ซีพีทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ

โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

ซีพีชนะการเจรจาเรื่องโทรศัพท์โดยได้สัมปทาน 2 ล้านเลขหมายในเขตนครหลวง ชัยชนะนี้ได้มาด้วยเทคนิคการต่อรองชั้นเลิศของซีพี และกลยุทธ์การประนีประนอมแบ่งประโยชน์กับรัฐ แม้จำนวนเลขหมายจะลดลง แต่โครงการนี้ก็ยังส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดอันมหาศาล !!

แม้ว่ากลุ่มซีพียังไม่ได้รับ LETTER OF AWARD จากรัฐบาลชุดนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งทำการทบทวนการพิจารณาของรัฐบาลชุดพลเอกชาติชาย ชุณหวัณที่คัดเลือกกลุ่มซีพีให้เป็นผู้ชนะสัมปทานาการดำเนินการติดตั้ง โทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย หลังจากที่การเจรจาต่อรองอย่างยึดเยื้อยาวนานและได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมากสิ้นสุดงลแล้วก็ตาม แต่เป็นที่คาดหมายกันว่าเรื่องนี้คงจะยุติกันเสียที่ เพื่อว่ากลุ่มซีพีจะได้สร้างโทรศัพท์ให้ชาวกทม.ใช้กันอย่างกว้างขวางมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การต่อรองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย โดยเฉพาะระหว่างเอกชนรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งกับหัวหน้าคณะรัฐบาลเช่นนี้ไม่เคยมีปรากฎมาก่อน

ความจริงแล้วเรื่องของเรื่องน่าจะจบได้ที่การเจรจาระหว่างนายเฉลียว สุวรรณกิตติ ผู้ประสานโครงการโทรศัพท์ของกลุ่มซีพีและรมต.คมนาคม ซึ่งชุดก่อนคือนายมนตรี พงษ์พานิช ส่วนชุดปัจจุบันที่เป็นเหตุให้มีการทบทวนการพิจารณาอีกครั้งคือนายนุกูล ประจวบเหมาะ

แต่งานนี้เรื่องต้องขึ้นมาถึงมือระดับนายกรัฐมนตรี !

เหตุก็เพราะงานนี้มีพายุการเมืองโหมกระพือเข้าใส่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายมากมาย มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ในกลาดหุ้น มีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เสถียรภาพของรัฐมนตรีบางคน การกระทบกระทั่งระหว่างรัฐบาลชั่วคราวกับผู้นำทหาร และยังมีเอกสารปกเหลือง-ปกขาวออกมาโตตอบกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

หากเรื่องไม่เข้ามาอยู่ในมือนายกฯอานันท์ และดำเนินการเจรจาด้วยชั้นเชิงนักการทูตเก่า อาศัยวิธีการผ่อนสั้นผ่อนยาวบ้างแล้ว เรื่องคงไม่อาจยุติได้

ผลการต่อรองที่ได้มา มองอย่างฉาบฉวยอาจเห้นเป็นชัยชนะของรัฐบาลที่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติเอาไว้ได้ ไม่ให้ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทข้ามชาติไทยที่ไปเติบโตหากินในประเทศต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง

แต่โดยความเป็นจริงแล้วผลประโยชน์ที่รัฐบาลได้มานั้นเป็นประโยชน์ซึ่งควรจะได้อยู่แล้ว
แม้ไม่มีการเจรจาครั้งนี้ก็ตาม !!

สำหรับซีพีเอง หมากกระดานนี้ค่อนข้างจะยากอยู่ไม่น้อย ไม่เคยมีนักธุรกิจกลุ่มใดที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากเหมือนที่ซีพีเผชิญมาก่อน หนำซ้ำมีผู้ขุดเรื่องราวเก่า ๆ และตราประทับแต่หนหลังเรื่องการผูกขาดเข้ามาโจมตีไม่หยุดหย่อน

แต่ซีพี ซึ่งคงไม่สามารถย่อท้อได้เมื่อก้าวมาถึงขนาดนี้ ก็พากเพียรพยายามอย่างเหลือหลายที่จะก้าวไปทอฝันให้เป็นจริง

การดินเนินงานโทรศัพท์ที่ได้รับสัมปทานมาเพียง 2 ล้านเลขหมายในเขตนครหลวงถือเป็นชัยชนะของซีพี ที่ได้มาด้วยฝีมือการต่อรองชั้นเยี่ยมของธนินท์ เจียรวนนท์ "เถ้าแก่กก" ที่เข้ามาต่อรองผลประโยชน์ด้วยตัวเอง

ตัวเลขที่ "ผู้จัดการ" นำมายืนยันการทอฝันให้เป็นจริงในครั้งนี้ของซีพี และประมวลเข้ากับเหตุผลมากมายหลายประการซึ่งมีความหนักแน่นอย่าางมากแล้ว เชื่อว่าซีพีพอใจในผลการต่อรอง อย่างน้อยก็สามารถรักษาเงื่อนไขและผลประโยชน์ที่จำเป็นสำหรับการลงทุนในครั้งนี้เอาไว้ได้

แค่นี้ก็ถือว่าเหลือเฟือสำหรับนักลงทุนแล้ว !!

ประเด็นสำคัญที่นุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดฉาก ในระยะแรกซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการทบทวนโครงการโทรศัพท์คือความเขื่อที่ว่าการทำโทรสัพท์นั้นให้ผลกำไรสูงถึง 60%

นุกูลกล่าวว่า "ผมเห็นว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ซีพีเสนอให้รัฐนั้นต่ำเกินไป เพราะปัจจุบันการดำเนินงานขององค์การโทรศัพท์ฯ ขนาดไม่มีประสิทธิภาพเท่าใด ยังมีกำไร 60 สตางค์และใช้ต้นทุนเพียง 40 สตางค์ถ้าต่อไปองค์การโทรศัพท์ ฯ มีรายได้ 1 บาท ต้องแบ่งให้ซีพี 82-83 สตางค์ แต่องค์การ ฯ ได้เพียง 18 สตางค์ ลองคิดดูว่ามันยุติธรรมหรือไม่"

ด้วยเหตุนี้ การต่อรองในช่วงแรกจึงเป็นเรื่องที่กระทรวง ฯ ต้องการให้ซีพีเพิ่มผลตอบแทน โดยยึดตัวเลข 60% เป็นเกณฑ์ โดยตัวเลขที่ซีพีต้องทำการเปลี่ยนแปลงคือผลตอบแทนที่ให้แก่รัฐ 16% ในเขตนครหลวงและ 22% ในเขตต่างจังหวัด

อย่างไรก็ดีการเจรจาในรอบกระทรวงไม่มีความคืบหน้าอะไรเกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตงข้ามกลับทวีความเข้มข้นทางการเมืองจนสั่นสะเทือนเสถียรภาพของรัฐบาล

ครั้น 22 เมษายน สำนักเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงซึ่งมีใจความสำคัญว่าการพิจารณาโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายครั้งที่ผ่านมาเป็นการกระทำที่ยังไม่รอบคอบพอ "เพราะไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนของรัฐเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสินผู้ชนะการประกวดราคา เงื่อนไขและส่วนแบ่งรายได้ที่องค์การฯจะได้รับ อาจมีผลทำให้องค์การฯขาดทุนจากโครงการฯดังกล่าวได้"

พิสิฐ ลี้อาธรรม ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาส่วนตัวของรมต.นุกูลกล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า "ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ที่ซีพีให้องค์การฯน้อยเกินไปเป็นส่วยนหนึ่งของหัญหาใหญ่ ๆ อีกหลายประการ คือเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งในสัญญาไม่มีหลักประกันในเรื่องนี้เลย ปัญหาอนาคตขององค์การฯ กับซีพี เทเลคอม จะเป็นอย่างไร"

ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างซีพีเทเลคอมกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในระยะแรกถูกมองว่าจะต้องมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก พิสิฐอ้างกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า "ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่สามารถรับวิศวกรได้ ยิ่งมีซีพี เทเลคอมเกิดขึ้นมาวิศวกรก็จะหนีไปอยู่กับซีพีฯหมด และการที่ซีพีเป็นเอกชนย่อมได้เปรียบอย่างมากและมีพลังของระบบใหญ่กว่าด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีใครตอบคำถามถึงอนาคตขององค์การโทรศัพท์ฯได้"

แถลงการณ์ของสำนักเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าผู้ร่างและให้ข้อมูลสนับสนุนคือพิสิฐ ได้อ้างด้วยว่า "รายได้ที่จะจัดเก็บจากโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี นั้นคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท"

ตัวเลขนี้คำนวณขึ้นมาจากการประมาณรายได้ 1 เลขหมายในเขตนครหลวงปีละ 8,000 บาทและ 1 เลขหมายในเขตต่างจังหวัดปีละ 13,000 บาท

รวมอายุสัมปทาน 25 ปีรายได้ทั้งหมดที่จะจัดเก็บได้เท่ากับ 725,000 ล้านบาท

ว่าไปแล้วเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับที่ซีพีคำนวณและจัดการแบ่งประโยชน์ให้รัฐ 16% และ 22% ในเขตนครหลวงและต่างจังหวัดตามลำดับ

ไม่ใช่ตัวเลขใหม่ที่ไปค้นคว้าออกมาจากที่ไหนเลย

ดร.วีรวัฒน์ กาฐจนดุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการ เงินของกลุ่มซีพีกล่าวไว้ว่า "ตัวเลขที่นำมาคำนวณรายได้โครงการนั้นใช้ตัวเลขรายได้ของ ทศท.ปี 2533 คือ 13,000 บาทต่อเลขหมายต่อปีในเขตภูมิภาคและ 8,600 บาทต่อเลขหมายต่อปีในเขตนครหลวง"

เงินลงทุนของโครงการจึงตกประมาณ 100,000 ล้านบาทเท่านั้น ไม่ถึง 150,000 ล้านบาทตามที่เคยกล่าวถึงในช่วงเริ่มโครงการ

เฉลียว สุวรรณกิตติ ผู้ประสานงานโครงการขยายโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายของซีพีให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า "เรื่องกำไร 60% นี่ไม่ใช่เรื่องจริง เราทำไม่ได้ คือโมเดลที่เราสร้างขึ้นมีตัวแปรหลายตัว แต่อันที่เราใช้ในการเจรจาเป็นแบบตัวแปรคงที่ หมายความว่าไม่มีการขึ้นราคาทุกอย่าง ไม่ว่ารายได้หรือค่าใช้จ่าย ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้ แต่ในโลกแห่งการคำนวณ มันทำได้"

ตัวเลข 60% ซึ่งเฉลียวอ้าวว่าความจริงเป็น 64% นั้นเป็นกำไรขั้นต้นที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย นอกจากนี้โครงข่ายของทศท.จำหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นศูนย์ไปหมดแล้ว ระบบบริหารโครงข่ายหลายอันไม่มีค่าโสหุ้ยแล้วเป็นศูนย์หมด และในฐานะที่เป็นโครงการของรัฐบาลทศท.ยังได้เงินสนับสนุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกมากมาย

"หาก ทศท.มาทำระบบสมัยใหม่อย่างที่ซีพีกำลังจะทำ เงินแสนล้านก็ไม่สามารถทำได้ ต้องแสนห้าล้านขึ้นไปอย่างที่กล่าวกันในตอนต้นโครงการ!" เฉลียวสรุปชี้แจง

นั่นหมายความว่า PROFIT MARGIN ที่องค์การฯ ทำได้ 60% นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ในโลกของความเป็นจริงสำหรับการลงทุนใหม่นี้

เฉลียวยอมรับด้วยว่าการทำโทรศัพท์ในทั่วโลกโดยเฉพาะ STATIONARY TELEPHONE ไม่มีการขาดทุนเป็นอันขาด "ผมเช็คมาแล้วว่าการลงทุนในเครือข่ายหลังจากที่ซีพียื่นประมูลเสนอราคารอบแรกแล้ว เลขหมายหนึ่งตกประมาณไม่เกิน 30,000 บาท ผมมีตัวเลขรอบโลกมาเทียบด้วยว่าที่เม็กซิโกเลขหมายละ 68,000 บาท ส่วนนิวซีแลนด์เทเลคอมขายทั้งระบบไปประมาณเลขหมายละ 50,000-60,000 บาท ดังนั้นของซีพีนี่ถือว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผลแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ"

อย่างไรก็ดีมีข้อท้วงติงของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกซึ่งนุกูลดึงเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทบทวนโครงการนี้ แต่ปรากฎว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับเรื่องตัวเลขที่ชัดเจนแน่นอนในการแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐซึ่งนุกูลหยิบขึ้นมาเป็นปรเด็นคำถามแรกต่อโครงการนี้

ข้อสังเกตของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ คือ ซีพีเสนอต้นทุนการดำเนินโครงการสูงกว่าผู้เสนิประมูลรายอื่น ๆ ถึง 20,000 ล้านบาท ซีพีเสนอผลตอบแทนที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ารายอื่น ปัญหาเรื่องบุคลากรซึ่งจะมีผลกระทบให้เกิดสมองไหลในองค์การโทรศัพท์ ฯ ฯลฯ

การที่ข้อสังเกตเหล่านี้ไม่มีน้ำหนักมากพอทำให้ตกไปในที่สุด การกล่าวว่าต้นทุนสูงกว่าผู้เสนอประมูลรายอื่น ๆ ก็ไม่มีรายละเอียดชี้แจง และเป็นทีรู้กันในเวลาต่อมาว่านี่เป็นเพียงฉากการเมืองฉากหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่หล่านี้ถูกยืมตัวเข้ามาเล่นตามบทบาทที่วางไว้เท่านั้น

การเจรจาเรื่องผลตอบแทนที่จะแบ่งให้รัฐเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ยังไม่สามารถหาหลักเกณฑ์อะไรมาเป็นมาตรการกำหนดได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีแต่การพูด "อย่างลอย ๆ " ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ตลอดเวลา

ประภัศร์ ศรีสัตยากุล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายพัฒนาณธุรกิจซี่งดูแลเรื่องการคำนวณตัวเลขการเงินให้โครงการนี้กว่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ตัวเลขการแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ 16% และ 22% นั้นเป็นตัวเลขที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ที่ปรึกษาทางการเงินมองว่าหากรายได้ที่เข้าในบริษัทมีน้อยลง ความสามารถในการชำระหนี้ก็จะน้อยลงตามไปด้วย และอันนี้จะเป็นปัญหาในเรื่องแห่ลงเงินกู้อย่างมาก"

สิ่งที่อาจเปลี่ยนได้คือเรื่องกำไร ส่วนเกิน (EXCESS PROFIT) ซึ่งมาจากการมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้นและอัตรารค่าบริการที่เปลี่ยนแปลงไปคือมีกำไรสุทธิส่วนเกิน 16% ขึ้นไป อาจจะนำมาจัดสรรแบ่งปันกับรัฐบาลได้

มันเป็นหลักการที่อยู่ในข้อ 24 ทวิซึ่งมีเนื้อหาว่าในกรณีที่มีการใช้มากและมีกำไรมาก ทศท. สามารถเรียกส่วนแบ่งใหม่ได้ หรือเรียกเพิ่มได้

หลักการนี้ได้นำมาใช้อย่างชัดเจนขึ้นด้วยการกำหนดตัวเลขเปอร์เซนต์ ของการแบ่งกำไรส่วนเกิน ซึ่งทำให้นายกฯ อนันท์และธนินท์สามารถต่อรองประสานผลประโยชน์ ในเรื่องได้ในที่สุด

ประภัศร์กล่าวชมว่า" คนมองเรื่องนี้ออกมาได้เก่งมาก เป็นผู้ที่มองการณ์ไกลสามารถคิดแก้ไขประเด็นนี้ได้ "

ผู้ที่ประภัศร์ กล่าวชมคือ พิสิฐลี้อาธรรมและสาวิตต์ โพธิวิหค 2 เทคโนแครตที่นุกูลตั้งขึ้นมาเป็นกรรมการนั้นเอง

พิสิฐเป็นนักเศรษฐศาสตร์ จากแบงก์ชาติขณะที่สาวิตต์เป็นว่าแผนจากสภาพัฒน์

"โครงการนี้แต่เดิม รัฐชุดที่แล้วพิจารณาเรื่องนี้โดยมองข้ามบทบาทเทคโนแครตนี้ไป และสถาพัฒน์เองก็ไม่มีส่วนร่วมแต่อย่างใด ใสการพิจารณาเรื่องนี้" พิสิฐชี้จุดอ่อน

เทคโนแครตเป็นกลุ่มคนที่มีบทบยาทอย่างมากในสมัยรัฐบาลเปรม โดยเฉพาะเทคโนแครตสภาพัฒน์ เป็นกลุ่มคนที่มีอธิพลต่อการตัดสินใจบริหารโครงการสาธารณูปโภคของประเทศเพราะ "พวกเทคโนแครตมีปรัชญาที่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ พวกเขาจะเสนอแนะบนพื้นฐานของปรัชญาข้นนี้เป็นสำคัญ" พิสิฐพูดถึงด้านดีของเทคโนแครต

สิ่งนี้คือที่มาของการที่นุกูลดึงเทคโนแครตเข้ามาพิจารณาโทรศัพท์และจากหลักการของปรัชญา ของพวกนี้ เงื่อนไขการต่อรองกับซีพี กับรัฐบาลจึงมีเรื่องแบ่งปันผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ซีพีกำไรส่วนเพิ่มให้แก่ ทศท. ร้อยละ 30 หากมากำไรส่วนเกินหลักหักภาษีร้อยละ 16-20 และต้องแบ่งเพิ่มให้อีกร้อยละ 60 หากมีกำไรส่วนเพิ่มหลักหักภาษีมากขึ้นอีกร้อยละ 21-100 ตลอดอายุสัมปทาน

กล่าวง่ายๆ สมมิตว่าโครงการนี้ กำไรสิทธิออกมา 100 บาท 16 บาท แรกซีพีได้ไป 17 - 20 บาทเอามาแบ่งให้รัฐบาท 30% ซีพีเอาไป 70 % และส่วนที่เกิน 21 ถึง 100 บาท เอามาแบ่งอีกให้รัฐบาล 60 % ให้ซีพี 40 %

"ตัวเลขเหล่านี้มาจากการคำนวณอันนี้มาจากทางภาครัฐบาล ซึ่งผมขอชมว่าเก่งมากแนวคิดนี้ไม่มีประเทศที่ไหนในโลกทำผมเข้าใจว่าเขานึกไม่ถึงไม่ถึงกัน นี้คือการล็อคหน้า-ล็อคหลัง เมื่อมีตัวนี้ออกมา นี่เห็นได้ชัดว่าผลกำไรของรัฐบาลต่างไปเยอะ" ประภัศร์กล่าว

ดูเหมือว่าประเด็นเพิ่มผลตอบแทนในส่วนที่เป็นกำไรส่วนเกินจะเป็นประเด็นหลักเพียงส่วนเดียว ประเด็นเดียวที่ซีพีเสียผลประโยชน์ให้รัฐบาล แต่ว่าไปแล้วก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรเพราะซีพีก็ได้ประโยชน์ด้วยกำไรส่วนเกินจาก 16 % ต้องเกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนแรกที่เกินอยู่ระหว่าง 16% -20% ซึ่งซีพีจะได้มากกว่า 70% ขณะที่รัฐได้น้อยกว่า 30 %

หากคำนวณอัตรารายได้จากการใช้โทรศัพท์ ในเขตกทม. 1 เลขหมายเท่ากับ8,600 บาท/ปี ดังนั้น 2 เลขหมายในเวลา 25 ปี ก็จะเท่ากับ 430,000 ล้านบาท จำนวนนี้แบ่งให้รัฐ 16%ทันทีเท่ากับ 68,800 ล้านบาท

ที่เหลือนำมาจ่ายเป็นค่าอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ซึ่งหากใช้ตัวเลขหยาบๆ ที่ว่า เลขหมายหนึ่งต้องลงทุนประมาณ 30,000 บาท 2 ล้านเลขหมายก็ลงทุนรวม 60,000 ล้านบาทเอาจำนวนนี้หักออกจากรายได้ และยังเอาค่าภาษี มาหักออกอีก อย่างไรก็ตามซีพีก็ยังมีกำไรสุทธิกว่าสองแสนล้านบาทตลอดอายุสัมปทาน

กำไรตัวนี้แม้ต้องมาแบ่งให้ทศท. 60% ซีพีก็ยังได้ส่วนที่เหลือ 40% ผลปรระโยชน์จากรายได้จตึงเป็นรายการที่สำคัญที่สุดในการลงทุนครั้งนี้ มันเป็นกำไรที่สร้าง CASHFLOW อันมหาศาลให้ซีพีและทีสำคัญมันมีความหมายต่อการยกระดับยุทธศาสตร์ องค์กรซีพีในภูมิภาคนี้ คุมเพียงไหนที่สามารถต่อรองมาได้ ถึงขนาดนี้ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ซีพีชนะขาดลอยเสียแล้ว

อย่างไรก็ดี นักกฎหมายเศรษฐกิจรระหว่างประเทศจากฮาร์วาร์ดให้ความเห้นในเรื่องการเรียกร้องผลตอิบแทนของรัฐอย่างน่าสนใจ ว่า " ผมคิดว่ารัฐไม่ควรเรียกร้องเรื่องเงินตอบแทนเหล่านี้เลย สิ่งที่ผิดที่สุดที่นายกฯไม่ควรที่จะทำคือ การเอาอำนาจการผูกขาดของรัฐมาต่อรอง เพื่อให้รัฐได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น นั้นคือการที่เอาหุ้นล้มในกิจการที่เป็น UNREG ULATED MONOPOLY ของรัฐมาต่อรองผลประโยชน์" สุธรรม อยู่ในธรรมกล่าวแสดงทัศนะกับ "ผู้จัดการ"

สุธรรมซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่าอีก " หลักการทำแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น รัฐต้องใจกว้าง ต้องให้ประโยชน์เอกชนได้มากที่สุดในขณะที่ต้องให้ผู้ลงทุนเข้ามามีสาวนร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้มีรายรับที่ต่ำกว่าส่วนหน่วยหนึ่ง แต่ให้ปริมาณมากซึ่งสามารถที่จะทดแทนกันได้ "

ทั้งนี้ องค์การโทรศัพท์เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่พยายามทำบริการให้กับคนจำนวนมากและต้องการแปรรูปตัวเอง

ตรงข้ามกับรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่งที่พยายามรักษาอำนาจตนเอง ทำทุกอย่างที่จะไม่ให้มีการแปรรูปการผูกขาดของตัว ทั้งที่ในยุคสมัยใหม่เช่นนี้ควรจะมีการทำ REGULATED MONOPOLY ในกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่าง

นั้นหมายความว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไข และเขียนกฎหมายเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภคต่างๆ จำนวนมากขึ้นมาได้แล้วก่อนที่จะเกินการเอาหุ้นลมไปแลกกับผลประโยชน์ กันอีก ( ดูล้อมกรอบ 1 กฎหมายเรื่องการสื่อสานกับความก้าวหน้าของประเทศ : รัฐคิดคิดจะเอาลมมาแลกบ้างไหม??)

สำหรับจำนวนเลขหมายที่ชีพีได้สัมปทานลดลงเหลือ 2 ล้านเลขหมายในเขตนครหลวงและปริมณฑลใกล้เคียงนั้น ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับซีพี เลย แต่จะเป็นข้อดีเสียด้วยช้ำ เพราะการทำโทรศัพท์ในเขตแนวโน้มที่ใช้การาใช้จะมีปริมาณมากขึ้นในอนาคตย่อมเป็นผลดีแก่ผู้ลงทุน อีกทั้งการทำชุมสายและการวางสายก็ไม่ได้คิดมาก เพราะว่าสามารถเดินตามสายของทศท. ได้และในอีกด้านหนึ่งในผังเมืองกทม. ก็มีส่วนกำหนดในเรื่องนี้อยู่พอสมควร

เฉลียวเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับ " ผู้จัดการ" ตอนหนึ่งว่า " เรื่องการทำโทรศัพท์ให้ได้ 2 ล้านเลขหมายในเขต กทม. นี้เป็นเรื่องไม่ยากเพราะว่าซีพีจะใช้วิธีทำแบบ TURNKEY คือให้บริษัทที่ทำการติดตั้งระบบมาทำแผนในการติดตั้งให้เรา แล้วซีพีก็จะไปจ้างวิศวะกรรมตรวจสอบแผนนี้อีกชั้นหนึ่งซึ่งตอนนี้คนของซีพี เทเลคอมที่ผ่านการฝึกอบรมมีอยู่ 100 คนแล้ว คนเหล่านี้จะมาควบคุมตรวจสอบการติดตั้งอีกทอดหนึ่ง

ตอนแรกนั้นเฉลียวอ้างว่าซีพีคิดจะทำอะไร ด้วยตนเองหมด คือจ้างผู้รับเหมา ซื้อของและดำเนินการติดตั้งเอง "แต่ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่าซีพีถูกประมาทหน้าว่าไม่มีความรู้เรื่องโทรคมนาคมเลย เราจึงจะจ้างคนอื่นมาทำมาทำและฦึกคนของเราควบคุมตรวจสอบเขาอีกชั้นหนึ่ง ผมขอบอกว่าซีพีตอนนี้ไม่ใช่บริษัทขายไก่แล้ว เราเป็นบริษัทด้านการลงทุนและการจัดการต่างหาก" เฉลียวเปิดใจกับ " ผู้จัดการ" ถึงฐานะบทบาทการดำเนินธุรกิจของซีพีในปัจจุบัน

ซีพีจะว่าจ้างบริษัท เข้ามาทำในลักษณะ TURNKEY ประมาณ 2 หรือ 3 รายสำหรับการทำ 2 ล้านเลขหมาย ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้ 3 รายในการทำ 3 ล้านเลขหมาย

ในการทำ 2 ล้านเลขหมายใช้เวลา 5 ปี เฉลี่ยแล้วซีพีต้องทำเลขหมายให้ได้ปีละ 4 แสนเลขหมาย ซีพีอาจจ้างผู้รับเหมารายใหญ่สองราย ที่มีประสบการณ์มีความชำนาญในงานติดตั้งระบบ วายสายใต้ดิน มีแผนการละเอียดขนานที่รู้ว่าตึกไหนมีเจ้าของชื่ออะไรตต้องใช้คนติดตั้งเท่าไหล่

ผู้รับเหมาที่มีแนวโน้มที่จะเข้ามารับงานกับซีพี ในลักษณะ TURNKEY คืออัลคาเทลซึ่งแสดงเจตน์จำนงแน่ชัดว่า ต้องการเป็นผู้สนับสนุนด้านอุปกรณ์และ/หรือเป็นหุ้นส่วนในโครงการขยายโทรศัพท์ที่ซีพีได้รับสัมปทาน

อัลคาเทลเป็นหนึ่งในเสนอตัวเข้าประมูลแข่งกับซีพีในรอบแรก แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก อัลคาเทลมีความชำนาญในการติดตั้งระบบในลักษณะ TURNKEY รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ในส่วนของ SWITCHING TRANSMISSION และ OUTSIDE PLANT ว่าไปแล้วสัมปทานเพียง 2 ล้านเลขหมายก็เป็นเรืองที่ซีพีคาดหมายไว้แล้วในการต่อรอง จำนวนนี้เพียงพอที่ที่จะทำให้โครงการมีลักษณะของการประหยัดของกิจการขาดใหญ่ (ECONOMY OF SCALE) เกิดขึ้นได้

ความหมายของมันคือซีพีทำให้โครงข่ายการบริการเป็นแบบ INTELLIGENT NETWORK ได้ พูดง่ายๆ คือเป็นระบบโทรศัพท์ที่ทันสมัย เสียงชัด ติดต่อง่าย และสามารถพัฒนาไปสู่ระบบภาพตัวหนังสือซึ่งเป็นส่วนของบริการพิเศษที่เรียกว่า INTEGRATED SERVICES DIGITAL NETWORK2ISDN นั้นเอง

เฉลียวเปิดเผยว่า" หากโครงข่ายเล็กเราจะดึงสิ่งเหล่านี้เข้ามาไม่ได้ มันไม่ไหวในแง่ธุรกิจนั้นไม่คุ้ม เราจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5,600- 6,000 ล้านบาทสำหรับโครงข่ายมันสมองตัวนี้ "

การลงทุน 2 ล้านเลขหมายเพียงพอที่จะแบกภาระ 6,000 ล้านบาทสำหรับมันสมองตัวนี้ได้ ทั้งนี้อัตราเฉลี่ยในการลงทุน ต่อหนึ่งเลขหมายยังอยู่ที่ 40,000 - 50,000 บาท และการบริการโครงข่ายมันสมองจะไม่สามารถทำได้เพราะว่าแบกภาระตรงนี้ไม่ไหว

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ซีพียอมตกลงทำโทรศัพท์ในจำนวนลดลงเหลือ 2 ล้านเลขหมายเพราะว่าซีพีเอง ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบเงื่อนไขและผลประโยชน์ โดยพิจารณาจากจำนวนเลขหมายขนาดต่างๆ ที่ได้ทำ การศึกษาทำออกมา 3 ทางเลือก

- ทำ 3 ล้านเลขหมายเท่าเดิม

- ทำเพียง 2 ล้านเลขหมายในเขต กทม. ที่เหลือเป็นผู้ประมูลรายอื่นๆ

- ทำ 1 ล้านเลขหมายในเขต กทม. และ 5 แสนเลขหมายในต่างจังหวัด ที่เหลือเป็นผู้ประมูลรายอื่น

ผลการศึกษาพบว่า ทางเลือกแรกดีที่สุดคือไม่มีคู่แข่งเลย โดยเฉพาะในแง่ของผลต่อต้นทุนการดำเนินงานซึ่งจะต่ำกว่าทางเลือกอื่นๆ อย่างมาก ๆ ทางเลือกนี้จึงได้คะแนนไป 96

ขณะที่ทางเลือกที่ 2 ก็ยังพอที่จะทำได้ แต่ที่ปรึกษาทางการเงินจาก โซโลมอน บราเธอร์สให้ความเห็นว่ายังไม่ค่อยอยากจะทำด้วยช่ำถ้าเกิดทางเลือกนี้จริงๆเพราะว่าทางเลือกนี้มีคะแนนเป็น c ในหลายประเด็น

ได้แก่เรื่องผู้เชี่ยวชาญถ้ามีผู้ได้รับสัมปทานมากกว่าหนึ่งรายต้นทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญต้องสูงขึ้นเพราะต้องแข่งขัน เรื่องการจัดหาอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการใช้บริการระหว่างเขต เพื่อให้เกิดการใช้บริการมาก ประเด็นนี้ตกตกลงกันระหว่างผู้ที่ได้รับสัมปทานและ ทศท. ว่าอาจนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่องความเห็นได้ เป็นต้น อย่างไรก็ก็ดีทางเลือกนี้ได้คะแนน 74

ทางเลือกสุดท้ายเป็นทางเลือกที่ซีพีไม่อาจที่จะยอมรับได้ มีคะแนนเพียง 45 ซึ่งถือว่าต่ำมาก ที่ปรึกษา ไม่เห็นด้วยที่จะทำ ถ้ามองในแง่นี้ซีพียอมที่จะถอยระดับ หนึ่ง แต่การถอยนี้ไม่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์ระยะยาว ของซีพีแม้แต่น้อย

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่นายกฯ แถลงเมื่อวันจันทร์ อันเป็นการยุติการโหมประโคมทำข่าวซีพีของสื่อมวลชน ทุกฉบับเป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่ยังต้องเจรจาในรายละเอียดเมื่อมีการเขียนสัญญา อย่างไรก็ตามรายละเอียดเหล่านั้นไม่ใช่ข้อข้อจำกัดที่เรวรายเกินไปนัก เช่นเรื่องที่ว่า ซีพีจะสละสิทธิ์ในการเข้าประมูลในการเข้าร่วมประมูลการแข่งขันหรือการร่วมลงทุน ในการขยายเลขหมายในส่วนภูมิภาค และเขตโทรศัพท์นครหลวงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมี การกำหนดไว้แล้ว

"ผู้จัดการ" เข้าใจว่าซีพีที่ไม่ได้มองบทบาทตัวเองในฐานะผู้ที่ขายไก่ อีกต่อไปนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี ยน่อมสามารถเรียนรู้ความเป็นไปในโลกโทรคมนาคมของโลกได้อย่างลึกซึ่งจากประสบการณ์ในการทำโทรศัพท์ครั้งนี้

ตลาดที่ซีพีจะเข้าไปไม่จำเป็นว่าจะต้องจำกัดอยู่เพียงประเทศไทย เพราะในการทำธุรกิจอื่นๆ นั้นซีพีก็ขยายไปทั่วโลก ความสามารถในระบบโทรคมนาคม ต่างหากที่จะกลายเป็นสินค้าของซีพีในอนาคต เป็นที่น่าเสียดายด้วยช่ำไปที่ประเทศไทยไม่ส่งเสริมบริษัทไทยให้เป็นเลิศในเรื่องด้านนี้

โดยเฉพาะประเทศไทยในยุคของรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ของคณะทหารที่ทำการยึดอำนาจความชอบธรรม จากรัฐบาลชุดก่อนซึ่งมาจากการเลือกตั้ง

เฉลียวเปิดใจแสดงความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ในฐานะนักวิชาการว่า" หากซีพี ไม่ได้ทำโครงการโทรศัพท์ ครั้งนี้ผมจะมีความเสียดายมากไม่ใช่เสียดายในนามของซีพี แต่ในนามของประเทศ เพราะว่าซีพีมีโอกาสที่ไปทำมาหากินในธุรกิจอื่นๆ มากมายแล้ว แต่การที่ไทยไม่ได้โทรศัพท์ที่ทันสมัยหมายความว่า โอกาสที่ไทยจะก้าวมาสู่การเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ก็ไม่มีด้วย

สิ่งที่เฉลียวพูดเป็นประเด็นที่ชักนำ ให้ต้องทำความเข้าใจในเรื่องธุรกิจโทรคมมาคม ระดับโลก นับจากนรี้ไปอีก 5 ปี บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์รายใหญ่ ๆ ซึ่งขนาดนี้มี 10 รายในโลกจะลดจำนวนลงเหลือเพียง 5-6 ราย เพราะว่าจะมีการซื้อกิจการกันเอง เช่น อัลคาเทล และ ซีเมนส์ ซึ่งทาบทามซื้อกิจการรายอื่นๆ อยู่

ในจำนวนไม่มีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ โทรศัพท์ได้ด้วยตนเอง สิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จะลงทุนอย่างมากคืองานพัฒนา และวิจัยผลิตภัณฑ์ ทำต้นแบบส่งมาให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย เป็นผู้ผลิต

สำหรับตลาดไทยนั้น NEC และ ERICSON จะ ไม่เข้าลงทุนตั้งโรงงานเลยหากไม่มีตลาด ทศท. และ พันธะสัญญาการซื้ออุปกรณ์แบบ REPEAT ORDER รองรับอยู่

ดู AT$T ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันที่เข้ามาในตลาดไทยมานานแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าถึงตลาดได้ จนป่านนี้ ถนึงจะเกิดโรงงานขึ้นมาแล้วก็ยังเป็นโรงงานผลิตเพื่อส่งชิ้นส่วนออกไปจำหน่ายในต่างประเทศทั้งหมด

เมื่อโครงการขยายเลขหมายของซีพีผ่านในครั้งนี้ โรงงานของ AT$T ดูเหมือนว่าจะได้แจ้งเกิดด้วยเพระมี การตกลงจะร่วมทุนกัน 3 ฝ่ายคือ AT$T กลุ่มชินวัตร และกลุ่มซีพี ที่จะร่วมลงทุนทำโรงงานผลิตอุปกรณ์ เพื่อขายให้โครงการ ฯ

เมื่อกลุ่มซีพีตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์ ได้สำเร็จบวกกับ CASH FLOW มหาศาลที่ซีพีจะได้รับจากโครงการขยายโทรศัพท์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ซีพีก้าวขึ้นมาผงวาดในธุรกิจโทรคมนาคมของโลก ได้

ธุรกิจโทรคมนาคมที่ผ่านระบบเครือข่าย สายเคเบิ้ล เช่นโทรศัพท์ ว่าไปแล้วมันเป็นระบบบริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานที่มีตลาดกว้างขวางใหญ่โต มากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบดาวเทียม และคลื่นวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดของประเทศที่ยังล้าหลังด้านบริการโทรคมนาคม ด้วยแล้วโทรศัพท์เป็นความต้องการของคนในสังคมเลยทีเดียว

เมื่อซีพีสามารถเข้าสู่การเป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายได้ ก็สามารถใช้ตลาดเมืองไทยดึงบริษัทยักษ์ของโลกเข้ามาเป็นคู่ลงทุน เพื่อเจาะตลาดโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้

เมื่อเทียบกับกลุ่มฮัทชิสันแล้ว ซีพีก้าวไปไกลมากในธุรกิจนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุดซีพีสามารถยึดครองส่วนที่เป็นหัวใจหลักของโทรคมนาคม ได้ขณะที่ฮัทชิสัน ยึดได้เฉพาะธุรกิจโทรคมนาคมส่วนที่เสริมเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ในฮ่องกง

ในฮ่องกงกลุ่มบริษัทเคเลิ้อแอนด์ไวร์เลชเป็นผู้ขาดการดำเนินงานโทรศัพท์ ในประเทศและทางไกลโดยในประเทศผ่านบริษัทฮ่องกงเทเลคอม

ฮัทชิสัน ที่นอกจากจะครองตลาดโทรคมนาคมประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ในฮ่องกง และเป็นเจ้าของดาวเทียมเอเชียแซทแล้ว ยังไปซื้อบริษัทเคลื่อนที่ในอังกฤษ เป็นเครื่องมือเจาะเข้าไปทำธุรกิจ โทรคมนาคมในอังกฤษอีกด้วย

กล่าวได้ว่าเมื่อเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง ไทยมีโอกาสที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์สนองตอบตลาด ภายในและภายนอกประเทศได้ โครงการขยายโทรศัพท์ครั้งนี้ ทำให้เกิดตลาดเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างโอกาสและการกระตุ้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศด้วย

ความฝันของธนินท์ และซีพี เทเลคอม ที่เป็นหนึ่งในเจ้ายุทธจักรผลิตและบริหารโทรคมนาคมของโลกใน 10 ข้างหน้า เริ่มต้นเป็นรูปร่ายแล้ว

สิ่งที่ธนินท์ เจียรนนท์ และซีพีแสดงให้นักธุรกิจประจักษ์ในครั้งนี้นับเป็นฝีมือชั้นครู ความอดทนเพียรพยายามเป็นเลิศ การโต้คลื่นฝ่ากระแสลมการเมือง ซึ่งถ้าว่าแสดงฝีมือไม่เพียงพอจนเป็นเหตุให้รัฐนาวาของนายกฯ อานันท์ ล่มลงแล้วก็ ชื่อเสียงที่สะสมมายาวนานของซีพีก็จะพลอยสุญสิ้นไปด้วย

ธนินท์ ไม่ได้เพียงจุดเด่นในเรื่องข้อมูลสนับสนุนการเจรจา ซึ่งมีมายกว่าฝ่ายรัฐบาลที่เพิ่งเข้ามาเจรจาจับงานนี้เพียง 2-3 เดือน แต่ยังใช้ท่วงทำนองที่ทั้งแข็งกร้าวและยืดหยุ่น แข็งเรื่องตัวเลขทางการเงินที่มีเหตุผลสนับสนุนจากที่ปรึกษาฯ

อ่อนในเรื่องให้ผลประโยชน์แก่รัฐเพิ่มขึ้นในส่วนที่รัฐเรียกร้องและสามารถตกลงได้ เรื่องเช่นนี้มืออาชีพอย่างเฉลียวก็ยอมแพ้ธนินท์ เจียรนนท์เท่านั้นที่ถักทอความฝันกลายเป็นนความจริงขึ้นมาได้สำเร็จ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.