ปราบของเถื่อน ต้องยึดทรัพย์สินให้หมด


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

การลักลอบขนของภาษีเป็นอาชญากรรมทางธุรกิจในลักษณะเป็นการฉ้อโกงภาษีอากร หรือหลีกเลี่ยงภาษีอากร (Tax Frauds) อย่างหนึ่ง ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประชาชนอย่างชัดเจน แต่ก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้เสียภาษีอากรด้วยกัน นอกจากนี้แล้ว การหลีกเลี่ยงภาษีอากรทำให้รัฐบาลขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ และยังมีผลกระทบในทางเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น การกระจายรายได้ในสังคมไม่อาจบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย

กฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายเทคนิค นอกจากใช้บังคับในการเก็บภาษีอากรแล้ว รับยังนำเอากฎหมายศุลกากรไปเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจในส่วนอื่น ๆ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การป้องกันการทุ่มตลาด

สำหรับประเทศไทยกฎหมายสุลกากร เป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง ที่ประสบปัญหาในด้านโครงสร้างและการบังคับใช้ตั้งแต่การยกร่างในปี พ.ศ. 2469 เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เกิดจากปัจจัยมูลฐานทางสังคมไทยอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายฉบับนี้ก็เพื่อให้มีหลักปฏิบัติ เช่น นานาอารยประเทศวิธีการร่างกฎหมายจึงใช้วิธีการลอกเลียนแบบอย่างจากต่างประเทศ โดยใช้ต้นร่างเป็นภาษอังกฤษแล้วแปกลับเป็นภาษาไทย ทำให้ภาษากฎหมายกำกวมไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้กฎหมายมีความสับสนในด้านการตีความกล่าวคือ

บทบัญญัติว่า ด้วยความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นบททั่วไปในมาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้บัญญัติไว้ยืดยาวและประกอบด้วยความผิดหลายลักษณะอีกทั้งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2482 ในมาตรา 16 ว่า "การกระทำที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 27 และ 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้น ให้ถือเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึว่าผู้กระทำเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ หรือหาไม่" ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดเด็ดชาด (Strict Liability) คือมไต้องมีการพิสูจน์จึงเจตนาหรือประมาทที่ผู้หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรมีความผิด หากมีการกระทำที่เป็นการหลีกเลี่ยงเลยโดยไม่ต้องพิสูจน์ถึงเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ

แต่ศาลซึ่งเป็นองค์ตุลาการไม่ยึดถือเช่นนี้ โดยถือว่าความรับผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรจะต้องประกอบด้วยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล ซึ่งศาลได้ยึดถือมาจนกระทั่งบัดนี้

อาจจะเป็นเพราะเหตุว่าบทลงโทษของความผิดนี้ กฎหมายให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของ รวมค่าอากรด้วย หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงไม่เหมาะกับลักษณะของความผิด เพราะมีโทษจำคุกอยู่ด้วย ปกติโทษของความรับผิดทางอาญาที่ไม่ต้องการเจตนาจะเป็นโทษปรับหรือริบทรัพย์ ทำให้ศาลตีความว่าความผิดดังกล่าวต้องมีเจตนาที่จะฉ้อภาษีด้วยเป็นองค์ประกอบของความผิด

การพิสูจน์เจตนากับการริบของกลาง ของกลางอันเกี่ยวเนื่องกับความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 นั้น เป็นของที่ริบได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าเจ้าของมีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดหรือไม่

เพราะการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรนั้น กฎหมายให้ถือว่าเป็นความผิดมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่

แต่สำหรับของกลางซึ่งเป็นยานพาหนะหรือภาชนะ หรือของอื่นที่รวมอยู่ในยานพาหนะหรือภาชนะที่ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 จะรับได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย เพราะกฎหมามิได้ยกเว้นเจตนาสำหรับการลงโทษในกรณีดังกล่าว

แต่มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การที่จะพิสูจน์ว่าเจ้าของทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำควาผิดรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากและมักทำให้เจ้าของทรัพย์สินที่ใช่ในการกระทำความผิด ซึ่งรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยรอดพ้นจากการถูกลงโทษบ่อย ๆ

จะเห็นได้ว่า กฎหมายศุลกากรได้ประกาศใช้มานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 และได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายฉบับทำให้กฎหมายศุลกากรขาดความเป็นเอกภาพ และก่อให้เกิดความยุ่งยากในการนำไปใช้ โดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเป็นการสมควรที่จะเพิ่มเติมถ้อยคำในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ให้ชัดเจนว่ากฎหมายประสงค์จะให้ครอบคุลมไปถึงเจตนาจะฉ้อภาษีด้วย เพื่อเป็นการบังคับให้เป็นไปโดยถูกต้องสมเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติและ เพื่อยุติการตีความกฎหมายหรือหากให้ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเป็นความผิดเด็ดขาด (Strict Liability) โดยไม่ต้องพิสูจน์เจตนาในการกระทำความผิดก็ควรจะปรับปรุงโทษให้เหมาะสมกับลักษณะความผิด โดยไม่ควรวางโทษจำคุกให้สูงเกินไป

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการใช้ยานพาหนะหรือภาชนะในการย้ายถอน ซ่อนเร้นหรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือมีของอื่นซึ่งรวมอยู่ในภาชนะหรือยานพาหนะ อันเป็นของที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วย เมื่อมีการร้องขอคืนทรัพย์สินดังกล่าว ก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเจ้าของมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้นมักจะมีการตระเตรียมหรือทำสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อไว้ล่วงหน้า เพื่อเจ้าของจะได้ยกข้อต่อสู้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ซึ่งการที่จะบัญญัติกฎหมายให้ริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิด โดยมิพักต้องคำนึงว่าเจ้าของจะได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่นั้น เป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักความรับผิดชอบในกฎหมายอาญา

ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร จึงควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติมในกฎหมายศุลกากรโดยให้ริบยานพาหนะหรือภาชนะ หรือของอื่นที่รวมอยู่ในภาชนะหรือยานพาหนะ ซึ่งเป็นของที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

เว้นแต่เจ้าของพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุ อันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดดังกล่าว อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้น หรือพิสูจน์ให้เชื่อว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุผล อันสมควรสงสัยว่าจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด ฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

เว้นแต่เจ้าของพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจะมีการกระทำควมผิดดังกล่าว อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้น หรือพิสูจน์ให้เชื่อว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุผล อันควรสงสัยว่าจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอย่างที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญัติแร่พ.ศ. 2510

การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย โดยให้ถือว่าเจ้าของทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดมีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดด้วย แล้วให้เจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวนำสืบหักล้าง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักภาระการพิสูจน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว

การแก้ไขปัญหาการลักลอบขนของหนีภาษี การมุ่งแก้ไขเฉพาะกฎหมายภายในของประเทศอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ เพราะการลักลอบขนของหนีภาษีเกิดขึ้นจากการลักลอบขนย้ายสินค้าระหว่างรัฐสองรัฐที่มีดินแดนหรืออาณาเขตติดต่อกันเช่น ไทย-มาเลเซีย

แนวความคิดที่มีการผ่อนปรนกันระหว่างประเทศ ในด้านความร่วมมือระหว่างเพื่อนบ้านในบริเวณชายแดน เช่น การอนุญาตใหเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในรัฐภาคีฝ่ายหนึ่งติดตามจับกุมกระทำผิดที่หลบหนีเข้าไปใน ดินแดนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรับผู้ติดตามจะต้องเริ่มการติดตามจับกุมบุคคลที่กระทำผิดเนื่องมาจากดินแดนของตนเอง

ข้อบัญญัติดังกล่าวส่วนที่คล้ายคลึงกับสิทธิในการติดตามต่อเนื่องทางทะเลเพื่อจับกุมเรือของผู้กระทำผิด (hot pursuit) โดยเรือของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐชายฝั่ง

ในส่วนที่ว่าเมื่อมีการกระทำความผิดภายในน่านน้ำของรัฐชายฝั่ง ก. (ดังเช่นภายในทะเลอาณาเขตของรัฐ ก.) และรับ ก.ได้ให้เรือของตน เริ่มทำการจับกุมผู้กระทำผิดจากน่านน้ำของตนแล้ว หากเรือผู้กระทำผิดหลบหนีออกสู่ทะเลหลวง หรือเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่ง ข.ที่อยู่ใกล้เคียงรัฐ ก.ย่อมมีสิทธิ์ที่จะล่วงล้ำเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐ ข.เพื่อจับ กุมผู้กระทำผิดได้

แต่หากความสัมพันธ์ระหว่างรับภาคคู่สัญญาเสื่อมทรามลงความตกลงประเภทนี้ ก็อาจเปิดโอกาสให้คู่ภาคีเข้าไปในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อทำลายที่มั่นทางทหารหรือแทรกแซงกิจการภายในของฝ่ายหลัง จนทำเกิดวิกฤตการณ์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้เช่น จีนในสงครามเกาหลีในระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 1953 และการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของกลุ่มประเทศอินโดจีนในระหว่างสงครามเวียดนาม เป็นต้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.