ศึกสายเลือด ธอส. "กิตติ-ศักดา"ขิงก็ราข่าก็แรง

โดย นพ นรนารถ
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ลาออกจากแบงก์อาคารสงเคราะห์ไปแล้ว เรื่องราวความขัดแย้งในองค์กรยุคเขา เกิดเป็นระลอก ผู้บริหารระดับสูงที่ถูกโยกย้ายต่างวิ่งเข้าหาเส้นสายการเมืองภายนอก เพื่อต่อสู้กับเขาอย่างดุเดือด จนท้ายทุดเขาต้องลาออกด้วยความเบื่อหน่าย….ฉากเหตุการณ์เช่นนี้คือศึกสายเลือดที่มีผลต่อพฤติกรรมองค์กรในแบงก์อย่างช่วยไม่ได้

ถ้าจะแบ่งประวัติศาสตร์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออกเป็นยุค ๆ ก็พอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคคือยุคที่หนึ่งเป็นยุคที่ธนาคารนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยนักการเมืองรุ่น 2496 แล้วถูกครอบงำโดยข้าราชการประจำภายใต้อำนาจของรัฐบาลเผด็จการ ในเวลาต่อมา ยุคที่สองเป็นยุคของนักการเมืองขึ้นมาบริหารภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยไร้ทิศทาง หลังเกิดขบวนการ 14 ตุลา ยุคที่สามประวัติศาสตร์มันย้อนรอยกลับมาเป็นยาคของข้าราชการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบ และบัดนี้มันกำลังจะก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์ยุคที่สี่เมื่อกิตติพัฒนพงศ์พิบูล อดีตกรรมการผู้จัดการจำต้องยื่นใบลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับน้ำตานองหน้า มีการพูดกันว่าคนที่จะมาเป็นกรรมการผู้จัดการแทนกิตตินั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วแต่ เขาคนนั้นจะต้องเป็นคนของพรรคชาติไทยอย่างแน่นอน แล้วก็เป็นยุคของนักการเมืองที่จะขึ้นบริหารรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลังแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง

ก่อนที่ กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล อดีตรองผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อต่างประเทศจากธนาคารกรุงไทย จะกระโดดข้ามฟากเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการในธนาคารอาคารสงเคราะห์นั้น มานะศักดิ์ อินทรโกมาลสุตคนของพรรคประชาธิปัตย์นั่งทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการอยู่โดยการสนับสนุนของสนั่น เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และพลเอกอำนาจ ดำริกาญจน์ นั่งเป็นประธานกรรมการธนาคาร

ปี 2523 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอำนาจที่เคยอยู่ในมือของนักการเมืองเริ่มถูกถ่ายเทมาอยู่ในมือของข้าราชการประจำ และนักวิชาการแวดล้อมพลเอกเปรมบากลุ่มอย่างต่อเนื่องถึง 8 ปีที่พลเอกเปรมครองบัลลังก์อยู่นั้นเรียกกันว่าเป็นยุคทองข้าราชการประจำและนักวิชาการแวดล้อมทีเดียว

สมหมาย ฮุนตระกูล อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการคลังถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีอำนาจในการดูแลควบคุมธนาคารอาคารสงเคราะห์รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงแห่งนี้ในปี 2524 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่วิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังแสดงผลนับตั้งแต่วิกฤติการณ์น้ำมัน 2522 เกิดข้าวยากหมากแพง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำาและค่าเงินในตลาดโลกผันผวนอย่างรุนแรงธนาคารอาคารสงเคราะห์ก็ประสบกับปัญหานี้อย่างหนัก ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงลูกค้าเงินกู้ที่ปล่อยออกไปไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ข่าวที่ออกมาในยุคนั้นระบุว่ามีหนี้เสียถึง 2,000 ล้านบาท

มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต ในฐานะกรรมการผู้จดัการได้พยายามดิ้นรนที่จะกอบกู้สถานการณ์ โดยขอให้กระทรวงการคลังให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และช่วยหาแหล่งเงินกู้ต้นทุนดอกเบี้ยต่ำและช่วยหาแหล่งเงินกู้ต้นทุนถูกจากต่างประเทศเข้ามาเสริมสภาพคล่อง โดยมีพลเอกอำนาจ ดำริกาญจน์ ประธานกรรมการในขณะนั้นเป็นคนเจรจากับสมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่

เรื่องทำท่าว่าจะได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดีเพราะบารมีของพลเอกอำนาจ ซึ่งก็รู้อยู่ว่าเขาเป็นนายทหารคนสำคัญที่ค้ำบัลลังก์เปรมอยู่ในขณะนี้

หลักการนี้กำลังอยู่ในขบวนการพิจารณาซึ่งมานะศักดิ์กล่าวว่าเขาถูกดอกเรื่องไว้นานกว่าครึ่งปี แม้จะมีข่าวว่าทางกระทรวงการคลังยินยอมรับตามหลักการที่เขาเสนอแล้วก็ตาม

เพียง 6 วันหลังจากที่ทางกระทรวงการคลังอนุมัติความช่วยเหลือ 23 มิถุนายน 2524 พลเอกอำนาจ ก็เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ทางกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ ไกรศรี จาติกวณิชจากกระทรวงการคลังเข้ามานั่งเป็นประธานกรรมการแทนพลเอกอำนาจ อนาคตของมานะศักดิ์ก็ดับวูบลงตั้งแต่วันนั้น

มานะศักดิ์ถูกซักฟอกอย่างหนักในเรื่องการบิรหารงานธนาคารผิดพลาดล้มเหลวและส่อไปในทางที่ไม่สุจริตทำให้ธนาคารได้รับความเสียหายร่วม 2,000 ล้านบาท

มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ให้ขนของออกไปภายใน 24 ชั่วโมง ติดตามด้วยการแจ้งจับในคดีอาญาและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในทางคดีแพ่งโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่เขาเคยนั่งบริหารอยู่ ผลคือคดีทั้งหมดได้รับการตัดสินแล้ว โดยมานะศักดิ์เป็นฝ่ายชนะ

ไกรศรี จาติกวณิช ดึงเอา กิตติพัฒนพงศ์พิบูล จากรองผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อต่างประเทศธนาคารกรุงไทย หนุ่มนักเรียนอังกฤษเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการแทนมานะศักดิ์ในเวลาติดต่อกัน โดย สมหมายฮุนตระกูล ได้ให้การช่วยเหลือการบริหารงานของกลุ่มใหม่นี้เต็มที่ โดยเฉพาะการค้ำประกันเงินกู้ 1,000 กว่าล้านาบาท จากแหล่งเงินที่สมหมายถนัดคือ เงินเยนจากญี่ปุ่น และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 3-5%/ ปีจากธนาคารแห่งประเทศไทยอีก 1,000 กว่าล้านบาท

กิตติรู้จักกับไกรศรีตั้งแต่สมัยที่เป็นรองผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อที่ธนาคารกรุงไทยซึ่งดูแลรับผิดชอบการปล่อยกู้โครงการถลุงแร่สังกะสีของบริษัทผาแดงอินดัสทรี้ ซึ่งไกรศรีเป็นประธานกรรมการบริษัทในนามกระทรวงการคลัง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งทั้งสองก็คือลูกหม้อกระทรวงการคลังด้วยกัน

เพราะกิตตินั้นก็เป็นคนของกระทรวงการคลังมาแต่งดั้งเดิม ประกอบกับเขาเป็นนักเรียนทุนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในโควตาของกระทรวงการคลังสมัยก่อนที่จะเข้าทำงานอยู่ที่กรมบัญชีกลางย่อมเป็นที่มักคุ้นของผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังทุกคน

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล เกิดที่สมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2488 เป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราหะในขณะที่อายุเพียง 36 ปี เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาเป้นลูกชาวสาวนมะพร้าวสมุทรสงครามกิตติเป้นคนที่เรียนเก่งมาก ๆ เขาสอบเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมได้อันดับต้น ๆ และเป็นนักเรียนติดบอร์ดของโรงเรียนมาตลอดจนเรียนจบแล้วสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แต่กิตติเรียนที่วิศวะจุฬาได้เพียงปีเดียวก็ต้องจากไป เพราะในปีต่อมาเขาสอบชิงทุนกระทรวงการคลังได้ไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เขาใช้เวลาเรียนที่อังกฤษนานถึง 10 ปี เพราะต้องไปเริ่มเรียนชั้นมัธยมที่นั่นใหม่ตามระเบียบการศึกษาของอังกฤษ ทำให้บุคลิกที่ติดตัวเขามาจนทุกวันนี้คือเป็นผู้ดีอังกฤษทุกระเบียดนิ้วเขาเรียนจบชั้นปริญญาโทและรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของอังกฤษ ก่อนที่จะเดินทางกลับเข้ามาทำงาเนป็นเศรษฐกรโทใช้ทุนกระทรวงการคลังที่กรมบัญชีกลางในเวลาต่อมา

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ทำงานอยู่กับกรมบัญชีกลางได้เพียงปีเดียว ซึ่งเป็นปีที่เขาได้แต่งงานกับ วิภาวดี ลืออำรุง ลูกสาวคุณหญิง อุไร ลืออำรุง พี่สาวแท้ ๆ ของธนัญชัย ณ ระนอง เพื่อน และเลขาคู่ใจของสมหมาย ฮุนตระกูล ซึ่งสนิทสนมกันมากขนาดส่งลูกชาย ธวัชชัย ณ ระนองมาเป็นคนติดตามสมหมายขณะเป็น ร.ม.ต.คลังกิตติทำงานใช้หนี้ทุนกระทรวงการคลังยังไม่หมด แต่เขาได้เงินมาจำนวนหนึ่งไปชำระหนี้จนครบแล้วจึงลาออกจากกรมบัญชีกลางเข้ามาทำงานกับธนาคารกรุงไทยในฝ่ายสินเชื่อ

กิตติอยู่ในธนาคารกรุงไทยประมาณ 5 ปี รับผิดชอบดูแลงานด้านสินเชื่อต่าง ๆ ประเทศ เพราะเขาเป็นคนมีความสามารถมีความรู้ด้านภาษาดี ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสมัยนั้น เขาได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว

หนึ่งในจำนวนลูกค้าที่เขาดูแลอยู่นั้นก็คือบริษัทผาแดงอินดัสทรี้ ซึ่งเป็นโครงการการโรงงานถลุงแร่สังกะสีภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารกรุงไทยถือหุ้นใหญ่ในยุคเริ่มต้น

กิตติจึงค่อนข้างโชคดีที่พอเขาเข้ามาบริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ในฐานะกรรมการผู้จัดการแล้ว เขาก็ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ทำให้การทำงานของเขาเป็นไปด้วยความราบรื่นตั้งแต่ก้าวแรกที่เขาเดินเขาไปธนาคารอาคารสงเคราะห์

ทางด้านเงินทุนและการกำหนดกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของเขาจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการบริหารธนาคาร เพราะได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากสมหมาย และไกรศรี ฉะนั้นสิ่งที่เขาจะต้องจัดการในทันทีที่เขาเข้าในธนาคารก็คือเรื่องการบริหารงานบุคคล

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนักบิรหารคนอื่น ๆที่แรก ๆ ก็เดินเข้ามาตัวคนเดียว เพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อนที่จะเดินงานต่อไป ในขณะที่เขามอบหมายให้กรมตำรวจดำนินคดีอาญาและยื่นฟ้องคดีแพ่งด้วยธนาคารเองเอากับ มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต อดีตกรรมการผู้จัดการคนก่อนก็ได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องภายในอย่างต่อเนื่อง และทำการโยกย้ายสับเปลี่ยนพนักงานกันเป็นขนานใหญ่

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารอาคารสงเคราะห ์ที่ครองอำนาจอยู่ในยุคที่มานะศักดิ์เป็นกรรมการผู้จัดการหลายคนถูกย้ายขึ้น ไปแขวนไว้ในตำแหน่งที่ปรึกษาและผู้ตรวจการธนาคาร โดยไม่ให้มีงานรับผิดชอบทำอีกต่อไป

ในจำนวนนั้นก็มีประกอบ คำนวรพรหัวหน้าสำนักกฎหมายในสมัยนั้นถูกย้ายขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาทั่วไป ประกอบมีความผิดอย่างฉกาจที่เป็นหัวหน้าส่วนสำนักกฎหมายแล้วแสดงความไม่เห็นด้วยที่ธนาคารสั่งดำเนินอาญาและยื่นฟ้องคดีแพ่งเอากับมานะศักดิ์

ประกอบถูกดองไว้ในตำแหน่งที่ปรึกษาทั่วไปโดยไม่มีงานทำนี้ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีจนกระทั่งปัจจุบัน แม้เขาจะมีเพื่อนธรรมศาสตร์และนักเรียนสมัยอยู่วัดบวรนิเวศที่สนิทกันหลายคนที่เป็นใหญ่เป็นโตในกระทรวงการคลังหลายคนก็ไม่อาจจะช่วยเขาได้

แรก ๆ ประกอบยังพอจะได้รับความนับถือจากพนักงานระดับล่าง ๆ อยู่บ้าง ในฐานะที่เคยเป็นผู้ริหารระดับสูง เขาได้ลงมาช่วยงานพนักงานที่หน้าเคาน์เตอร์เป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้เกิดความเซ็งมากจนน่าเบื่อหน่าย แล้วในที่สุดเขาก็ถูกปฏิเสธจากพนักงานเกือบจะเรียกว่าสิ้นเชิง เมื่อเขาต้องอยู่ในสภาพไร้อำนาจนั้นติดต่อกันมายาวนาน ปัจจุบันประกอบนั่งเก็บตัวเงียบอยู่บนห้องชั้น 2 ของสาขาราชดำเนินที่ศักดา ณรงค์ สั่งให้ช่างรับเหมาช่วยทำให้เป็นสัดส่วน

สิ่งปลอบใจของประกอบคือหนังสือธรรมะ และวารสารเกี่ยวกับอภินิหารและพระเครื่อง สภาพของประกอบเกือบจะเรียกได้ว่ากึ่ง ๆ เสมือนไร้ความสามารถหวาดระแวง โรคความกลัวขึ้นสมอง มีเรื่องให้ทะเลาะเบาะแว้งกับพนักงานและลูกเมียอยู่บ่อย ๆ

คนต่อมาก็คือ สมภพ เชาวน์พันธ์สกุลหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบภายในซึ่งถูกย้ายขึ้นไปแขวนไว้เป็นที่ปรึกษาทั่วไปเช่นกัน ซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่เดิมของเขานั้นเป็นผู้ที่กำความลับเกี่ยวกับการบริหารการจ่ายภายในของมานะศักดิ์อยู่แล้วแหล่งข่าวในธนาคารอาคารสงเคราะห์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าสมภพโดนชะตากรรมนี้ เพราะว่าเขาได้รับหนังสือร้องเรียนจากพนักงานให้เขาตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภายใน หลังจากที่กลุ่มผู้บิรหารใหม่เข้ามาว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต

แม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าใครคือคนที่ส่งหนังสือร้องเรียนขึ้นมา แต่สมภพก็ได้นำเรื่องขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูงและถึงกระทรวงการคลังจนมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ขึ้นมา นิติกรในกระทรวงการคลังระบุว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง แต่ปรากฎว่ากระทรวงการคลังได้เก็บเรื่องเงียบไว้ในระดับสูง คำสั่งที่ออกมาแทนคือให้ สมภพ เชาวน์พันธุ์สกุล ย้ายขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาทั่วไปของธนาคารจนกระทั่งปัจจุบันเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่บริหารระดับซี 5-7 อีกหลายคนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และลงโทษลดขั้นเงินเดือน และลดซีลงคนละ 2 ขั้น 2 ซี ถูกสั่งขึ้นไปเป็นผู้ตรวจการและที่ปรึกษาทั่วไป ในจำนวนนี้ก็มี อาทิ ประสิทธิ์ วิรัตน์สกุล นิทัศน์ สวัสดิภาพ สมศักดิ์ ก้อนทอง เชิดชัย โชติฑิฆัมพร ศักดา ณรงค์ และศิรภรณ์ อาภรณ์ศิริ ซึ่งคนหลังสุดนี้ถูกไล่ออกจากงานเลย

บุคคลเหล่านี้ถูกขนานนามว่าเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจนกระทั่งวันสุดท้ายที่กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ลาออกจากตำแหน่งก็มีการระบุว่า มีความพยายามอย่างสูงสุดในการเคลื่อนไหวที่จะล้มกิตติให้ได้และทำให้กิตติบอกว่ารำคาญตลอดมาที่ทำงานในธนาคารอาคารสงเคราะห์แห่งนี้

เมื่อมีคนถูกเขี่ยออกไปให้อยู่นอกวงจรก็ต้องมีการจัดหาคนใหม่เข้ามาทำงานแทนที่ หรือมีการเรียกขานกันว่ากลุ่มเลือดใหม่ที่กำลังจะสูญเสียอำนาจในขณะนี้ เพราะเป็นคนที่กิตติดึงเข้ามาร่วมงานในยุคของเขา และอย่างน้อยมีลูกน้องเก่าของเขาจากธนาคารกรุงไทยเข้ามาสมทบอีก 5 คน

ในจำนวนนั้นก็มี ศิริวัฒน์ พรหมบุรีอายุอ่อนกว่ากิตติ 7 ปีเดิมเป็นเจ้าหน้าที่ในฝ่ายสินเชื่อธนาคารกรุงไทย อัตราเงินในฝ่ายสินเชื่อธนาคารกรุงไทย อัตราเงินเดือนขณะนั้นประมาณ 5,000 บาท กิตติดึงมาช่วยงานเป็นผู้ช่วยหัวหน้าส่วนสินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ (เทียบเท่ารองผู้จัดการฝ่ายในกรุงไทย) อัตราเงินเดือน 12,000 บาท ปัจจุบันสิริวัฒน์นั่งเป็นหัวหน้าส่วนสินเชื่อโครงการ (เทียบเท่าฝ่ายในกรุงไทย ซี. 8) กินเงินเดือน 20,000 กว่าบาท

ฉัตร น่วมเจริญ เป็นอีกคนหนึ่งที่กิตติดึงเอามาจากฝ่ายสินเชื่อธนาคารกรุงไทย มานั่งทำงานอยู่สำนักกฎหมายในธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฉัตรเป็นคนสนิทของมนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนปัจจุบันและเป็นลูกน้องเก่าของกิตติสมัยอยู่ธนาคารกรุงไทยด้วยเหมือนกัน

สิทธิชัย ลิมปานนท์ หัวหน้าส่วนการเงินคนปัจจุบัน ก็เป็นคนที่กิตติดึงเอามาจากธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้ก็มีสมศักดิ์ อัศวโภคี หัวหน้าส่วนพัฒนาสินเชื่อโครงการ (สาย 2)

พันโทประหยัด ปาลกะวงศ์ ถูกดึงมาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มากินตำแหน่งเลขานุการช่วยบริหารซี 7 ซึ่งก็คือเลขาฯหน้าห้องของกิตตินั่นเองประหยัดเหมือนกับเป็น "การ์ด" ให้กับกิตติไปในตัวด้วยเพราะถ้าใครจะเข้าพบกรรมการผู้จัดการของเขาจะต้องผ่านการตรวจสอบจากนายทหารนอกประจำการคนนี้ด้วย

ประหยัดจบจากคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ เคยเข้าทำงานกับทหาร และเรียนปริญญาโทนิด้าไปด้วยในระหว่างนั้นจนจบได้ยสพันโทก่อนที่จะลาออกมาเข้าทำงานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมัยที่พันเอกสมชาย หิรัญกิจ เป็นผู้ว่าการท่องเที่ยวฯ

ประหยัดเป็นเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวฝ่ายบริการประจำสำนักงานบางแสน ซึ่งคาดกันว่า เขาจะต้องได้ขึ้นเป็นหัวหน้าในระหว่างนั้นอย่างแน่นอน แต่ปรากฎว่าคนที่ได้เป็นหัวหน้าจริง ๆ ในเวลาต่อมาคือลูกชายของพันเอกสมชายเอง ทำให้ประหยัดรู้สึกผิดหวังมากจึงลาออกเมื่อเขาเมื่อเขาติดต่องานที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผ่านจรรยดา มานะทัศน์ หัวหน้าสำนักผู้จดัการและเลขานุการคณะกรรมการซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนปริญญาโทนิด้ารุ่นเดียวกัน

สิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการคนปัจจุบันก็เป็นคนนอกอีกคนหนึ่งที่เข้ามาในธนาคารอาคารสงเคราะห์ในยุคของ กิตติ พัฒน์พงศ์พิบูล เป็นกรรมการผู้จัดการ สิทธิชัยตามที่คนใกล้ชิดเล่าให้ฟังว่าเขาเป็นคนเก่ง เดิมทีเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมของการเคหะแห่งชาติในยุคที่ ดร.วิญญู ณ ถลาง เป็นผู้ว่าฯ เมื่อดำรงค์ ลัทธพิพัฒน์ นักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลูกเขย สนั่น เกตุทัต เข้ามาเป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติในปี 2518 ได้เกิดความขัดแย้งกันเล็กน้อยกับสิทธิชัยทำให้สิทธิชัยตัดสินใจลาออกจากการเคหะฯ โดย ดร.วทัญญู ณ ถลาง นำมาฝากเข้าทำงานที่บริษัทปุ๋ยแห่งชาติในปี 2518 ได้เกิดความขัดแย้งกันเล็กน้อยกับสิทธิชัยทำให้สิทธิชัยตัดสินใจลาออกจากการเคหะฯ โดยดร.วทัญญู ณ ถลาง นำมาฝากเข้าทำงานที่บริษัทปุ๋ยแห่งชาติในช่วงเริ่มต้นโครงการ

สิทธิชัยอยู่กับปุ๋ยแห่งชาติได้ไม่นานซึ่งว่ากันว่าเกิดความขัดแย้งกันภายในอีกเช่นกันทำให้เขาต้องลาออกทิ้งเงินเดือน 45,000 บาทมากินเงินเดือน 20,000 บาท เศษ ๆ ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการคนเดียวจนถึงปัจจุบัน (ตามโครงสร้างของธนาคารมีตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ 2 คน) ซึ่งคาดกันว่า สิทธิชัย ตันติ์พิพัฒน์ จะถูกวางให้รักษาการกรรมการผู้จัดการต่อจากกิตติประมาณ 3 เดือนก่อนที่จะพิจารณาว่าเขาเหมาะสมที่จะขึ้นเป็นต่ออย่างถาวรหรือไม่

ส่วนคนเก่าลูกหม้อธนาคารที่ได้รับการสนับสนุนจากลุ่มผู้บริหารใหม่ในยุคนั้นก็คือ รัตนาเรื่องรอง บัญญัติ ศาสตร์ร้าย อดีตผู้นำสหภาพแรงงาน ภิรมย์ พันธุจินดา ยธวัช วงศ์สว่าง ปรีชา ฉิมไพโรจน์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีชื่อเป็นกรรมการสอบสวนที่กลุ่มผู้บิรหารใหม่ในยุคนั้นตั้งขึ้นมาเฉือดเฉือนพนักงานที่มีความเกี่ยวพัน และรุ่งเรืองสมัยมานะศักดิ์เรืองอำนาจเข้มแข็งในการบริหารมากยิ่งขึ้น

กิตติใช้นโยบายประหยัดอย่างเข้มงวด ในการใช้จ่ายต่าง ๆ ของธนาคาร เขาใช้เงินที่ได้มาจากการกู้ยืมต่างประเทศและพันธบัตรดอกเบี้ยต่ำเป็นตัวทำรายได้เพิ่ม 100 กว่าล้านบาทโดยการปล่อย CALL LOAN ระหว่างธนาคาร ไม่เน้นการระดมเงินฝากและการปล่อยสินเชื่อมากนักในระยะ 3 ปีแรก ( 2524-2526) ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะอยู่ในระหว่างการศึกษากลยุทธ์

ตัวเลขสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 80 กว่าล้านบาท และเงินฝากเพิ่มขึ้น 90 กว่าล้านบาท แต่รายได้เพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาทในปี 2524 มีกำไรเพิ่มขึ้น 15 ล้านบาทในปีเดียวกัน ในขณะที่รายได้ลดลงในปี 2526 แต่กำไรเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านบาทในปีเดียวกัน กำไรส่วนใหญ่จึงเป็นกำไรที่ได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่กระทรวงการคลังช่วยเหลือและการประหยัดค่าใช้จ่าย

ผลประกอบการค่อนข้างก้าวกระโดดเอาในปี 2527 โดยเฉพาะทางด้านเงินฝากเพิ่มขึ้นสูงถึง 3,454 ล้านบาท แต่สินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 645 ล้านบาท กำไรก็ยังคงกระโดดขึ้นอีก 26 ล้านบาท แต่ก็มาลดลงอีกในปี 2528 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารเริ่มมีการลงทุนสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ถนนรัชดาภิเษก และมาตรการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยการจำกัดสินเชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - สมหมาย

กำไรเริมลดลงเรื่อยๆ จนถึงปี 2530 ซึ่งเป็นปีที่ธนาคารได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการลดค่าเงินบาทและการแข็งตัวของค่าเงินเยนที่ธนาคารกู้มานั้นเริ่มแข็งตัวขึ้นอย่างรุนแรง แต่ก็ยังโชคดีที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว รายได้และการลงทุนของคนในประเทศสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งภายหลังต่อมาผลการดำเนินที่ยกมาน ี้เป็นจุดอ่อนอย่างมากสำหรับกิตติที่เขามักให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า เขาเป็นผู้สร้างธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้พ้นจากสภาพความเป็นโรงรับจำนำในอดีต เพราะมักจะถูกตอบโต้เป็นคลื่นใต้น้ำทันทีจากสายอำนาจทางเมืองว่าเป้นการยกตนข่มท่าน และว่าที่กิตติอยู่ได้มาตลอดระยะเวลา 8 ปีนั้นเพราะการค้ำจุ้นของระบบข้าราชการในกระทรวงการคลัง

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล เป็นฝ่ายรุกมาตลอดระยะเวลา 6 ปี เพิ่งจะอ่อนกำลังลงอย่างเห็นได้ชัดและเป็นฝ่ายรับบ้างเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้เอง สิ่งที่กิตติกล่าวว่าเขาถูกรบกวนจนน่ารำคาญจากลุ่มอำนาจเดิมมาตลอดนั้น เริ่มขึ้นที่ ศิราภรณ์ อาภรณ์ศิริเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ประเมินหลักทรัพย์ โดนตั้งกรรมการสอบสวนและไล่ออกจากงานปลายปี 2527

ศิราภรณ์เจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคาะห์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนโดยข้อกล่าวหาว่ารายงานการประเมินราคาหลักทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริง กรณีลูกค้าราย รงค์ วงศ์สวรรค์ นักเขียนชื่อดังในวงเงินขอกู้ 200,000 บาท ศิราภรณ์ประเมินหลักทรัพย์ไว้ 500,000 บาท เมื่อมีการตรวจสอบปรากฏว่าตัวบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ด้วยนั้นยังสร้างไม่เสร็จตามที่ศิราภรณ์รายงาน คณะกรรมการสอบสวนจึงเสนอถึงกิตติและไล่ออกในเวลาต่อมา

"ผมไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง ผมอุทธรณ์ขอกลับเข้าทำงาน แต่ไม่ได้รับการพิจารณา กถ้าผมจะผิดก็ไม่ถึงไล่ออกและธนาคารก็ยังไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดจากกรณีของผม" ศิราภรณ์เล่าให้ฟังเมื่อสมัยถูกไล่ออกใหม่ ๆ

เมื่อหาหนทางกลับเข้าทำงานไม่ได้ ศิราภรณืเดินเครือ่งโดยสวมรอยสมอ้างตัวเองว่าเป็นเจ้าของบัตรสนเท่ห์กล่าวหาว่า กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล กรรมการผู้จัดการใช้เงินเบี้ยประกันผิดประเภท และนำรถของธนาคารไปใช้ส่วนตัว ซึ่งขณะนั้นคณะกรรมการสอบสวนที่กระทรวงการคลังตั้งขึ้นมาสอบสวนกำลังจะหยุดทำการสอบสวนอยู่แล้ว เพราะไม่มีผู้ร้องทุกข์เป็นตัวตน

เมื่อศิราภรณ์รับสมอ้างว่าเขาเป็นผู้เขียนบัตรสนเท่ห์ขึ้นมาเอง ผู้ร้องทุกข์เกิดมีตัวตนขึ้นมา การสอบสวนของคณะกรรมการจึงดำเนินการต่อไป นิติกร ซี. 8 ของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้สรุปรายงานการสอบสวนระบุว่าเป็นกระทำผิดจริงและขอให้มีการลงโทษ

เรื่องได้สร้างความโกรธแค้นให้แก่ผู้บิรหารทั้งในกระทรวงการคลังและธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง จึงให้มีการสั่งให้มีการสอบสวนกันใหม่และสรุปว่าการกระทำที่ถูกกล่าวอ้างนั้นไม่มีความผิด

การที่กระทรวงการคลังแก้เกมของศิราภรณ์ เช่นนั้นยิ่งเพิ่มความกดดันให้แก่เขามากขึ้นไปอีก ศิราภรณ์สาวเรื่องการจัดซื้อที่ดินสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ในปัจจุบัน โดยรูปอยู่ว่าจะทำให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับความเสียหาย เพราะเป็นที่ดินอยู่ในแนวเวนคืนเพื่อทำสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งการสอบสวนก็ระบุออกมาเช่นกันว่าไม่มีความผิดอีกเช่นเคย

ศิราภรณ์เริ่มหมดหวังกับระบบราชการจึงเริ่มวิ่งเข้าหานักการเมือง ช่วงนี้นี่เองที่ศิราภรณ์เริ่มเข้าหา มานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต เพื่อให้ช่วยเหลือเขาและนำข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมองค์กรที่เขไาด้มาให้มานะศักดิ์ ช่วยดำเนินเรื่องให้ แต่เนื่องจากในช่วงนั้นมานะศักดิ์เป็นเพียง ส.ส.สอบตกจึงไม่มีกำลังพอที่จะให้การช่วยเหลือได้มากนัก แต่ศิราภรณ์ก็ได้คำแนะนำติดปลายนวมบ้างเล็กน้อย

ศิราภรณ์เริ่มรุกหนักขึ้นโดยทำเป็นจดหมายปิดผนึกส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัย สุธี สิงห์เสน่หืเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการประพฤติชอบในวงราชการ (ปปป.) กรรมาธิการการเงินและการคลัง สภาผู้แทนราษฎรและอีกหลายหน่วยงานที่ศิราภรณ์พอจะนึกได้ในขณะที่เขากำลังหน้ามืดอยู่นั้น รวมทั้งส่งให้หนังสือพิมพ์ด้วย

แต่ศิราภรณ์ก็ไม่สามารถจะรื้อฟื้นในสิ่งที่เขาต้องการได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและหน่วยงานต่าง ๆ พอใจในคำชี้แจงของ ปลัดกระทรวงการคลังดร.พนัส สิมะเสถียร

กรรมาธิการการเงินการคลังเริ่มจับเรื่องนี้ขึ้นมาเล่นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่การเลือกตั้งล่าสุดปรากฎวามานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต ได้เข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชากรไทย เพราะศิราภรณ์ได้ส่งเรื่องของเขาอีกครั้งถึงหัวหน้าพรรคประชากรไทย สมัคร สุนทรเวช

ผลการพิจารณาติดตามเรือ่งของคณะกรรมาธิการการเงินและการคลังออกมาว่ากิตติไม่มีความผิด ซึ่งในระหว่างนั้น กิตติเริ่มหันมาเจรจากับศิราภรณ์ว่าจะรับกลับเข้าทำงาน แต่ขอเวลาอีกสักระยะหนึ่ง

ขณะที่เดินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ 3-4 ปีติดต่อกัน โดยไม่สนใจทำงานทำการศิราภรณ์ต้องตกอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด บ้านที่เคยอาศัยกันอยู่กับลูกเมียอย่างอบอุ่นที่แจ้งวัฒนะต้องถูกยึดพร้อมกับแยกกันอยู่คนละฝักคนละฝ่ายโดยไม่ได้มีสาเหตุโกรธเคืองกัน แต่เป็นเพราะภาระทางการเงินในครอบครัวบีบคั้น

กิตติเริ่มอ่อนแรงอย่างเห็นได้ชัดเช่นเดียวกัน เมื่อ ไกรศรี จาติกวณิช มีเรื่องมีราว "กรณีโตโยต้าซอเรอร์" จำต้องออกจากราชการ และพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์โดยปริยาย ในปลายยุคสมัยของพลเอกเปรมติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันมาแล้วถึง 7 ปี

ประภัทธ์ โพธิสุธน ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังดูแลงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้จับเรื่องนี้ขึ้นมาเคลียร์ ซึ่งกิตติก็เหนื่อยอ่อนเอามาก ๆ กว่าเรื่องจะเงียบลง เพราะเขาไม่เคยชินกับระบบการใช้อำนาจแบบใหม่ของระบบการเมืองแบบใหม่ที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ

แม้มีการเปลี่ยนประธานกรรมการจาก ไกรศรี จาติกวณิช มาเป็น ไพจิตร เอื้อทวีกุล และจนมาถึง เมธี ภมรานนท์ กิตติก็ยังไม่เหนื่อยมากเท่าคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกาปรกครองในทำเนียบรัฐบาลจากพลเอกเปรมมาเป็นพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งทำให้โฉมหน้าทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

ข้าราชการและนักวิชาการแวดล้อมพอเอกเปรมต่างก็แตกกันกระเจิดกระเจิงแทบจะรวมตัวกันไม่ติด ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่ตำแหน่งบริหารสูงสุด เป็นตำแหน่งทางการเมืองที่แต่งตั้งถอดถอนไปได้ด้วยอำนาจรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงหรือมติคณะรัฐมนตรีถูกเปลี่ยนแปลงเอาข้าราชการหรือนักวิชาการออกไป นำเอาคนที่พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไว้ใจเข้ามารับผิดชอบการบริหารแทน

สำหรับรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกจ้องตาเป็นมัน คนที่หลุดออกจากวงจรก่อนใครอื่นนั้นคือ จำลอง โต๊ะทอง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งอยู่ในตำแหน่งมายาวนานกวา 10 ปี ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยซึ่ง เธียรชัย ศรีวิจิตร นั่งอยู่นั้นก็ร้อน ๆ หนาว ๆ เพียงแต่ธนาคารมันใหญ่เกินกว่าที่จะหาคนมานั่งแทนได้ง่าย ๆ จึงรอดตัวไปได้อย่างหวุดหวิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีกาเรปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้

ตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกำจร สถิรกุล ก็สั่นคลอนอยู่พักใหญ่ก่อนที่จะสง่บลงกลายเป็นคลื่นใต้น้ำที่ไหนอยู่ลึก ๆ รอโอกาสที่จะก่อตัวขึ้นมาอยู่ทุกวันเช่นกัน แล้วก็ถึงคราวตำแนห่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งท้ายสุด กิตติ พันพงศ์พิบูล ก็ไม่สามารถทนรับสภาพตกเป็นฝ่ายรับต่อไปอีกได้

ในขณะที่กิตติตกเป็นฝ่ายรับนับตั้งแต่ไกรศรี จาติกวณิช ออกจากตำแหน่งประธานกรรมกา มีนักการเมืองอยู่คนเดียวคือ ประภัทร์ที่กิตติสามารถเคลียร์สำเร็จโดยการสนับสนุนของ พนัส สิมะเสถียร ปลัดกระทรวงการคลัง เพราะพูดกันด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิแล้วประภัทร์ยังอ่อนกว่าพนัสอยู่มากทีเดียว แต่ก็หาทำให้กิตติกลับขึ้นมาเป็นฝ่ายรุกเช่นเดิมหรือไม่

กิตติยิ่งอ่อนแรงลงเท่าไหร่ ข้อมูลการบริหารงานเกี่ยวกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ยิ่งถูกส่งถึงกระทรวงการคลังถี่ขึ้นเท่านั้น ไม่ว่ากิตติจะพูดอะไรอกมาดูเหมือนจะถูกดักแทงถูกทางตลอดเวลา และการเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ยิ่งชัดเจนขึ้นทุกวัน

"แต่ผู้ใหญในกระทรวงการคลังยังหาคนที่จะมาเป็นแทนไม่ได ้ก็เลยชะลอกันไปก่อน ในขณะเดียวกันนั้นทางฝ่ายข้าราชการประจำก็เสนอหม่อมเต่า (ม.ร.ว. จตุมงคล โสณกุล) เข้าเป็นประธานกรรมการแทนเมธีที่เพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเขาเชื่อกันว่าจะสามารถคานอำนาจทางฝ่ายการเมืองไทย เพราะหม่อมเต่าเป็นข้าราชการที่มีความสามารถและรวยไม่มีแผลที่จะให้นักการเมืองแตะได้" แหล่งข่าวในกระทรวงการคลังกล่าว

แต่แทนที่การแต่งตั้งหม่อมเต่าเข้ามาเป็นประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์จะทำให้เหตุการณ์พลิกไปในทางที่ดีขึ้นสำหรับกิตติ เพราะทั้งสองต่างก็เป็นเพื่อนที่ค่อนข้างสนิทกันทั้งในบานะนักเรียนเก่าอังกฤษมาด้วยกันและเป็นมันสมองใหม่ในกระทรวงการคลังรุ่นราวคราวเดียวกัน

กิตติต้องมาสะดุดขาตัวเองล้ม เมื่อก่อนที่จะมีข่าวออกมาแน่นอนว่า ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล จะขึ้นเป็นประธานกรรมการธนาคารแทนเมธีแน่นอนแล้วนั้น กิตติก็จัดการย้ายเอา พันโทประหยัด ปาลกะวงศ์เลขาหน้าห้องของเขาเข้าไปรับตำแหน่งทางการบริหารคือที่ปรึกษารับผิดชอบสินเชื่อโครงการ และย้ายสิทธิชัย บินอารี ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนการเงินไปเป็นหัวหน้าส่วนการบัญชี ซึ่งเป็นการปิดตำแหน่งบริหารไม่ให้ว่างพอสำหรับลูกหม้อเก่าอย่าง ศักดา ณรงค์ผู้จัดการสาขาราชดำเนินที่กำลังจะได้รับการโปรโมทให้ขึ้นไปในปีนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับการโยกย้ายพร้อมกับการวิเคราะห์การเดินเกมของกิตติถูกส่งถึงรัฐมนตรว่าการกระทรวงการคลัง ประมวลสภาวสุ และ ร.ม.ช. สุธน ชามพูนุช ซึ่งดูแล ธอส.โดยตรง ตลอดทั้งรัฐมนตรีประจำทำเนียบรัฐบาลบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ "วิบ" ของพรรคร่วมรัฐบาล ตลอดทั้งบ้านซอยราช ครู

"มีการเตรียมการขั้นเบื้องต้นวาถ้ากิตติก้าวเข้ามาในเชิงรุกอีกครั้งหนึ่งก็ถือคราวที่จะยืนคำขาดให้กิตติยื่นใบลาออกทันที" และถ้าไม่ลาออก็จะย้ายเข้าประจำกระทรวง แหล่งข่าวที่รู้เรื่องดีคนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ" และข่าวนี้ก็คงถึงหูกิตติอยู่บ้างเช่นกัน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ วาระที่เสนอแต่งตั้งม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล เข้าเป็นประธานกรรมการ ตกบ่ายวันเดียวกัน กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล สั่งให้เลขาพิมพ์คำสั่งย้าย ศักดา ณรงค์ พ้นตำแหนงผู้จัดการราชดำเนิน แล้วแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเลขานุการช่วยบริหาร (ซี. 7 เหมือนเดิม) ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยไม่มีสายงานบังคับบัญชา พร้อมกับมีหนังสือเวียนแจ้งให้ผู้บริหารทั่วธนาคารทราบในทันที คำสั่งมาถึงสาขาราชดเนินเวลา 15.30 น. ศักดายังไม่เซ็นรับทราบคำสั่ง

ศักดา ณรงค์ รีบตะบึงรถเข้าพบผู้ใหญ่กระทรวงการคลังในเย็นวันนั้นทันทีถึงที่บ้าน ศักดาบอกว่าเขาถูกลั่นแกล้งมาตลอดระยะเวลา 8 ปี และคราวนี้คงเป้นคราวที่เขาทนไม่ได้ต่อไปอีกแล้ว ผู้ใหญ่คนนั้นรับปากจะแก้ปัยหาให้ศักดาจึงกลับมารอฟังข่าวที่บ้านหัวใจจดใจจ่อ เพราะถ้าเกมนี้เขาแพ้ชาตินี้ก็ไม่ต้องเกิดกันอีกในธนาคารอาคารสงเคราะห์

ในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายนทั้งคืน กิตตินอนไม่หลับเมื่อได้รับโทรศัพท์จากหม่อมเต่าประธานกรรมการคน่ใหม่ขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งย้ายศักดาและให้กิตติเข้าพบที่กระทรวงในตอนเช้า

ม.ร.ว.จตุมงคล โสภณกุล พูดกับกิตติ พัมนพงศ์พิบูล อย่างตรงไปตรงมาตามประสาเพื่อนว่า "เรื่องนี้ผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังขอให้ทำการเปลี่ยนแปลงคำสั่งด่วน" เพราะเขาว่ากิตติไปรังแกคนของเขา

หนังสือยกเลิกคำสั่งให้ย้ายศักดาจึงออกมาตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 15 พฤศจิกายนพร้อมกับเวียนให้ผู้บริหารทราบทั่วธนาคารเช่นกัน และพอ กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล กลับมาถึงที่ทำงานที่ถนนรัชดาภิเษกเขาก็ตัดสินใจขอลาออกจากตำแหน่ง โดยเตรียมยื่นหนังสือลาออกนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรุ่งขึ้นของสัปดาห์ต่อมาโดยขอให้ใบลาของเขามีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2532 เป็นต้นไป

ขณะที่ "ผู้จัดการ" ปิดต้นฉบับนี้กิตติยังคงนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ใช้อำนาจเต็มตามตำแหน่งทุกประการ มีการล่าลายเซ็นของพนักงานประมาณ 282 คน เพื่อยื่นต่อกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการคนใหม่ คือหม่อมเต่า และตัวกิตติเองเพื่อขอให้เขาอยู่ทำงานเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อไป และได้มีการเตรียมการที่จะจัดงานเลี้ยงอำลาใหญ่ในวันที่ 28 ธันวาคม ที่บริเวณลานหญ้าหน้าสำนักงานใหญ่ ซึ่งนักสังเกตการณืในธนาคารอาคารสงเคราะห์วิเคราะห์ว่านั่นเป็นสิ่งเดียวที่กิตติทำได้ก่อนที่จะอำลาตำแหน่ง นอกจากคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายสำคัญ ๆ ที่เขาจะต้องเซ็นเสียโดยเร็วก่อนที่จะพ้นตำแหน่งไปจริง ๆ

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เริ่มปรากฏชื่อ ศักดา ณรงค์เข้ามาแทนที่ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ถูกระบุตรง ๆ ว่าจะขึ้นเป้นกรรมกาผรู้จดัการแทนกิตติ เพราะขณะนี้ทางพรรคชาติไทยยังหาตัวคนที่จะมานั่นแทนไม่ได้จึงคุยกันในวงในของผู้มีรอำนาจว่า สิทธิชัย ตันติพิพัฒน์รองกรรมการผู้จัดการจะขึ้นเป็นกรรมการรักษาการเป็นเวลา 3 เดือนแล้วค่อยพิจารณาใหม่ว่าสมควรจะให้อยู่ได้หรือไม่

"การที่จะอยู่ต่อได้หรือไม่อยู่ที่ว่าเขาสามารถสนองตอบนโยบายของกระทรวงการคลังได้ขนาดไหน" คนของพรรคชาติไทยคนหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ศักดา ณรงค์ อาจจะขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการสายบริหารงานภายใน เช่น ส่วนกลาง ส่วนควบคุมสินเชื่อ สำนักกฎหมาย ส่วนเงินกู้ทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการพนักงาน พัสด ุและค่าใช้จ่ายสารบรรณ สถานที่ และยานพาหนะ ฝึกอบรม หน่วยประเมินหลักทรัพย์ เร่งรัดหนี้สิน นิติกรรม และเงินกู้รายย่อย ซึ่งเป็นงานที่เขาเคยผ่านมา และมีรายงานจากกระทรวงการคลังยืนยันค่อนข้างแน่นอน

ส่วนตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการที่ว่าง ซึ่งควบคุมทางด้านเงินกู้โครงการนั้นคงจะให้สิทธิชัยดูแลต่อไป

ศักดา ณรงค์ ปีนี้เขาอายุ 36 ปี เท่ากับกิตติสมัยที่เข้ามาใหม่ ๆ จบปริญญาตรีนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้เวลาเรียน 2 ปีครึ่ง ในปี 2519 เข้าทำงานเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายกับธนาคารทหารไทยนปีเดียวกัน พร้อมกับเรียบจบเนติบันฑิตในปีถัดมาจึงสอบเจ้าทำงานกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในตำแหน่งนิติกรโดยสอบได้อันดับหนึ่ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักกฎหมาย (เทียบเท่ารองผู้จัดการฝ่ายซี.7) รับผิดชอบงานทางด้านปรึกษากฎหมาย นิติกรรมสัญญาและคดีความทั้งหมดของธนาคาร

เมื่อปี 2525 หลังจากกิตติเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ศักดาถูกย้ายให้มาเป็นผู้ช่วยหัวหน้าส่วนกลางรับผิดชอบทางด้านพนักงาน สารบรรณ ธุรกิจการฝึกอบรมและค่าใช้จ่าย หน่วยสถานทีและช่าง หน่วยรักษาความปลอดภัยและยานพาหนะ อยู่ในตำแหน่งนี้ติดต่อกันนานถึง 5 ปี จึงได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นผู้จัดการสาขาราชดำเนินในปี 2530

คนในธนาคารอาคารสงเคราะห์บอกว่า ศักดาเป็นคนสนิทของ มานะศักดิ์อินทรโกมาลย์สุต อดีตกรรมการผู้จัดการคนก่อน และเป็นคนที่เก็บข้าวของช่วยมานะศักดิ์ในวันที่ถูกไล่ออกจากธนาคารภายใน 24 ชั่วโมง และเป็นคนขันรถไปส่งมานะศักดิ์ถึงบ้าง แต่สักดาบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขาก็คือลูกน้องคนหนึ่งของมานะศักดิ์เหือนคนอื่นในธนาคารแต่ไม่ถึงกับสนิทกันมาก แต่รับว่าถูกต้องที่ว่ามีเขาเพียงคนเดียวที่กล้าไปช่วยมานะศักดเก็บของในขณะนั้น และก็ยืนยันว่าเขาไม่เห็นด้วยที่จะให้แจ้งความจับและฟ้องร้องทางเพ่งและทางอาญากับมานะศักดิ์ในฐานะที่เขาเป็นทนายของธนาคาร

บุคลิกของกิตติกับศักดาต่างกันราวฟ้ากับดิน กิตติเป็นนักบัญชีและเป็นนักเรียนอังกฤษเป็นคนประหยัดไม่ออกสังคม จะคบค้าก็เฉพาะแต่นักเรียนนอกด้วยกันเท่านั้นในขณะที่ศักดาเป็นคนที่คบคนง่าย ใช้จ่ายมือเติบโดยเฉพาะกับเพื่อนพ้องและผู้หลักผู้ใหญ่ เนื่องจากฐานะครอบครัวร่ำรวย

ศักดาเป็นคนชอบอาสารับใช้ผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยใช้สำนักงานณรงค์ธรรมทนายความซึ่งเขาเป็นเจ้าของอยู่เป็นที่ทำงาน โดยเฉพาะเรื่องคดีความและการจัดการทรัพย์สินให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นอกกระทรวงการคลังและหลังบ้านของนักการเมือง ศักดาจึงเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้ใหญ่หลายคน โดยเฉพาะผู้ใหญ่สายพรรคชาติไทยในปัจจุบัน

เป็นครั้งแรกที่พรรคชาติไทยเข้ามาร่วมบริหารกระทรวงการคลังในยุคที่ประภัทธ โพธิสุธน ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในปลายสมัยของเปรม ติณสูลานนท์ และก็ว่ากันว่า เพราะความช่วยเหลือจากพรรคชาติไทยนี่เองเขาจึงได้ถูกปล่อยออกจากหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าส่วนกลางมาเป็นผู้จัดการสาขาราชดำเนินเมื่อปี 2530 โดยที่กิตติเองก็ไม่ค่อยเต็มใจนัก

สมัยที่ศักดาเป็นผู้ช่วยหัวหน้าส่วนกลางอยู่นั้นก็สร้างความลำบากใจแก่กิตติพอสมควร เพราะเขาคุมฝ่ายการพนักงานและสนับสนุนพนักงานให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาทั้งด้านการเงินและความคิด แต่กิตติก็สามารถแก้เกมได้ด้วยการเลื่อนขึ้น ผู้ที่เป็นประธานสหภาพที่ศักดาสนับสนุนอยู่เดิมให้ขึ้นมามีตำแหน่งสูงขึ้นจนหลุดพ้นจากวงจรบารมีของศักดาไปได้ในที่สุด

ศักดา ณรงค์ พยายามที่จะเอาชนะกิตติด้วยวิธีวิ่งเข้าหานักการเมืองในขณะที่กิตติอาศัยข้าราชการประจำ คนในธนาคารบางคนบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าศักดาคือผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ ศิราภรณ์ อาภรณ์ศิริ ในระหว่างที่เขาดิ้นรนต่อสู้เพื่อขอความเป็นธรรมในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพยายามจะอธิบายว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อจะเลื่อยขาเก้าอี้ของกิตติ

ศักดาคือผู้ให้การช่วยเหลืออุ้มชูแก่ประกอบ คำนวณพร นายเก่าของเขา ที่ถูกย้ายขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาทั่วไปของธนาคารให้มีห้องนั่งเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่บนชั้นสองของสาขาราชดำเนิน และหลายครั้งที่อาการหวาดระแวงของประกอบแสดงออกมาในทางไม่ดีกับลูกค้าและพนักงานจนถึงขั้ยจะมีการพิจารณาโทษให้ประกอบออกจากงาน ศักดาก็กระโดดเข้าไปช่วยเหลือไว้

"ผมชอบช่วยเหลือคนแพ้" ศักดาพูดกับ "ผู้จัดการ" ด้วยเสียงยอมรับจริงจังในขณะที่ตัวเขาก็แทบจะเอาตัวไม่รอดด้วยนิสัยที่ชอบอาสาทำงานให้ผู้ใหญ่คนนั้นคนนี้ในวงการเมืองศักดาเป้นคนกว้างขวางในวงการเมือง โดยเฉพาะในกระทรวงการคลังข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานของข้าราชการกระทรวงการคลังะจถึงมือนักการเมืองในกระทรวงการคลังและทำเนียบรัฐบาลเสมอ ๆ ประโยชน์ที่เขาได้รับโดยตรงก็คือ ข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่ถึงมือนักการเมืองในกระทรวงการคลังโดยสายอื่น ๆ ก็มักจะตกมาอยู่ในมือเขาอยู่เสมอเช่นกัน จึงไม่แปลกที่ศักดามักจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับกิตติตลอดเวลา

"ถ้าจะพูดในแง่ของความรู้เขารู้เราแล้วศักดาได้เปรียบกิตติมากกว่าในขณะนี้" คนในธนาคารอาคารสงเหคราะห์กล่าว กิตติกับศักดาไม่เคยสู้รบกันตรง ๆ มาก่อน หกาก็รู้อยู่ในทีว่าต่างฝ่ายต่างก็จ้องที่จะซัดกันตลอดเวลาเมื่อศักดามารับตำแหน่งผู้จัดการสาขาราชดำเนินใหม่ ๆ สำนักงานใหญ่ก็ออกประกาศทันทีว่าห้ามไม่ให้สาขาราชดำเนินหาเงินฝากจากหน่วยงานราชการ และเมื่อศักดาของอนุมัติใช้โทรศัพท์ทางไกล เพื่อสำรองไว้ติดต่อกับลูกค้าต่างจังหวัดกิตติก็แทงหนังสือมาว่าไม่มีความจำเป็นเพราะธนาคารมีกลยุทธ์อื่นสในการหาลูกค้าเงินฝากอยู่แล้ว

ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวพบปะนักการเมืองของศักดาถูกรายงานถึงกิตติ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังถูกระบุว่าพยายามที่จะล้มกิตติศักดา ก็ถูกบีบทุกวิถีทางที่จะทำให้การทำงานของเขาไมได้รับความสะดวกข้อมูลที่ระบุว่าศักดาถูกกลั่นแกล้งจากข้าราชการประจำก็ยิ่งถูกรายงานถึงนักการเมืองถี่ขึ้น

รายงานผลประกอบการของสาขาราชดำเนินที่ศักดาส่งให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังทราบคือเงินฝากกระแสรายวันเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านบาทเป็น 149.7 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2531 เงินฝากประจำจาก 312 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเป็น 426 ล้านบาทในสิ้นปีเดียวกัน เงินฝากออมทรัพย์พิเศษจาก 3,452 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 3,305 ล้านบาท รวมเงินฝากเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นจาก 3,809 ล้านบาทในปี 2529 เพิ่มขึ้นเป็น 7,737 ล้านบาทเมื่อสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2532 หรือประมาณ 40% ของเงินฝากทั้งหมดของธนาคาร

จนวันสุดท้ายก็ถึงวันระเบิดสงครามกันอย่างเป็นทางการเมื่อ กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล เสนอให้ย้ายศักดา ณรงค์ ไปเข้ากรุในตำแหน่งเลขานุการช่วยบริหาร ซึ่งกิตติตัดสินใจผิดพลาดเพียงนิดเดียวตรงที่มีความเชื่อมั่นกับประธานคนใหม่ ที่เป็นข้าราชการประจำมากกว่านัการเมืองในกระทรวงการคลัง ไม่เช่นนั้นเขาคงจะได้ยื้อไปได้อีกระยะหนึ่งและโอกาสก็คงยังไม่เปิดให้ศักดาได้กว้างถึงขนาดนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.