เป็นระบบการจัดการอย่างมีคุณภาพทั่วถึงทั้งองค์กร TQM มุ่งเน้นที่จะให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
โดยใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ (scientific) และดำเนินการอย่างเป็นระบบ
(systems approach) เพื่อผลงานที่เป็นเลิศ
แนวคิดนี้ ได้ถูกจุดประกายขึ้นจาก Dr.William Edwards Deming ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารคุณภาพชาวอเมริกัน
ที่ได้นำเข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
เพราะประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นกำลังบอบช้ำจากการพ่ายแพ้ในสงคราม จำเป็นต้องเร่งหาเงินเพื่อนำมาบูรณะประเทศ
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งกำลังต้องการเครื่องมือมาใช้ในการบริหารกิจการ
ได้รับแนวคิดของ Dr.Deming และนำไปใช้จนประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งหลายรายได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมของโลกต่อมาในภายหลัง
หลักของ TQM มีหลายประการ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือสร้างความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
เช่นหลัก Market In หรือ Next Process are Customer ซึ่งเป็น การปรับความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
ทั้งกระบวนการเปรียบเสมือนเป็นลูกค้าทั้งหมด
ตัวอย่างที่สำคัญซึ่งถูกยกขึ้นมากล่าวอ้างถึงบ่อยครั้งมากของความสำเร็จจากการนำ
TQM เข้ามาใช้ในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของอุตสาหกรรมผลิตโทรทัศน์ของญี่ปุ่นเมื่อเกือบ
30 ปีก่อน จนสามารถแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดได้จากผู้ผลิตในยุโรปและอเมริกา
คือการคิดค้นจอภาพที่ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องนาน เมื่อผู้ชมต้องการดู ภาพจะปรากฏขึ้นทันทีเมื่อกดสวิตช์
และจากพัฒนาการอันนี้ ได้ถูกต่อยอดมาเป็นรีโมต คอนโทรล ที่ผู้ชมไม่จำเป็นจะต้องเดินไปกดปุ่มที่เครื่องรับโทรทัศน์
พัฒนาการนี้ ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมผลิตโทรทัศน์ทั้งระบบ
เพราะหลังจากนั้น หากโทรทัศน์เครื่องใดที่ยังต้องใช้เวลาในการอุ่นจอภาพนาน
หรือไม่มีรีโมต คอนโทรลติดมากับตัวเครื่องก็ไม่สามารถขายได้
นอกจากการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าแล้ว หลักของ TQM ยังถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
โดยมีหลักใหญ่ คือการทำ Policy Management, Problem Solving, Task Achievement
และ Cross Functional Management ซึ่งเป็นสิ่งที่ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง)
นำมาใช้ในการแก้วิกฤติของบริษัท จนประสบความสำเร็จ