานดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาก่อนปี 2547 ก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมากขึ้น การศึกษาเผยแพร่จึงควรที่จะมีการทบทวนด้วย

จากรายงานการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในปี 2549 ในวารสาร Science Asia โดยคณะอาจารย์ของภาควิชาธรณีวิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำการตรวจสอบรอย เลื่อนมีพลังโดยใช้เทคนิคข้อมูลทางไกลจากดาวเทียม (remote-sensing technique) มีพื้นที่ศึกษาอยู่ทางเหนือและตะวันตกของประเทศ ผลการศึกษาและสำรวจพบว่ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนแม่ปิง ซึ่งต่อเนื่องกัน มีร่องรอยที่ได้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์มาแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 4,500-5,000 ปีที่ผ่านมา รอยเลื่อนดังกล่าว จัดอยู่ในประเภทรอยเลื่อนใหม่ที่มีศักย์ในการไหว (potentially active) แต่ที่มีนัยสำคัญ คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์มีแนวพาดผ่านเขื่อนศรีนครินทร์ พอดีและมีบางส่วนที่กำลัง active อยู่

จากรายงานอีกฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน "ข่าวสารการธรณี" ได้ศึกษา พื้นที่ทางเหนือแถบจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งมีแนว เดียวกับรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานที่มีรายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง บ่อยครั้ง พบน้ำพุร้อนอยู่ทั่วไปกระจายไปตามแนวรอยเลื่อน (การพบภูเขาไฟหรือน้ำพุร้อน แสดงว่าภายใต้ผิวโลกบริเวณนั้นอยู่ภายใต้แรงดัน ของหินหลอมละลายภายในโลก) ข้อมูลประวัติศาสตร์ก็บ่งบอกชัดว่า การล่มสลายของโยนกนครน่าจะเกิดจากรอยเลื่อนนี้ ผลการหาอายุของรอยเลื่อนโดยวิธี C-14 พบว่าได้เคยเกิดการไหวใหญ่ในอดีตเมื่อ 1,600 ปี มาแล้ว สัมพันธ์กับข้อมูลประวัติศาสตร์และการยุบตัวของเมืองซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าแม่น้ำกก จนทำให้น้ำจากแม่น้ำกกไหลทะลักเข้าไปกลาย เป็นกว๊านพะเยา

นอกจากนั้นการศึกษาทางธรณีสัณฐาน (ซึ่งบ่งบอกการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก) บ่งชี้ว่ารอยเลื่อนเหล่านี้เป็นรอยเลื่อนใหม่ที่อาจจะแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ และรอยเชื่อมต่อของรอยเลื่อนเหล่านี้กับรอยเลื่อนมีพลังนอกประเทศก็นับว่าป็นจุดอ่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เหมือนกัน

นอกจากรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในประเทศ แล้ว รอยเลื่อนนอกประเทศ ในพม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ และหมู่เกาะในทะเลอันดามันและแปซิฟิกตะวันตก ก็มีพลังที่จะส่ง ผลกระทบเข้ามาในประเทศไทยได้ และมักจะ ก่อเหตุเขย่าเมืองเชียงใหม่และเชียงรายให้ตื่นเต้นกันอยู่เนืองๆ ส่วนเหตุการณ์สึนามิที่สร้างความเสียหายที่ต้องจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์ก็เกิดจากรอยเลื่อนมีพลังนอกประเทศ เช่นกัน มีศูนย์กลางอยู่ในทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา

การศึกษาที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านยังมีข้อมูล จำกัดอยู่มาก เป็นแค่การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นการนำร่องเท่านั้น และข้อมูลที่ได้ก็ไม่สัมพันธ์กัน จำเป็นต้องมีการสำรวจและเก็บ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิธีการทันสมัยอย่างเป็นระบบและจำเป็นต้องมีการศึกษาร่วมกันโดยวิทยาการจากหลายๆ สาขา จึงจะสามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนน่าเชื่อถือขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงขึ้นในเมืองไทยได้หรือไม่

จากข้อมูลในและนอกประเทศที่มีอยู่ชี้ได้ว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบริเวณที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ 22 โซน ในจำนวนนี้อยู่ในพม่า 7 โซน ในไทย 6 โซน ในทะเลอันดามัน 5 โซน ในลาวและเวียดนาม 2 โซน ในส่วนของประเทศไทยระบุว่า พื้นที่อ่อนไหวอยู่ทางเหนือและตะวันตกของประเทศ แต่แนวโน้มจะเป็นแผ่นดินไหวอย่างอ่อนประมาณ 3-4 ริกเตอร์ ส่วนทางภาคอีสานและ ภาคใต้สุดติดชายแดนมาเลเซียเกือบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย

แม้รอยเลื่อนมีพลังต่างๆ ในประเทศจะขยับตัวในระดับอ่อนๆ แต่นักวิชาการได้เน้นกลุ่มรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-ด่านเจดีย์สามองค์ และกลุ่มรอยเลื่อนทางภาคเหนือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์-เจดีย์สามองค์นี้อยู่ทางภาคตะวันตก ของประเทศ ติดชายแดนประเทศพม่าในเขต จังหวัดกาญจนบุรีเรื่อยไปจนถึงราชบุรี ที่สำคัญคือมีแนวพาดผ่านเขื่อนศรีนครินทร์พอดี และมีแนวต่อเนื่องกับรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในพม่า ซึ่งตามทฤษฎีแล้วมีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดต่ำและปานกลางได้บ่อยครั้ง ถึง แม้ว่าจะมีพลังในระดับอ่อนๆ ก็อาจก่อให้เกิด ความเสียหายได้มาก เพราะเขื่อนอยู่ตรงกับรอยเลื่อนพอดี และการไหวตัวอ่อนๆ อาจมีพลังสะสมตัวขึ้นได้ ยิ่งกว่านั้นการกักเก็บน้ำในเขื่อนก็เป็นปัจจัยกระตุ้นอีกทางหนึ่ง

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ อ้างว่าการไหวสะเทือนที่บันทึกได้เป็นผลเนื่องมาจากการกักเก็บน้ำ แต่เมื่อประมวลข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน (จากกรมทรัพยากรธรณี ภาควิชา ธรณีวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา) ทำให้เชื่อได้ว่า นอกจากผลจากการกักเก็บน้ำในเขื่อนแล้ว เปลือกโลกในบริเวณดังกล่าวก็มีแนวโน้มของแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถทำให้เกิดเขื่อนร้าวได้ และจะทำให้น้ำในเขื่อนไหลทะลักพรั่งพรู ออกมาอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายได้มากทีเดียว

กลุ่มรอยเลื่อนทางเหนือของประเทศ หลักฐานทางธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์พบว่า มีหลายรอยที่อยู่ในแนวเดียวกับรอยเลื่อนในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีการไหวรุนแรงบ่อยครั้งทั้งในอดีตและปัจจุบัน จึงมีการสำรวจ เพิ่มเติมโดยการขุดร่องสำรวจเก็บตัวอย่างดิน ตามแนวรอยเลื่อนที่ความลึกระดับต่างๆ พิสูจน์ได้ว่า โซนแผ่นดินไหวทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยรอยเลื่อนมีพลังจริงๆ ส่วนโซนอื่นๆ เป็น แค่รอยเลื่อนน่ามีพลังทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อประมวลผลการศึกษาแล้วจึงจัดแบ่งพื้นที่เสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวในประเทศออกมาได้เป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 คือ บริเวณที่ไม่มี ความเสี่ยง ไปจนถึงระดับ 4 ได้แก่ บริเวณ ที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงค่อนข้างสูง หรือขนาด 5 ริกเตอร์ขึ้นไป (ดังแสดงรายละเอียด อยู่ในแผนที่)

ในจำนวนกลุ่มรอยเลื่อนนอกประเทศ นับว่ากลุ่มอินโด-พม่า-ออสเตรเลียนั้นน่าจับตา มองที่สุด รอยเลื่อนนี้มีแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ต่อเชื่อมกัน เรียกว่า Indo-Australian Plate มีรอยต่อของรอยเลื่อนที่ active มากๆ อยู่ใน ทะเลอันดามันเหนือเกาะสุมาตรา ซึ่งก่อให้เกิด แผ่นดินไหวประเภทมุดตัว (subduction) ที่มีจุดกำเนิดอยู่ลึกๆ และหลายครั้งที่มีความรุนแรงสูง รอยเลื่อนอันนี้นี่เองที่ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในทะเลและมีขนาดสูงถึง 9.1 ริกเตอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาก็เกิดการไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์ แต่ก่อความเสียหายได้ไม่มากนัก เพราะปัจจุบันในหลายประเทศแถบนี้มีระบบตรวดจับและเตือนภัยอย่างดีเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ จากการตรวจวัดพบว่ารอยเลื่อนนี้มีพลังไหวตัวสูงและได้สะสม พลังไว้ทีละนิดมาเป็นเวลาหลายร้อยปี สามารถที่จะไหวอย่างรุนแรงได้อีกในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้

ส่วนรอยเลื่อนในประเทศลาวก็ไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน เพราะทำให้ เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อเร็วๆ นี้เองในเดือนพฤษภาคม 2550 รู้สึกได้ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศลาว จากการขยับของรอยเลื่อนแม่น้ำมา

หากกรุงเทพฯ ถูกเขย่าด้วยแผ่นดินไหว

กรุงเทพฯ จัดอยู่ในโซนที่มีความเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวระดับ 2 คือ ต่ำถึงปานกลาง มีโอกาสรับผลกระทบจากแผ่นดินไหวขนาด 4-5 ริกเตอร์ได้ และจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างอาคารให้รับแรงสะเทือนแผ่นดิน ไหวขนาดนี้ให้ได้

แต่เนื่องจากภูมิสัณฐานของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และชั้นดินเป็นดินเหนียวอ่อน จึงทำให้รู้สึกถึงความไหวสะเทือนได้ง่ายและเร็ว แม้ว่าจะเป็นการไหวที่ไม่รุนแรง หรือไม่ได้อยู่ใกล้ศูนย์กลางมากนัก ดินเหนียวอ่อนเป็นตัวกลางที่ส่งผ่านแรงสะเทือนได้มากและเร็ว

ความเสี่ยงภัยของชาวกรุงเทพฯ อยู่ที่ความหนาแน่นของอาคารบ้านเรือน ตึกสูงระฟ้า ทางด่วน และการจราจรอันหนาแน่น แม้แต่ป้าย โฆษณาที่ตั้งอยู่ริมทางก็หล่นลงมาทับคนตายได้ แรงสั่นสะเทือนที่ไม่รุนแรงนักอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในกรุงเทพฯได้มาก ซึ่งอาจบรรเทาความเสียหายได้ด้วยการวางแผนและป้องกันไว้ล่วงหน้า

แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ในกรุงเทพฯ นั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากรอยเลื่อนมีพลังภายในประเทศหรือนอกประเทศ ที่ผ่านมามิได้ทำให้เกิดความเสียหายจริงจัง เพียงแต่เกิดการโยกไหวให้ตื่นเต้นกันเล่นเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะประมาทมิได้เป็นอันขาด เพราะถ้าเกิดอะไรเพียงเล็กน้อยขึ้น นั่นหมายถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินและคนจำนวนมากและอาจจะต่อเนื่องไปถึงไฟไหม้ใหญ่ได้ด้วย นอกจากนั้นแนวโน้มที่แผ่นดินไหวจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงขึ้นในภูมิภาคแถบนี้ ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ย่อมส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ได้รอบด้านอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากการไหวของรอยเลื่อนที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศ หรือนอกประเทศ เช่น ในพม่า ลาว ทะเลอันดามัน ก็ตาม จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ชาว กรุงเทพฯ จะนิ่งนอนใจได้สนิทนัก

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่กรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้อง เข้มงวดและทบทวนกฎระเบียบในการก่อสร้างอาคารสูง และถนนหนทาง ในกรุงเทพฯ ให้รับแรงสะเทือนแผ่นดินไหวระดับนั้นให้ได้ ซึ่งเข้าใจว่าขณะนี้ก็กำลังดำเนิน การทบทวนเพิ่มข้อบังคับอยู่ ในส่วนของอาคาร ที่ยังไม่ได้สร้างนั้นไม่น่ามีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ อาคารเก่าหรืออาคารที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหลายๆอาคารก็มีอันตรายมากอยู่แล้วแม้ว่าจะไม่เกิดแผ่นดินไหวสักนิด

เราจะไหวตัวกันอย่างไร
เพื่อเตรียมรับภัยพิบัติที่อาจจจะเกิดขึ้น

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่พยากรณ์ได้ยาก ยังไม่สามารถระบุได้แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร มีความรุนแรงขนาดไหน และตรงบริเวณไหน การเตือนภัยจึงเป็นการลดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตผู้คนได้ดีที่สุด นอกจากนั้นก็ต้องมีการวางแผนการจัด การเมืองที่ดี มีการวางผังเมือง การออกข้อกำหนดอาคารและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่อย่าง รอบคอบ การสร้างถนนหนทาง สะพาน ให้มี ความแข็งแรงพอที่จะรับแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารและ ให้ความรู้แก่ประชาชน

เราจำเป็นต้องยอมรับว่าข้อมูลเกี่ยวกับ แผ่นดินไหวและการศึกษาทางธรณีวิทยาของเรายังอ่อนนัก จำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจเพิ่มเติมในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต้องมีการพิสูจน์ การขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลังที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ติดตามบันทึกผล มีการวิเคราะห์ และคาดการณ์ที่เป็นระบบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

หลายคนคงตระหนักดีว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้สั่นสะเทือนอยู่ทุกขณะ แต่ที่เขย่าความรู้สึกมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ ลมปากของ คนที่มีอัตตาหลายกลุ่มหลายฝ่ายประชันกัน ชิงอำนาจชิงความเด่นดังเหนือกัน โดยไม่คำนึง ถึงประชาชนส่วนรวมว่าเขาจะรู้สึกกันอย่างไร ทำให้เศรษฐกิจ สังคม ของประเทศสั่นไหวไป ยิ่งกว่าแผ่นดินไหวใดๆ เสียอีก

รอยเลื่อน (faults)

คือรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ในสภาพที่ไม่เสถียร มีการขยับตัวอยู่ เรื่อยๆ เมื่อเกิดการขยับตัวขึ้นครั้งหนึ่งก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวมากบ้างน้อยบ้าง รอยเลื่อนมีกระจายตัวอยู่ทั่วโลก รอยเลื่อนเก่ามักจะอยู่กับที่และหมดพลัง แต่รอยเลื่อนใหม่ๆ ยังมีพลังสะสมอยู่มาก และพร้อมจะไหวตัว เรียกว่า รอยเลื่อนมีพลัง (active faults) รอยเลื่อนมีพลังนี้แหละที่เราต้องเฝ้าระวัง


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.