เรื่องที่จะให้รถยนต์สำเร็จรูปเข่ามาในประเทศไทย ในอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าอัตราเดิมมากมายนั้น
คนที่จะเป็นคนที่เจ็บที่สุด คือผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์นั่งในประเทศ
เพราะฉะนั้นเรื่องการวิ่งเต้นต่อรองเรื่องส่วนต่างภาษีรถยนต์นั่งสำเร็จรูปนำเข้ากับชิ้นส่วน
ว่ากันจริงแล้วเป็นการประลองกำลังกันระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนกับผู้ซื้อมากกว่า
เพราะโรงงานประกอบรถยนต์มันไม่มีอะไรหรอก เพียงรับจ้างเอาชิ้นส่วนมาแล้วก็หยิบใส่
ๆ ประกอบเข้าตามแบบที่กำหนดมาเท่านั้น
เสร็จแล้วผู้ขายก็ขายรถยนต์ในราคาเท่าที่ผู้ซื้อ ๆ ได้ ถ้าผู้ซื้อโง่ก็ขายได้กำไรมาก
ผู้ซื้อฉลาดก็ขายได้กำไรน้อยหน่อย
แต่คนที่จะเจ็บมากคือผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ เพราะว่าผลจากการที่ภาษีนำเข้าเปลี่ยนไป
วันหนึ่งผู้ซื้อก็อาจจะพบว่ารถยนต์ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศนั้น มันมีคุณภาพที่เปรียบเทียบกับราคาแล้วมันดีกว่ารถที่ประกอบในประเทศ
คนก็จะไม่ซื้อรถยนต์ที่ประกอบในประเทศไทย เมื่อมันเป็นอย่างนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ไม่ต้องผลิต
เพราะว่าจะไม่คนซื้ออีกแล้ว
แต่กระนั้นก็ตาม ผมก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนอาจจะไม่ถึงกับเจ๊งก็ได้เพราะอะไรรู้ไหม
?
เพราะว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพียงอย่างเดียว
หรือเน้นหนักชิ้นส่วนรถยนต์เป็นสำคัญเท่านั้น แต่พวกนี้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อสินค้าอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์อยู่ตั้งหลายอย่างเป็นร้อย ๆ ชนิด
แต่ที่เขาหันมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ด้วยเพราะ มันบังเอิญเครื่องมือที่เขาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนเพื่อสินค้าอื่น
ๆ นั้น มันสามารถที่จะผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้ด้วย เขาก็เลยผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไปด้วย
เพราะฉะนั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้เมื่อเขาขายชิ้นส่วนรถยนต์ไม่ได้ เขาก็จะไม่เดือดร้อน
เพราะเขาเพียงแต่เสียรายได้ในส่วนที่เขาเคยได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไปเท่านั้นเอง
ซึ่งเขาอาจหาทางออกด้วยการปิดสายการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ลงขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอื่น
ๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไปได้และขยับขยายหาตลาดสินค้าอื่นต่อไป
อย่างนี้แล้วโรงงานทั้งโรงงานหรือบริษัททั้งบริษัทก็ไม่เจ๊งถึงขั้นต้องปิดกิจการ
นี่คือความจริง ไม่ใช่ข้อเท็จจริง !!
สำหรับบริษัทใหญ่ ๆ เช่น ซัมมิตออร์โตพาร์ท สยามกลการไทยรุ่งยูเนียนคาร์
ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ออกมาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
รายได้และผลประโยชน์ของเขาอิงอยู่กับโครงสร้างภาษีอย่างทุกวันนี้ เขาอาจเจ๊งหรือไม่
จริง ๆ แล้ว ผมก็เห็นว่าพวกนี้จะไม่เจ๊ง เพราะว่าพวกนี้เขาทำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และผลิตชิ้นส่วนออกมาแต่ละรุ่นมันมีความต้องการเป็นตลาดรองรับสูง
เช่นเขาผลิตชิ้นส่วนรถกระบะ รถบรรทุก รถขนส่งต่าง ๆ แล้วผลิตออกมาก็เป็นหมื่น
ๆ คันต่อปีเพราะฉะนั้นต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นมันก็ไม่สูงเกินไปขณะเดียวกันก็มีบริษัทคู่แข่งกันเพียง
5 บริษัทเท่านั้น
ต่างกับพวกที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์นั่งประเภทรถเก๋ง ซึ่งปีหนึ่งขายได้รวมกันทุกโมเดลเพียง
4-5 หมื่นคันในขณะที่มีโมเดลแย่งตลาดกันอยู่ตั้ง 40-50 โมเดล ต้นทุนมันก็สูง
เพราะปริมาณชิ้นที่จะมาเฉลี่ยมันน้อย
เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าให้อุ้มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ผมคิดว่าก็ต้องเลือกอุ้มอุตสาหกรรมที่มีอนาคต
จะเติบโต เลี้ยงตัวมันเองได้
ผมก็เห็นว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์กระบะ รถบรรทุกนี่แหละที่มันจะมีอนาคต
สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์นั่งประเภทเก๋ง นี่ยังมองไม่เห็นว่าจะต้องให้อุ้มไปอีกเท่าไหร่ถึงจะโต
ครั้นเราจะอุ้มเขาต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่เขาไม่รู้จักโตผมว่ามันไม่ถูกต้องเพราะคนอุ้มคือประชาชนคนไทยทั้ง
60 ล้านคน
ตรงนี้คือสิ่งที่ผมพยายามจะบอกว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต้องปรับตัว
เลือกผลิตชิ้นส่วนที่มีตลาดรองรับจำนวนมากพอต่อการประหยัดต้นทุน
จริง ๆ แล้ว เราโง่มาตลอดที่ดันไปเข้าใจว่า อุตสาหกรรมยานยนต์มันต้องสร้างรถยนต์ขึ้นมาใหม่ทั้งคัน
แต่จริง ๆ แล้วเพียงผลิตชิ้นส่วนเพียงชิ้นเดียว แต่ทำปีหนึ่ง ๆ 3 ล้านชิ้นอย่างนี้มันก็เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ไปได้แล้วเหมือนกัน
สมมติทำกระปุกอะไรอย่างหนึ่งที่ติดในรถ มูลค่ามันเพียงชิ้นละ 300 บาท แต่ว่าปีหนึ่งผลิต
3 ล้านชิ้นขายทั้งในและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นปีหนึ่งก็สามารถทำยอดขายได้เกือบ
1,000 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนแบบพิมพ์มันมีอยู่อันเดียว ปริมาณชิ้นส่วนมาหารมาก
ต้นทุนก็ต่ำขายง่ายด้วย
หรืออย่างเวลานี้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในบ้านเราที่ทำกันก็ทำชิ้นส่วนประเภท
กระจก หม้อน้ำ ถังน้ำมัน ท่อไอเสีย แบตเตอรี่ สายไฟ เย็บเบาะ พรม เป็นต้นชิ้นส่วนเหล่านี้มันใช้แรงงานมาก
และขนย้ายลำบาก เสี่ยงต่อการแตกหักง่าย
พูดง่าย ๆ ถ้าจะนำเข้าจากต่างประเทศ มันก็ไม่คุ้มค่าโสหุ้ย ในการนำเข้า