ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกี่ยวกับการตลาดสินค้าเกษตรประเภทเนื้อสัตว์ที่ผู้ผลิตรายใหญ่
เขาต้องการให้รัฐบาลออกนโนบายการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์อย่างเช่นข้าวโพด
กากถั่วเหลือง และปลาป่นโดยเสรีโดยที่อ้างว่าถ้าไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว การผลิตเนื้อสัตว์ของไทยเราจะสู้กับคู่แข่งต่างประเทศไม่ได้
เขาต้องการนโยบายนี้ให้ออกมาเพื่อที่เขาจะได้มีต้นทุนในการผลิตที่ถูกลงไปอีก
ซึ่งในความเห็นของผมนั้นการที่นโยบายนี้ออกมาผลกระทบในทางลบ จะเกิดกับเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
แต่ผลดีจะตกอยู่ที่ผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์
งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาของการเกษตรตลาดข้อตกลง (CONTACT FARMING) ซึ่งจะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางด้านการเกษตรค่อนข้างมาก
โยงไปถึงความสัมพันธ์ในเรื่องวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ด้วย จุดหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะสนใจเป็นพิเศษ
คือ ในเรื่องของการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ตัวอย่างในเรื่องของอาหารสัตว์นี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในประเด็นของการกระจายรายได้ด้วยเช่นกัน
เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์นี้ มีด้วยกันใน 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์และผู้รับซื้อสัตว์เพื่อส่งออกในส่วนที่
3 นั้นที่เป็นตัวโรงงานเราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าปัจจุบันนี้โรงงานผลิตอาหารสัตว์เกือบทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานใหญ่
ๆ จะดำเนินการโดยบริษัทครบวงจร และเป็นส่วนมากที่มีระบบคอมพิวเตอร์ไรซ์ลงทุน
100 - 200 ล้านแต่มีคนงาน 14 - 15 คนเป็นอย่างมาก
คราวนี้เรามาดูทางด้านเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงไก่ ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่ค่อนข้างจะใหญ่
1 คนเลี้ยงกันได้หมื่นตัวสบาย ๆ ออปติมัมไพรส์ 1 คนต่อ 1 หมื่นตัว สบาย ๆ
เลยมีเกษตรกรไม่มากครัวเรือนก็สามารถเลี้ยงไก่อย่างเป็นกอบเป็นกำได้ ฉะนั้นแล้วนี่ถ้าเผื่อมีการปล่อยให้นำเข้าวัตถุดิบนั้นอย่างเสรี
ผลกระทบอย่างชัดเจนก็คือผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน ซึ่งเท่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์จะมีความต่อเนื่องของการจ้างงานอย่างเป็นชิ้นเป็นอันก็คือการต่อเนื่องไปทางข้างหลัง
คือไปในทางด้านผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ ตัวอย่างเช่นชาวไร่ถั่วเหลือง ชาวไร่ข้าวโพด
ชาวประมง
จะเห็นว่าการบูมของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์นี้ได้ทำให้เกิดการกระจายเป็นชิ้นเป็นอัน
ไปถึงคนจำนวนมากของประเทศจุดน ี้เป็นจุดที่ผมตั้งข้อสังเกตแล้วว่า ถ้ารัฐบาลทำคามข้อเรียกร้องของโรงงานอาหารสัตว์แล้วว่ให้มีการเปิดการค้าเสรีอย่างเต็มที่
เพื่อให้เรามีข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพื่อที่จะไปสู้กับการส่งออกไปยังตลาดโลกได้
แต่จุดหนึ่งที่ ผมค้นพบจากการวิจัยของผม นี่ก็คือว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า เรามีการส่งออกไก่เนื้อที่บูมมาก มันเป็น
2 เท่าเพียงเวลาไม่กี่ปีเท่านั้นเองตั้งแต่ปี 2528 - 29 เป็นตันมาการส่งออกไก่เนื้อของเรามับูมมากเพิ่มจาก
4 หมื่นกว่าตันเป็นเกือบแสนตันในปัจจุบัน
แต่สิ่งหนึ่งที่มันไม่ชอบมาพากลก็คือว่าในขณะที่การส่งออกบูมมาก ๆ ราคาก็ดี
การส่งออกก็ดี แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรที่เลี้ยงไก่กลับมีฐานะที่ย่ำแย่ ยกตัวอย่างเช่นเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ขายอย่างเป็นจริงเป็นจังมีอยู่
2 พื้นที่ให่ญ่ก็คือนครปฐมกับแถบตะวันออกแถวชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา
ไก่ที่ส่งออกมาจากแหล่งเหล่านี้เป็นหลักใหญ่เลย แต่การวิจัยพบว่าเกษตรกรกลับมีกำไรที่ลดลงทำให้เกิดการเลิกกิจการของผู้เลี้ยงไก่เนื้อมีมาก
ประมาณ 40-50% ขายเล้าทิ้ง หรือเลิกไป ในขณะที่ภาพโดยรวมแล้วดูเหมือนว่ามันสวยหรู
ที่น่าจะเป็นโอกาสทองของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ผลที่เกิดขึ้นปรากฎว่าการแบ่งรับความเสี่ยงของบริษัท
ซึ่งเข้ามาทำคอนแท็คฟาร์มมีน้อยมากหรือแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีการแบ่งรับไปเลยผลักกระตุ้นทุนบางอย่างให้เกษตรกร
ตัวอย่างเช่น กรณีของอาหารสัตว์บูมมากเพราะการส่งออกเนื้อไก่และการเลี้ยงกุ้งค่อนข้างจะบูม
การเลี้ยงกุ้งนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมที่จะต้องใช้วัตถุดิบชั้นดี ตัวอย่างเช่นปลาป่นก็ดีและอุตสาหกรรมกุ้งก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำมากกว่าการทำอาหารสัตว์เลี้ยงไก่
เมื่อเป็นเช่นนี้มันก็เลยเกิดการโยกวัตถุดิบดี ๆ ไปทำอาหารกุ้งซึ่งได้กำไรมากกว่าและมีผลที่เป็นไปได้ว่าอาหารไก่มีคุณภาพลดต่ำลง
การผลิตอาหารสัตว์สามารถที่จะใช้วัตถุดิบที่ใช้แทนกันได้ แต่ก็มีผลที่จะทำให้อาหารนั้นมีคุณภาพที่ต่ำลง
อย่างเช่นในกรณีของการเลี้ยงไก่เกษตรกรที่ผมได้สัมภาษณ์เป็น 100 รายนั้นตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
เขาได้อาหารที่แย่ลง ซึ่งทำให้อัตราการแล่เนื้อที่ต่ำลง ต้องใช้อาหารมากขึ้นในขณะที่อัตราการแล่เนื้อมีอัตราที่เท่าเดิมหรือลดลง
ข้อที่สำคัญอีกตัวหนึ่งซึ่งโยงเข้ากับการผลักภาระความเสี่ยง ผลักภาระต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์
ก็คือกรณีของการซื้อขายลูกไก่เพราะเมื่อเกิดกรณีของการส่งออกบูมขึ้นมาลูกไก่ที่เคยมีราคา
5 บาท 6 บาทขึ้นมาเป็นราคาตัวละ 10-11 บาท
เมื่อโครงการคอนแท็คฟาร์มของบริษัทกับเกษตรกรนั้นมีการกำหนดราคา วัตถุดิบหลายตัวรวมทั้งลูกไก่ด้วยที่ราคา
5-6 บาท ขณะที่ในตลาดข้างนอกนั้นตัวละ 10-11 บาท มันก็เลยทำให้เกิดมีการนำลูกไก่ที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรเข้าสู่วงการของเกษตรกร
แล้วเอาลูกไก่ที่มีคุณภาพที่ดีไปขายในตลาดข้างนอก
ทำให้อัตราการตายของไก่นั้นสูงมากผิดปกติ ซึ่งโดยปกติจะไม่เกิน 5% แต่ว่ามันสูงขึ้นถึง
5-10% ฉะนั้นเมื่อโยงกับมาถึงนโยบายการค้าเสรี เราจะมีหลักประกันอย่างไรที่จะทำให้หลักการค้าเสรีอันนั้นมีประโยชน์ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่
เมื่อมีการนำเข้าโดยเสรี ราคาวัตถุดิบอย่างเช่นข้าวโพดกับกากถั่วเหลืองก็จะมีราคาที่ลดลง
เพราะว่าการผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ของต่างประเทศมีลักษณะสำคัญที่ต่างจากของเราที่ราคาของเขาจะถูกกว่า
เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ถ้าไม่ผลิตในประเทศสังคมนิยมก็จะผลิตในประเทศอเมริกาซึ่งกลไกราคาของประเทศสังคมนิยมเขาไม่มีอยู่แล้ว
ส่วนประเทศทุนนิยมอย่างของอเมริกานั้นเขาก็มีการอุดหนุนแก่เกษตรกรอย่างมากมายเพื่อทำให้สินค้าออกมาในตลาดโลกได้อย่างคล่องตัวขึ้น
ผมคิดว่าเราซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งรายได้ต่อหัวของประชาชนยังจัดว่ายากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตร
กำลังพูดถึงนโยบายการค้าเสรีอย่างเอาเป็นเอาตายแต่ขณะเดียวกันที่คู่แข่งของเราซึ่งเหมือนกับยักษ์ในเวทีตลาดโลก
ทั้ง ๆ ที่เขากล้าแข็งอย่างมากทั้งทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เขายังใช้นโยบายที่อุดหนุนช่วยเหลือเกษตรกรเขาทุกรูปแบบ
ผมคิดว่าถ้าเราจะใช้นโยบายการค้าเสรีในเรื่องนี้ผมเห็นว่าเราน่าจะใช้นโยบายการค้าเสรีที่มีลักษณะ
ที่มีเงื่อนไข เพื่อให้ผลพวงของนโยบายนั้นมีประโยชน์ต่อคนจำนวนมากขึ้นของประเทศ
ตัวอย่างเช่นนโยบายที่ประกาศออกมาล่าสุดที่ออกมาว่าจะเลิกระบบเซอร์ชาร์จและหันไปใช้ระบบการเก็บภาษี
10% ถ้าอาหารสัตว์อยู่ในช่วงที่เขากำหนดไว้ เช่นข้าวโพดอยู่ในช่วง 3 บาท
- 3.75 บาท กากถั่วเหลืองอยู่ในช่วง 7.75 - 9.75 บาท ปลาป่น 13-16 บาทต่อกิโลกรัมเก็บภาษีนำเข้า
10% ที่ผมมองก็คือว่าเขาใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเก็บ 10% เขาก็บอกว่า เมื่อพิจารณาราคาของเหล่านี้ในตลาดโลกบวกกับค่าใช้จ่ายในการนำเข้านั้นห่างจากราคาในประเทศอยู่
10% คือทำให้ราคามันตกใกล้เคียงกับภายในประเทศ
ผมคิดว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดมาให้นี้ ไม่น่าที่จะเป็น อัตราที่ตายตัว เพราะว่าราคาในตลาดโลกของเหล่านี้บางช่วงอาจจะลดต่ำลงกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ส่งอก
ซึ่งถ้าเรากำหนดตายตัวแล้วราคาก็จะต่ำกว่าของในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกวัตถุดิบเหล่านี้ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
ทำให้ผลพวงที่ทำให้เกิดการจ้างงานต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เกิดปัญหาได้
เมื่อรัฐบาลมีการเปลี่ยนนโยบายมาเป็นการค้าเสรี ผมเห็นว่าไม่น่าที่จะเป็นการค้าเสรี
ผมเห็นว่าไม่น่าที่จะเป็นการค้าเสรีเต็มที่ ผมว่ามันน่าจะมีอะไรที่อยู่ระหว่างนั้นว่าเป็นนโยาบายที่ปฏิบัติได้
ขณะเดียวกันก็เป้นนโยบายที่คล่องตัวและทำให้การวางแผนการผลิตทั้งเอกชนและเกษตรกรเป็นไปได้ง่ายขึ้น
กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนการค้าแบบเสรีที่จะมีการเก็บภาษีนำเข้าให้ราคา ซึ่งบวกเข้ากับต้นทุนการนำเข้าแล้วมีราคาใกล้เคียงกับระดับราคาวัตถุดิบภายในประเทศ
ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจที่จะวางแผนการผลิตในระยะยาว และยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ของราคาต้นทุนการผลิตของผู้นำเข้า
บางโอกาสก็อาจจะมากเกิน 10% บางคราวก็อาจจะลดต่ำลงกว่า 10% ไม่ใช่เป็น 10%
ตายตัว