กฎหมายเรื่องการสื่อสารกับความก้าวหน้าของประเทศ: รัฐคิดเอาหุ้นลมมาแลกด้วยไหม ??

โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

สุธรรม อยู่ในธรรมเป็นนักกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่มาวาจาเฉลียวแหลมอันมาจากความรู้ และสมองอันปราดเปรื่อง

เขาเป็นนักวิชาการที่มีจำนวนไม่กี่คนที่ออกมาให้ความเห็นเรื่องโทรศัพท์บริษัทซีพี และมีนักวิชาการเพียงคนเดียวที่พูด และเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายการสื่อสารขึ้นมาใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในเมืองไทย

เมืองไทยควรมีกฎหมายเรื่องการสื่อสารประมาณ 4 ฉบับกว้างๆ เช่น พรบ. โทรเลข พรบ. โทรศัพท์ ซึ่งไทยก็มีอยู่แล้วแต่เป็นกฎหมายที่ใช้มานานไม่ค่อยมีการแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัย

ฉบับสองเป็นกฎหมายที่ต้องร่างขึ้นมาใหม่ เป็นกรอบว่าด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นกิจการสาธารณูปโภค

เพราะการทำสาธารณูปโภคลักษณะทั่วไปแล้วเป็นลักษณะการผูกขาด ซึ่งควรที่จะทำให้เป็นการผู้ขาดที่มีกฎระเบียบแบบแผนกำกับ เพราะว่ากิจการทำนองนี้จะได้ประโยชน์ต่อเมื่อมีลักษณะการประหยัดกิจการขนาดใหญ่

สุธรรมอธิบายว่าฏำหมายฉบับนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าอนุญาตให้ผู้ที่ผู้กขาดอย่างไร จัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐและผู้ที่ลงทุนอย่างไร มีวิธีกำกับดูแลบริการสาธารณะอย่างไร จะกำหนดรายได้ที่เป็นธรรมแก่ผู้ที่ลงทุนอย่างไร

"ในสหรัฐอเมริกาที่ว่าเป็นระบบเสรีนั้น มีแต่เรื่องโทรฯ ทางไกลต่างประเทศเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นการโทรภายในประเทศยังบเป็นการผูกขาดอย่างมีประสิทธิภาพและมีรีะเบียบกำหนด" สุธรรมเปิดเผย

กฎหมายฉบับที่สามเป็นกรอบของการบริการโทรคมนาคม ที่าต้องมีฉบับที่สามด้วยเพราะในโลกของการสื่อสารสมัยใหม่มีสื่อเพิ่มขึ้นหลายชนิดนอกจากเสียงคือ DATA TEXT IMAGE GRAPHIC นอกจากนี้การสื่อสานไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์อีกแล้ว แต่ก้าวไปสู่มนุษย์กับคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เองด้าย

เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้จึงต้องเกี่ยวข้องกับการคิดค่าโทรศัพท์ (DIALLING REGULATION) เรื่องการหัก / ชำระบัญชี (ACCOUNTING SETTLEMENT) เรื่องการค่าธรรมเนียมในการใช้ข่ายโทรศัพท์/ระบบของผู้อื่น ACCESS CHARGE เรื่อง PERMITTED RETURM เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหลานี้สามารถเขียน พรบ. ออกมาเฉพาะได้

สุธรรมยกตัวอย่างในฮ่องกง "ที่ฮ่องกงนั้นมีกฎหมายเค้าโครงว่าด้วยข้อตกลงเรื่องการร่วมทุน โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยให้มีผู้เข้ามาผูกขาดดำเนินการ 1 หรือ 2 ราย มาตรการควบคุมลักษณะของการใช้บริการเพื่อไม่ให้เป็น PREDATORY MONOPOLY หรือการผูกขาด เพื่อเป้าหมายยึดครองตลาดโดยไม่ชอบธรรมเขาจึงมีกฎหมายอันนี้ขึ้นมาเป็นข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลกับ PUBLIC UTILITIES ทั้งหลาย มีการกำหนด PERMITTED RETURN เป็นสูตรออกมา นี้คือกฎหมายของเขา"

หัวใจสำคัญของแข่งขันในธุรกิจการบริการโทรคมนาคมปัจจุบันคือเรื่องการเข้าไปใช้ เน็ทเวิร์คของผู้อื่น (ACCESS TO AND USE OTHRNETWORK ) เพราะการแข่งขันด้วยการสร้างเน็ทเวิร์คใหม่ นั้นไม่สามารถที่จะแข่งกันได้แล้ว

สุธรรมเล่าประเด็นการแข่งขันระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกาว่า " ตอนนี้อเมริกาบีบให้ญี่ปุ่นซื้ออุปกรณ์จากอเมริกาได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แต่ญี่ปุ่นไม่แคร์เลยเพราะว่าญี่ปุ่นได้รุกเข้าอเมริกานานแล้ว ทั้งนี้ โทรคมนาคมเป็นแค่ MODE OF DELIVERY อย่างหนึ่งคือเป็นท่อเท่านั้นเองแต่ตัวที่ใส่ลงไปในท่อนั้นมีความสำคัญ กว่า เป็นตัวที่ทำให้เกิดรายได้ (GENERATE REVENUE) อเมริกามัวแต่เถียงเรื่องท่อ แต่ญี่ปุ่นนั้นเข้าไปซื้อกิจการบริษัทเอนเทอร์เทนเม้นท์ ทั้งหมดของอเมริกาไว้นานแล้ว เพราะรายการบันเทิงทั้งหลายต่างหากที่ที่เป็น CONTENT ที่ใส่เข้าไปในท่อ มีราคาอเมริกาจะเอาท่อ อย่างเดียว ลืมไปว่าเปิดประตูหลักให้ญี่ปุ่นเข้าไปซื้อ CBS MGM อะไรต่อมิอะไรหมดแล้ว"

สุธรรมสรุปว่า "นี้คือเกมในระดับ POLITICAL ECONOMY ที่เขาเล่นกันในระดับประเทศวางแผนกันมานนับปี ถึงจุดที่ญี่ปุ่นซื้อกิจการ CONTENT ที่ลงท่อได้หมดแล้ว ถึงยอมให้อเมริกาบีบคออยากให้ซื้ออุปกรณ์ก็ซื้อ ของที่ลงท่อมีราคาแพงกว่า "

ในระดับประเทศเวลานี้ก็เถียงกันเรื่องโทรคมนาคมไม่จบ สิ่งที่อเมริกาต้องการมี 3 ระดับคือ ACCESS TO MARKET ACCESS TO NETWOEK และ USE OF NETWORK อเมริกาถือว่าเรื่องนี้สำคัญมาก และไทยจะต้องเจอมาตรา 301 เพื่อการต่อรอง เรื่องโทรคมนาคมในการเจรจาแกตต์อย่างแน่นอน

สุธรรมมองว่า "รัฐบาล ไทยควรจัดการเรื่องกรอบที่ผมว่าให้ชัดเจนเสียก่อน ผมเห็นว่าองค์การโทรศัพท์ดำเนินมาถูกทางคือเขาพร้อมที่จะปล่อย เขาโดนด่าทุกวัน ปัญหาคือเขาจะไปทางไหน ต้องนำให้ถูก คือให้เอกชนเข้าทำ ต้องให้เขาได้รับผลตอบแทนในอัตราพอสมควรและผู้บริโภคได้ประโยชน์ด้วย ต้องมีกฎหมาย กระบวนการที่แน่ชัดและโปร่งใสจริง"

สุธรรมซึ่งมีงานวิจัยให้รัฐบาลมากมายเกี่ยวเรื่อง ซอฟท์แวร์ ซิป (CHIP ) และโทรคมนาคมกล่าวในที่สุดว่า " นายกฯ อานันท์เถียงไปเถียงมาก็ต้องการที่จะยึดอำนาจเอาไว้ และเอาสิทธิการผู้ขาดของรัฐมาต่อรองกับนักลงทุน ผมว่ามัน ABUSE ที่สุดทำไมไม่มาทำเรื่องกรอบกฎหมายเหล่านี้ล่ะ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.