ไอบีเอ็มประ กาศนโยบายรอบปี 2546 ในเชิงรุก ด้วยการเสริมทีมการตลาด โดยโยก "พิศาล
มานะตั้งสกุลกิจ" เป็น ผู้คุมทัพ ด้วยประสบการณ์กว่า 18 ในไอบีเอ็ม และเคยดูแลรับผิดชอบงานหลายหน่วยธุรกิจ
ล่าสุดสร้างยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์พีซีประสบความสำเร็จมาแล้ว พร้อมปรับรูปแบบการทำธุรกิจกับคู่ค้าที่เสริมความสัมพันธ์รอบด้านทุกระดับในลักษณะ
3 ประสาน เพื่อบุกหนักในธุรกิจอี-บิสซิเนส ออน ดีมานด์ และธุรกิจบริการ
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรม การผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประ เทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงนโยบาย
และทิศทางในการดำเนินธุรกิจรอบปี 2546 ว่า ไอบีเอ็มยังคงเน้นการสร้างความเป็นผู้นำในธุรกิจไอที
ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์เรื่องอี-บิสซิเนส ออน ดีมานด์ สนับสนุนโอเพ่น คอมพิวติ้ง
และความเป็นผู้ให้บริการด้านไอทีชั้นนำ ซี่งในรอบ ปีนี้ไอบีเอ็มยังมุ่งรุกตลาดร่วมกับพันธมิตร
และทำกิจกรรมทางการตลาดต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นการสร้างองค์กรภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทิศทางของไอบีเอ็มจะมุ่งเน้น ให้ทุกสาขาธุรกิจเห็นถึงความสำคัญ ของการเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรเพื่อก้าวสู่ธุรกิจออน
ดีมานด์ พร้อมกันนี้ ไอบีเอ็มได้นำเสนอโซลูชั่นครบวงจรทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
และบริการด้านไอที ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานแบบอี- บิสซิเนส
ออน ดีมานด์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ จัดสร้างระบบทำงานเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ทั้งกลุ่มคู่ค้า
ซัปพลายเออร์ และลูกค้า นอกจากนี้ ระบบยังจะต้องสนับสนุนมาตรฐานแบบเปิด สามารถใช้ประโยชน์จากระบบคอมพิวเตอร์เสมือนจริง
และระบบไอทีสามารถจัดการตัวเอง ได้
นอกจากการนำเสนอโซลูชั่นแล้วไอบีเอ็มได้มีการเสริมศักยภาพด้านคู่ค้า โดยการปรับวิธีการทำงานร่วมกันให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ซึ่งไอบีเอ็มได้ริเริ่มรูปแบบการทำงานธุรกิจกับคู่ค้าแบบ 3 ประสานคือ ระหว่างไอบีเอ็ม
คู่ค้า ที่มีความเข้าใจและชำนาญในเทคโนโลยีของไอบีเอ็ม และบริษัทให้คำปรึกษาด้านไอทีและกลุ่มซิสเต็ม
อินทิเกรเตอร์ หรือเอสไอ เพื่อ นำเสนอโซลูชั่นที่ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจในทุกสาขาอุตสาหกรรม
ซึ่งไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทั้งด้านเทคโนโลยีและธุรกิจให้กับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ ไอบีเอ็มยังได้เสริมความแข็งแกร่งด้านการตลาด โดยการโยกพิศาล มานะตั้งสกุลกิจ
ที่ร่วมงานกับไอบีเอ็มมากว่า 18 ปี และเคยรับผิดชอบในหลายสายงาน ธุรกิจ ล่าสุดทำให้ยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์พีซีประสบความสำเร็จมาแล้ว
เข้ามารับผิดชอบและดูแลด้านการตลาดของไอบีเอ็ม ประเทศ ไทยทั้งหมด เพื่อดำเนินกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก
สำหรับการตลาดเชิงรุกของไอบีเอ็ม ภายใต้แผนการดำเนินงาน แบบสปีด ทู มาร์เก็ต
ที่ลูกค้า คู่ค้า และผลิตภัณฑ์ บริการ ยังคงเป็นหัวใจหลักของการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
ซึ่งรอบปีนี้ ไอบีเอ็ม ได้กำหนดแผนการตลาดไว้คือ
1.บิสซิเนส อินฟราสตรักเจอร์ ซึ่งไอบีเอ็มมุ่งทำแผนส่งเสริมการตลาดเฉพาะเจาะจงไปในแต่ละสาขาอุตสาหกรรม
โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้และผลักดันการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับอี-บิสซิเนส
ออน ดีมานด์
2.บิสซิเนส โซลูชั่น ไอบีเอ็มจะมุ่งทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ร่วมกับพันธมิตรด้านโซลูชั่นชั้นนำ
โดยจะนำเสนอเป็นโซลูชั่นเพื่อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อีอาร์พี, ซีอาร์เอ็ม หรือเอสซีเอ็ม
เป็นต้น
3.โกลบัล สมอลล์ บิสซิเนส ไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับตลาดธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจ
รายย่อย โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผ่าน ไอบีเอ็ม แวลู พาร์ต เนอร์ โปรแกรม ที่มุ่งสร้างขยายฐานคู่ค้าให้สามารถนำเสนอโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจให้กับกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่มีจำนวนมากทั่วประเทศ
4.แวลู โปรแกรม ไอบีเอ็มริเริ่มรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ในชื่อไอบีเอ็ม ไฮ วอลุม
โปรดักส์ โปร-แกรม ที่มุ่งขยายฐานเชิงรุกเฉพาะโซลูชั่นเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มพรินเตอร์
เข้าไปในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและขนาดธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วประเทศมาก ที่สุด โดยโครงการจะมุ่งเสริมศักยภาพและเพิ่มฐานคู่ค้า
รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่อเนื่องตลอดปี