สุจินต์ เบญจรงคกุล สร้างบริษัทยูในเต็ดคอมมูนิเคชั่น อินดัสทรี (ยูคอม)
ขึ้นมาตั้งแต่ยังหนุ่มอายุ 28 ปี โดยมีกาญจนาที่มีอายุมากว่า เขาหนึ่งปีเป็นคู่ทุกข์คู่ยาก
ต่อมากาญจนาคนนี้ก็มีบทบาทสืบต่อจากสุจินต์ ที่ได้เสียชีวิตไปเมื่อ 10 ที่แล้ว
สุจินต์เป็นพ่อค้าที่มองการณ์ไกล เมื่อสุจินต์ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนยูไนเต็ด
อิน อินดัสทรีขึ้นในปี 2499 เขาได้ทุ่มเทอย่างหนักกับการวิ่งขายอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภท
MOBILE RADIO ยี่ห้อ " โมโตโรล่า " ที่เขาจับตลอดราชการ โดยเฉพาะกรมไปรษณีย์โทรเลข
ซึ่งต่อมาได้แยกเป็นสององค์กรคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ซึ่งสุจินต์เข้าครองครองฐานะซัพพลายเออร์รายสำคัญได้พื้นฐานทางธุรกิจการค้า
ตลอดจนสายสัมพันธ์ลำลึกกับเจ้าหน้าในการสื่อสารฯ ที่สุจินต์ได้ปูพื้นฐานไว้ในรุ่นลูก
ทำให้บุญชัย เบญจรงคกุล บุตรชายคนโตที่เข้าสานงานต่อ ภาระกิจนี้ทำงานได้ก้าวหน้ามั่นคงขึ้นจากฐานนี้หลังจากที่ได้ศึกษาจบปริญาโทบยริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันบุญชัยอายุ 37 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการบริษัทยูคอมแห่งนี้
นิสัยส่วนตัวชอบสะสมของเก่า เช่นธนบัตรเก่า แสตมป์ และเหรียญ และชอบสะสมมากคือ
ตุ๊กตา ช้างในรูปลักษณะต่างๆ แต่งงานแล้วผู้หญิงที่มีชื่อเดียวกับน้องสาว
ชื่อ วรรณา ซึ่งมีอายุมากกว่า 2 ปี มีบุตร 2 คนคือ ดญ. ปองบัณย์และดช. สมคิด
ชีวิตการแต่งงานไม่ค่อยที่จะราบรื่นเนื่องจากความเจ้าอารมณ์หญิง
บรรดาน้องๆ มีบทบาทปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 คน คือวรรณา ซึ่งพื้นฐานการศึกษาปริญญาตรี
บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์น อิลลินอยส์ อดีตศิษย์เก่าเซนต์โยเซฟคอนแวนต์
วรรณาเป็นคนตัวเล็กที่เสียงดัง เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2499 ปัจจุบันอายุ
37 ทำหน้าที่ดูแลเรื่องบัญชี การเงินของบริษัทยูคอม และบริษัทนารายสากลประกันภัยซึ่งวรรณาจะเซ็นกรมธรรม์ประกันภัยคู้กับสมชาย
นอกจากนนี้ยังมีกิจการบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งวรรณาให้ความสนใจมากในระยะเวลา
2-3 ปี ที่ผ่านมานี้
วรรณาโดยนิสัยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบวายน้ำมาก ๆ โดยทุกๆ เช้าจะไปสปอร์ตคลับ
เป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในวัดธรรมกายมากสูงถึงขนาดบริจาคเงิน ทำบุญนับสิบกว่าล้านบาทในระหว่างปี
2528 - 30 เนื่องจากที่ได้รับความสงบสบายใจมาก หลักจากที่ทุกข์ร้อนจากปัญหาฟ้องร้องผลประโยชน์ในหุ้นกันเองระหว่างญาติเมื่อพ่อตาย
ในที่สุดก็ตกลงกันได้โดยมีคนกลางเป็นพระจากธรรมกายเข้าช่วยโกล่เกลี่ย
ส่วนสมชายบุตรชายคนที่สามของสุจินต์ไม่ค่อยที่จะมีบทบาทนักนอกจากที่ดูแลกิจการบริษัทนารายณ์
สากลประกันภัยเป็นหลัก ปัจจุบันสมชายอายุ 34 ปี มีภรรยาที่ช่วยดูแลกิจการบริษัทซินโตแมท
ตัวแทนขายโทรศัพท์มือถือ โมโตโรล่า และคอมพิวเตอร์
คนสุกท้องคือวิชัย เบญจรงคกุล วัย 30 ปี ที่ฝึกฝนวิทยายุทธ์เชิงค้าจาก
ภูษณะปรีย์มาโนช กุลซือคนสำคัญที่เป็น EVP ของยูคอมและ TAC ปัจจุบันวิชัยเป็นผู้จัดการฝ่ายอุปกรณ์ปลายทางเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่
โดยทำงานอยู่ที่ตึกแปซิฟิคทาวเวอร์ชั้นที่ 11 และบทบาททางสังคมเป็นรองเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว
โดยมีอดีตปลัดกระทรวงโทรคมนาคมศรีภูมิศุขเนรตเป็นนายกสมาคมฯ แห่งนี้
นอกจากที่บริษัทยูคอมแล้ว ในอดิตตระกุลเบญจรงคกุลยังเคยเป็น เจ้าของกิจการโรงแรมนารายณ์ในอดีตปี
2504 อีกด้วยโดยร่วมทุนจดทะเบียนทุน 20 ล้านกับญาติและเพื่อนคือเม่งกี่ แซ่เฮ็ง(มนตรี
สุวัฒนวงศ์ชัย) ชวาล นิธิวาสิน ฮั้งเซ้ง แซ่ลี่ (ทวี ดี โรจนวงค์) ชินเตียง
แซ่เบ๊ จิระ วัฒนกุลจรัส เซ็งตง แซ่โค้ว สุจินต์ เบญจรงคกุลและสุจิตต์ น้องชายสุจินต์ที่ห่างกัน
3 ปี
การบริหารโรงแรมนารายณ์ภายใต้ฝีมือของสองพี่น้อง สุจินต์และสุจิตต์ขณะขณะนั้นเป็นกรรมการผู้อำนวยการและรองกก.ผอ.
อยู่ในลักษณะที่ทั้งคู่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน บริษัทต้องเพิ่มทุนจาก
20 ล้านเป็น 40 ล้านเพื่องานก่อสร้างโรงแรมในปี 2511 ขณะนั้นที่ดินเดิมเจ้าของเสนอขายในมูลค่า
425,000 บาท และได้มีการเพิ่มทุนเป็น 60 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินเพิ่มเติม
ต่อมาในปี 2516 แผนการเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาทได้ชะงักไป โดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุน
60% กับกับบริษัทลักษณะมีโฮเต็ลเพื่อสร้างโรงแรมลักษมีริมถนนวิทยุขณะนั้น
เนื่องจากที่ทางการไม่อนุญาต การก่องสร้างจึงมีปัญหา และเกิดกรณีพิพาทถึงศาลหลังการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเมื่อ
30 เมษายน 2521 เป็นเรื่องให้ศาลระงับการขอยื่นจดทะเบียนกรรมการบริษัทและอำนาจกรรมการของกลุ่มเบญจรงดกุล
คดีความกันถึง 5 ปี จึงยุติลงได้โดยให้กรรมการชุดเดิมบริหาร
สุจินต์และครอบครัวในฐานะผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ได้ครอบครองดวงตราสำคัญของบริษัท
ที่ใช้ประทับลงบนเซ็นสัญญาและเอกสารอื่นๆ จวบจนวันสุดท้ายที่เขาเจ็บปวยไม่สามารถมาทำงานได้สุจินต์ได้ได้มอบหมายให้บุญชัย
บุตรชายเป็นผู้ที่ประทับตรานี้แทนทำเช่นนี้มากระทั้งปี 2524 บุญชัยจึงได้มอบดวงตราให้แก่ชวาล
นิธิวาสิน
นั้นหมายถึงการสิ้นสุด พันธะผู้พันใดๆ ที่ตระกูลเบญจรงคกุลมีต่อโรงแรมนารายณ์นับตั้งแต่นั้นเป็นมา
ปัจจุบันโรงแรมมีผู้ที่ถือหุ้นใหญ่อยู่ในกลุ่ม 4 ตระกูลคือนิธิวาสิน ดีโรจนวงศ์
วัฒนุกูล วัฒนกุลจรัส ม้าสินและบริษัทฮั่วกี่เปเปอร์
กิจการเก่าแก่ในตระกูลอีก บริษัทหนึ่งที่ยังคงอยู่มาทุกวันนี้ ก็คือบริษัทห้องเย็นซึ่งตั้งอยู่ยานนาวา
กิจการนี้อยู่ในความดูแลของกาญจนา เบญจรงคกุล ก่อตั้งเมื่อปี 2515 หุ้นบริษัทมูลค่า
2 แสนบาท ทุนของบริษัทเป็น 20 ล้านบาท
ในระยะแรกมีสุจิตนเป็นประธานและอำนาจ อุราภรณ์ เป็นรองประธานและ กาญจนาเป็นกรรมการผู้จัดการ
เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ที่ทุก ๆ 11 โมงเช้า กาญจนาจะไปทำงานที่นี้ สไตล์ การปกครองคนกาญจนาเป็นแบบเถ้าแก่เนี้ยะคนจีน
ประเภทปากร้ายใจดี ที่สามารถดุด่าว่ากล่าวลูกน้องได้ ทรัพย์สมบัติในรูปแบบของหุ้นหรือเงินทองของครอบครัวกาญจนาจะเป็นผู้ที่ดูแลทั้งหมด
ดังนั้นทิศทางการเติบโต กิจการไม่ต่ำกว่า 20 - 30 บริษัทของตระกูลเบญจรงคกุล
จึงมี CORPORATE PLANNER ตัวจริงสามคนคือกาญจนา ผู้เป็นแม่กับบุญชัย และวรรณาเป็นสำคัญ