หลักสูตร EMBA ในอุดมคติ ทำงาน เรียน แถมมีเวลาให้ครอบครัว


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

โรงเรียนธุรกิจของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ เร่งจัดหลักสูตรสนองตอบลูกค้า ที่ต้องการทำงาน เรียน และดูแลครอบครัวไปพร้อมๆ กัน โครงการเอ็มบีเอสำหรับผู้บริหาร (EMBA) ของคณะบริหารธุรกิจ (Columbia University Graduate School of Business) ก็เข้าข่าย ที่ว่านี้ หลักสูตร ที่เปิดเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา จึงมีผู้สมัครเรียนเต็มทุก ที่นั่ง นักศึกษามีนัดพบกันทุกวันศุกร์ ที่มหาวิทยาลัย เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน และเนื่องจากเป็นหลักสูตร ที่ได้รับความนิยม มหาวิทยาลัยโคลัมเบียจึงต้อง เพิ่มหลักสูตรใหม่ให้ผู้บริหารกลุ่ม ที่ต้องการเข้าชั้นเรียนเพียงสองสัปดาห์ต่อครั้งด้วย

วิทยาลัยธุรกิจเทอรี ( Terry College of Business) ในสังกัด มหาวิทยาลัยจอร์เจียก็เป็นอีกแห่งหนึ่ง ที่เปิดหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความ ต้องการของนักศึกษา กล่าวคือ นักศึกษาในหลักสูตรนี้ล้วนแต่เป็นพนักงาน ประจำของไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์-คูเปอร์ (Pricewaterhouse-Coopers) และพัก อาศัยอยู่ใกล้กับเมื่อเอเธนส์ในรัฐจอร์เจีย พวกเขาใช้เวลาสองสัปดาห์ ที่ มหาวิทยาลัยแล้วพบกันอย่างสม่ำเสมอติดต่อกันนานกว่าสองปีที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะนักศึกษากลุ่มนี้เรียนทางระบบออนไลน์เท่านั้น แต่เพราะ หลักสูตรนี้จัดทำขึ้น เพื่อบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกโดยเฉพาะ

นี่คือ มิติใหม่ของหลักสูตร EMBA ที่ออกแบบหลักสูตรตามความ ต้องการของผู้เรียนเฉพาะกลุ่ม และเกิดขึ้นหลังจาก ที่มหาวิทยาลัย ที่จัดสอนทาง ธุรกิจพากันปรับตัว ปรับหลักสูตร EMBA ให้ยืดหยุ่นกว่าเดิม เพื่อรองรับยุคอินเตอร์เน็ต และรับกับภาวะการแข่งขัน ที่เข้มข้นขึ้นด้วย

ทุกวันนี้ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องเลือกหลักสูตร ที่เรียนใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการเดินทางอีกต่อไป ผู้เรียน และบริษัทนายจ้างมีอิสระมากขึ้นใน การออกแบบหลักสูตร EMBA ที่สอดคล้องกับองค์กรของตน "การเรียนแบบ ที่ต้องเข้าชั้นเรียนทุกวันศุกร์ วันเสาร์ไม่ใช่ทางเลือกเดียวอีกแล้ว" ชาร์ลส์ ดับบลิว ฮิคแมน (Charles W. Hickman) หัวหน้าโครงการ และงานบริการของสมาคมการจัดการศึกษาด้านการบริหารระหว่างประเทศ AACSB ให้ความเห็น

จากผลสำรวจ 100 อันดับโรงเรียนธุรกิจชั้นนำ ของ Business Week ในหัวข้อหลักสูตรเอ็มบีเอ พบว่ามีผู้จบหลักสูตรระยะเวลา 2 ปี โดย เฉลี่ยปีละ 61 คน ในปี 1999 เพิ่มจากราว 37 คนต่อปีเมื่อห้าปีก่อน ขณะเดียวกัน จำนวนหลักสูตรก็เพิ่มมากขึ้น ในปี 1988 มีสถาบันการศึกษา ด้านธุรกิจ 55 แห่ง ที่จัดหลักสูตร EMBA ปัจจุบันเพิ่มเป็น 190 หลักสูตรรวมทั้ง 35 หลักสูตรนอกสหรัฐฯ และนักศึกษาก็ยังเป็นกลุ่ม ที่มีรายได้เฉลี่ย 88,000 ดอลลาร์ บวกกับประสบการณ์การทำงานโดยเฉลี่ย 13 ปี

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาหลักสูตร EMBA ต้องเรียนกันอย่างหนักทีเดียว เพราะแม้จะเลือกเวลาเรียนได้เอง แต่หากไม่ส่งงานตาม ที่ได้รับมอบ หมายก็อาจจะไม่จบหลักสูตรได้ จากผลสำรวจของบิสซิเนสวีค พบว่าราว 10% ของหลักสูตร EMBA ในปัจจุบันเป็นระบบออนไลน์แล้วความยืดหยุ่นของหลักสูตร (โดยเฉพาะของไพร้ซ์วอเตอร์เฮ้าส์-คูเปอร์) ทำให้มีผู้สนใจเรียนต่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

สำหรับหลักสูตร ที่เข้าเรียนทุกๆ สองสัปดาห์ก็ให้อิสระแก่ผู้เรียนได้ ศึกษา และทำงานตามมอบหมายในประเด็นใหญ่ๆ ระดับโลก ซึ่งมักจะได้รับ การสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ หลักสูตร หนึ่ง ที่ล้ำหน้ามากก็คือ หลักสูตร "MBA-Cross-Continent" ของโรงเรียนธุรกิจฟูควา (Fuqua) ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ซึ่งจะเริ่มในเดือนสิงหาคมปีนี้ ทั้ง ที่แฟรงก์ เฟิร์ต และเดอร์แฮม หลักสูตรมี 8 ภาคการศึกษา แต่ละภาคนักศึกษาต้องเข้าเรียนในชั้นเรียน ที่มหาวิทยาลัยนาน 1 สัปดาห์ และติดตามการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์อีก 6 สัปดาห์ นักศึกษาต้องใช้เวลาอย่าง น้อย 4 ภาค ที่แคมปัส จากนั้น ต้องเลือกเข้าหลักสูตร ที่เยอรมนีหรือสหรัฐฯ "นี่เป็นรูปแบบ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตสอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยี" มาร์ติน มูร์เล (Martin Moerhle) หัวหน้าแผนกการศึกษาของผู้บริหาร ที่ดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ซึ่ง สนับสนุนหลักสูตรดังกล่าว ให้ความเห็น นั่นเป็นวิธีหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ พยายามทำให้มั่นใจได้ว่านักศึกษา EMBA จะกลับไปสร้างความ เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับรากฐานให้กับองค์กรของตนเมื่อจบหลักสูตรแล้ว

ที่มหาวิทยาลัยรัตเจอร์ (Rutgers University) ในรัฐนิวเจอร์ซีย์เมื่อปีที่แล้ว นักศึกษา EMBA ต้องเลือกแนวคิด ที่เรียนมา และคิดว่าสอดคล้องกับหน่วยงานของตน โดยในตอน ปลายหลักสูตร ที่มีทั้งหมด 18 คอร์ส นักศึกษาจะต้องทำกรณีศึกษา โดยใช้แนวคิด ที่เลือกไว้ ทั้งนี้ก็ เพื่อให้นักศึกษา EMBA คงมีข้อมูลหนักแน่นพอ ที่จะรับมือกับปัญหาท้าทายต่างๆ เมื่อพวกเขากลับไปทำงานอีกครั้ง

ยังมีบริษัทอีกมาก ที่กำลังสร้างหลักสูตร EMBA สำหรับผู้บริหารภายในองค์กรอย่างเช่น เท็กซัส อินสตรูเมนต์ อิงค์ (Texas Instrument Inc.) และเบลล์ เซาธ์ คอร์ป (Bell South Corp.) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เท็กซัสแห่งออสติน และเคนนาซอร์ ทำหลักสูตร EMBA ส่วน ที่ฟอร์ด มอเตอร์ โค. สตูว์ ฟรีดแมน (Stew Friedman) ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผู้นำของบริษัทบอกว่า เขาอาจตัดเรื่องการศึกษาในระบบออกไป เพราะเป้าหมายคือ ฝึกฝน และสร้างผู้นำ ที่มีความคิดอ่านลึกซึ้งจากภายในองค์กร และ ทั้งหมดนี้คือ บทบาทใหม่สำหรับ EMBA นับจากนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.