อีพีแอลจุดหักเหทีพีไอ


ผู้จัดการรายวัน(22 เมษายน 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์กรุงเทพเสนออีพีแอลบริหารทีพีไอปี 2543 จุดหักเหฟื้นฟูบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ของไทย

14 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ตามคำร้องกลุ่ม เจ้าหนี้รายใหญ่ 5 ราย ซึ่งรวมถึงธนาคารกรุงเทพ KfW ไอเอฟซี ซิตี้แบงก์ ซึ่งเสนอเปลี่ยนผู้ทำแผนจากนาย ประชัย เป็นบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) ในเครือเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จากออสเตรเลีย ศาลนัดไต่สวนต่อวันรุ่งขึ้น

16 กุมภาพันธ์ 2543 ทีพีไอยื่นคำคัดค้านผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอที่ฝ่ายเจ้าหนี้เสนอ

1 มีนาคม 2543 ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทีพีไอ โดยสืบพยานลูกหนี้นัดแรก ต่อเนื่องถึง 2 มีนาคม 2543

7 มีนาคม 2543 อีพีแอลแถลงความพร้อมเข้าบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

9 มีนาคม 2543 ทีพีไอยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งรวบรวมและสรุปพยานหลักฐานต่างๆ ทำเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เกิดความสะดวกการพิจารณา โดยศาลนัดฟังพิพากษา 15 มีนาคม 2543
ศาลตั้งประชัยทำแผนฟื้นฟูทีพีไอรอบแรก

15 มีนาคม 2543 ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ตาม คำร้องเจ้าหนี้ 5 ราย และแต่งตั้งนายประชัย เป็นผู้ทำแผนชั่วคราว

เจ้าหนี้ดันอีพีแอลสู้

5 เมษายน 2543 บริษัท จอห์นสัน สโตค แอนด์ มาสเตอร์ จำกัด เลขานุการคณะกรรมการเจ้าหนี้ทีพีไอ ออกหนังสือเวียน เรียกร้องเจ้าหนี้ทุกรายลงมติเลือกอีพีแอล เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ในการประชุม 19 เมษายน 2543

10 เมษายน 2543 ทีพีไอชี้แจงรายละเอียดแผนฟื้นฟู โดยเสนอเจ้าหนี้เลือกบริษัท ทีพีไอแพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้ทำแผน

19 เมษายน 2543 ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้อีพีแอล ทำแผนฟื้นฟูกิจการ สัดส่วน 73.03% ของมูลหนี้ ทั้งหมด

20 เมษายน 2543 นายประชัยเสนอนับคะแนนเจ้าหนี้ใหม่ ที่ลงมติเลือกอีพีแอลทำแผนฟื้นฟูทีพีไอ ปรากฏว่าอีพีแอลยังคงได้รับคะแนะเสียงสนับสนุน เป็นผู้ทำแผน ด้วยสัดส่วนถึง 75.89%

19 กรกฎาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการบริษัทย่อยทีพีไอ 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท ทีพีไอ โพลีออล จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้า ทีพีไอ จำกัด และบริษัท ระยอง แท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด

18 กันยายน 2543 ทีพีไอดิ้นเสนอแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีกครั้ง

20 กันยายน 2543 นายประชัยยอมให้แปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างจ่ายทีพีไอเป็นทุนจดทะเบียน 75% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมด โดยบริษัทมีสิทธิซื้อคืนภายใน 5 ปี

25 กันยายน 2543 อีพีแอลยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อสำนักฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ โดยนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน 30 ตุลาคม 2543

26 ตุลาคม 2543 ผู้เกี่ยวข้องยื่นขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ที่ทำโดยอีพีแอล รวม 9 ราย

30 ตุลาคม 2543 ที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ เลื่อนลงมติเป็น 16 พ.ย. 2543 หลังเจ้าหนี้แตกเป็น 2 ฝ่าย และหลังจากเลื่อนโหวต ทีพีไอ และกลุ่มนายประชัยนำเอกสารแฉพฤติกรรม ที่ส่อให้เห็นเจตนาไม่บริสุทธิ์การทำแผนฟื้นฟูกิจการ

13 พฤศจิกายน 2543 อีพีแอลแถลงข่าวโต้ตอบนายประชัย พร้อมปฏิเสธแก้ไขแผนตามข้อเสนอกลุ่มทีพีไอทุกประเด็น

14 พฤศจิกายน 2543 พนักงานทีพีไอเคลื่อนไหวโจมตีอีพีแอล ว่าแผนฟื้นฟูที่ทำ ทำลายบริษัท พร้อม ยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อ และนัดหยุดงานวันรุ่งขึ้น

พนักงานทีพีไอชุมนุมประท้วงปลายปี 43

15 พฤศจิกายน 2543 พนักงานทีพีไอ ทั้งที่อยู่สำนักงานใหญ่ และโรงงานระยอง นัดรวมตัวและหยุดงานครั้งใหญ่ เพื่อประท้วงแผนฟื้นฟูกิจการที่ทำโดยอีพีแอล

16 พฤศจิกายน 2543 พนักงานทีพีไอกว่า 5 พันคน ชุมนุมประท้วงที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างการประชุมพิจาณาแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอของเจ้าหนี้ จนกระทั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องย้ายสถานที่ ประชุมที่กรมบังคับคดี ตลิ่งชัน และต้องเลื่อน พิจารณาแผนเป็น 27 พฤศจิกายน 2543

วุฒิสภาใช้ทีพีไอแก้ กม.ฟื้น ศก. 11 ฉบับ

23 พฤศจิกายน 2543 คณะกรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา หยิบยกกรณีทีพีไอ เป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อจะนำไปสู่การแก้กฎหมาย ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ที่ประกาศใช้รัฐบาลชุดนายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์

24 พฤศจิกายน 2543 กรมบังคับคดี แถลงยืนยันว่า การประชุมเจ้าหนี้ ยังคงกำหนดเดิม คือ 27 พ.ย. 2543 แม้มีข่าวอีพีแอล และลูกหนี้ จะขอเลื่อน เป็น 6 หรือ 15 ธันวาคม 2543 แต่จะพิจารณาคำร้องขอ เลื่อนวันดังกล่าว

27 พฤศจิกายน 2543 เจ้าหนี้โหวตรับแผนฟื้นฟูกิจการที่ทำโดยอีพีแอล ด้วยคะแนนเสียง 96.06% ของ มูลหนีทีพีไอทั้งหมด ท่ามกลางกระแสคัดค้านของ ลูกหนี้ และพนักงานทีพีไอ ที่ชุมนุมประท้วงบริเวณรอบนอกกรมบังคับคดี

15 พฤศจิกายน 2543 ศาลล้มละลายกลางสั่งทีพีไอเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ โดยอีพีแอลบริหารแผน
ประชัยค้านแผนฟื้นฟูทีพีไอต้นปี 44

15 มกราคม 2544 นายประชัยยื่นคำร้องอุทธรณ์ ต่ออธิบดีศาลล้มละลายกลาง เพื่อให้พิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย

18 มกราคม 2544 ศาลล้มละลายกลางรับคำร้อง ขออุทธรณ์ของนายประชัย แต่อีพีแอลยังบริหารแผนต่อไป จนกว่าศาลฎีกาจะชี้ขาดเป็นอย่างอื่น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.