ยักษ์ใหญ่ ไทยเยาฮัน ขอ 3 ปี เข้าตลาดหุ้นไทย


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

สำหรับใครที่เคยชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง "โอชิน" คงพอจะจำได้ถึงชีวิตที่บากบั่นมุมานะของ "โอชิน" หญิงขายผักปลาคนนี้ได้ ซึ่งเค้าโครงภาพยนต์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดมาจากชีวติจริงของคัตสึ วาดะ ผู้ก่อตั้ง "ห้างเยาฮัน" และขยายกลายเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ ที่มียอดขายปีที่แล้ว 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 54,6000 ล้านบาท

ปัจจุบันการบริหารกิจการของกลุ่มธุรกิจเยาฮันอยู่ในมือลูกชาย 3 คนของคัดสึ วาดะ คือ KAZUO WADA TERUMASA WADA และ MITSUMASA WADA โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด คือ KAZUO WADA พี่ชายคนโต ที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัท

ในวันเปิดตัวที่ผ่านมาของกลุ่มผู้บริหารของห้างสรรพสินค้า "ไทยเยาฮัน" (BANGKOK YAOHAN NO.1) โครงการร่วมลงทุนมูลค่า 2 พันล้านบาท ที่ผู้บริหารระดับสูงสองพี่น้อง คือ KAZUO WADA และ MITSUMASA WADA ได้ให้ความสำคัญต่อห้างไทยเยาฮันนี้มาก

"เมื่อสามปีที่แล้วในตอนที่เราตัดสินใจจะมาเปิดสาขาที่นี้ ประเทศไทยมีการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เราหวังว่าในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยคงจะโดดเด่นด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เยาฮันเป็นที่ยอมรับในฐานะห้างชั้นนำดังเช่นในมาเลเซีย ฮ่องกงและสิงคโปร์"

ความรุ่งโรจน์แห่งเอเซียในศตวรรษใหม่นี้ ส่งผลให้ผู้บริหารของเยาฮันตัดสินใจย้ายสำนักงานใหญ่หรือฐานบังคับบัญชาการของกลุ่มธุรกิจเยาฮัน จากญี่ปุ่นมาสู่ฮ่องกงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

"นับว่าเราเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นแห่งแรกที่มาเปิดสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ" KAZUO WADA ประทางบริษัทกล่าวถึงการตัดสินใจครั้งนี้

ปัจจุบันเครือข่ายกลุ่มธุรกิจของเขาฮันมีลักษณะหลากหลาย แต่มีโดดเด่นทางด้านธุรกิจค้าปลีก YAOHAN INTERNATIONAL CONGLOMARATE (ดูตารางอาณาจักร) โดยเฉพาะกิจการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์สโตร์

ห้างสรรพสินค้า "ไทยเยาฮัน" ที่เปิดใหม่ล่าสุดนี้ถือได้ว่า เป็นห้างสาขาที่ 116 ในประเทศที่ 9 ที่มีพื้นที่ขายมากที่สุดถึง 3 หมื่นตารางเมตร แต่ถ้านับจำนวนสาขาของเยาฮันที่มากที่สุดจะมีอยู่ในญี่ปุ่นถึง 92 แห่ง รองลงมาก็คือ สหรัฐฯ 8 แห่ง มาเลเซีย 5 แห่ง สิงคโปร์ 4 แห่ง ฮ่องกง 4 แห่ง ที่เหลือก็กระจายอยู่ในประเทศคอสตาริก้า บรูไน ไต้หวัน ประเทศละหนึ่งแห่ง

"ในปีนี้นอกจากเหิดสาขาในกรุงเทพแล้ว ก็จะเปิดเพิ่มอีกสองแห่ง คือ ที่ฮ่องกง 2 สาขา และที่สหรัฐฯ อีกสองแห่ง คือ ชานเมืองชิคาโกและลอสแองเจลีส และที่สำคัญคือ การเปิดบริษัทค้าส่งระหว่างประเทศ IMM (INTERNATIONAL MERCHANDISE MART) ที่เราร่วมกับรัฐบาลสิงคโปร์" KAZUO WADA เล่าให้ฟังถึงการเติบใหญ่ของกิจการ

ผู้บริหารที่ดูแลเครือข่ายเยาฮันในสาขาต่างประเทศนี้ก็คือ น้องคนที่สาม MITSUMASA WADA ขณะที่สาขาเยาฮันในญี่ปุ่น 92 แห่งนั้นอยู่ในความดูแลของ TERUMASA WADA ส่วนตัวพี่คนโต KAZUO WADA จะบัญชาการอยู่ที่สำนักงานใหญ่ฮ่องกงคุมไปถึงมาเก๊าและดูแลแผนการอนาคตในปี 2538 ที่จะลงทุนทำชอปปิ้งเซนเตอร์ "เยาฮัน" ที่ใหญ๋ที่สุดของนครเซี่ยงไฮ้

"ปีนี้เราตั้งเป้ายอดขายทั้งหมดในเครือประมาณ 2,700 ล้านเหรียฐสหรัฐ(70,200 ล้านบาท) และเป้าหมายนี้จะเป็นจริงก็รวมถึงยอดขายในไทยนี้ด้วย" ประธานบริษัทกล่าวถึงยอดขายที่วาดหวังไว้

เป็นที่คาดการณ์ของ KOJI ISHIZAWA ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ในไทยว่ายอดขายของห้างสรรพสินค้า "ไทยเยาฮัน" จะไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทในปีแรก กุญแจที่จะไขประตูไปสู่ความสำเร็จนั้นก ็คือกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกว่าคู่แข่งยักษ์ใหญ่ที่ปักหลักแน่นหนาบนสมรภูมิรบถนนรัชดาภิเษก-อโศก

"จุดเด่นของไทยเยาฮัน คือ เรามีพื้นที่ขายใหญ่ที่สุดถึง 3หมื่นตารางเมตร และเราอยากจะเป็นที่หนึ่งในเรื่องบริการ เราจึงใช้พื้นที่ 30% สำหรับบริการลูกค้า เช่น ที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจและห้องน้ำมากที่สุด มีห้องคุณแม่สำหรับให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมลูก ห้องสมุดสำหรับเด็กที่รอผู้ใหญ่ชอปปิ้ง ห้องพยาบาลและมุมห่อของขวัญ"

นอกจากนี้ KOJI ISHIZAWA ผู้จัดการใหญ่ไทยเยาฮันยังเล่าให้ฟังถึงระบบบัตรสมาชิกที่จะส่งเสริมการขาย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาข้อมูลลูกค้าเป้าหมายนับแสนคนมาใช้ประโยชน์

"ถ้าระบบบริหารบัตรสมาชิกด้วยคอมพิวเตอร์นี้ที่ใช้ที่สาขาในเมืองไทยแห่งแรกเป็นผลสำเร็จ ก็จะนำไปใช้ในสาขาอื่นๆ " KAZUO WADA ประธานบริษัทกล่าว

ด้วยความที่มีเครือขายธุรกิจที่ครบวงจร ก็เป็นจุดเด่นหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหารเยาฮันสามารถสร้างสินค้าภายใต้ยี่ห้อการค้า "เยาฮัน"ได้ เช่น ข้าวสาร ฟักและเสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น

หนึ่งในซัพพลายเออร์ไทยที่ส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปขายให้แก่ห้างเยาฮันทั่วโลกก็ คือ สหพัฒน์
กรุ๊ป ซึ่งมีความสัมพันธ์ค้าขายกับกลุ่มธุรกิจเยาฮันมานานหลายปี ปัจจุบันห้างเยาฮันที่สิงคโปร์ก็เป็นคู่ค้ารายใหญ่รายหนึ่ง ที่สั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากบริษัทประชาอาภรณ ์และธนูลักษณ์ บริษัทในเครือสหพัฒน์มูลค่าหลายล้านบาทต่อปี

ด้วยเหตุนี้หนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยของบริษัทไทยเยาฮัน จำกัด จึงมีสหพัฒน์กรุ๊ปร่วมถือหุ้นด้วย 10% นอกเหนือจากลุ่มบริษัทสยามนำโชค (ยูนิเวสต์ กรุ๊ป) 21% แบงก์กรุงศรีอยุธยา 5% บริษัทเอ็มบีไทย 5% และบริษัทไทยเอ็มซี (มิตซูบิชิคอร์ป) 5%

โครงการร่วมลงทุนใน "ฟอร์จูนทาวน์" นี้เแบ่งเป็นสี่ส่วน คือ หนึ่ง ห้องสรรพสินค้า "ไทยเอยฮัน" สูง 5 ชั้น สอง ชอปปิ้งเซนเตรอ์เป็นตึกสูง 4 ชั้น สาม ออฟฟิศ "ฟอร์จูน เฮ้าส์" สูง 30 ชั้น และสี่โรงแรมชั้นหนึ่ง "ฟอร์จูน วิว " สูง 25 ชั้น 429 ห้อง

และเฟสแรกที่ดำเนินการสร้างเสร็จก่อนก็คือ ส่วนของห้างสรรพสินค้า "ไทยเยาฮัน" และชอปปิ้งอาเขตที่เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันสงกรานต์ปีนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.