AISปรับโฉม "โมบายไลฟ์" ยกเครื่องรูปแบบการตลาด


ผู้จัดการรายวัน(25 เมษายน 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

เอไอเอสปรับโฉมบริการเสริมนอนวอยซ์ในชื่อโมบายไลฟ์ แบ่งกลุ่มเป็น 3 ระดับ ตามไลฟ์สไตล์การใช้งาน พร้อมปรับวิธีขายบริการเสริมจากเดิมคิด ราคาต่อครั้ง เปลี่ยนเป็นแพกเกจ 119 บาท ใช้ดาวน์โหลดได้ไม่จำกัด ครั้งใน 1 เดือน วางเป้าทำรายได้ 6 พันล้านครองอันดับ 1 ในตลาด บริการเสริมนอนวอยซ์ปีนี้

นายกฤษณัน งามผาติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงาน ตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอสกล่าวถึงการพัฒนาบริการเสริมด้านนอนวอยซ์ (โมบายไลฟ์) ว่าเป้าหมายในปีนี้คาด ว่าเอไอเอสจะมีรายได้จากบริการเสริมนอนวอยซ์ประมาณ 5,500- 6,000 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2545 ที่ มีรายได้ 3,200 บาท และเพิ่มจากปี 2544 ที่มีรายได้เพียง 1,600 ล้าน บาท ซึ่งในปีนี้โอเปอเรเตอร์รายอื่นอย่างดีแทคคาดว่าจะมีรายได้จากบริการเสริมนอนวอยซ์ประมาณ 2,000 ล้านบาทและโอเปอเรเตอร์รายอื่นๆ อีก 500 ล้านบาท

การเติบโตของบริการเสริมเป็นเพราะปัจจัยหลัก 4 อย่างคือ 1. ผู้ให้บริการหรือโอเปอเรเตอร์ที่เป็นแกนกลางสำคัญในการวางเครือข่ายซึ่งปัจจุบันเครือข่ายของเอไอเอสครอบคลุมทุกพื้นที่ เป็นอะไรที่มากกว่าเน็ตเวิร์ก เป็นเครือข่ายที่มีวงจรใช้งานและมีการครอบ คลุมในอาคารมากที่สุด 2. รูปแบบ บริการที่ต้องมีความหลากหลายตรง ใจ 3. ตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ที่พร้อมรองรับ เทคโนโลยีมากขึ้นและ 4. ผู้ใช้บริการ ที่ยอมรับและนิยมในการใช้บริการประเภทการสื่อสารข้อมูลเพิ่มขึ้น

เขาเชื่อว่าทุกวันนี้เส้นแบ่งระหว่างบริการเสียง (วอยซ์) กับบริการเสริมประเภทไร้เสียงหรือนอนวอยซ์ เริ่มจางลงไปทุกขณะ แต่จะกลายเป็นบริการในลักษณะ Convergent ที่รวมบริการทั้ง 2 ประเภทเข้าด้วยกัน ลูกค้าจะได้รับบริการที่ตรงตามความต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าภายใต้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยีชนิดหรือประเภทไหน

ในเรื่องธุรกิจบริการเสริม เอไอเอสจะเปรียบเหมือนเป็นสถานีทีวี 1 ช่อง ที่พร้อมรองรับผู้ผลิตคอนเทนต์หรือผู้จัดรายการจำนวนมาที่จะพัฒนารูปแบบบริการต่างๆ มาผ่านช่องทางเอไอเอส ภายใต้การ คัดเลือกสรรคุณภาพที่ดี เพื่อก้าวสู่ Wireless Society ตอบสนองลูกค้าทุกกลุ่ม

ปัจจัยหลักอีกประการที่มีส่วนในการสนับ สนุนการพัฒนาบริการเสริมคือหน่วยงานที่เรียกว่า Future Lab ของเอไอเอส ที่ทำงานในลักษณะ DNA Integration หรือประสานระหว่าง Dมาจาก Device หรือตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ ที่เห็นได้ชัดคือเอไอเอสร่วมกับโนเกียพัฒนาปุ่ม mCONNECT บนโทรศัพท์มือถือโนเกียด้วยแนวคิด Just one click โดยกดปุ่มเดียวก็เข้าใช้บริการเสริมนอนวอยซ์ โมบาย ไลฟ์ของเอไอเอสได้ทันที โดยเริ่มจากโทรศัพท์มือถือโนเกียรุ่นที่รองรับ GPRS ก่อนขยายไปโมโตโรล่า ซีเมนส์ โซนีอีริคสันและซัมซุง ,N มาจาก Network ของผู้ให้บริการ ,A มาจาก Application หรือรูปแบบ บริการ ที่ทีมงานใน Future Lab ต้องนำความเข้าใจ เทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าเป็นบริการเสริมพิเศษที่มีเฉพาะเอไอเอส

นายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้จัดการสำนักบริการเสริม เอไอเอส กล่าวถึงบริการโมบายไลฟ์ว่าเอไอเอสได้มีการแบ่งกลุ่มบริการเสริมในลักษณะของ ไลฟ์สไลต์เซอร์วิสออกเป็น 3 กลุ่มคือ1.โมบายไลฟ์ เบสิก เป็นบริการเสริมที่ตอบสนองการใช้งานขั้นพื้นฐาน เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งานโทรศัพท์เคลื่อน ที่เช่น SMS,Logo,Ring Tone,Horoscope, Music2Gether

2. โมบายไลฟ์ พลัส เป็นบริการเสริมที่เริ่มมีเทคโนโลยีเข้ามาสร้างสีสันทำให้การใช้ชีวิตทันสมัยและสนุกสนานขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มคุ้นเคยกับเทค โนโลยีอย่าง MMS,JAVA,Mobile Karaoke, mDICTIONARY และ 3. โมบาย โปร เป็นสุดยอดบริการที่ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัย ที่สามารถทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นทุกสิ่งที่ต้อง การอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เครื่องถ่ายวิดีโอ เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี

บริการทั้งหมดของโมบายไลฟ์จะมาจาก 2 ส่วน คือพัฒนาจาก Future Lab ของเอไอเอสกับเป็น การพัฒนาของพันธมิตรด้านคอนเทนต์ โดยที่เอไอเอสสร้างแพลตฟอร์ม ที่มีโครงสร้างตามแบบมาตร ฐานสากลเพื่อให้มีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับพันธมิตรทั้งหมดซึ่งจะช่วยทำให้การพัฒนาบริการเสริมใหม่ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว

"เป็นครั้งแรกที่มีการแบ่งเซกเมนต์บริการเสริม นอนวอยซ์อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ทั้งลูกค้าที่ใช้งานกับพันธมิตรที่พัฒนาคอนเทนต์ได้รับความสะดวก เพราะจะรู้เป้าหมายการตลาดและความต้องการใช้งาน ที่ชัดเจนมากขึ้น จากเดิมที่ไม่มีการแบ่งกลุ่มบริการเสริมนอนวอยซ์"

ในแง่การตลาดเอไอเอสยังเตรียมจัดแพกเกจ บริการเสริมต่างๆ อย่างบริการประเภทโมบายไลฟ์ เบสิก ดาวน์โหลดโลโก้ต่างๆ ในราคเพียง 119 บาท ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งใน 1 เดือน เปลี่ยนจากแบบ เดิมที่คิดเป็นครั้งละ 10 บาทหรือ 15 บาท

"คาดว่าตลาดต้องการแพกเกจพวกนี้ในระดับหลายหมื่นชุด"นายกฤษณันกล่าว

จากตัวเลขรายได้ในปีนี้ เอไอเอสถือเป็นผู้นำในตลาดบริการเสริมนอนวอยซ์ ด้วยจุดแข็ง 3 ประการคือ 1. การเข้าใจไลฟ์สไตล์ลูกค้า จากการแบ่ง เซกเมนต์บริการเสริมนอนวอยซ์ออกเป็น 3 กลุ่มดังกล่าว 2. การใช้งานสะดวกรวดเร็ว ด้วยปุ่ม mCON NECT ที่กดเพียงปุ่มเดียวก็สามารถเข้าสู่โมบายไลฟ์ พอร์ทัล โฉมใหม่ของ WAP Portal ที่จะเป็นช่องทางเข้าสู่การใช้บริการต่างๆได้ง่าย เพียงช่องทางเดียว ในลักษณะ Menu Driven ที่จัดแบ่งบริการในแต่ละกลุ่มไว้อย่างชัดเจน ไม่ต้องจดจำวิธีการเข้าสู่การ ใช้งานให้ยุ่งยาก และ 3. การที่เอไอเอสมี Future Lab ในการพัฒนาบริการระดับโมบายไลฟ์ โปร เพื่อสร้าง บริการที่แตกต่างจากโอเปอเรเตอร์รายอื่นในตลาด

นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้จัดการสำนักบริหาร การตลาด เอไอเอส กล่าวถึงพัฒนาด้านบริการเสริมนอนวอยซ์ของวัน-ทู-คอลว่าเอไอเอสเริ่มให้บริการเสริมนอนวอยซ์กับวัน-ทู-คอลแล้ว จากพัฒนาการของวัน-ทู-คอลที่ปัจจุบันมีลูกค้ามากถึง 9.4 ล้านคน ซึ่งเดิมใช้การสื่อสารทางเสียงหรือวอยซ์เป็นหลัก แต่เมื่อเอไอเอสเริ่มเปิดบริการอย่าง SMS ในเดือน พ.ย. 2543 ปัจจุบันมีการใช้งานมากถึง 50 ล้านครั้งต่อเดือน บริการดาวน์โหลดโลโก้ ริงโทนต่างๆมากถึง 5 ล้านครั้งต่อเดือน มีการใช้โทร.ไปต่างประเทศ 2 ล้านครั้งต่อเดือน มีการนำไปใช้งานต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นถึง 20% ซึ่งตัวเลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของลูกค้าวัน-ทู-คอล ที่มีความต้องการใช้งานบริการเสริมนอนวอยซ์มากขึ้น จากการวิจัยและติดตามรูปแบบของคาแรกเตอร์ และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนที่ใช้วัน-ทู-คอล พบว่ามีความใกล้ชิดกับโลกอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง

"เราเชื่อว่ากลุ่มผู้ใช้งานพรีเพดจะมีความพร้อม และเข้าใจถึงประโยชน์จากบริการเสริมนอนวอยซ์ ซึ่งโมบายไลฟ์พร้อมตอบสนองไลฟ์สไตล์ลูกค้าในกลุ่มนี้"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.