ประวัติศาสตร์การเมืองของแบงก์ฝรั่งเศส


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลฝรั่งเศสมาแสนนาน 3 แบงก์ยักษ์ใหญ่ของประเทศจึงผูกพันกับสามนโยบายอย่างใกล้ชิด สายสัมพันธ์แบบนี้มีสิทธิทำให้กิจการรุ้งเรืองหรือฟุบเพราะว่าขาดทุนยับก็ได้

จากรายงานของเชียร์สัน เลห์เมน แห่งอังกฤษ เมื่อเร็วนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงเงือนปมทางประวัติศาสตร์ หลายอย่างด้วยกัน

แบงก์ ฝรั่งเศษมีต้นทุนดำเนินงานสูงมากส่วนใหญ่เป็นเพราะบทบาทของการเป็นเครื่องมือรัฐบาล ในด้านที่เกี่ยวกับนโยบายการเงิน แบงก์ในฝรั่งเศสมีลักษณะเหมือนในประเทศโลกที่สามที่มองว่าการเพิ่มตำแหน่งงานคือสิ่งที่ดี ทำให้ตำแหน่งแบงก์มีคนล้มงานมากมาย

แบงก์ในฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นแบงก์ที่ใหญ่สุด มาเป็นหลายปี จากการใช้ตลาดระหว่างธนาคารนั้นเอง เมื่อตลาดในประเทศถูกจำกัดการเติมโตของสินเชื่อ แบงก์ฝรั่งเศสจึวงต้องดิ้นรนสู่ตลาดต่างประเทศผ่านทางตลาดระหว่างธนาคารซึ่งมักจะคิด ส่วนต่างกำไรในราคาต่ำ ทำให้บัญชีงบดุลของฝรั่งเศส ดูดีมากและเต็มไปด้วยความน่าทึ่ง แต่ไม่ได้เรื่องเลยเมื่อมองถึงกำไรที่ควรได้

เพราะว่าแบงก์ฝรั่งเศสเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องสร้างกำไรมากนัก จึงกล้าลดส่วนต่างกำไรของตนในหลายเขนงธุรกิจ เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ให้ได้ในแขนงธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจคือการโอนเงิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการโอนเช็คและเคลียร์เช็ค เมื่อไม่นานมานี้ ธุรกิจกู้จำนองก็มีการแข่งขันที่เข้มข้นมาก จนกระทั่งส่วนต่างกำไรลดลงต่ำกว่าระดับสากล และในตลบาดเครติดการ์เอง แบงก์ทั่งหลายก็ต้องกัดฟันทำไป ในสภาพส่วนต่างกำไรแทบจะไม่มีอยู่เลย

นับจากปลายทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีความพยายามที่จะแก้ปัญหาส่วนที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้จำนวนพนักงานลดลง ต้นทุนการเคลียริงเช็ค ลดลงมาอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และการปฏิวัติเงินพลาสติกเริ่มส่งผลเด่นชัด เมื่อจำนวนการใช้เครื่องลดลงเป็นเครื่องทดสอบเครดิต ลีอองส์ "ยุคใหม่" ได้เป็นอย่างดี



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.