เมื่อเสร็จสิ้นการคัดเลือกผู้ประมูลก่อสร้างโรงโอเลฟินส์แล้ว ขั้นตอนต่อไปทีโอซีก็ต้องจัดหาแหล่งเงินกู้มาใช้ในโครงการ
แยกเป็นค่าก่อสร้างโรงงาน 500 ล้านเหรียญสรอ. และค่าใช้จ่ายอื่นอีก 220 ล้านเหรียญสรอ.
รวมเป็น 720 ล้านเหรียญสรอ.
240 ล้านเหรียญสรอ. จะเรียกจากผู้ถือหุ้น โดยทีโอซีจะเพิ่มทุนจาก 250 ล้านบาทเป็น
6,250 ล้านบาท ซึ่งกำหนดเรียกชำระงวดแรก 1,500 ล้านบาทในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมปีนี้
และที่เหลือจะเรียกชำระเป็นระยะจนเต็มวงเงิน
อีก 480 ล้านเหรียญสรอ. จะเป็นเงินกู้
ส่วนแรกจะเป็นเงินกู้ในรูปของเอ็กซ์ปอร์ตเครดิตจากธนาคารเพื่อการส่งออกของเกาหลี
สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นการค้ำประกันเงินกู้ด้วยเป็นจำนวน 330 ล้านเหรียญสรอง
แยกสัดส่วนกู้จากเกาหลีประมาณ 200 ล้านเหรียญสรอ.ที่เหลืออีก 130 ล้านเหรียญสรอ.
จะกู้จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นแห่งละเท่า ๆ กันหรืออาจจะน้อยกว่านี้เล็กน้อย
ที่แบ่งสัดส่วนกู้จากเกาหลีมากที่สุดเนื่องจากเงื่อนไขเงินกู้ดีที่สุดคือดอกเบี้ยถูกอยู่ในอัตรา
7% เศษ และปลอดการชำระเงินต้นคืนเป็นเวลา 2 ปีหลังจากสร้างโรงโอเลฟินส์เสร็จ
ขณะที่ของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะต้องชำระเงินต้นนับจากโรงโอเลฟินส์เสร็จ 6 เดือน
ส่วนที่สองอีก 150 ล้านเหรียญสรอ. จะเป็น COMMERCIAL LOAN โดยที่โอซีได้ออกเอกสารสนเทศแก่ธนาคารทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดหาเงินกู้และค้ำประกันให้โครงการรวม
35 แห่ง ที่ตอบรับและสนใจปล่อยกู้ทั้งหมด 29 ราย ซึ่งล้วนมาจากธนาคารชั้นนำทั่วโลก
เนื่องจากมีผู้สนใจปล่อยกู้มาก ทีโอซีจึงจัดงาน "PROJECT FINANCE
MEETING" ขึ้นที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 สิงหาคมที่ผ่านมา
พร้อมทั้งจัดเยี่ยมชมสำนักงานและพื้นที่สร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
"สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาในการบินไปเสนอรายงานแก่แบงก์ต่าง ๆ ทั่วโลก
จัดทีเดียว เขาจะได้มาเห็นความพร้อมของเราด้วย" พละกล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้
สำหรับธนาคารที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ ไอบีเจจากญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์ในการปล่อยกู้แก่โครงการปิโตรเคมีในเอเชียจากเดิมเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของทีโอซี
"เมื่อเสร็จสิ้นจากงานที่ปรึกษาการเงินแล้ว เราก็มาเป็นผู้ปล่อยกู้แก่ทีโอซีด้วย"
ฟูมิโอคิตาจิมาจากอบีเจสำนักงานใหญ่ที่โตเกียวซึ่งรับผิดชอบการปล่อยเงินกู้ในเอเชียบินมาร่วมงานด้วยตัวเองพร้อมคณะอีก
5 คน จัดเป็นธนาคารที่ส่งผู้เข้าร่วมงานมากที่สุด
แต่เมื่อมาเจอตัวแทนธนาคารยักษ์ ๆ ทั่วโลกซึ่งมาร่วมงานถึง 80 คน ฟูมิโอ
คิตาจิมาถึงกับ กล่าวว่า เห็นแบงก์ที่มาแล้ว ทำให้รู้สึกหนักใจ"
ทั้งนี้ "เราให้ธนาคารส่ง PROPOSAL มาใยสิ้นเดือนกันยายนนี้ และกำหนดตัดสินเลือกแหล่งเงินกู้และเซ็นสัญญาในเดือนพฤศจิกายน"
จะใกล้เคียงกับการเซ็นสัญญาก่อสร้างโรงงานในเดือนตุลาคม จันทร เศาภายน ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านบัญชีและการเงินของปตท.
ซึ่งมาบริหารการเงินของทีโอซีกล่าว
ขณะที่พละกล่าวว่า ทีโอซีจะดำเนินการแต่ละส่วนไปพร้อม ๆ กัน ทั้งด้านเทคนิคซึ่งเลือกลุ่มสโตนฯ
ไปแล้ว เรื่องซื้อขาย เรื่องการเงิน รวมไปถึงการเลือกบริษัทประกัน โดยจะเลือกจาก
5 รายที่เสนอมา คือ บริษัท SEDGWICK. MINET. WiLLIS, HEAT และ BOWRING เพื่อให้โรงงานเสร็จตามกำหนด
แต่จากระยะเวลาที่ทีโอซีกำหนดนี้ บรรดานายธนาคารที่มาร่วมประชุมเห็นว่า
ทีโอซีค่อนข้างจะมองโลกในแง่ดีเกินไปที่กำหนดเวลาทำงานไว้สั้นมาก
ทีโอซีจะเลือกกู้จากกลุ่มธนาคารใด ด้วยเงื่อนไขเงินกู้ที่น่าพอใจและทันตามกำหนดหรือไม่
คงต้องติดตามดูกันต่อไป
รายชื่อธนาคารที่ส่ง LETTER OF CONFIDENTIALITY ให้ "ทีโอซี"
1. THE INDUSTRIAL BANK OF JAPAN (IBJ) - ญี่ปุ่น
2. DAIICHI KANGYO - ญี่ปุ่น
3. BANK OF TOKYO - ญี่ปุ่น
4. FUJI BANK - ญี่ปุ่น
5. LONG - TERM CRDIT BANK OF JAPAN - ญี่ปุ่น
6. MITSUI TAIYO KOBE BANK - ญี่ปุ่น
7. SANWA BANK - ญี่ปุ่น
8. SUMITOMO BANK - ญี่ปุ่น
9. NIPPON CREDIT BANK - ญี่ปุ่น
10. BARCLAY BANK - อังกฤษ
11. NATIONAL WESTMINSTER BANK - อังกฤษ
12. BANQUE NATINAL DE PARIS - ฝรั่งเศส
13. DFUTSCHE BANK - เยอรมัน
14. BANQUE INDUSUEZ - ฝรั่งเศส
15. SOCIATE GENERAL - ฝรั่งเศส
16. CREDIT LYONNAIS S.A. - ฝรั่งเศส
17. UNION BANK OF SWITZERLAND - สวิตเซอร์แลนด์
18. DERSDNER - เยอรมัน
19. CHASE MANHATTAN BANK - สหรัฐฯ
20. CITI BANK - สหรัฐฯ
21. MANUFACTURERS HANOVER - สหรัฐฯ
22. BANK OF AMERICA - สหรัฐฯ
23. CANADIAN IMPERTAL - แคนาดา
24. ธนาคารกรุงเทพฯ
25. ธนาคารกสิกรไทย
26. ธนาคารไทยพาณิชย์
27. ธนาคารกรุงไทย
28. ธนาคารทหารไทย
29. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา