ดีแทคบอมบ์เอไอเอส ปฏิวัติบริการดูดลูกค้า


ผู้จัดการรายวัน(28 เมษายน 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

"ดีแทค" เปิดฉากสงครามมือถือรอบใหม่ ปฏิวัติรูปแบบบริการ "My" ให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้กำหนดการใช้บริการเอง ภายใต้เงื่อนไขที่สามารถบ่งบอกการเสียผลประโยชน์หากใช้บริการโอเปอเรเตอร์รายอื่น เชื่อความพร้อมจุดพิฆาต 3 ด้าน เครือข่ายเทคโนโลยี แอปพลิเคชั่นและบริการใหม่ กำแพงสำคัญปิดทางคู่แข่งสู้ เผยจ้องดูดลูกค้า วัน-ทู-คอล 8 ล้านรายเข้าระบบ ด้าน "เอไอเอส" ขอดูเชิงก่อนปรับแพก เกจใหม่ มั่นใจสามารถรับมือได้

แหล่งข่าวจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ "ดีแทค" เปิดเผย ถึงการจัดงาน "การเปิดตัวครั้งแรก ในประเทศไทยจากดีแทค ครั้งแรก ที่จะเปลี่ยนคุณให้เป็นผู้กำหนด" ในวันที่ 28 เม.ย. 2546 นี้ นับเป็น การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ภายใต้รูปแบบการนำเสนอบริการใหม่ "MY" สู่กลุ่มลูกค้าทั้งระบบโพสต์เพดและพรีเพด โดยลูกค้าทั้งสองระบบจะได้รับข้อเสนอใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรกของโลก

"รูปแบบบริการใหม่คือชนวน การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ดีแทค ทุ่มงบประมาณอย่างมากมายหลาย ร้อยล้านบาท มากกว่าการในงบประมาณในการเปลี่ยนแปลงเมื่อครั้งที่ดีแทคเปลี่ยนชื่อและเปิดโปรโมชั่นแพกเกจ "ดี" และจะเป็นเอฟเฟ็กต์ครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อวง การมือถือมากกว่าการปลดล็อกอีมี่"

ทั้งนี้บริการรูปแบบใหม่จากดีแทคได้นำเสนอเป็นนัยผ่านโฆษณาโทรทัศน์ คือการที่ลูกค้า โทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถกำหนดการใช้บริการ และค่าใช้จ่ายได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นจุดขายสำคัญสำหรับบริการรูปแบบใหม่นี้ นอกจากนี้ยังพ่วงมาพร้อมกับเงื่อนไขที่ดีกว่าทุกเงื่อนไขแพก เกจโปรโมชั่นของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายอื่นๆ

แหล่งข่าวกล่าวว่าหากรูปแบบบริการใหม่ถูก เฉลยในวันที่ 28 เมษายนนี้แล้ว ทางดีแทคเชื่อว่าทางเลือกใหม่นี้จะตรงตามความต้องการของลูกค้ามือถืออย่างแท้จริง ที่สำคัญรูปแบบบริการ นี้จะบ่งบอกถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ สามารถ เปรียบเทียบกับคู่แข่งขันได้ทันที และหากเป็นลูกค้าผู้ให้บริการรายอื่นอยู่ เชื่อว่าลูกค้าเหล่านั้นจะไม่ยอมใช้บริการตามแพกเกจโปรโมชั่นแบบเดิมๆ อีกต่อไป

"เราเชื่อว่าดีแทคจะโกยลูกค้าจำนวนมากเข้า สู่ระบบของเราทั้งที่เป็นลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้มือถือ และลูกค้าที่ใช้มือถืออยู่แล้วในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าของวัน-ทู-คอลจำนวนกว่า 8 ล้านราย จะเห็นประโยชน์จากบริการใหม่ของดีแทคและรู้สึกเสียประโยชน์หากยังคงเลือกใช้บริการของวัน-ทู-คอลอยู่ต่อไป ฉะนั้นเรามั่นใจว่าลูกค้าวัน-ทู-คอลจะไหลออกจากระบบจำนวน มาก" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

"ผู้บริหารของดีแทคย้ำว่างานนี้จะเป็นการพลิกโฉมดีแทคให้กลับมาเป็นผู้นำในตลาดอีกครั้ง และมีความชัดเจนว่าการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมมือถือในครั้งนี้ คู่แข่งสำคัญในตลาด โดยเฉพาะเอไอเอสจะต้องสูญเสียฐานลูกค้าจำนวนมากมาสู่ระบบดีแทค และทำให้ดีแทคเป็น ผู้นำตลาดภายในระยะเวลา 1 ปี"

ปัจจุบันดีแทคมีความพร้อมทั้งทางด้านเครือข่าย แอปพลิเคชั่น และรูปแบบบริการใหม่ ซึ่งทั้งสามส่วนถือเป็นจุดพิฆาตคู่แข่ง เนื่องจากที่ผ่านมาดีแทคได้ยกระดับเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วทั้งประเทศไทย ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี GPRS และ MMS ถือเป็นผู้รายเดียว ในไทยที่สามารถเปิดให้บริการทุกพื้นที่ โดยสามารถใช้ได้ทั้งระบบโพสต์เพดและพรีเพด เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างเอไอเอสยังไม่สามารถให้บริการเทคโนโลยีดังกล่าวทุกพื้นที่เช่นเดียวกับดีแทค และในส่วนของวัน-ทู-คอล ก็ไม่สามารถให้บริการ MMS ได้ ซึ่งดีพร้อมท์สามารถทำได้

นอกจากนี้ดีแทคยังได้ทดลองพัฒนาเทคโนโลยี EDGE เป็นรายแรกในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้ครึ่งปีหลังของปี 2546 ดีแทคจะมีความ พร้อมให้บริการการส่งมัลติมีเดียบนโทรศัพท์มือถือที่เหนือกว่าเทคโนโลยี GPRS

"เราเชื่อว่าคู่แข่งต้องใช้เวลาอีกกว่า 1 ปีในการตามดีแทคให้ทัน เพราะที่ผ่านมาบริษัทเหล่า นั้นคิดว่าดีแทคไม่สามารถพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้เร็ว ขนาดนี้ แต่ ณ วันนี้เทคโนโลยีและประสบการณ์ จากเทเลนอร์ โดยเฉพาะจากนายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกับนายวิชัย เบญจรงคกุล มีส่วนสำคัญในการผลักดันดีแทค ซึ่งวิสัยทัศน์ของทั้งสองคนนำมาสู่บริการรูปแบบใหม่จากดีแทค"

แหล่งข่าวได้กล่าวทิ้งท้ายถึงกลยุทธ์นำเสนอ รูปแบบบริการใหม่ในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการที่ ดีแทคสร้างรั้วขึ้นมาปิดล้อมคู่แข่ง จากการมีเครือ ข่าย แอปพลิเคชั่นและรูปแบบบริการใหม่ ทำให้ คู่แข่งไม่สามารถดิ้นหลุดและไม่สามารถที่จะปรับ ตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ในระยะเวลาอันสั้น

เอไอเอสขอดูเชิงดีแทคเชื่อสามารถรับมือได้

นายอาทร เตชะตันติวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการ ตลาดจีเอสเอ็ม แอดวานซ์ และจีเอ็มเอส 1800 กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการใหม่จาก ดีแทค ว่าทางเอไอเอสขอรอดูรูปแบบบริการใหม่ ของดีแทคก่อนว่าออกมาเช่นไรแล้วจึงค่อยตัดสินใจดำเนินการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการหรือแพกเกจโปรโมชั่นของเอไอเอสใหม่ ซึ่งทางบริษัททำเป็นประจำอยู่แล้วในช่วงขึ้นเดือน ใหม่ ซึ่งเชื่อว่าระยะเวลาเพียง 2-3 วันนับจากวันที่ดีแทคประกาศรูปแบบบริการใหม่ ทางบริษัท จะมีวิธีการรับมือได้อย่างไม่ยากนัก

"เรากำลังจับตาความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ ดีแทค นับจากวันที่ดีแทคยิงโฆษณาเราก็พอจะจับทางได้ว่าเขาจะมาในรูปแบบใด แต่ทั้งนี้ต้องดูตัวเลขรูปแบบบริการใหม่จากดีแทคที่ชัดเจนใน วันที่ 28 เมษายนก่อน เอไอเอสจึงค่อยปล่อยแผน ที่เตรียมไว้ประมาณ 2-3 แผนออกมารับมือการแข่งขันที่จะเปลี่ยนแปลงไป"

ที่ผ่านมาเอไอเอสมีการประเมินสถานการณ์ ของคู่แข่งตลอด ยิ่งบริษัทดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์การที่จะนำเสนอรูปแบบการอะไรใหม่ออกมาสู่ตลาด ยังต้องมีปัจจัยที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณการลงทุน ตัวเลขเรื่องของเงินหมุนเวียน สถานการณ์ในตลาดหุ้น โดยเฉพาะราคาที่จะเป็น ข้อจำกัดในการทุ่มเงินแข่งขันลงสู่ตลาด ซึ่งจุดนี้ เอไอเอสยังถือว่าได้เปรียบคู่แข่งขันในตลาดค่อน ข้างมาก



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.