ปีนี้ ประสิทธิ์ ณรงค์เดชมีอายุครบ 57 ปี เขาควรใช้ชีวิตในวัยนี้อย่างสุขสบายได้แล้ว
หากมรสุมทางธุรกิจ จะไม่บังเอิญโหมกระหน่ำใส่เขาเฉกเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้
แต่ดูเหมือนบทเรียนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ
30 ปีจะไม่ทำให้ประสิทธิ์ได้เรียนรู้อะไรขึ้นมาเลย
การประกาศเลิกกิจการบริษัทไทยแซ็นเซลล่าตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2534
เป็นต้นไป ได้กลายเป็นบทเรียนทางธุรกิจครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอย่างบริษัทมอลลิเก้แห่งประเทสสวีเดนและบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิ์ ณรงค์เดชคนที่ได้ชื่อว่าเชี่ยวกรากในตลาดผ้าอนามัยเมืองไทยมากที่สุด
บริษัทไทยแซ็นเซลล่าได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2528 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก
40 ล้านบาทโดยการร่วมทุนกันระหว่างผู้ถือหุ้นคนไทยวึ่งหุ้นใหญ่ก็คือบริษัทอนามัยภัณฑ์
จำกัดกับบริษัทมอลลิเก้สวีเดนในอัตราส่วน 51: 49
การกลับเข้ามาในตลาดผ้าอนามัยของค่ายจอห์นสันแอนด์จอห์นสันหลังปี 2526
โดยเฉพาะการเข้ามายึดครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในระยะเวลาอันรวดเร็ว เป็นสาเหตุประการสำคัยที่ทำให้ประสิทธิ์ต้องคิดถึงความอยู่รอดของผ้าอนามัยตัวเก่งนั่นคือเซลล็อกซ์
ซึ่งนับวันส่วนแบ่งตลาดจะตกต่ำลงเรื่อย ๆ
"ถ้าจะทำผ้าอนามัยควรจะทำผ้าอนามัยที่มีคุณภาพมีเอกลักษณ์ของตัวเอง
ทางอนามัยภัณฑ์จึงส่งให้ผมออกไปแสวงหาก็ไปพบบริษัทมอลลิเก้ของสวีเดน ซึ่งเขาเป็นบริษัทที่ครองตลดาผ้าอนามัยในย่านสแกนดิเนเวียแทบทั้งหมด
โดยเฉพาะในประเทศเขาเองครองตลาดกว่า 90% บริษัทนี้มีเทคโนโลยีทางด้านเพอร์สันแนลแคร์
ที่นับว่าสูงมากบริษัทหนึ่งในโลก ที่มีชื่อคือผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก ของที่ใช้แล้วทิ้งเลย
เป็นพวกชุดผ่าตัดในโรงพยาบาล หมวก ที่คาดปาก ที่มีใช้ในห้องแพทย์ไปพบเขาดูเทคโนโลยีของเขาแล้ว
ผมคิดว่าผ้าอนามัยของเขามิใช่เรียกว่าทันสมัยแต่ควรจะนำสมัย" ประสิทธิ์
ณรงค์เดช ประธานกรรมการ บริษัทไทยแซ็นเซลล่ากล่าวถึงการเลือกบริษัทมอลลิเก้ให้มา
ร่วมทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยในประเทศไทย ในขณะนั้น
หลังจากการร่วมทุนแล้ว ไทยแซ็นเซลล่าได้ผลิตผ้าอนามัยออกวางตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่
2 มกราคม 2530 ภายใต้ชื่อ "ลาเบรส" ในขณะที่ผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ก็หายไปจากตลาดตั้งแต่นั้นมา
จากการหยุดผลิตด้วยเหตุผล เพราะคิดว่าตัวสินค้าของมันเอง ไม่มีอะไรเด่นเหมือนคนอื่น
จนกระทั่งถึงเดือนเมษายน 2531 ผ้าอนามัยเซลล็อกซ์จึงหวนคืนสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่งในชื่อ
"เซลล็อกซ์ ทูเดย์"
ประสิทธิ์กล่าวถึงความคิดในการนเซลล็อกซ์มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งเนื่องจากเห็นว่าบริษัทไทยสก็อต
(ก่อนแยกตัวออกไป) ก็ทำกระดาษทิชชูสองยี่ห้อเหมือนกันคือเซลล้อกซ์หรือเซลล่ากับสก็อตตี้
ซึ่งขายได้ดีกว่าคู่แข่ง คือคิมเบอร์ลี่คลากเจ้าของเดลซี่ จึงคิดว่าโดยทฤษฎีเดียวกันก็น่าจะประสบผลสำเร็จ
แต่ดูเหมือนความพยายามของประสิทธิ์ในการที่จะกลับเข้าสู่การเป็นผู้นำในตลาดผ้าอนามัย
เหมือนในอดีตที่ผ่านมาจะเผชิญปัญหาที่คาดไม่ถึงโดยเฉพาะปัญหาที่สืบเนื่องจากการเงินในบริษัท
ไทยแซ็นเซลล่าเพิ่มทุนครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2529 อีก 10 ล้านบาทเป็น
50 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์เข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ถือหุ้นในสัดส่วน
20% ในขณะที่หุ้นของอนามัยภัณฑ์ลดลงจาก 50% เหลือ 30% และหุ้นของมอลลิเก้ยังคงเท่าเดิม
จากงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของไทยแซ็นเซลล่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2529
แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ขาดทุนสะสมในปี 2529 เป็นจำนวนเงินถึง 26 ล้านบาท
ซึ่งเป็นการขาดทุนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนบริษัทฯ
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2530 ไทยแซ็นเซลล่าจึงเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งเป็น
100 ล้านบาท ซึ่งทั้งเบอร์ลียุคเกอร์และมอลลิเก้ได้เพิ่มทุนตามทำให้สัดส่วนของเบอร์ลี่ฯ
เพิ่มขึ้นเป็น 35.5% ในขณะที่มอลลิเก้ยังคงเท่าเดิมคือ 49% ส่วนอนามัยภัณฑ์ลดลงเหลือ
15%
ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มพูดอีกครั้งหนึ่งแต่สถานการณ์ทากงารเงินของบริษัทฯ
ก็ยังไม่ดีขึ้นปัญหาการขาดทุนยังคงต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปลายปี 2531 บริษัทฯยังมีสภาพหนี้สะสมรวมทั้งสิ้น
120.5 ล้านบาท และยอดขาดทุนสะสมรวม 65.6 ล้านบาท
"สภาพการขาดทุนภายในช่วง 2 ปีแรกของการดำเนินงานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
แต่ช่วง 2 ปีนั้นลีเบรสลงทุนทางด้านการตลาดการโฆษณาสูงมากถึง 70 ล้านบาทส่งผลกระทบให้บริษัทขาดเงินสดหมุนเวียนภายใน
ถ้าไม่พูดถึงเรื่องดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในด้านการโฆษณาบริษัทนี้สามารถทำกำไรได้แล้ว
ดั้งนั้นการแก้ปัญหาก็คือ การหาเงินสดหมุนเวียนเข้ามาเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ย"
ประสิทธิ์ชี้แจงถึงปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีของการดำเนินงาน
ดังนั้นในปีถัดมาไทยแซ็นเซลล่าจึงแก้ปัยหาสภาพหนี้สะสมที่มีอยู่ด้วยการประกาศลดทุนจดทะเบียนบริษัทฯ
ลงถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ประกาศลดทุนจดทะเบียนลงจาก 100 ล้านบาทเหลือ
25 ล้านบาทโดยการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 1,000 บาทเป็นหุ้นละ 250 บาท
ครั้งที่สองในเดือนสิงหาคม 2532 ประกาศลดทุนจาก 25 ล้านบาทเป็น 6,250,000
ล้านบาทโดยลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 250 บาทเป็นหุ้นละ 62.50 บาท
หลังจากลดทุนจดทะเบียนลงแล้วเดือนต่อมาก็มีการเพิ่มทุนขึ้นอีก 25 ล้านบาท
โดยการออกหุ้นสามัญใหม่อีกจำนวน 400,000 หุ้น ๆ ละ 62.50 บาท
"การลดทุนครั้งนี้นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะแก้ไขสถานการณ์และผลักดันงานด้านการตลาดและการผลิตต่อไปได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีการเพิ่มทุนขึ้นมาทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในสภาพคล่องตัวขึ้น ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนนโยบายการผลิตและตาดให้สอดคล้องกับแผนใหม่ด้วยคือนับตั้งแต่วันที่
15 มีนาคม 2532 งานด้านการขายและการตลาดทั้งหมดจะโอนเข้าไปอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์
ภายใต้การดูแลของประเสริฐ เมฆวัฒนา ส่วนกำพล คุปตะวนิช ประธานบริหารของไทยแซ็นเซลล่าและทีมงานซึ่งเคยรับผิดชอบงานด้านการตลาดก็โอนเข้าไปดูแลการผลิตแทนเพื่อให้การประสานงานคล่องตัวขึ้น"
แหล่งข่าวระดับสู่ของไทยแซ็นเซลล่าชี้แจงให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
และในเดือนพฤษภาคม 2533 ไทยแซ็นเซลล่าเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งจำนวน 55 ล้านบาทโดยออกหุ้นใหม่
880,000 หุ้น ๆ ละ 62.50 บาท
การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดนี้ทำให้ไทยแซ็นเซลล่ามีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 86,250,000
บาทจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,380,000 หุ้นและมีผลทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของเบอร์ลี่ยุคเกอร์เพิ่มขึ้นเป็น
49.8% ในขณะที่มอลลิเก้ยังคงเท่าเดิม ส่วนอนามัยภัณฑ์เหลืออยู่เพียง 1% เท่านั้น
แต่ดูเหมือนการเพิ่มทุนโดยมอลลิเก้และเบอร์ลี่ยุคเกอร์ทั้ง 2 ครั้งจะไม่สามารถกู้สถานภาพของไทย
แซ็นเซลล่าให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมได้การเดินทางไปโกเธนเบิร์กของดร.อดุล อมติวิวัฒน์กรรมการบริหารและผู้จัดการใหญ่ของเบอร์ลี่ยุคเกอร์เมื่อวันที่
19 มิถุนายนที่ผ่านมาจึงเป็นการปิดฉากปัญหาทางธุรกิจที่มี อยู่ทั้งหมดลง
จากการเดินทางในครั้งนั้นได้สรุปเป็นข้อตกลงว่าบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์และมอลลิเก้จะปิดการดำเนินงานของไทยแซ็นเซลล่าลงในวันที่
31 สิงหาคม 2534 ตามข้อเสนอดังนี้คือที่ดินรวมทั้งโรงงานเก่า และใหม่จะถูกโอนไปยังบริษัทไทย
คลินิโปร จำกัดตามมูลค่าบัญชี ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2534 (บริษัทไทยคลินิโปร
จำกัดจดทะเบียนก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2533 จากการร่วมทุนระหว่างเบอร์ลี่ยุคเกอร์กับมอลลิเก้
เอบีแห่งสวีเดนในสัดส่วน 51:49 ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อผลิตเสื้อคลุมสำหรับใช้ในการผ่าตัดโดยได้รับการส่งเสริม
การลงทุนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2533 ส่วนของโรงงานเพิ่มเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยใช้งบในการลงทุนก่อสร้างประมาณ
30 ล้านบาท)
สำหรับอุปกรณ์โรงงานบางส่วนที่ไม่ได้โอนให้กับไทยคลิกนิโปรจะขายให้กับบริษัทในประเทส
ส่นเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตรวมถึงชิ้นส่วนจะขายคืนให้กับมอลลิเก้ก่อนปลายปีนี้หรืออาจจะเร็วกว่านั้น
ผลขาดทุนจากการขายเครื่องจักรคาดกว่าจะมีมูลค่าประมาณ 21 ล้านบาทซึ่งเครื่องจักนี้จะยังคงอยู่ในรายการบัญชีของไทยแซ็นเซลล่าจนกว่าจะขายให้กับมอลลิเก้
เบอร์ลี่ยุคเกอร์และมอลลิเก้จะพยายามแบกภาระการขาดทุนไว้โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายอื่น
จากงบการเงินล่าสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2534 อันเป็นวันสิ้นสุดของการดำเนินงานปรากฏว่าบริษัทไทยแซ็นเซลล่ามียอดสินทรัพย์รวมทั้งหมด
115 ล้านบาท ในขณะที่ยอดหนี้สินมี 113 ล้านบาทนอกจากนี้ยังมียอดขาดทุนสะสมรวมทั้งสิ้นอีก
84 ล้านบาท
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจนมีผลทำให้ไทยแซ็นเซลล่าต้องปิดกิจการลงนั้นสาเหตุมีอยู่ด้วยกันหลายประการคือ
ประการแรกนั้นการนำเงินไปลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิต ซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมาก
เพื่อที่จะให้เป็นโรงงานผลิตผ้าอนามัยที่มาตรฐานที่สุดในโลกภาคพื้นเอเชีย
ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง จะเห็นได้จากมูลค่าของทรัพย์สินถาวร ที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดนั้น
เป็นค่าที่ดิน 5 ล้านบาท ค่าก่อสร้างโรงงานเดิม 25 ล้านบาท ค่าก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่
35 ล้านบาทค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ 66 ล้านบาท เมื่อรวมทรัพย์สินถาวรทั้งหมดแล้วจะมีมูลค่าถึง
133 ล้านบาท ที่สำคัยเงินที่ใช้ในการลงทุนครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งใน
และต่างประเทศดังนั้นการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่บริษัทฯ
ปฏิเสธไม่ได้ จะเห็นได้จากในปีที่ผ่านมาตัวเลขค่าใช้จ่ายที่มาจากดอกเบี้ยมีจำนวนถึง
14.4 ล้านบาท
ประการที่สองการเปิดตัวผ้าอนามัยลีเบรสที่ถือว่าเป็นน้องใหม่ด้วยการทุ่มงบประมาณทางการตลาดอย่างมากในช่วง
2 ปีแรกเพื่อให้สินค้าติดตลาดโดยเร็วจนส่งผลกระทบให้บริษัทฯ ประสบปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมถึงการขาดเงินสดหมุนเวียนภายในอีกด้วย
และประการสำคัญ คือ ยอดขายสินค้า ที่ถือเป็นรายได้หลักของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้จากคาดหวังยอดขายในปีแรกน่าจะอยู่ในราวเดือนละ
1 หมื่นหีบ ปีที่สอง 1.5 หมื่นหีบต่อเดือนและปีที่สาม 2 หมื่นหีบต่อเดือน
แต่ยอดขายจริงโดยถัวเฉลี่ยกลับได้เพียงครึ่งหนึ่งของที่ประมาณการไว้เท่านั้นคือประมาณเดือนละ
4-5 พันหีบต่อเดือน และถึงแม้ว่าจะนำผ้าอนามัยเซลล้อกซ์มาปัดฝุ่นเข้าตลาดใหม่
โดยหวังว่ายอดขายของเซลล็อกซ์มาปัดฝุ่นเข้าตลาดใหม่ โดยหวังว่ายอดขายของเซลล็อกซ์จะช่วยทำให้รายได้ของบริษัทฯ
มากขึ้นก็ตามแต่ก็ไม่เป็นไปย่างที่คาดหวังไว้
จะเห็นได้ชัดเจนจากการประมาณการยอดขายในปี 2533 ที่ตั้งเป้าไว้ว่ายอดขายของลีเบรสในประเทศควรจะอยู่ในราว
45 ล้านบาทแต่ยอดขายที่แท้จริงกลับได้เพียง 38 ล้านบาทเช่นเดียวกับเซลล็อกซ์ทูเดย์ที่คาดว่ายอดขายควรจะอยู่ในราว
5 ล้านบาทแต่กลับได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งจากคำชี้แจงของกำพล คุปตะวนิชประธานบริหารของบริษัทไทยแซ็นเซลล่า ที่มีต่อผู้ถือหุ้นในเรื่องดังกล่าวว่า
"เนื่องจากการแข่งขันของตลาดผ้าอนามัยในปี 2533 รุนแรงกว่าปี 2532 มากจะเห็นได้จากงบโฆษณาที่เพิ่มสูงขึ้นจาก
75.4 เป็น 136.1 ล้านบาททั้งนี้เป็นเพราะการเข้ามาของสินค้าใหม่ ๆ อย่างเช่นโซฟีเชเลคท์ของยูนิ
ชาร์ม,วิสปอร์จากค่าย P&G และไนซ์เดย์ของค่ายคาโอ ทำให้ยี่ห้อเดิมในตลดาอย่างโมเดสต้องใช้งบทางด้านสื่อโฆษณาเพิ่มขึ้นถึง
2 เท่าเพื่อปกป้องการเป็นผู้นำ ในขณะที่น้องใหม่อย่างวิสเปอร์ใช้งบโฆษณาถึง
32 ล้านบาท กับการได้มาซึ่งส่วนแบ่งตลาดเมื่อปลายปี 6% ในขณะที่ปัจจุบันลีเบรสมีส่วนแบ่งอยู่ในตลาด
6% และมีแนวโน้มว่ายอดขายจะลดต่ำลงดดยสาเหตุหนึ่ง เป็นผลผลกระทบที่มาจากการแข่งขันในตลาด
ที่นุรแงรขึ้นทุกขณะส่วนอีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีการพัฒนาสินค้าใหม่
ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งขันในตลาดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา"
ผลกระทบที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เองที่ทำให้ไทยแซ้นเซลล่าประสบปัยหาการขาดทุนโดยเฉพาะการมีต้นทุนการดำเนินงานสูงในขณะที่ยอดขายโดยรวมต่ำ
ถ้าดูจากความรับผิดชอบในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ทั้งเบอร์ลี่ยุคเกอรื
และมอลลิเก้ดูเหมือนจะเจ็บตัวหนักจากความล้มเหลวของการร่วมทุนในไทยแซ็นเซลล่าครั้งนี้
แต่คนที่เจ็บตัวไม่แพ้กันเห็นจะเป็นประสิทธิ์ ณรงค์เดชเพราะการนำเอาบริษัทอนามัยภัณฑ์มาร่วมหัวจมท้ายในไทยแซ็นเซลล่าทำให้เงินจำนวน
15 ล้านบาทที่นำมาร่วมทุนในสมัยเริ่มก่อตั้งกิจการหายไปในพริบตา เป็นผลให้รอยร้าวระหว่างผู้ถือหุ้นของอนามัยภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมปรากฏชัดยิ่งขึ้น
การเข้าไปเซ็นสัญญาซื้อหุ้นของบริษัทเสตอร์ลิงค์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดจำนวน
1,920 หุ้นเมื่อต้นปี 2528 โดยไม่ได้ตั้งใจทำให้จุลินทร์ นฤปกรณ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ
บริษัทอนามัยภัณฑ์ตั้งแต่นั้นมา
บริษัทเสตอร์ลิงค์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมทุนกับอนามัยภัณฑ์ตั้งแต่ปี
2509 หลังจากเปิดดำเนินการได้เพียง 2 ปี โดยเข้ามาถือหุ้นจำนวน 50% ตามข้อตกลงที่ทำไว้ในขณะนั้น
เมื่อบริษัทเสตอร์ลิงค์ฯ ต้องการจะถอนตัวออกจากเมืองไทยด้วยการประกาศขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดในบริษัทอนามัยภัณฑ์จำนวน
2,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท, บริษัทประสิทธิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดจำนวน
2,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 250 บาท,บริษัทบีดีเอฟอินทนิล จำกัดจำนวน 12,000
หุ้น มูลค่าหุ้นละ 500 บาท
ประสิทธิ์ ณรงค์เดชในฐานะประธานกรรมการของบริษัทอนามัยภัณฑ์ในช่วงนั้น
ได้มีการออกจดหมายลงวันที่ 4 มกราคม 2528 ถึงผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอขายหุ้นจำนวนดังกล่าวในราคารวม
10 ล้านบาทให้แก่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องชำระมูลค่าหุ้นดังกล่าวเป็นเงินสดในวันที่
20 มกราคม 2528 พร้อมทั้งขอให้ผู้ที่ประสงค์จะซื้อหุ้นได้แจ้งให้ทราบภายในวันที่
18 มกราคม 2528
จนกระทั่งถึงกำหนดปรากฏว่าไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดแจ้งมา ดังนั้นในวันที่
22 มกราคม 2528 จุลินทร์นฤปกรณ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ จึงได้ทำหนังสือถึงผู้ถือหุ้น่ของอนามัยภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง
โดยแจ้งว่าหากผู้ใดประสงค์จะซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวตามหนังสือของท่านประธาน
โปรดแจ้งให้ทราบก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2528
เมื่อเลยวันเวลาดังกล่าวมาไม่มีผูส้ถือหุ้นรายใดแจ้งความจำนงที่จะซื้อ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่สนใจที่จะซื้อหุ้นอนามัยภัณฑ์ คือจากสเตอร์ลิงค์ฯ
เนื่องจากอนามัยภัณฑ์ขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เต็มที่ เนื่องจากบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชย
6 เดือน ให้กับพนักงานที่ไม่ได้ถูกโอนไปอยู่ไทยแซ็นเซลล่า รวมทั้งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจาการลดค่าเงินบาทในปี
2527 นอกจากนี้ธุรกิจที่ทำอยู่คือแผนกใยสังเคราะห์ก็ประสบปัญหาการขาดทุนในปีนั้นด้วย
และการที่ธนาคาร 2-3 แห่งถอนวงเงินสินเชื่อที่ให้กับบริษัทเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นทุกคนทราบเรื่องมาโดยตลอด
"ในสถานการณ์อย่างนั้นคงไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดกล้าเสี่ยงนำเงินลงทุนเพราะรู้อยู่แก่ใจว่ามันอาจจะสูญไปเลย"
แหล่งข่าวในอนามัยภัณฑ์เล่าให้ฟัง
จุลินทร์แก้ไขปัญหาในขณะนั้นด้วยการทำสัญญากู้เงินจากธนาคารไทยทนุจำนวน
12 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นอนามัยภัณฑ์คืนจากสเตอร์ลิงค์ฯ โดยมีหลักประกันเป็นใบหุ้นที่ซื้อทั้งหมด
1,920 หุ้นกับมีนิติบุคคลและบุคคลที่จะซื้อหุ้นค้ำประกัน แต่ธนาคารได้อนุมัติให้ภัณฑ์เป็นผู้ค้ำประกันแทนบุคคลและนิติบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราว
ตามข้อตกลงซื้อขายหุ้นที่ทั้ง 2 ฝ่ายทำต่อกันปรากฏว่าจุลินทร์ ต้องจ่ายเงินให้กับสเตอร์ลิงค์จำนวน
14,359,000 บาทจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,920 หุ้น หรือในราคาหุ้นละ 7,478.65
บาทจากราคาพาร์ 1,000 บาท
ความบาดหมางระหว่างจุลินทร์ นฤปกรณ์กับประสิทธิ์ ณรงค์เดชเริ่มปะทุแบบเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อประสิทธิ์ต้องการให้จุลินทร์นำหุ้นที่ซื้อจากสเตอร์ลิงค์มาแตกคืนให้กับผู้ถือห้นุเป็นรายบุคคลตามสัดส่วนที่ถูก้อง
ภายหลังจากที่ตรวจพบว่าจุลินทร์กู้เงินในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ตนเองกู้มาจากธนาคารเมื่อครั้งที่ซื้อหุ้นจากสเตอร์ลิงค์ฯ
"หลังจากที่คุณจุลินทร์กู้เงินในนามส่วนตัวจากธนาคารไทยทนุมาซื้อหุ้นจากเสตอร์ลิงค
์เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นก็ด้วยความหวังว่าจะมีคนมาขอแบ่งซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวในภายหลังตามที่ประสิทธิ์ได้รับปากไว้
แต่เมื่อไม่มีใครมาซื้อคุณจุลินทร์จึงตัองแบกรับไว้ทั้งหมด แต่เพื่อให้ความเสี่ยงที่จะมาถึงตัวลดน้อยลง
คุณจุลินทร์จึงได้ทำเรื่องกู้เงินอีกจำนวนหนึ่งในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์
และนำเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไปชำระหนี้เงินกู้ส่วนตัวคืนให้กับธนาคารเมื่อวันที่
26 กรกฎาคม 2528 เป็นการสิ้นสุดหนี้ที่จุลินทร์มีต่อธนาคารไทยทนุ โดยผลักภาระการเป็นลูกหนี้ให้ตกเป็นของบริษัทอนามัยภัณฑ์
ในขณะที่คุณจุลินทร์ก็ทยอยจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทฯ ไป" แหล่งข่าวที่รู้เรื่องดีในอนามัยภัณฑ์เล่าถึงที่มาของสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิ์ไม่พอใจจุลินทร์
เงินทดรองที่บริษัทจ่ายเป็นเงินให้จุลินทร์กู้ยืมปรากฏว่ามีจำนวน 14,372,729.42
บาท ประสิทธ์นั้นมองว่าหุ้นที่ซื้อมาจากเสตอร์ลิงค์ฯ ควรจะถูกโอนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วนที่ควรจะเป็นในเมื่อเงินที่นำมาจ่ายค่าหุ้นนั้น
เป็นเงินกู้ที่ทำในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์ ซึ่งต้องมาแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยแทน
แต่การทวงถามถึงเรื่องหุ้นจำนวนดังกล่าวจากจุลินทร์ก้ไม่ได้รับการสนองตอบอย่างที่ประสิทธิ์ต้องการจะให้เป็น
เพราะจุลินทร์เองถือว่าถึงแม้จะมีการกู้เงินในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์แต่ตนเองก็ได้พยายามหาทางผ่อนชำระคืนเงินทดรองให้บริษัทไปบ้างแล้ว
ดังนั้นหุ้นจำนวนดังกล่าว จึงเป็นสิทธิ์ที่ตนจะต้องได้
ความไม่พอใจของประสิทธิ์นี่เองที่ทำให้จุลินทร์ต้องเร่งหาเงินมาชำระคืนเงินทดรองให้กับบริษัทจะสังเกตได้จากตัวเลขในงบดุลของบริษัท
ณ สิ้นปี 2531 ปรากฏว่าเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้างมีจำนวน 10 ล้านบาทเศษ
ในขณะที่สิ้นปี 2532 เหลืออยู่เกือบ 9 ล้านและยอด ตัวเลขดังกล่าวนี้ได้หายไปจากงบดุลเมื่อสิ้นปี
2533
แหล่งข่าวคนหนึ่งในอนามัยภัณฑ์เล่าให้ฟังว่า "เมื่อคุณจุลินทร์ไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของคุณประสิทธิ์
จึงได้มีการยื่นข้อเสนอใหม่ให้คุณจุลินทร์ชดใช้ดอกเบี้ยคืนให้แก่บริษัทฯ
ตามจำนวนที่บริษัทได้จ่ายล่วงหน้าไปตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งคุณจุลินทร์ก็ยอมที่จะปฏิบัติตาม"
ดอกเบี้ยที่จุลินทร์จะต้องจ่ายตามที่กรรมการบริษัท เห็นสมควรก็คือ 471,665.61
บาท
เรื่องยังคงไม่จบเพียงเท่านี้
จุลินทร์ เป็นพี่ชายของเกษรี ณรงค์เดช ภรรยาของประสิทธิ์ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร
ที่จะลินทร็จะเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจการเกือบทุกแห่ง ที่ประสิทธิ์ริเริ่มขึ้นมาเช่นเดียวกับกิจการของครอบครัวอื่น
ๆ ที่ผู้ถือหุ้นก็คือคนในครอบครัวนั่นเอง
จุลินทร์ถือหุ้นในยนามส่วนตัวรวมทั้งในนามของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอนามันภัณฑ์,บริษัทประสิทธิ์
อินเตอร์เนชั่นแนล,บริษัทกระดาษไทยสก็อต,บริษัทไทยแซ็นเซลล่า, บริษัทบีดีเอฟ
อินทนิล แม้กระทั่งบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์
ในบรรดานักธุรกิจที่พอมีชื่อของเมืองไทยปรากฏว่าชื่อของจุลินทร์แทบจะไม่มีใครรู้จักหรอืไม้ยินมากนักเมื่อเทียบกับชื่อของประสิทธิ์
นั่นอาจแสดงให้เห็นถึงนโยาบายทางด้านการบริหารงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
และความฉลาดาของประสิทธิ์ในหลาย ๆ เรื่องได้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ถือหุ้นบางคน
โดยเฉพาะจุลินทร์ที่รับรู้เรื่องราวของธุรกิจในเครือข่ายมาพร้อม ๆ กันกับประสิทธิ์
ซึ่งความไม่พอใจที่ก่อตัวคุกรุ่นในใจมาตลอดเวลาหลายปีนี่เอง ที่เปรียบเสมือนระเบิดที่รอการประทุ
ดังนั้นการที่ประสิทธิ์เรียกร้องหุ้นคืนจากจุลินทร์ จึงไม่ผิดอะไรกับการจุดชนวนระเบิด
การเข้ามาปรับปรุงโครงการสร้างการบริหารงานในอนามัยภัณฑ์ใหม่เมื่อปี 2528
ของประสิทธ์ พร้อมกับการดึงเอาผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ ซึ่งเป็นสินค้าเก่าแก่คู่บุญของบริษัทอนามัยภัณฑืไปในช่วงที่มีการร่วมทุนกับริษัทไทยแซ็นเซลล่า
ได้สร้างความไม่พอใจกับกับจุลินทร์ย่างมาก ถึงแม้ว่าขณะนั้นยอดขายของผ้าอนามัยเซลล็อกซ์จะตกลงแต่อย่างน้อยเม็ดเงินจากกำไรที่ได้รับแน่
ๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทหากสินค้ายังคงอยู่กับบริษัท (รวมถึงกำไรจากการขายผ้าใยสังเคราะห์ให้กับแผนกนี้)
ก็สามารถที่จะช่วยกู้สถานการณ์ที่ย่ำแน่ในช่วงนั้นได้บ้าง
ครั้งหนึ่งจุลินทร์เคยทำจดหมายถึงประสิทธิ์ เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจในสิ่งที่ได้รับ่จากการกระทำของประสิทธิ์ซึ่งตอนหนึ่งได้มีการพูดถึงผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ด้วยว่า
"การเข้าไปร่วมทุน ในไทยแซ็นเซลล่านั้น ถือได้ว่าอนามัยภัณฑ์ ก็ยังมีส่วนในยี่ห้อเซลล็อกซ์
แม้ว่าเครื่องหมายการค้านี้จะจดทะเบียนเป็นชื่อของคุณ (หมายถึงประสิทธิ์)
ก็ตามแต่อนามัยภัณฑ์ก็ได้ยายามรักษาสัดส่วนตลาดไว้ที่ 20-21% ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาด้วยค่าใช้จ่ายสูงมากทีเดียว
และมาถึงตอนนี้มันน่าเศร้ามากที่เห็นสัดส่วนของเซลล็อกซ์เหลืออยู่เพียง 5%
แม้ว่ายี่ห้อนี้จะเป็นของคุณ แต่เรารู้สึกเหมือนว่าเราได้ร่วมก่อสร้างมันขึ้นมา
และตอนนี้มันได้สุญสลายไปแล้วหลังจากที่ร่วมกับไทยแซ็นเซลล่ามา 3 ปี"
เช่นเดียวกับการดึงเอาผลิตภัณฑ์นีเวียซึ่งอนามัยภัณฑ์เกี่ยวข้องในส่วนของการผลิตออกไปให้กับบริษัทไทยเฮเลีย
จำกัดทำให้นอามัยภัณฑ์สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ไปอีกครั้งหนึ่ง ความไม่พอใจของจุลินทร์เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการตอบโต้กลับต่อกรณีนี้
"อนามัยภัณฑ์เป็นผู้ผลิตสินค้าให้ทางนีเวียในช่วงแรกที่วางตลาด มาวันดีคืนดีคุณประสิทธ์ก็ดึง่สวนการผลิตสินค้าตัวนี้ไปให้กับบริษัทไทยเฮเลียซึ่งตั้งขึ้นมาในปี
2530 โดยที่คุณจุลินทรืไม่เคยได้ระแคะระคายเกี่ยวกับการก่อตั้งบริษัทใหม่นี้มาก่อนเลย
(เป็นบริษัทเดียวในเครือข่ายการทำธุรกิจที่จุลินทร์ไม่ได้ถือหุ้นด้วย) และครั้งนี้มีการพูดกันว่าข้อแลกเปลี่ยนที่คุณประสิทธิ์เสนอไปยังผู้ร่วมก่อตั้งก็คือการขอถือหุ้นในไทยเฮเลีย
25%" แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับนีเวียเปิดเผยให้ฟัง
จากการค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมทะเบียนการค้าปรากฏว่าบริษัทไทยเฮเลียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่
28 เมษายน 2530 ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาทโดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัทต่างประเทศ
2 รายคือบริษัทโอเรียน จำกัดถือหุ้นจำนวน 75,000 หุ้นหรือ 25% และบริษัทเฮเลีย
อูเบ็นฮัน เดลเกเซลชาฟท์เอ็มบีเอชซึ่งเป็นบริษัทในเยอรมนีถือจำนวน 224,993
หุ้นหรือ 74.9%
และบริษัทโอเรียนนี่เองที่น่าจะเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโอไรออน (ORION)
ซึ่งประสิทธิ์เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วยเพราะการที่ปรากฏชื่อของมาร์ติน เจมส์
วอเตอร์ฟิลด์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนสำคัญของ ประสิทธิ์ใน ORION ในตำแหน่งกรรมการของไทยเฮเลียน่าจะเป็นหลักฐานยืนยันถึงความคิดดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี
ตรงนี้เป็นความฉลาดของประสิทธิ์อย่างหนึ่งในการหาช่องทางขยายธุรกิจของประสิทธิ์ที่ฝ่ายตรงข้ามมองว่าเป็นซิกแซ็ก
ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของประสิทธิ์เสียด้วย
จุลินทร์เองก็เคยรับรู้ถึงกลวิธีในการบริหารธุรกิจของประสิทธิ์ในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างดี
เพียงแต่ครั้งนี้จุลินทร์อาจนึกไม่ถึง หรือไม่ก็อาจเป้นเพราะรอยร้าวที่เริ่มปรากฏขึ้นในใจของทั้งคู่ก็เป็นไป
กรณีของบริษัทโอไรออนน่าจะเป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดี
เมื่อครั้งที่เสตอร์ลิงค์ฯ ยังร่วมทุนอยู่กับอนามัยภัณฑ์ในช่วงแรกนั้น
หน้าที่หลักในฐานะหุ้นส่วนก็คือการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีของเครื่องจักร
ที่จะใช้ในการผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทด้วยการเป็นตัวกลางประสานการติดต่อในกรณีที่บริษัทมีการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ
ในช่วงที่อนามัยภัณฑ์เริ่มทำกิจการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายผ้าใยสังเคราะห์หรือ
NONWOVEN FABRIC (NWF) นั้นเสตอร์ลิงค์ฯ ได้ทำหน้าที่ด้วยการแนะนำให้ใช้เครื่องจักรผลิตผ้าใยสังเคราะห์ของ
NWF INTERNATIONAL CO. ซึ่งมีเจ้าของผู้อกแบบเครื่องเป็นกรรมการผู้จัดการและมีเสตอร์ลิงค์ฯ
เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย ซึ่งตามสัญญาที่ตกลงกันครั้งนั้นอนามัยภัณฑ์จะต้องจ่ายค่า
TECHNOLOGY SERVICE FEES ให้กับ NWFINT., ตั้งแต่ปี 2516/2517
จนกระทั่งสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อปี 2521 2522 ทางเสตอร์ลิงค์ฯ จึงได้แนะนำให้ยกเลิก
แบะชักชวนให้จ่ายค่า ROKYALTY ต่อไปโดยจ่ายให้แก่ ORION LTD. แทน
แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีเล่าว่า "ORION เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงโดยมีประสิทธิ์
ประธานกรรมการขณะนั้นกับมาติน เจมส์ วอเตอร์ฟิลด์ซึ่งเป็นตัวแทนของเสตอร์ลิงค์ฯ
ร่วมกันก่อตั้งขึ้นโดยทุกครั้งที่อนามัยภัณฑืจะสั่งซื้อเครื่องจักรจะต้องสั่งผ่าน
ORION พร้อมทั้งจ่ายค่าธรรมเนียมในการผลิตให้กับ ORION ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของบริษัทนี้"
ตามข้อตกลงอนามัยภัณฑ์จะต้องจ่ายค่าธารรมเนียมการผลิตต่อปีในอัตราดังนี้คือ
ในปี 2521 จะเสียในอัตรา 0.0020 เหรียญสหรัฐต่อตารางหลาของการผลิตสุทธิ และในปี
2522 และหลังจากนั้นจะเสียในอัตรา 0.0025 เหรียญสหรัฐต่อตารางหลาของการผลิตสุทธิ
การทำสัญญาดังกล่าวนั้นแม้จะเป็นผลดีในแง่ที่ทำให้อนามัยภัณฑ์ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงแต่ก็มีผลเสียที่ทำให้บริษัทมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
ซึ่งประเด็นนี้เองที่จุลินทร์ต้องการที่จะยกเลิกสัญญาดังกล่าวกับ ORION แต่ไม่สามารถกระทำได้
การที่จุลินทร์ไม่ยอมชำระเงินจำนวนนี้ โดยการปล่อยให้หนี้ดังกล่าวพอกพูนขึ้นทุกปี
อย่างเช่นที่ปรากฏอยู่ในงบดุล อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดีทีเดียว (หนี้จำนวนนี้ปรากฏอยู่ในหนี้อื่น
ๆ ซึ่งงบดุลเมื่อสิ้นสุดปี 2533 มียอดประมาณ 13.5 ล้านบาท)
แหล่งข่าวในอนามัยภัณฑ์เล่าว่า "คุณจุลินทร์ไม่ยอมจ่ายเงินเป็นค่า
ROYALTY ให้กับ ORION เพราะเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมที่เงินจำนวนนี้จะตกเป็นของประสิทธิ์เพียงคนเดียวจนกระทั่งหนี้จำนวนหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย
ๆ คุณประสิทธิ์เองก็ได้ทวงถามถึงหนี้ที่ติดค้าง ORION อยู่แต่ไม่เป็นผลจนกระทั่วปี
2528 จุลินทร์จึงยอมชำระหนี้บางส่วนให้กับ ORION แต่มีข้อแม้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวนี้
ORION จะต้องนำกลับมาซื้อหุ้นของนามัยภัณฑ์ในส่วนที่คุณจุลินทร์ซื้อคืนมาจากสเตอร์ลิงค์ฯ
เพื่อเป็นการผ่อนคลายภาระหนี้สินส่วนหนึ่งที่คุณจุลินทร์แบกรับอยู่"
ตามหลักฐานที่ปรากฏในปี 2528 จุลินทร์ขายหุ้นใหักับ ORION จำนวน 1,950
หุ้นในราคาหุ้นละ 779.10 บาทเป็นเงินทั้งหมด 1,519,563.54 บาท
เมื่อความไม่พอใจที่มีต่อกันปะทุหนักขึ้นประสิทธิ์ก็พยายามที่จะเร่งรัดและเรียกร้องค่า
ROYALTY FEE ที่ทางอนามัยภัณฑ์ติดค้างอยู่ ในขณะที่จุลินทร์ก็ได้พยายามโต้กลับถึงความเสียหายของบริษัทที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรผลิตผ้าใยสังเคราะห์เครื่องที่
3 ที่สั่งซื้อตามคำแนะนำของ ORION ทำงานไม่ปกติซึ่งความสูญเสียที่บริษัทได้รับตั้งแต่ปี
2529-2531 รวมเป็นเงินทั้งหมด 25 ล้านบาท
ดังนั้นการเจรจาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือประโยชน์ของตนเป็นหลักจึงเป็นเรื่องที่จงไม่ง่ายนัก
การที่จุลินทร์อยู่ในสภาพตกกระไดพลอยโจนในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอนามัยภัณฑืหลังจากการซื้อหุ้นใหญ่จากสเตอร์ลิงค์ในปี
2528 แล้วความพยายามที่จะกอบกู้สถานะของอนามัยภัณฑ์ให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเวลาขณะนั้นที่ไม่มีแม้แต่เซล็อกซ์หรืออะไรที่เป็น
GOOD WILL ของบริษัทเลยแต่จุลินทร์ทำได้สำเร็จ
จากสภาพการขาดทุนจำนวน 8 ล้านบาทเศษในปี 2528 มาเป็นกำไรสุทธิ (หลังหักภาษีและดอกเบี้ย)
ในปี 2530 จำนวน 3.7 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นลำดับคือในปี 2531.48
ล้านบาท,ปี 25324.4 ล้านบาทและในปี 25335.9 ล้านบาท
แผนกที่ทำรายได้หลักให้กับอนามัยภัณฑ์คือผ้าใยสังเคราะห์ซึ่งขายให้กับบริษัทผู้ผลิตผ้าอนามัยเกือบทกยี่ห้อในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีแผนก MRD (MACHINE RESEARCH & DEBELOPMENT) ซึ่งผลิตเครื่องผลิตผ้าอนามัย,เครื่องห่อบรรจุกระดาษชำระหรือแพ็กเกจจิ้งอื่นๆ
รวมถึงเครื่องทำผ้าเย็นด้วยเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นจำนวน 70% จะส่งขายต่างประเทศส่วนที่เหลืออีก
30% จะขายตลาดภายในประเทศโดยตลาดใหญ่ในต่างประเทศจะอยู่ในแถบอินโดจีน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2531 จุลินทร์ประธานที่ประชุม
ได้กล่าวถึงยอดรายได้ที่เพิ่มขึ้นว่า "ในปี 2530 ยอดขายผ้าใยสังเคราะห์สูงถึง
87 ล้านบาทสูงขึ้นถึง 30% จากปี 2529 ยอดขายนี้ส่วนหนึ่งมาจากการขาย MRD
ให้กับบริษัทไลอ้อนซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าอนามัยแอนเน่และ TKP ผลผลิตผ้าอนามัยออเดย์การที่
2 ยี่ห้อนี้ขายได้ดีมากทำให้ยอดขายผ้าใยสังเคราะห์ดีตามด้วย รวมถึงบังกลาเทศที่สั่งผ้าใยสังเคราะห์และแผ่นกันซึมป้อนให้กับเครื่องจักรของ
MRD ที่ขายไปเมื่อปีที่แล้วและในปี 2530 อนามัยภัณฑ์สามารถทำกำไรสุทธิได้
3.7 ล้านบาทซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนอัตราภาษีการค้าจากเดิม
5.5% เป็น 1.5% รวมถึงยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย"
ถ้าดูจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ณ สิ้นปี 2533 อนามัยภัณฑ์มีกำไรสะสมสูงถึง
17.3 ล้านบาทในขณะที่ทุนจดทะเบียนมีเพียง 4 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของบริษัทนี้ได้เป็นอย่างดี
ประสิทธิ์ได้ถอนตัวจากอนามัยภัณฑ์มาตั้งแต่ปี 2528 เมื่อครั้งที่มีการร่วมทุนกับมอลลิเก้ในการก่อตั้งบริษัทไทยแซ็นเซลล่าโดยทิ้งภาระการบริหารงานทั้งหมดในอนามัยภัณฑ์ให้กับจุลินทร์
ด้วยความตั้งใจที่จะพลิกฟื้นตลาดผ้าอนามัยที่ตนเองเคยทำสำเร็จมาในอดีต
ทำให้ประสิทธิ์ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับบริษัทใหม่แห่งนี้ แต่ความตั้งใจของประสิทธิ์ดูเหมือนจะไร้ผลเมื่อไทยแซ็นเซลล่าต้องเผชิญกับปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก
และจุลินทร์ที่กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย กับการที่จะให้อนามัยภัณฑ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของไทยแซ็นเซลล่าดังนั้นหุ้นส่วนใหญ่จึงตกไปเป็นของเบอร์บี่ยุคเกอร์กับมอลลิเก้บทบาทของประสิทธิ์
ในฐานะตัวแทนของอนามัยภัณฑ์จึงลดน้อยถอยลง และในที่สุดประสิทธิ์ก้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการในไทยแซ็นแซลล่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
2532
เหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นกับไทย-สก๊อตต์ช่วงปี 2530 จนกระทั่งมีผลให้ประสิทธิ์จำต้องขายหุ้นในบริษัทที่ตนเป็นผู้ก่อตั้งและแยกตัวออกจากไทย-สก๊อตต์มาร่วมทุนกับเบอร์ลี่ยุคเกอร์ในบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ตั้งแต่นั้นมา
อาจะเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่หลายคนมองว่าประสิทธิ์ไม่ได้ทุ่มแทเวลาให้กับไทยแซ็นเซลล่ามากเท่าที่ควร
ดังนั้นการหันหลังให้กับไทยแซ้นแซลล่า เพื่อเอาเวลาทั้งหมดมาทุ่มเทให้กับกระดาษเซลล็อกซ์ซึ่งเปรียบเหมือนกับความหวังใหม่ของประสิทธิ์จึงเป็นเรื่องงที่ทุกคนเฝ้าจับตามอง
แต่ดูเมหือนประสิทธิ์จะโชคไม่ดีเอาเสียเลยเมื่อกิจการของกระดาษเซลล็อกซ์เริ่มทำท่าจะซ้ำรอยเดิมเข้าอีกแล้ว
จากตัวเลขการขาดทุนที่ปรากฏในงบการเงินปี 2532 ของบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์
ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินงานมีจำนวนถึง 49 ล้านบาทในขณะที่ยอดขาดทุนสะสมเท่ากับ
55 ล้านบาท ไม่รวมหนี้สินที่มีมากกว่า 400 ล้านบาทและในปี 2533 ผลการดำเนินงานก็ไม่ได้ดีไปกว่าเดิมมากนักคือมียอดขาดทุนในปีนั้นประมาณ
50 ล้านบาท
การยอมรับว่ายอดขายกระดาษชำระไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในกระดาาเซลล้อกซ์เมื่อเร็ว
ๆ นี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจนัก
เช่นเดียวกับการเข้ามาในฐานะผู้ร่วมทุนของบริษัทเคย์เซอร์เบิก เอส เอ ซึ่งเป็นบริษัทผลิต
กระดาษใช้ในครัวเรือนที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสด้วยเหตุผลที่ไม่แตกต่างอะไรกับการเข้ามาของสก๊อตต์เปเปอร์และมอลลิเก้ในอดีต
ประสิทธิ์ให้เหตุผลต่อการร่วมทุนในครั้งล่าสุดนี้ว่า "ผลดีของการร่วมทุนครั้งนี้มีหลายประการอย่างแรกการแข่งขันในตลาดทิชชูเมืองไทย
เวลานี้เซลล็อกซ์กำลังสู้กับบริษัทระดับโลกอย่างสก๊อตต์เปเปอร ์และคลิมเบอร์ลี่คล้ากการที่เคย์เซอร์
เบิกเข้าร่วมทุนทำให้ฐานะของเซลล็อกซ์มีพลังสนับสนุนาที่เข้มแข็งไม่แพ้คู่แข่ง
ประการที่สองผลิตภัณฑ์กระดาษชำระมีความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอโดยเฉพาะการวิจัยและพัมนา
และประการที่สามคือการไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงาน เพียงแต่ขอมีที่นั่งในคณะกรรมการและตรวจสอบบัญชีประจำเดือนเท่านั้น"
ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นกับบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์เหมือนดังที่เกิดขึ้นกับไทยสก๊อตต์
หรือไทยแซ็นเซลล่าหรือไม่แม้แต่ประสิทธ์เองก็ตาม
ดังนั้นความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อกลับเข้ามามีบทบาทในบริษัทอนามัยภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง
ของประสิทธ์ ทำให้หลายคนมองไปว่าเป็นการหาทางออกให้กับตัวเอง
ประสิทธืเคยพูดถึงการนำบริษัทอนามัยภัณฑ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
แต่ยังเป็นไปไม่ได้ในขณะนั้น ประสิทธิ์จึงหันมาตั้งความหวังใหม่กับบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์
ด้วยการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2532 และคาดหวังว่าจะสามารถนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้ภายในปี 2534 นี้ แต่เมื่อสถานการณ์ของกระดาษเซลล็อกซ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาดคิด
อนามัยภัณฑ์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจุดที่มีความพร้อมที่สุดจึงเป็นเป้าหมายที่จะทำให้ความฝันของประสิทธิ์เป็นจริงขึ้นมา
ซึ่งนั่นหมายถึงการต่อสู้ที่ประสิทธิ์จะต้องเป็นฝ่ายชนะเพียงอย่างเดียว
เฉกเช่นกรณีที่ประสิทธิ์ถูกฟ้องล้มละลายอย่างไม่ทันตั้งตัวจากเจ้าหนี้คือบงล.กรุงไทยเมื่อวันที่
20 พฤษภาคม ที่ผ่านมาด้วยเงินเพียง 3 ล้านบาทจากการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ในฐานะกรรมการของบริษัทไทยไพโอเนียร์ให้กับสุวิทย์
ภู่พานิช พี่ชายสามีของน้องสาวประสิทธิ์ ได้กลายเป็นอุบัติเหตุทางธุรกิจที่น่าเศร้าสำหรับประสิทธิ์อีกเรื่องหนึ่ง
เพราะเขาถือว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องเงินแต่มันเป็นศักดิ์ศรีและหน้าตาของตระกูลณรงค์เดช
ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีบทสรุป