สถานการณ์ที่ย่ำแย่ในภาคธุรกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากสงครามอ่าวเปอร์เซียทำให้โรงแรมแชงกรี-ลาต้องหาวิธีทำกำไรแบบใหม่ด้วยการลงทุนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมเลย
เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งหวังผลกำไรในสองทางคือเงินปันผลหรือการขายหุ้นเมื่อมีราคาในตลาดฯ
สูง
โทมัส ลุย แมน ซิงค์ กรรมการผู้จัดการโรงแรมแชงกรี-ลา เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"
ว่า "โรงแรมฯ ได้รับผลกระทบจากสงครามอ่าวเปอร์เซียจึงจำเป็นต้องหาโอกาสลงทุนอย่างอื่น
เ พื่อหากำไรมาชดเชยกับส่วนของกำไรที่ต่ำกว่าประมาณการ 117 ล้านบาท พอดีกับตระกูล
KUOK ซึ่งร่วมถือหุ้นในโรงแรมฯด้วยได้มเสนอให้ไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท TYLFULL
ซึ่งเป็นกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ทางคณะกรรมการฯโรงแรมฯเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ดี
จึงตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 6% ของ TYLFULL หรือ 144.496 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ
HK$ 1.35 คิดเป็นมูลค่า HK$ 195 เทียบเป็นเงินไทยประมาณ 643 ล้านบาท"
ทั้งนี้กำไรสุทธิในครึ่งปีแรกของปี 2534 ต่ำกว่าประมาณการที่บริษัทตั้งไว้ประมาณ
117.32 ล้านบาทหรือคิดเป็น 43% โดยมีตัวเลขกำไรสุทธิ 153.09 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นประมาณ
0.59 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2533 มีกำไรสุทธิ 161.45 ล้านบาทหรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น
0.70 บาท
โทมัสยืนยันหนักแน่นว่าการซื้อครั้งนี้บริษัทฯ มีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายทั้งหมด
และยังไม่มีการเรียนกชำระหุ้นเพิ่มทุนที่ค้างอยู่แต่อย่างใด
เป็นมิติการลงุทนแบบใหม่ เพราะตัวบริษัท TYLFULL เป็นกิจการโฮลดิ้ง ที่มีรายได้เพียงทางเดียวคือเงินปันผลเท่านั้น
ไม่ได้ดำเนินกิจการผลิตสินค้าอย่างใดทั้งสิ้น
โทมัสบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การลงทุนครั้งนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนมาก
TYLFULL ออกหุ้นสามัญใหม่และหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งตามระเบียบในตลาดฯ ฮ่องกงทำให้เราต้องรีบตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่
เราก็เลยตั้งบริษัทใหม่ซึ่งแซงฯเข้าไปถือหุ้น 100% ชื่อ APIZACO ในฮ่องกง
แล้วใช้บริษัทนี้เข้าไปซื้อหุ้นใน TYLFULL อีกทอดหนึ่ง"
นอกจากความรีบเร่งในแง่นั้นแล้ว แชงฯ ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากแบงก์ชาติในการเข้าไปลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นฮ่องกงในตอนแรก
จึงจำเป็นต้องผ่านทาง APIZACO
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาโทมัสกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ในภายหลังบริษัทฯ
ได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติเรียบร้อย แต่เราก็ยังคงใช้ APIZACO เพื่อจะได้ไม่ยุ่งยากอีก"
TYLFULL เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทสของปักกิ่งหรือที่รู้จักกันดีว่า
CHINA INTERNATIONAL TRUST & INVESMENT CORP. (CITIC) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด
49% ตระกูลเฉา 13% และนักลงทุนรายย่อย 38%
บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนรวม 91.5 ล้านเหรียญฮ่องกง มีสินทรัพย์เป็นหุ้นในสายการบินอันดับสองของฮ่องกงคือกรากอนแอร์
38.3% และสินทรัพย์อื่น ๆ อีกส่วนหนึ่ง บริษัทฯจะเปลี่ยนชื่อเป็น CITIC PACIFIC
เพื่อขยายฐานการเงินและจะนำเงินเพิ่มทุนที่ได้ใหม่ไปลงทุนซือ้ห้นุในสายการบินคารเธย์แปซิฟิคและองคืการโทรศัพท์ของมาเก๊าที่ชื่อ
COMPANHIA DE TELECOMMUNICACOSES DEMACAU (CTM) ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน
51% คือ CABLE & WIRELESS
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเข้าไปถือหุ้นในโครงการสนามบินแห่งใหม่ของฮ่องกงที่ชื่อ
CHEK LAP KOK ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีคอนอมิค คาดหมายว่าในไม่ช้า CITIC PACIFIC จะเติบใหญ่เทียบเคียงได้กับสไวร์แปซิฟิค
จาร์ดีน แมทธิวสันและกระทั่งฮัทชิสันแวมเปาของไทคูนใหญ่ลีก้าชิง
ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งนี้ นอกจากแชงกรี-ลาแล้วยังมีลีก้าชิงและโรเบิร์ต
ก็อก หนึ่งในตระกูลที่ถือหุ้นรายใหญ่ของแชงฯ นั่นเอง
ว่ากันว่าการเชิญชวนให้ไทคูณทั้งสองเข้ามาร่วมทุนด้วยเป็นเสมือนหนึ่งหลักประกันแก่นักลงทุนทั่วไป
โดยเฉพาะในด้านภาพพจน์ว่า นักลงทุนทั้งหลายในฮ่องกงสามารถคบค้าทำธุรกิจกับทางการเงินได้โดยไม่ต้องหวั่นแกรงผลกระทบจากเสถียรภาพทางการเมือง
การออกหุ้นสามัญใหม่และหุ้นกู้ครั้งนี้จะทำให้ CITIC PACIFIC มีเงินเข้ามาถึง
2.5 พันล้านเหรียญฮ่องกง และทำให้ฐานสินทรัพย์ขยายจาก 1.4 พ้นล้านบาทฮ่องกงเป็น
4.5 พันล้านเหรียญฮ่องกง
ว่าโดยตัว CITIC KPACIFIC นั้นถือเป็นการลงทุนแบบง่าย ๆ ที่เพียงอาศัยสถานะอันยิ่งใหญ่ของ
CITIC และเทคนิคทางการเงินในตลาดทุนเท่านั้น
และการที่ CITIC PACIFIC เข้าไปซื้อหุ้นในสายการบินคาเธย์และองค์การโทรศัพท์ของมาเก๊า
ก็เป็นการซื้อของ CITIC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของตัวนั่นเอง
เรียกว่าเป็นการโอนย้ายจากกระเป๋าแม่มาอยู่กระเป๋าลูกในสนนราคาที่ต่ำอย่างมาก
ๆ ด้วย
โบรกเกอร์ในฮ่องกงประเมินว่าเมื่อ CITIC PACIFIC จ่ายค่าหุ้นที่จะเข้าไปซื้อในกิจการต่าง
ๆ หมดแล้ว คาดว่าจะสามรถทำกำไรสุทธิในสิ้นปี 2534 เท่ากับ 275 ล้านเหรียญฮ่องกงและมีรายรับต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก
14.5 เซนต์เป็น 16.5 เซนต์
ทั้งนี้หุ้น TYLFULL มีมูลค่าที่ตราไว้ (PAR VALUE) เพียง HK$ 0.10 เท่านั้น
แต่มีตัวเลขการจ่ายเงินปันผลสูงมากคือจ่ายหุ้นละ HK$ 5.5 เมื่อสิ้นปี 2533
แน่นอนว่าในสิ้นปี 2534 จะมีเงินปันเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้
โทมัสมองว่า "บริษัทคงจะหวังผลระยะยามมากกว่าในการลงทุนครั้งนี้"
การลงทุนของแชงกรี-ลาเป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง มันเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
เข้ากับโอกาสลงทุนอย่างพอเหมาะพอดี
เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีลักษณะการลงทุนแบบนี้เกิดขึ้นอีกมาก
หลังจากที่แบงก์ชาต ิเปิดเผยสถานะที่แท้จริงของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บีซีซีออกมา
พร้อมกับแสดงจุดยืนที่จะให้นักลงทุนไทยเข้ามาซื้อกิจการไปบริหารเอง โดยพยายามให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอย่างเต็มที่แล้ว
ปรากฏว่าความมีค่าของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งนี้ก็ส่งประกายเจิดจรัสขึ้นมาทันที
มีผู้สนใจลงทุนซื้อกิจการนี้หลายราย บริษัทเงินทุนยูไนเต็ดซึ่งเป็นกิจการในเครือของธนาคารกสิกรไทยมีแนวโน้มที่จะเข้าไปซื้อจริงจังกว่ากลุ่มอื่น
ๆ ล่าสุดแบงก์ชาติเลือกให้เป็นผู้เจรจาซื้อลำดับแรก และมีการนำเอกสารข้อมูลไปศึกษาเบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจวางเงินประกันจำนวน
50 ล้านบาทเพื่อเข้าไปศึกษารายละเอียดอย่างจริงจังต่อไปนี้ ซึ่งบีซีซีให้เวลาไว้
1 เดือน
หากบง.ยูไนเต็ดตัดสินใจไม่ซื้อ แบงก์ชาติจะเรียกผู้สนใจรายอื่นมาเจรจาเป็นอันดับต่อไป
คนในวงการคาดหมายราคาหุ้นบีซีซีน่าจะมีมูลค่าสูงกว่าหุ้นละ 300 บาท บริษัทฯ
มีทุนจดทะเบียน 110 ล้านบาท มีจำนวนหุ้น 1.1 ล้านหุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
100 บาท
บีซีซีมีสินทรัพย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ พันธบัตร ตลอดจนหลักทรัพย์จำพวกที่ดินบางส่วน
คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2533 และมีกำไรสะสมประมาณ
16 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ไม่ได้ส่งคืนให้บริษัทแม่ในต่างประเทศเลย
อย่างไรก็ดี สินทรัพย์จำนวน 2,000 ล้านบาทนี้ได้มีการขายออกไปบ้างแล้วเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้นกับบริษัทเพราะได้รับผลกระทบจากบีซีซีในต่างประเทศ
ปัจจุบันสินทรัพย์จำนวนนี้ลดลงเหลือ 1,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีหลักทรัพย์ที่บีบีซีเข้าไปถือครองในบริษัทต่าง ๆ ได้แก่
บีซีซีไอเอนเตอร์ไพรซ์ บีซีซีไอลิสซิ่ง เป็นต้น
แบงก์ชาติให้การรับรองว่า ตลอดเวลาที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกิจการของบริษัทรวมทั้งสิ้น
7 ครั้งไม่พบว่ามีหนี้เสียเกิดขึ้นแต่อย่างใด และกรรมการบริษัทที่เป็นคนไทยก็ให้คำยืนยันกับบริษัทว่า
ไม่มีการทำนิติกรรมใด ๆ ที่อยู่นอกบัญชีที่ปรากฏตามกฎหมาย เพราะการทำนิติกรรมใด
ๆ กรรมการฝ่ายไทยต้องรับรู้ทุกครั้ง เพราะเป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจลงนามฝ่ายละ
1 คนร่วมกับทางบีซีซี ฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม การที่บีซีซีมีส่วนเกี่ยวพันกับบริษัทสาธรปาร์คในทางใดทางหนึ่ง
และสาธรปาร์คกำลังมีคดีความกับบริษัท อัลเคมาน บิลเดอร์ส จำกัด เรื่องกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินจำนวน
16 ไร่ ซึ่งใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงแรมสุโขทัย โบฟอร์ด ทำให้ผู้จะซื้อกิจการบีซีซีไม่อาจนิ่งนอนใจในเรื่องนี้ได้
อัลเคมานฯ อ้างว่าที่ดินดังกล่าว บริษัทฯ นำไปจำนองกับบีซีซีในวงเงิน 60
ล้านบาท แต่ต่อมาบีซีซีได้ตั้งสาธรปาร์คเพื่อใช้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
โดยตกลงกับอัลเคมานฯ ว่า จะเป็นการถือแต่เพียงในนามเท่านั้น แต่ปรากฎว่า
สาธรปาร์คกลับนำที่ดินนั้นไปสร้างโรงแรม
ความคืบหน้าของคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวนของศาล
นั่นหมายความว่าสถานะความเป็นเจ้าหนี้ของบีซีซีค่อนข้างง่อนแง่นพอสมควร
คือไม่รู้ว่าจะได้รับชำระเงิน 60 ล้านบาทคืนหรือไม่
หรือว่าจะได้ที่ดินผืนนั้นมาครอบครอง ในกรณีที่บีซีซีเป็นผู้ถือหุ้นในสาธรปาร์ค
แต่ถ้าบีซีซีไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของสาธรปาร์คและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ไปกว่าการเป็นนายหน้าให้บีซีซีในประเทศอื่น
ๆ บีซีซีก็อาจจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากกรณีพิพาทนี้เลย !!
ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ผู้จะซื้อต้องคิดให้รอบคอบทีเดียว
แต่หากผู้จะซื้อมีหลักประกันมั่นคงในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น การออกเสียงในการบริหารงานแล้ว
บีซีซียังมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่าเรื่องสาธรปาร์คมากมาย
ทั้งนี้ บีซีซีมีสาถนะที่ดีกว่าทรัสต์มากมายก่ายกองที่ขายออกไป แล้วของโครงการ
4 เมษาฯ คือ ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ครบทุกใบ มีฐานการทำธุรกิจเช่าซื้อมากพอสมควร
คนในวงการต่างรู้ดีว่า ใบอนุญาตเหล่านี้มีค่ามากเพียงใด
ในเงื่อนไขที่แบงก์ชาติ ให้การสนับสนุนการเข้ามาซื้อของเอกชนเต็มที่ พร้อมกับยื่นมือเข้ามาดูแลผลประโยชน์ในเรื่องหุ้นโดยปล่อยเงินกู้ให้ในวงเงิน
100 ล้านบาทและให้นำหุ้น 65% หรือ 78,000 หุ้นมาจำนำกับกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมทั้งโอนสิทธิในการออเสียงให้กองทุนฯ
ด้วย
มันก็เป็นหลักประกันความมั่นใจได้อย่างเต็มที่ของนักลงทุนแล้ว
ของดี ๆ อย่างนี้แบงก์ชาติน่าจะประกาศให้รู้เสียแต่แรก
บีซีซีที่ประเทศไทยไม่ได้เน่าเหมือนที่อื่น ๆ ในโลก !!