Journalistic Property

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

เมื่อคราว AOL ซื้อกิจจการ TIME WARNER ซึ่งเป็นกลุ่มสื่อยักษ์ใหญ่ของโลก มีข้อวิตกวิจารณ์อยู่ประการหนึ่ง ที่สำคัญ ก็คือ การซื้อกิจจการสื่อครั้งใหญ่นี้ ได้ชื้อความเป็นอิสระของวิชาชีพสื่อมวลชนไปด้วยหรือไม่

บรรณาธิการใหญ่ และบรรณาธิการของนิตยสาร TIME และ FORTUNE ซึ่งเป็นนิตยสารหลักของTIME WARNER และนับว่าเป็นสื่อ ที่มีอิทธิพล และได้รับความเชื่อถือทั่วโลก ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ( ซึ่งไม่บ่อยครั้ง ที่ทำเช่นนี้) เพื่อจะยืนยันความเป็นอิสระ โดยเน้นอย่างชัดเจนอีกครั้งว่าสื่อของเขาจะเสนอเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทั้งผู้โฆษณาสินค้า และ TIME WARNER เอง อย่างไม่มีอคติ (to provide unbiased coverage of myriad interests of advertisers and of Time Warner itself)

นี่คือ ปรากฏการณ์ ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ดีมาก

เช่นเดียวกับ "ผู้จัดการ" เชื่อมั่นว่า ไม่ว่าประเทศไทยจะมีปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร วงการสื่อบ้านเราจะมีปัญหาเรื่องรายได้มากเพียงใดก็คงไม่ทำให้ "ความเป็นมืออาชีพ" ลดน้อยลง

ผมเชื่อมั่นด้วยว่า ผู้โฆษณาสินค้าเข้าใจดีว่า สื่อที่ดี มีกลุ่มผู้อ่านจำนวนมาก ที่มีบุคลิกของตนเอง มีความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสาร จะเข้าถึง และตอบสนองโฆษณาแจ้งความสินค้าของเขา ( ที่แยกออกจากข่าวสารอย่างชัดเจน) โดยตรง เพื่อบรรลุเป้าหมายธุรกิจในขั้นต่อไป

ไม่มีผลประโยชน์ทางอ้อมใดๆ ที่อ้างว่าสื่อจะดลบันดาลให้ จะมีค่าเท่ากับคุณเชื่อ และมั่นใจว่า สื่อนั้น ตอบสนองเป้าหมายธุรกิจให้ผู้บริโภคเข้าถึงโฆษณาสินค้าของคุณเท่านั้น

ทรัพย์สินของความเป็นมืออาชีพเท่านั้น ที่มีราคา และคงทน

"ผู้จัดการ" ถือโอกาสในศตวรรษใหม่ ซึ่งสังคมธุรกิจจไทยเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างมากมาย มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เพื่อย้ำว่า นี่คือ สิ่งหนึ่ง ที่สำคัญที่สุด ซึ่งเรายึดมั่นเสมอมา และจากนี้ไป

นับถือ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.