ปี 2539 ศาสตราจารย์ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ศิษย์เก่าคนแรก เป็นผู้บังคับการของวชิราวุธวิทยาลัย
เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย และวันนี้ "ความรู้อันตกผลึก"
90 ปีของวชิราวุธฯ กำลังเปิดสู่โลกการศึกษาไทยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
"วชิราวุธ หรือครับ ผมไม่ค่อยเห็น พวกเขาเลยนะ ไม่เคยมี เพื่อน ที่นั่น
ส่วนใหญ่แล้ว เพื่อนต่างโรงเรียนจะมีเยอะมากเวลาพวกเรามาเรียนพิเศษ เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยกัน
แต่ไม่เคยเห็นเด็กวชิราวุธ เอ๊ะ! เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่นี่กันหรือเปล่าครับ"
เนตร นาคะสุวรรณ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้
ซึ่งกำลังเตรียมตัวเป็นน้องใหม่ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ย้อนถาม "ผู้จัดการ" เช่นเดียวกับอาจารย์อีกหลายๆ ท่าน ในสถาบันต่างๆ ที่ค่อนข้างอ้ำอึ้ง
ครุ่นคิดต่อคำถาม ที่ว่ารู้จักวชิราวุธ ในแง่ใดบ้าง ในขณะที่คำถามเดียวกันเมื่อถามคนทั่วไป
ก็จะได้คำตอบว่า "อ๋อ! เคยเห็นเครื่องแบบสวยดี ว่าแต่ว่านักเรียน ที่นี่จบมาแล้วเขาต้องรับราชการ
หรือเป็นมหาดเล็กหรือเปล่า"
ตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมาวชิราวุธมีนักเรียน ที่จบมัธยมการศึกษา ชั้นปีที่
6 ไม่เกิน 80 คน ถ้าเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีนักเรียนจบชั้นมัธยม 6 โรงเรียนละไม่ต่ำกว่า
500 คนต่อปี และยังเป็นโรงเรียนประจำ ที่นักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในโรงเรียน
เรื่องราวของ เด็ก ที่นี่ จึงค่อนข้างลี้ลับ และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก
เมื่อ 90 ปีที่แล้ว เด็กวชิราวุธส่วนใหญ่จะเป็นลูกของเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ
หรือข้าราชบริพาร ที่ใกล้ชิดหรือพ่อค้าวาณิช ที่มีฐานะดี และคนกลุ่มนี้เอง
เมื่อมีลูกหลานก็ได้ปลูกฝังให้เรียนต่อๆ มา
นายแพทย์ดนัย บุนนาค ซึ่งเป็นบุตรของข้าราชบริพารท่านหนึ่งในสมัยรัชกาล
ที่ 6 ได้กล่าวถึงตระกูลดังๆ ในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ที่มีมากมาย จนแทบจะเป็นที่เข้าใจว่าเป็นโรงเรียนต้องห้ามของคนชั้นกลางทั่วไปว่า
"พวก ที่มีอันจะกินอยากให้ลูกอยู่ในกรอบที่ดี ก็จะให้เรียน ที่วชิราวุธ
เขาจะฝากเป็นสายพันธุ์กันเลย เช่นตระกูล ณ ถลาง ตระกูลกรรณสูต ตระกูล บุนนาค
เรียนกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ รุ่นพี่ รุ่นลูก ครูบาอาจารย์ก็รู้จักกันทั้งนั้น
ก็ไปฝากกัน...ผมคิดว่าเด็กวชิราวุธได้ดีก็เพราะสายพันธุ์ด้วย เพราะพวกนี้ถูกคัดมาตั้งแต่ครอบครัวเช่นตระกูล
ณ ถลาง ที่ มาจากทางใต้ พี่น้องเป็น มหาดเล็กรับใช้เบื้องพระยุคลบาททั้งนั้น
สมัยโน้นโรงเรียนประจำมีอยู่ 2-3 แห่ง คือ ที่ปริ๊นซ์รอแยล ที่เชียงใหม่
ซึ่งพวกเชียงใหม่ไม่ยอมอยู่เพราะไม่ชอบหน้าฝรั่ง เช่น เจ้าพ่อของเจ้ากอแก้ว
ประกายกาวิล ตระกูลดิศกุล ตระกูลวรวรรณ ตระกูลเทวกุล ตระกูลบุนนาค เป็นต้น"
(จากภาวะผู้นำของศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย โดยสุทธินี คำภา)
เมื่อพลิกดูรายชื่อนักเรียนเก่าใน หนังสือวชิราวุธานุสาสน์จะพบว่า นักเรียนรุ่นแรกในปี
2469 ซึ่งมีทั้งนักเรียนเก่าทั้งหมด 144 ท่าน และเชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ประมาณ 31 ท่าน นอกนั้น จะมีตระกูลดังๆ เช่น ณ
ระนอง หุตะสิงห์ บุนนาค ปันยารชุน โชติกเส ถียร อมาตยกุล สิงหลกะ เป็นต้น
แต่ต่อมาเมื่อการศึกษาในเมืองไทยเจริญขึ้น โรงเรียนอัสสัมชัญ เซ็นต์คาเบรียลหรือกรุงเทพคริสเตียน
รวมทั้งโรงเรียนสาธิต และโรงเรียนนานาชาติ ที่มีหลักสูตรอันทันสมัย เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการศึกษาพ่อค้า
และ กลุ่มข้าราชการส่งลูกหลานไปเรียนเช่นกัน
วันเวลา ที่หมุนผ่านไป ความหลากหลายของจำนวนโรงเรียนได้เพิ่มขึ้น ผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนได้มากขึ้นเช่นกัน
และเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ ทุกวันนี้เด็กวชิราวุธกำลังเปลี่ยนจากคนชั้นสูงฐานะดี
มาสู่คนชั้นกลางระดับล่าง ในขณะที่แนวความคิดของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ผู้บังคับการคนปัจจุบันยังยึดมั่นในทฤษฎีการศึกษา ที่สนับสนุนให้เด็กได้แสวงหาความรู้อย่างมีความสุขอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ดัง ที่ปรากฏในหนังสือ "เพลิน เพื่อรู้" ของเขา ซึ่งเขียนขึ้นมาเมื่อปี 2541
ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้มีการตั้งคำถามไว้ อย่างน่าสนใจว่า ทำอย่างไรการศึกษาจึงจะเป็นสิ่งที่เพลิดเพลินสำหรับเด็ก?
ทำอย่างไร โรงเรียน และครูจึงจะเป็นแรงกระตุ้น และแรงบันดาลใจให้เด็กต้องการเรียนรู้
ไปเรื่อยๆ ตลอด ชีวิต มีความเห็นชัดเจนว่า การเรียนรู้ ที่เพลิดเพลิน เหมือนกับการจุดไฟ
และเมื่อติดไฟแล้วความเพลิน ก็เหมือนลมพัดไม่ให้ไฟมอดดับ
"ผมคิดในเรื่อง plerning เพราะเชื่อว่า การเล่น เพื่อรู้เป็นวิธีการสำคัญ
ในการพัฒนาเด็ก Plearn มาจาก play+ learn เปลี่ยนการเรียนตลอดชีวิต ให้เป็นการเพลินตลอดชีวิต"
แนวความคิดของผู้บังคับการคนปัจจุบัน นอกจากจะตรงกับพระราชประสงค์ของรัชกาล
ที่ 6 ที่ว่า "ข้าพเจ้า ต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งเพลิดเพลินสำหรับเด็ก"
แล้ว ยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่ประกาศใช้ไปเมื่อปี
2542 เช่นกันในเรื่องของการจัดการศึกษา และการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่
จะต่างกันเพียงแต่ว่าในขณะที่โรงเรียนทั่วไป กำลังเตรียมตัวพัฒนาบุคลากร
พัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สัมฤทธิผลตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ในปี 2545 นั้น
วชิราวุธกำลังลงมือปฏิบัติ ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว
ศ.ดร.ชัยอนันต์ เป็นผู้บังคับการคนแรก ที่ไม่ได้เป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ
แต่ก็คือ ผลพวงหนึ่งของการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เพราะเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธตั้งแต่สมัยปีการศึกษา
2493 เป็น นักเรียนคณะเด็กเล็ก ชั้นประ ถม 2 จนจบมัธยมการศึกษาปีที่ 8 เป็นเวลาทั้งหมดถึง
11 ปี ซึ่งตรงกับสมัย ของพระยาภะรตราชาเป็นผู้บังคับการ และยังเป็นผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์
และเศรษฐกิจการเมือง ที่สำคัญยังสามารถเอาความรู้ทั้งหลายมาวิเคราะห์ และนำมาทำเป็นแนวทางการศึกษาใหม่
ที่เน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง และเรียนรู้อย่างรอบด้าน โดยยังมีความเป็นไทย
และวัฒนธรรมไทยเป็นกรอบอยู่อย่างเหนียวแน่น (อ่านประวัติ และผลงานต่างๆ ของท่านในล้อมกรอบ)
ดังนั้น ช่วงเวลา 3 ปีกว่า ในสมัยผู้บังคับการคนนี้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง วชิราวุธ
จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร และการเรียนการสอน
การพัฒนาครู และบุคลากรทั้งหมด
Constructivism ทฤษฎีการศึกษา ที่พัฒนาขึ้นโดย Seymour Papert แห่งสถาบัน
MIT ทฤษฎีนี้เชื่อ มั่นว่า ความรู้เกิดจากการสร้างขึ้นโดยตัวเด็ก การศึกษาจะประกอบด้วยการจัดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์
การคิดของเด็กสอดคล้องกับความจำเป็น ความต้องการ และความเป็นไปได้ในปัจจุบันของพวกเขา
การให้การศึกษาแก่เด็ก จึงต้องคำนึงถึงการคิดของเด็กๆ ในแต่ละขั้นตอนของ
การพัฒนาความรู้ และโลกของเด็ก จะถูกสร้างขึ้น และสร้างใหม่ไปเรื่อยๆ ตาม
ประสบการณ์ส่วนตัวของเขา
Learning to Learn แนวทางการเรียนรู้แบบใหม่โดย Christine Ward ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศนิวซีแลนด์
ซึ่งได้มาจัดการอบรม และแนะนำการสอนแก่ครู อาจารย์ ของวชิราวุธ การเรียนรู้นี้ให้ความสำคัญแก่สมอง
และการใช้สมองอย่างทั่วด้าน รวมทั้งให้ความสำคัญกับลีลาการเรียนรู้ของเด็ก
ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ทั้งสองแนวทางเป็นทฤษฎี ที่ ศ.ดร.ชัยอนันต์ ได้นำมาจัดการอบรมให้กับครู
อาจารย์ ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ
"ตอนไปอบรม ท่านก็ไม่ได้บอกเลยว่าเป็นทฤษฎีการศึกษา หรือเป็นอะไรจะนำไปใช้ยังไง
ท่านบอกว่าไม่ต้องกังวล ท่านไม่ได้บังคับว่าเมื่ออบรม แล้วครูต้องเอาไปใช้แบบไหน
เป็นเรื่อง ที่ครูต้องคิดเองเหมือนกัน ไม่ใช่เพียงแต่เด็กอย่างเดียว ที่ต้องฝึกให้คิดเป็น
ทำเป็น แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ แม้แต่ครูเองก็ต้องคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเองเหมือนกัน"
อาจารย์หม่อมหลวงอาภาวดี จรูญโรจน์ เล่าถึงวิธีการการทำงานของ ศ.ดร.ชัยอนันต์
ซึ่งเป็นการเตรียมให้บุคลากรในวชิราวุธ ได้เข้าใจแนวคิดของท่าน เพื่อเตรียมรับมือกับความคิ
ดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องอีกมากมาย ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ เร่งการพัฒนาการจัดระบบคอมพิวเตอร์
และ การสอนคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งให้ครู และนักเรียนทุกคนใช้เป็นในปี 2539 วชิราวุธมีเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ทั้งในชั้นเด็กเล็ก และเด็กโต 57 เครื่อง ปี 2540 มีเพิ่มเป็น
108 เครื่อง แต่ในปีการศึกษา 2543 นี้ จะต้อง มีจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น
122 เครื่อง
อาจารย์ชัยอนันต์ มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ว่า เมื่อเด็กๆ
แปรสภาพเป็นผู้ควบคุมกระบวนการเรียนรู้ แทน ที่จะเป็นผู้รับความรู้จากการสอนแบบเดิม
จึงเกิดแปลกแยก จากระบบการเรียนมากขึ้น สิ่งที่เด็กเรียนเองมีมากขึ้น หากเขามีทักษะ
และมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือสามารถเช่าเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตได้ หากโรงเรียนไม่ปรับปรุงกระบวนการเรียน
ครูไม่ปรับบทบาท เป็นไปได้ว่าครู และโรงเรียนจะกลายเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่จะถูกข้ามไป
พร้อมๆ กับการติดตั้งคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ในห้อง พร้อมๆ กับอาการตื่นเต้นดีใจของเด็กวชิราวุธก็ได้
มีการปรับปรุงหลักสูตรภาษาต่างประเทศทันทีเช่นกัน โดยมีเป้าหมายไว้ว่า เด็กจะต้องมีการสื่อสารจริงกับชาวต่างประเทศจากปี
2539 วชิราวุธมีครูต่างประเทศน้อยมาก จึงมีการทยอยรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปีการศึกษา
ปี 2545 จะต้องมีครูชาว อังกฤษ อเมริกัน นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น จำนวน 20
คน ( จากร่างแผนพัฒนากำลังคนของวชิราวุธวิทยาลัยปี 2540)
ทางวชิราวุธยังเชื่อว่า นักเรียนทุกคนแม้ได้รับความเอาใจใส่ทางการศึกษาเท่ากัน
แต่พัฒนาการของแต่ละคนไม่เท่ากัน นักเรียน ที่มีทั้งความสามารถ และกระตือรือร้นไม่ควรถูก
หยุดยั้งสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ โดยเรียนไปพร้อมๆ คนอื่น โรงเรียนจึงวางแผนส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้
ให้ได้รับการศึกษาเต็มศักยภาพ โดยจัดกลุ่มนักเรียนเหล่านี้เข้าลู่ ที่เรียกว่า
Fast Track โดยเน้นให้มีความรู้ภาษาอังกฤษขั้นสูง และสามารถเรียนบางวิชา
วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งสามารถใช้อินเตอร์เน็ต
ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างแคล่วคล่อง
"ตอนแรกพอ ได้ฟังผู้บังคับการท่านพูด เรื่องหลักสูตรใหม่ๆ ก็เป็นกังวล เหมือนกันว่าจะตามท่านทันหรือเปล่า
หนักใจเหมือนกัน เพราะวิสัยทัศน์ของท่านกว้าง และไกลมาก การคิดเชิงบวก มันก็ยากนะ
เพราะวัยนี้จริงๆ แล้ว ไม่เคยคิดมาก่อน เขาสั่งอะไรมาเราก็ทำ แต่ท่านก็บอกว่าผมไม่ปล่อย
อาจารย์เดินคลำทางคนเดียว เราต้องไปด้วยกัน ก็โอเค"
อาจารย์สมปอง มีชัย เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ในชีวิตการทำงานของท่าน เมื่อท่านผู้บังคับการคนใหม่เข้ามา และเล่าเพิ่มเติมว่า
"อย่างตอนนี้ ล่าสุดวิชาภาษาอังกฤษ ที่ผ่านๆ มาก็จะเรียนตามระดับชั้นเรียน
เหมือนโรงเรียนอื่นๆ เด็กคนไหนสอบตกก็ซ่อมตกตรงไหนก็สอนซ่อมกันตรงนั้น เราก็แก้ไขเฉพาะจุด
โดยรวมแล้วพอเด็กตาม เพื่อนไม่ทันแล้ว แถมยังต้องเรียนยากขึ้นไปเรื่อยๆ เด็กก็เบื่อ
ต่อไปเราจะไม่เรียนตามระดับชั้นอย่างนั้น อีกแล้ว แต่เอาเด็กมารวมกันทั้งหมด
แล้วมาแบ่งเรียนตามระดับความสามารถของเด็กแต่ละคนจริงๆ ซึ่งหลักสูตรนี้จะเริ่มปีนี้
โดยเริ่มแรกก็จะทดสอบแล้วแบ่งกลุ่มตามความสามารถของเด็ก เด็ก ม.3 อาจจะมาอยู่กับ
ม.1 ก็ได้หากเด็กพื้นความรู้ไม่เก่งจริง เด็ก ที่เก่งก็สามารถเสริมให้เก่งยิ่งๆ
ขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอ เพื่อนอีกแล้ว จะเข้ารูประบบ Fast Track ส่งไปให้อาจารย์ฝรั่งสอนเลย
ไม่ต้องเน้นไวยากรณ์มากมาย แต่เน้นการสนทนาแล้ว
ก็คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดีอย่างน้อยเด็ก ที่เรียนไม่ดีเขาก็จะได้เรียนไป
พร้อมๆ กับกลุ่มเดียวกัน แต่ค่อนข้างมีปัญหาตรง ที่ว่าเด็กต่างชั้นจะจัดตารางสอนลำบาก
เพราะตารางเรียนไม่เหมือนกัน แต่ต้องจัดกันให้ลงตัว ซึ่งท่านก็บอกว่าให้ลองทำดูก่อนมีปัญหาแล้วค่อยแก้ไขกันอีกที"
อาจารย์สมปองเป็นอาจารย์เก่าแก่คนหนึ่งของวชิราวุธ ที่สอนหนังสือ ที่นี่มาตั้งแต่ปี
2507 หลังจากจบคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ก็มาสมัครสอน ที่นี่พร้อม
เพื่อนๆ โดยที่ครั้งแรกไม่คิดว่า ที่นี่จะรับ เพราะเป็นคนขี้อายมาก และการมาสมัครก็แค่ต้องการ
มาเป็น เพื่อนเท่านั้น
แต่หลังจากการเข้ามาใช้ชีวิต ที่นี่แล้ว เธอก็ไม่ได้ต้องการไปสอน ที่ไหนอีกเลย
เป็นเวลาถึง 36 ปี และมีความผูกพันกับเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกหลานอย่างมาก
ทุกวันนี้จึงเป็นครู "ป้าตุ๊" และ "อาเจ้" ของเด็กๆ ด้วยความสุขใจ
ในปีการศึกษา 2540 ได้มีโครงการเปิดสอนวิชาการออกแบบ และ เทคโนโลยี ทั้งระดับประถม
และมัธยม มีการสร้างอาคาร Art Design Technology ขึ้นในปี 2541 และจะก่อสร้างเสร็จ
ในปี 2543 นี้
"ผมก็มองว่าถ้าจะมีการลงทุน ผมจะลงทุนในเรื่องอะไร ผมคิดว่าเวลานี้ เป็นสังคมความรู้
สังคมความรู้คือ ความคิด ความคิดขึ้นอยู่กับโนว์ฮาว และ ความคล่องแคล่ว เมื่อเป็นเช่นนี้ผมก็กำหนดวชิราวุธว่า
เราอาจจะแข่งขันกับโลกนี้ไม่ได้ในเรื่องของสังคมทั้งหมด แต่เราน่าจะแข่งกันได้ในเรื่องของความสามารถเฉพาะตัว
ในเรื่องของความคิดต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผมก็เลยมุ่งไปยังเรื่องศิลปะการออกแบบ
และเทคโนโลยีในระดับโรงเรียน"
นี่คือ ความคิดของศ.ดร.ชัยอนันต์ ในการยอมทุ่มงบประมาณถึง 45 ล้านบาท เพื่อสร้างตึกหลังนี้
โดยมี ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน์ แห่งบริษัท สถาปนิกโฟร์เอสนักเรียนเก่าวชิราวุธ
เป็นผู้ออกแบบ
และจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป นักเรียนเก่าวชิราวุธ
รุ่นเดียวกับผู้บังคับการคนปัจจุบันเป็นอีกผู้หนึ่ง ที่สนับสนุนกิจกรรมนี้ให้เกิดขึ้น
อาคารหลังนี้จึงไม่ได้สร้างเพียง เพื่อเป็นสถานที่เรียนศิลปะตามหลักสูตรเท่านั้น
หากจะเ ป็น ที่แสดงผลงานของนักเรียน รวมทั้งศิลปิน ที่มีชื่อเสียง ซึ่งนักเรียน
รวมทั้งบุคคลทั่วไปก็สามารถแสวงหาความสุขจากการชมงานศิลปะ ได้ นอกจากนั้น
ยังจัดสถานที่ให้ศิลปินได้เข้ามาสร้างงานศิลปะ ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งแก่นักเรียนให้มีความรู้สึกซาบซึ้งกับงานศิลปะได้
กิจกรรมศิลปะ ที่วชิราวุธวิทยาลัย ยังเป็นกิจกรรมส่งเสริมคนที่แม้ไม่ได้
เป็นศิลปินก็สามารถหาความสุขจากการชมงานศิลปะได้อย่างมีรสนิยม อันถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวของความเป็นผู้นำได้ประการหนึ่ง
ส่วนเรื่องของการแสดงการศึกษา แผนใหม่ของวชิราวุธได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก
เมื่อลองนึกย้อนอดีตไปเมื่อ 100 ปีมาแล้ว รัชกาล ที่ 6 ท่าน ก็ได้ให้การศึกษาทางอ้อมแก่คนไทย
โดยผ่านละครมาแล้วเช่นกัน
"ถ้าเรามาดูพระราชนิพนธ์ในรัชกาล ที่ 6 ที่มาเล่นเป็นบทละครในสมัยของท่าน
จะเห็นได้ว่า ท่านต้องการให้การเรียนรู้ ต้องการสอนให้ข้าราชบริพาร และพ่อค้าวาณิช
ในเรื่องคุณค่าของความเป็นตะวันตก แต่ ที่สำคัญท่านไม่ได้บอกว่าเอาไปตามนั้น
เลย เพราะท่านเป็นคนแรก ที่พูดถึงลัทธิเอาอย่าง ท่านเป็นคนไทยคนแรก ที่พยายาม
ที่จะรับกับกระแสตะวันตก ละครของท่าน หลายเรื่องเป็นการเล่น เพื่อสอนเช่นเรื่องกลแตก
ที่ให้เน้นเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ท่านจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งๆ ที่ท่านเป็นหัวหน้าใหญ่
ที่จะทำตรงนั้น ได้ ท่านจะทำอย่างไร
วันนี้ วชิราวุธกำลังเจริญรอยพระยุคลบาท และได้รับครูใหม่ 2 คน และ ให้ครูภาษาอังกฤษ
เป็นครูการแสดง 1 คน มีการจัดทำโรงละครเตรียมการ แสดงละคร และในต้นปี 2543
ให้นักเรียนร่วมแสดงละคร 2 เรื่องคือ Macbeth และ See Dave Run
ในช่วงวันเสาร์ ที่เคยเป็นวันว่างของเด็กวชิราวุธ เพราะเด็กนักเรียน ที่นี่มี
สิทธิ์กลับบ้านได้สัปดาห์เว้นสัปดาห์ ในสมัย ศ.ดร.ชัยอนันต์ นี้ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีทางเลือกเกี่ยวกับการศึกษาแต่ท่านก็มียุทธวิธี
ในการสอดแทรกความรู้ไปในชมรม และกิจกรรมต่างๆ ที่ตั้งขึ้น
"ผมเลือกเรียนวันเสาร์มา 3 ปี ทดลองดูว่าให้เด็กเลือก ใครอยากทำอะไรในโลกนี้
ใครอยากจะเรียนขี่ม้า หรือใครอยากนอนไม่อยากทำอะไรเลย ก็นอนไป แล้วแทน ที่จะมีโปรแกรมว่าศิลปคำนวณ
ศิลปฝรั่งเศส เราเปิดทางเลือกให้วันเสาร์ไม่มีเรียน แต่ให้ครูกับเด็ก มาร่วมกันศึกษาวัฒนธรรม
และ ภาษาจีนแมนดาริน วัฒนธรรม และภาษา ญี่ปุ่น วัฒนธรรม และภาษาเยอรมัน ก็มีเด็กกับครูเรียน
เพราะฉะนั้น หลังจาก 3-4 ปีนี้เราน่าจะมองได้ว่าวิชา ใดน่าจะเป็นวิชาเลือกให้เขาเรียน
แต่ถ้าเราบอกว่าเป็นวิชาเลือกมันกลายเป็นวิชาไปแล้ว แต่ถ้าเราบอกว่ากิจกรรมวันเสาร์ไม่ต้องเรียน
ใครสนใจก็ไปทีนี้ พวก ที่สนใจจะไปเอง"
กิจกรรมพิเศษวันเสาร์ เพื่อพัฒนาให้เป็นวิชา ที่เปิดสอนในหลักสูตรใหม่ มีกิจกรรม
และชมรมทั้งหมด 28 ประเภท เช่น กิจกรรม ดราม่า และฟิล์ม กิจกรรมดนตรี ค่ายธรรมชาติ
กิจกรรม การผลิตรายการโทรทัศน์ กิจกรรมขี่ม้า กิจกรรม Homepage ชมรม Art
& Design ชมรมตัวโน้ต ชมรม หนอนหนังสือ
และสิ่งใหม่ในวงการศึกษา ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทย ที่วชิราวุธ ในปีการศึกษา
2543 เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไปคือ ได้เปิดให้มีหลักสูตรอีก
1 ปีสำหรับเด็กอายุ 19 ปี ซึ่งผ่านการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปแล้ว
เพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะเปิดเป็นแบบไปมา
และสหศึกษาจำนวน 100 คน โดยจะให้มีนักเรียนหญิง 50 คน
จุดประสงค์ในเรื่องนี้ก็คือ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมในระดับมหาวิทยาลัย ตามมาตรฐานสากล
และแน่นอนเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่ให้คนภายนอก เข้ามาสัมผัสชีวิตในวชิราวุธมากขึ้น
เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บุคลากรในวชิราวุธเอง
ก็ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
อาจารย์หม่อมหลวงอาภาวดีได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" เห็นภาพบรรยากาศทางการเรียนการสอนของวชิราวุธวิทยาลัย
ในช่วงเวลาของผู้บังคับการคนใหม่นี้ว่า
"ตอน ที่ท่านผู้บังคับการเข้ามาได้สอนอยู่ ที่นี่เป็นปีที่ 8 ตอนนั้น รู้ตัวเอง
ว่าตัวเองไฟเริ่มมอดแล้ว แต่เมื่อท่านเข้ามาเอาระบบใหม่ๆ เอานั่นเข้ามาเอานี่เข้ามา
ก็นึกสนุกได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ได้มีการพูดคุยปรึกษาแลกเปลี่ยนกับ เพื่อนครูท่านอื่นมากขึ้น
เป็นบรรยากาศการศึกษาเล็กๆ ระหว่าง เพื่อนครูด้วยกัน และยังมีมิสเตอร์ฮวงเข้ามาสอน
ภาษาจีนกลางให้กับครู และนักเรียน เมื่อก่อนเคยไปลงเรียนภาษา ที่บริติชเคาน์ซิล
เสียเงินแพงด้วย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ตอนนี้มีคอร์สภาษาอังกฤษ ที่สอนให้ครูฟรี
อาจารย์ชัยอนันต์จะเขียนหนังสือเยอะมาก และจะเน้นให้ครูอ่านหนังสือมากๆ
ด้วย เวลาท่านไปต่างประเทศ ก็ชอบเอาหนังสือมาฝากครู เลยสนุก โจทย์บางเรื่องจะท้าทายมากอย่างเ
ช่น ทำอย่างไรให้เด็กเป็นคนที่ใฝ่รู้ เพราะว่าการเรียนสามารถเรียนกันได้ตลอดชีวิต
หากสอนเด็กโดยใช้วิธีบังคับว่าต้องรู้ ต้องอ่านเล่มโน้น เล่มนี้ มันอาจจะเกิดการตายด้านทางการเรียนรู้
จบไปแล้วอาจจะไม่อยากรู้อะไรแล้ว หนังสือพิมพ์ก็ไม่อยากอ่าน ฟังข่าวก็ ฟังๆ
ไปอย่างนั้น แล้วไปทำอะไร ที่รื่นเริงบันเทิงใจแทน"
หม่อมหลวงอาภาวดี เข้ามาเป็นอาจารย์ ที่วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อประมาณ ปี
2532 หลังจากศึกษาจบระดับปริญญาตรี ที่ มศว.ปทุมวัน ในวิชาเอกภาษาไทย โทภาษาอังกฤษ
โดยเข้ามาด้วยการเข้ามาสมัครด้วยตัวเอง เพราะรู้ข่าวจาก เพื่อนของพี่สาวว่า
ที่นี่กำลังรับครูเพิ่ม ซึ่งกว่าจะเข้ามาสอน ได้ก็ต้องผ่านกระบวนการสอบข้อเขียน
และสอบสัมภาษณ์ จากอาจารย์ ประจำภาควิชา
ทุกวันนี้นอกจากเธอจะสนุกกับการสอนแล้วยังสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกด้วย
ที่สำคัญเธอบอกว่า เป็นการทำงาน ที่ไม่เครียดเลย เพราะนอกจากเป็นการสอน ที่มีนักเรียนต่อห้องน้อย
ประมาณ 25 คน ยังไม่เครียดกับการเดินทางในแต่ละวันอีกด้วย เพราะอาจารย์มี
ที่พักอยู่ในบริเวณโรงเรียน
สวัสดิการอย่างหนึ่ง ที่บุคลากรของวชิราวุธวิทยาลัย จะได้รับในสมัยของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ก็คือ
การมี ที่พักบนตึกสูง 4 ชั้นภายในบริเวณโรงเรียน ที่ก่อสร้างอย่างสวยงามราวกับเป็นคอนโดมิเนียมชั้นดี
ในขณะราคาค่าเช่าต่อเดือนของห้องเดี่ยวเพียง 800 บาท ห้องคู่ 1,00 0 บาท
ส่วนห้องครอบครัว 2,000 บาทต่อเดือน และบุตรหลาน ที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีนั้น
ก็มีสิทธิพักกับครอบครัวได้ด้วย ปัจจุบันอาคารหลังนี้มีอาจารย์พักอยู่ประมาณ
30 กว่าท่าน
ภาพของครูกับนักเรียน ที่วิ่งจ๊อกกิ้งอยู่ด้วยกันรอบๆ สนามกีฬาอันกว้างใหญ่
เหนื่อยก็นั่งพักผ่อนใต้ร่มเงาอันร่มครึ้มของต้นไม้ใหญ่ ที่มีอยู่รอบๆ ในยามเย็นย่ำ
ก่อนพระอาทิตย์ตกดินนั้น แทบจะไม่น่าเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ยังคงมีให้เห็นในใจกลางเมืองกทม.
นอกจากพัฒนาบุคลากร ที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังได้สรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
เข้ามาวางแผน และจัดการศึกษาในส่วนต่างๆ ได้แก่โครงการ Educational Multimedia
Project โครงการ Quality of Life ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารโรงเรียน
โครงการเรียนรู้แบบ Learning to Learn โครงการพัฒนาการดนตรี ทักษะวิชา Design
and Technology และ Drama เป็นต้น
ปัจจุบันวชิราวุธมีครูทั้งหมดประมาณ 84 คน ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา วชิราวุธวิทยาลัยมีครูประมาณ
60-74 คนมาตลอด และกำลังพลในปัจจุบัน ครึ่งหนึ่งจะมาจากวิทยาลัยครู และมหาวิทยาลัยเปิด
การสมัครเข้ามาเป็น อาจารย์ ที่นี่ ส่วนใหญ่จะผ่านการคัดเลือก จากหัวหน้าหมวดวิชามีการแยก
บัญชีเงินเดือนออกเป็น 3 ประเภท
1. ประเภทมีสัญญาสอนครั้งละ 3 ปี โดยจะต้องมีการประเมินผล และต่อสัญญา มีอัตราเงินเดือน
6,500-15,000 บาท
2. ประเ ภทมีสัญญาครั้งละ 3 ปี และต่อสัญญาครั้งต่อไปอีก 5 ปี หากผ่านการประเมินผล
ภายหลัง 5 ปี และต้องการอยู่สอนต่อไป ก็จะได้เป็นครูเต็ม เวลา 10,000-30,000
ประเภทประจำเวลา
3. มีสัญญาสอนจนครบ 60 ปี และอาจจะต่อได้ถึง 65 ปี 15,000-60,000 บาท
สิ่งที่ครูวชิราวุธได้รับเพิ่มเติม หรือแตกต่างไปจากครูตามระบบราชการ ก็คือ
ขั้นเงินเดือนแต่ละขั้นจะสูงกว่าระบบราชการ ประมาณ 500-5,000 บาท ส่วนครูเข้าใหม่
ที่มี ประสบการณ์ในอาชีพอื่นมาก่อน จะได้รับอัตราเงิน เดือนสูงกว่าครูทั่วไป
ตามระบบ ที่อังกฤษใช้ เช่นเดียว กับครูสาขา ที่ขาดแคลนจะได้เงินเดือนสูงกว่าสาขา
ที่ไม่ขาดแคลน ครูได้รับเงินพระราชทานพิเศษ 2 เดือนโ ดยสะสมไว้ ที่พระคลังข้าง
ที่ และมีดอกเบี้ยให้ เช่นได้รับเงินเดือน เดือนละ 1,000 บาทก็จะได้รับ 2,000
บาทเป็นพิเศษอีก 2 เดือน นอกเหนือจากเงินเดือน เดือนละ 1,000 บาทตลอดปี)
และยังมีสิทธิกู้เงิน ตามโครงการกองทุนพระบารมีล้นเกล้าฯ รัชกาล ที่ 6 อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสหกรณ์
ทั่วไป (จากเรื่องแผนพัฒนากำลังคนปี 2541)
ทางด้านการจัดการในเรื่องระบบบัญชี ระบบการบุคคลทางวชิราวุธได้ เปลี่ยนระบบบัญชีแบบ
เดิมมาเป็นระบบบัญชีพึงรับพึงจ่ายโดยได้รับการช่วยเหลือจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
จำกัด (มหาชน) จัดทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีมา 1 ทีมมาช่วยทำระบบต่างๆ
โดย มีพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ลง มาถึงดุสิต นนทะนาคร อภิพร ภาษวัธน์ เป็น
ผู้ประสานงานให้การช่วย เหลือมาตลอด
ปูนซิเมนต์ไทย เป็นบริษัท ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
ดังนั้น วชิราวุธวิทยาลัย จึงเปรียบเสมือนลูกพ่อเดียวกัน ทีมผู้บริหารชุดนี้ของปูนซิเมนต์ไทย
จึงมีความผูกพันกับวชิราวุธวิทยาลัยเป็นพิเศษ และ ทั้ง 3 คนล้วนแล้วแต่เป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธทั้งสิ้น
ปัจจุบัน ดุสิต และอภิพร คือ กรรมการบริหารวชิราวุธด้วย
จำนวนนักเรียนเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ต้องวางแผนอย่างสอดคล้อง เพื่อให้การเรียนการสอนได้ผลที่สุด
ในโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน โดยทั่วไป ปัญหาของนักเรียนต่อห้องมีจำนวนมาก
โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40 คนเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมากในการสอนตาม พ.ร.บ.ใหม่
นอกเสียจากรัฐบาลต้องทุ่ม งบประมาณมหาศาลในการสร้างสถานที่เรียนเพิ่มรับครูมากขึ้น
และมีสื่อการเรียนการสอน ที่ทันสมัย
ในปี 2545 วชิราวุธจึงได้ทำแผนกำหนดปริมาณของเด็กนักเรียนทั้งหมดไว้ ที่
800 คน เพื่อให้คุณภาพของการศึกษาเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ในช่วง ที่ผ่านมา วชิราวุธจะเริ่มรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม 3 ขึ้นไปใน
ปี 2542 มีนักเรียน 981 คน แต่ในปี 2543 จะเริ่มรับนักเรียน ที่ชั้นประถม
6 จำนวน นักเรียนทั้งหมดในปีนี้มี 86 คน และจะลดเหลือประมาณ 800 คนในปี 2545
วชิราวุธ กำหนดเด็กในแต่ละชั้นเรียนประมาณ 25 คนเท่านั้น สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 และ 6 จำนวนเด็ก ที่เรียนวิชาต่างๆ ควรลดต่ำลงได้ บางวิชาอาจจะมีนักเรียน
5-8 คน ในวิชาเลือก (แผนพัฒนากำลังคน และ การดำเนินการตามแผนพัฒนากำลังคนของวชิราวุธวิทยาลัย
พฤษภาคม 2540-พฤศจิกายน 2541 โดยชัยอนันต์ สมุทวณิช) นักเรียนเข้าใหม่ของวชิราวุธ
ไม่มีการสอบข้อเขียนหรือสอบสัมภาษณ์ เหมือนโรงเรียนทั่วไป แต่พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
จะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์จากกรรมการของโรงเรียนแทน แล้วมีการจัดอันดับคะแนน
ซึ่ง ศ.ดร. ชัยอนันต์ ได้ยืนยันว่าด้วยวิธีนี้ ทำให้การเข้าวชิราวุธโปร่งใสที่สุด
ท่านย้ำว่า
"ขอโทษนะ โรงเรียนนี้ลูกพลเอกอาจจะเข้าไม่ได้แต่ลูกจ่าสิบตรีอาจเข้ามาเรียนได้"
เมื่อสอบสัมภาษณ์ผ่านไปได้แล้ว นักเรียนทุกคนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าทุกคน
ประมาณ 1 แสน-1 แสนห้าหมื่นบาทต่อคน ซึ่งก่อนหน้านี้ โรงเรียนจะเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า
ที่เรียกว่า ค่าตู้ ค่าเตียง คนละ 25,000 บาทเท่านั้น รวมทั้งมีการเก็บค่าใช้จ่ายของนักเรียนต่อคนต่อปีเพิ่ม
ขึ้นด้วย เช่น ในปี 2539 นักเรียนระดับประถม-มัธยมปลาย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มจากค่าธรรมเนียมแรกเข้าประมาณ
28,400-29,400 บาท แต่ในปี 2541 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 50,680-51,930 บาท
ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้นนี้ผู้บังคับการได้ชี้แจงว่า ก่อนหน้าปี 2539 โรงเรียนมีงบประมาณปีละ
53 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้น ทางโรงเรียนจึงต้องอุดหนุนนักเรียนต่อคนประมาณ
5,500 บาท และถึงแม้จะเพิ่มค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าใช้จ่ายต่อปีตั้งแต่ปี
2540 มาแล้ว โรงเรียนก็ต้องจ่ายเงินอุดหนุนต่อคนอยู่อีกประมาณ 15,000 บาทต่อคน
รายได้ประมาณ75% มาจากพระคลังข้าง ที่ และ 12% มาจากรัฐบาล ส่วน ที่เหลือคือ
รายได้จากผู้ปกครอง แต่ในปี 2540 ที่ผ่านมานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน
ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านบาท เพื่อวชิราวุธจะสามารถดำเนินโครงการตามแผนงานต่างๆ
ได้ อย่างต่อเนื่อง
ในปีการศึกษา 2543-2545 วชิราวุธจะต้องทำค่าใช้จ่ายประจำกับเงิน ที่เก็บจากนักเรียนได้เท่ากัน
แทน ที่จะเอาเงินจากพระคลังข้าง ที่มาช่วยเหลือ แต่เงินอุดหนุนจากพระคลังข้าง
ที่ จะถูกนำมาจัดตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับผู้ขาดแคลนต่อไป
นี่คือ ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้
ด้วยวิธีปฏิบัติ ที่ผิดแผกแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปนี้เอง ทำให้บางช่วงเวลา
ทางกระทรวงศึกษาเองก็พยายามส่งคนเข้ามาควบคุมดูแล
วชิราวุธเป็นโรงเรียนแห่งแรกของไทย ที่มีคณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการอำนวยการร่วมกันบริหารโรงเรียน
แต่เดิมมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นนายกกรรมการ โดยตำแหน่ง และยังมีตัวแทนจาก
กระทรวงศึกษา ซึ่งเป็นอธิบดีกรมต่างๆ ของกระทรวงอีกประมาณ 4 คน รวมทั้ง ปลัดกระ
ทรวงศึกษาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการส่งตัวแทนมา เพราะฉะนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่โดยตำแหน่งจากกระทรวงศึกษา
จะมีเพียงตำแหน่งปลัดกระทรวงเท่านั้น กรรมการคนอื่นๆ ก็จะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
คือ ราชเลขาธิการของสำนักพระราชวัง ผู้อำนวยการสำนัก พระคลังข้าง ที่ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
ซึ่งเป็นโดยตำแหน่ง นอกนั้น ก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักเรียนเก่า ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนเก่า
ที่อยู่ในวงการศึกษา
เมื่อถึงสมัย ศ.ดร.ชัยอนันต์ ท่านได้ทำระเบียบข้อบังคับใหม่ให้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ
ซึ่งขณะนี้คือ กุศะ ปันยารชุน ดั งนั้น ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการจะมีบทบาท
ที่เกี่ยวพันกับ วชิราวุธน้อยลง
ในขณะที่วชิราวุธวิทยาลัยได้พัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
แต่ในเรื่องดนตรี และกีฬาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากๆ
สิ่งที่โรงเรียนอื่นทำ เช่น เรื่องดนตรี และกีฬา อาจจะถือว่าเป็นเรื่องพิเศษ
แต่วชิราวุธไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษเลยแต่ถือว่าเป็น Way of Life "เด็ก
ที่นี่ บ่ายโมงครึ่งเขา เลิกเรียนด้านวิชาการ การเรียนดนตรีเขามีทางเลือก
มีดนตรีหลายอย่างให้เลือก พอถึง 4 โมง เขาจะเล่นกีฬา จะเล่นไปจนถึง 6 โมง
เพราะฉะนั้น เขาจะใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง ในการเล่นกีฬา แล้วเขาเรียนรู้หลายอย่างจากกีฬา
เช่น การเป็นทีมเวิร์ก การเป็นสุภาพบุรุษ การเล่นรักบี้ เป็นการเล่น ที่ร่างกายต้องปะทะกันสูงสุด
เขาจะได้เรียนรู้ว่าชีวิตของ มนุษย์ต่อไปคือ การกระแทกกระทั้นแบบนี้ ถ้าเราเล่นในกติกาแล้วจะเป็นอย่างไร
ซึ่งบางครั้งคนข้างนอกก็อาจไม่เข้าใจ"
นอกจากกีฬา และดนตรี ศาสนาก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง
กิจกรรมทางศาสนา ที่ต้องเข้าร่วมกับชุมชน มีการสวดมนต์เช้า เย็น เป็นจริยธรรม
ที่ปฏิบัติจริงเพราะเป็นโรงเรียนประจำ เป็นทั้งบ้าน วัด โรงเรียนอยู่ด้วยกัน
ในวันอาทิตย์ จะต้องฟังพระธรรมเทศนา รวมทั้งจะต้องรู้เรื่องราชาศัพท์ และปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนักมากเป็นพิเศษ
เพราะเชื้อพระวงศ์เสด็จร่วมกิจกรรม ที่นี่บ่อยมาก
" ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ วิถีชีวิต ผมเคยเขียนถึงวิถีชีวิตของวชิราวุธ ทำเอาคนเข้าใจผมผิดมาก
ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ เคยวิเคราะห์ ถึงวิถีวชิราวุธ คงหมายถึงแนวของผม ที่จะมาซุ่มทำการเมืองอะไรต่อมิอะไรไปกันใหญ่เลย"
" ที่วชิราวุธ เราเน้นการสอน ที่ไม่ได้สอนให้จำ แต่สอนให้ทำ นำให้คิดเป็นแนวทางง่ายๆ
ที่มีมากับวชิราวุธมานานแล้ว ดังนั้น ภูมิปัญญาไทยคือ ที่นี่ เราไม่ได้ลอกฝรั่งมาทั้งหมด
หน้าที่ของผมอย่างหนึ่งก็คือ ให้คนเห็นว่าวชิราวุธ เป็นอย่างนี้" ศ.ดร.ชัยอนันต์
ย้ำกับ "ผู้จัดการ" ในเรื่องแนวความคิดของวชิราวุธ ที่กำลังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวโรงเรียนอย่างต่อเนื่องยาวนาน