ผู้บริหารแทคยันคดีภูษณไม่กระทบแทค ก.ล.ต. สิงคโปร์ไม่ติดใจ
เพราะบริษัทไม่ได้เสียเงิน แจงระบบควบคุมภาย ในดี ความโปร่งใสมากขึ้น เทเลนอร์เข้ามาลงทุน
29% เป็นบทพิสูจน์ ส่วนแผนย้ายตลาดอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
ขณะที่หุ้น UCOM ขานรับข่าวดังกล่าว ไปแล้ว ด้านก.ล.ต.ระบุหลักฐานการซื้อที่ดินภูเก็ตมัดตัวผู้บริหารชัดว่าเป็นเงินที่มาจากแหล่งเดียวกัน
นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็สเซ็ท คอมมูนิเคชั่น
จำกัด (มหาชน) (TAC) เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลัก
ทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษ นายภูษณ ปรีย์มาโนช อดีตผู้บริหารของบริษัทต่อกองบังคับการสืบสวน
สอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) ว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีผลกระทบใดๆ กับบริษัท ซึ่งมีฐานะเป็นจดทะเบียน
อยู่ในตลาดหุ้นสิงคโปร์เลย สำนัก งานก.ล.ต.ของสิงคโปร์ไม่ได้ติดใจใดๆ และเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นว่าเป็น
เรื่องในอดีต ขณะที่เงินของบริษัท ก็ไม่ได้เสียไป แต่เป็นเพียงการเสียประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้
รับเท่านั้น
นอกจากนั้นเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนายบุญชัย เบญจรงคกุล เข้ามา บริหารงานต่อก็ได้ปรับปรุงระบบการบริหารงาน
รวมถึงระบบการควบคุมภายในของบริษัทให้รัดกุมมากขึ้น เช่น การมีกรรมการตรวจ สอบภายในและตั้งคณะกรรมการอิสระ
ทำให้การบริหารงานมีความ โปร่งใส ตามแนวทางของบริษัทจด ทะเบียนของตลาดหุ้นสิงคโปร์และตลาดหุ้นไทย
นายวิชัย กล่าวว่าการพัฒนา ระบบการบริหารงานของบริษัทให้มีความโปร่งใสถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ
ให้บริษัทเทเลนอร์ ซึ่งเป็นบริษัทสื่อ สารยักษ์ใหญ่ที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลนอร์เวย์ตัด
สินใจลงทุนซึ่งการซื้อขายหุ้นก็ต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สิน (ดิว ดิลิเจนท์) ตามกระบวน
การ โดยปัจจุบันเทเลนอร์มีสัดส่วนการถือหุ้นใน แทค 29%
ส่วนเรื่องคดีนั้น ขณะนี้ทางแทคยังไม่ได้รับ การติดต่อไปให้ปากคำเพิ่มเติมจากที่เคยให้ข้อมูล
กับก.ล.ต.ไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงต้องรอผลสรุปจากทางการว่าเป็นอย่างไร
เพื่อให้ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม
"อยากจะทำความเข้าใจกันนายภูษณเป็นเพียงอดีตผู้บริหารอาวุโสของบริษัทเท่านั้น
ไม่ได้มีสถานะเป็นผู้ถือหุ้น หรือผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทมา แต่อย่างใด"
นายวิชัย กล่าวถึงการย้ายบริษัทเพื่อเข้ามา จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าการย้ายไปจดทะเบียนที่ไหนคงไม่สำคัญ
แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือผลประโยชน์ของนักลงทุนเป็นสำคัญ
ขณะที่นายแกรนท์ เฟอร์กูสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน แทค เปิดเผยว่า
ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการ นำแทคเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
เนื่องจากเห็นว่าจะส่งผลดีต่อบริษัท ผู้ถือหุ้น และราคาหุ้นของแทค เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยของ
แทค ในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก หากบริษัท ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะทำให้สามารถเข้ามาซื้อขายหุ้นได้ง่าย
จากปัจจุบันที่ผู้ถือ หุ้นรายย่อยในเมืองไทยอาจจะซื้อขายหุ้นไม่สะดวกนัก
นอกจากนั้น จากการประเมินชื่อของแทค ในสิงคโปร์ ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก ส่งผลให้นักลงทุนอาจจะไม่ค่อยให้ความสนใจหุ้นของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ผลสรุปของการศึกษาดังกล่าวอาจจะเป็นการคงไว้ทั้งสองตลาดก็ได้ โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นมากที่สุด
และต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นก่อน
แหล่งข่าวจากแทคเปิดเผยว่าเดิมบริษัท จะจัดประชุมคณะกรรมการ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ขณะนี้ได้เลื่อนการประชุมออกไป โดยยังไม่ได้ กำหนดว่าจะเป็นเมื่อไหร่ ซึ่งคาดว่าในการประชุม
คณะกรรมการครั้งนี้จะมีการนำเรื่องแผนการจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเข้าหารือด้วย
จากกรณีดังกล่าวนี้ส่งผลต่อราคาหุ้น บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น จำกัด (มหาชน)
(UCOM) อย่างมากเมื่อสัปดาห์ก่อน เพราะกระแสข่าวที่ TAC จะย้ายจากเดิมที่จดทะเบียนในตลาดสิงค-โปร์เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทำให้ราคาหุ้น UCOM พุ่งทันที ซึ่งถือเป็นการรับข่าวอย่างทันที
โบรกเกอร์จากหลายสถาบันต่างมองในทิศ ทางเดียวกันว่าหุ้น UCOM มีแรงซื้อเข้ามาเก็งกำไรข่าว
TAC จะเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหุ้น สิงคโปร์ และราคาหุ้น UCOM ปรับตัวขึ้นตามหุ้น
TAC โดยหุ้น TAC ที่สิงคโปร์ มีแรงซื้อเข้า มาไล่ราคาเพราะคาดหมายว่าหาก TAC เพิกถอน
หุ้น จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อนักลงทุนทั่วไป (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) เหมือนกับตลาดหุ้นไทย
และหากมีการย้ายมาจริง จะสร้างความสะดวกให้ กับแทค ในการเปิดเผยข้อมูลเป็นภาษาไทย
บริษัทหลักทรัพย์เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย มองว่าการย้ายตลาดหุ้นของ TAC ไม่ทำให้มูลค่า
หุ้นแทคที่ UCOM ถืออยู่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าTAC จะจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นใดๆ ยกเว้นราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นสูง
จะทำให้มูลค่าหุ้นที่ UCOM ถืออยู่เพิ่มขึ้นตาม
ส่วนการที่ราคาหุ้นTAC ปรับตัวขึ้นนั้น ไม่ ได้มีประเด็นจากการย้ายตลาดหุ้นของ
TAC แต่ มาจากราคาหุ้น UCOM ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน เมื่อ มีข่าวเข้ามา จึงดึงข่าวมาเล่นประกอบการเก็งกำไร
หุ้น UCOM
บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน กล่าวว่า นักลงทุนได้นำข่าวการย้ายตลาดของ TAC
มาเก็ง กำไรหุ้น UCOM โดยประเมินว่าหากมีการเพิกถอนหุ้นแล้ว TAC จะต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์
หุ้น และ UCOM จะได้ประโยชน์จากการทำเทน เดอร์ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะหากมีการทำเทนเดอร์
UCOM จะเสียประโยชน์เพราะต้องหา เงินมารับซื้อหุ้น TAC ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
มร.ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมบมจ.โทเทิ่ลแอ็สเซ็ท คอมมูนิเคชั่นหรือแทค
เปิดเผยว่าคาดว่าในปีนี้ ตลาดรวมของโทรศัพท์มือถือจะมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยจะมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 21-22 ล้านราย จาก สิ้นปี 2545 มีจำนวนผู้ใช้บริการ
18 ล้านราย ดังนั้น บริษัทจึงทุ่มเงินถึง 1 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพและระบบบริการให้เป็นที่พอใจของลูกค้าในการบริการ
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2546 นั้นพบว่าบริษัทมีอัตราเติบโตเป็นที่น่าพอใจ
แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ โดยในปีนี้บริษัทจะเน้นการรักษาฐานลูกค้าเป็นหลัก
และมี เป้าหมายว่าจะมีลูกค้ารายใหม่เพิ่มอีก 1 ล้านราย จากปีก่อนมีลูกค้าจำนวน
5.6 ล้านราย
ด้านนายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่าการติดตามข้อมูลของ
ก.ล.ตนั้นได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 และได้มีการเดินทางไปหาข้อมูลที่สำนักงาน
ที่ดินที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้ก.ล.ต.ตัดสินใจกล่าวโทษเนื่องจากสามารถ
พิสูจน์ได้ว่าเงินที่ไปซื้อที่ดินเป็นเงินที่มาจากกลุ่ม บุคคลกลุ่มเดียวกัน และการซื้อที่ดินนั้นเป็น
การซื้อเพียง 300 ไร่ ขณะนี้ในสัญญาจะต้องซื้อ 500 ไร่ ซึ่งได้มีการสอบถามถึงความเป็นไปได้ใน
การจัดหาที่ดินที่เหลือ อีก 200 ไร่ ว่าจะสามารถ หามาส่งมอบได้หรือไม่และเป็นที่มาที่ทำให้เห็นว่าที่ดินที่เหลือไม่สามารถหามาส่งมอบได้และเพียงการทำสัญญาไว้เฉยๆ
เท่านั้น
"การกล่าวโทษของก.ล.ต.ถือว่ามีหลักฐานและเอกสารมากพอและครบถ้วนส่วนผลสุดท้าย
ของคดีจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจ ของก.ล.ต. เพราะก.ล.ต.มีหน้าที่ในการสอบสวน
เท่านั้นแต่จะตำรวจจะมีหน้าที่ในการสืบสวน ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและสุดท้ายผลของความรับผิดชอบในคดีที่จะหาข้อสิ้นสุดหรือไม่
ยังต้องขึ้นอยู่กับอัยการด้วยไม่ใช่โทษเฉพาะก.ล.ต"