ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ จากวงแชร์ ยกระดับเข้าสู่ตลาดหุ้น


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้ชายวัย 40 ปีคนนี้ ดูอย่างไรๆ ก็ไม่มีเถ้าแก่โรงพิมพ์อยู่เลย บุคลิกภูมิฐานท่วงท่าสุขุม และน้ำเสียงนุ่มนวลแบบเขาน่าจะเป็นมาดของราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า แตเขาก็เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ระดับคุณภาพที่กำลังจะเข้าเป็นบริษัทรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในไม่ช้านี้

ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ เป็นเจ้าของและกรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัดซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพิมพ์นิตยสารบ้านและสวน นิตยสารแพรวและแพรวสุดสัปดาห์

จุดเริ่มต้นของก้าวเข้ามาในธุรกิจสิ่งตีพิมพ์ของเขามาจากพื้นเพทางการศึกษา และปรระสบการณ์ทำงานในช่วงต้นของชีวิตที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือมาตลอด ชูเกียรติจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ พ.ศ 2508 เขาเริ่มต้นงานแรกที่โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชด้วยการเป็นพนักงานดูแลตรวจตราแบบเรียนซึ่งเป็นสินค้าหลักของไทยวัฒนาพานิช แล้วไต่เต้าขึ้นมาเป็นบรรณาธิการหนังสือตำราเรียน

สุดท้ายช่วงเวลา 6 ปีที่ไทยวัฒนาพานิชชูเกียรติเป็นหน้าบรรณาธิการนิตยสารวิทยาสาร ซึ่งเป็นนิตยสารทางการศึกษาที่มีบทบาทเผยทางด้านควาทคิดทางสังคมและการศึกษาที่ก้าวหน้ามากในยุค" ฉันจึงมาหาความหมาย ระหว่างปี 2510-2516

ชูเกียรติลาออกจากไทยพัฒนาพานิช มาเป็นหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของการเคหะแห่งชาติที่รากของแนวคิดในการทำหนังสือเกี่ยวกับการตกแต่งบ้านเริ่มก่อตัวขึ้น

การเคหะแห่งชาติในยจุคที่ชูเกียรติเข้าไปทำงานนั้นเป็นยุคแรกสุดของการก่อตั้ง ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์เขาจำเป็นที่จะต้องสร้างสื่อที่จะต้องสื่อสารกับประชาชน เขาใช้ความชัดเจนจากการทำหนังสือ ออกหนังสือ "บ้าน" ขึ้นมาขายในท้องตลาดเป็นเล่มแรก หลังจากนั้นอีก 2 ปีต่อมาที่ "บ้านใหม่" เป็นหนังสือแจก ฟรีออกมา

ความจำเป็นที่ต้องทำงานกับเคหะฯ ทำให้เขาต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบ้าน และประสบการณ์จากการทำหนังสือเกี่ยวกับบ้านให้กับการเคหะทำให้เขารู้ว่ายังมีผู้อ่านอีกมากที่ต้องการความรู้ในด้านนี้ แต่ไม่มีหนังสือที่จะตอบสนองในท้องตลาดได้หนังสือบ้านที่เขาทำในยุคนั้นส่งไปขายไกลถึงเวียงจันทน์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

สองส่วนนี้ทำให้เขามีข้อสรุปว่า " เรามีความพร้อมที่จะทำธุรกิจเองได้" ประกอบกับความอึดอัดกับระบบการทำงานแบบราชการเขาจึงลาออกมาทำหนังสือเองหลังจากที่อยู่การเคหะฯได้ 4 ปี

ปี 2519 ชูเกียรติออกหนังสือ "บ้านและสวน" และเป็นเล่นแรกในขณะนั้นหนังสือในแนวเดียวกันออกจาก "บ้าน" ของการเคหะฯ และก็ยังมี " เฮ้าส์ซิ่ง" อีกเล่นหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เหลือ "บ้านและสวน" ที่มีอายุยาวต่อมาอีก 15ปี จนถึงทุกวันนี้

"เราต้องเปลี่ยนตัวสินค้าอยู่ตลอดเวลาให้มีอะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ" ชูเกียรติพูดถึงปัจจัยแห่งความยั่งยืนของ "บ้าน และสวน" ข้อแรกและข้อที่สองคือคุณภาพและความสวยงามของหนังสือของหนังสือ

การทำหนังสือบ้านและสวนออกมาทำให้ชูเกียรติต้องก้าวหน้าไปธุรกิจโรงพิมพ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ "ผมไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะตั้งโรงพิมพ์เป็นของตัวเองเลย" ชูเกียรติบอกว่าสิ่งที่เขาอยากจะทำมีอยู่อย่างเดียว คือหนังสือสวยๆ งามๆ และขายได้

ปีแรกของบ้านและสวนชูเกียรติจ้างโรงพิมพ์ของคนอื่นพิมพ์ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุคของการพิมพ์ ออฟเซท โรงพิมพ์ที่มีเครื่องพิมพ์ออฟเซทยังมีจำกัด ทำให้เขามีปัญหามากในการหาโรงพิมพ์ที่พิมพ์งานที่มีคุณภาพได้ดี

ปี 2520 ชูเกียรติจำเป็นต้องตั้งโรงพิมพ์ของตัวเองขึ้นมาพิมพ์หนังสือของตัวเอง ในซื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อัมรินทร์การพิมพ์ เริ่มต้นด้วยแท่นพิมพ์เพียงตัวเดียว ช่วง 2-3 ปี แรกเป็นช่วงของความยากลำบากที่สุดในการประคับประคองธุรกิจดรงพิมพ์ให้อยู่รอด เมื่อต้องลงทุนซื้อ แท่นพิมพ์เองปัญหาการสดุดติดขจัดในเรื่องเงินหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องเฉพาะเจ้าหน้าที่ทีต้องฝ่าฟันไปให้ให้ได้

เมตตา ภารยาของชูเกียรติต้องลาออกจาการเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มาหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒมาช่วยดูแลทางด้านการเงิน แหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดในเวลานั้นคือการตั้งโรงแซร์ระหว่างโรงพิมพ์ต่างๆ ด้วยกันเองซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้อมรินทร์การพิมพ์หลุดพ้นจากความยากลำบากในช่วงแรกมาได้

ปี 2521 ชูเกียรติออกหนังสือเล่นใหม่ชื่อ "แพรว" เป็นหนังสือผู้หญิงลายปักษ์ "ตอนนั้นมีหนังสือผู้หญิงเล่มหนึ่งเลิกไปเราเห็นว่ามีช่องว่างอยู่พอดี" คุณภาวดี หรือ สุภาวดี โกมารทัต ซึ่งปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการของหนังสือในเครือทุกเล่มซึ่งประสบการทางด้านนี้อยากทำด้วย

กว่าที่แพรวจะอยู่ตัวได้และเป็นที่ยอมรับของตนอ่านใช่เวลาถึง 4 ปีหลังจากนั้นอีกไม่นานก็ตามมาด้วยแพรวสุดสัปดาห์ซึ่งเจาะผู้อ่านกลุ่มวัยรุ่น ในขณะที่แพรวกลุ่มผู้อ่านจะเป็นผู้หญิงวัยทำงานแล้ว ความตั้งใจแรกเริ่มของชูเกียรตินั้นจะรวมแพรวเข้ามาอยู่เล่มเดียวกันในเวลาต่อมา

" โชคดีที่เราไม่ทำอย่างนั้น" ชูเกียรติอธิบายว่าถ้ายุบเหลือเล่มเดียวจะไม่มีหน้าที่รองรับโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของหนังสือได้พอ

ปีที่แล้วอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ปซึ่งปรับโครงสร้างและระบบบัญซีใหม่รวมเอากิจการโรงพิมพ์หนังสือในเครือทั้ง 3 เล่ม และธุรกิจจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน มียอดขาย 190 ล้านบาท 50 % เป็นรายได้จากค่าโฆษณาในหนังสือทั้งสามเล่ม อีกครั้งหนึ่งที่เหลือเป็นรายได้จากการขายหนังสือ 20 % และรับจ้างพิมพ์ 30 %

"ปลายปีนี้เราจะออกหนังสือรายเดือนเล่มใหม่ เป็นหนังสือที่จะรวมเอาจุดเด่นของแพรวกับบ้านและสวนมาไว้ด้วยกัน" ชูเกียรติกล่าว

รายได้ 30% ที่มาจากการรับจ้างพิมพ์ของอมรินทร์นั้น 70 % คืองานพิมพ์หนังสือในเครือและอีก 30% เป็นงานข้างนอก รายได้จากการรับจ้างพิมพ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 % ต่อปี ส่วนรายได้อื่นๆ จะเพิ่มไม่มากนัก ชูเกียรติให้ภาพทิศทางธุรกิจของเขาในอนาคต หลังจากที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเน้นไปที่ธุรกิจโรงพิมพ์มากกว่ารายได้จากการทำหนรังสือ

จากแท่นพิมพ์เพียงแท่นเดียวเมื่อ 10 ปีก่อนปัจจุบันอมรินทร์เฟิร์สติ้งกรุ๊ป มีแท่นพิมพ์ประเภทต่างๆ รวมกัน 20 ยูนิต ซึ่งเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน

การเพิ่มทุนอีก 7 ล้านบาท จากที่ 39 ล้านบาทเป็น 46 ล้านบาท นั้นชูเกียรติหวังว่าจะได้รับเงินจากการขายหุ้น 100 ล้านบาท มาลงทุนเพิ่มในส่วนของโรงพิมพ์ซึ่งย้ายจากที่เดิมมาตั้งที่ตลิ่งชัน ในเนื้อที่ 5 ไร่

ตามแผ่นการลงทุน โรงพิมพ์แห่งใหม่ของเขาจะมีระบบการผลิตแบบครบวงจร โดยการสั่งซื้อแท่น 4 สี เครื่องพิมพ์กระดาษม้วน 4 สี อย่างละหนึ่งเครื่อง เครื่องและจัดซื้อเครื่องแยกสีพร้อมอุปกรณ์หนึ่งเครื่อง

14 ปีที่แล้ว ที่เขาตั้งวงแซร์หาเงินมาตั้งโรงพิทพ์เป็นช่วงที่เทคโนโลยีการพิมพ์กำลังก้าวเข้าสู่การพิมพ์แบบออฟเซท เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องทำหนังสือคุณภาพดี

มาถึงปีนี้วิทยาการพิมพ์ยกระดับจากออฟเซทธรรมดาขึ้นไปสู่ระดับการพิมพ์ที่ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แหล่งเงินทุนจากการพัฒนาจากวงแชร์ขึ้นมาเป็นตลาดหลักทรัพย์ จุดมุ่งหมายเฉพาะหน้าในการทำบริษัทเข้าตลาด เพื่อหาเงินมาซื้อเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ของชูเกียรติคือการขยายกำลังการผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

ส่วนเป้าหมายระยะต่อไปซึ่งอยู่ในความคิดของเขาคือการขยายตลอดรับจ้างพิมพ์งานจากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะการพิมพ์หนังสือปกแข็งซึ่งจาการเดิานทางไปดูงานหนังสือที่อังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้เขาพบว่าเอเยนต์ของสำนักพิมพ์หลายๆ พร้อมที่จะป้อนงานให้โรงพิมพ์ให้ประเทศไทยหากว่าคุณภาพถึงขั้น

"ปัญหาที่ผ่านมาคือ เราอยากที่จะให้มีออร์เดอร์ก่อนถึงจะลงทุน ส่วนทางต่างประเทศก็อยากจะเห็นผลงานก่อนถึงจะตัดสินใจให้งานมา" ชูเกียรติพูดถึงจุดที่ไม่ลงตัวระหว่างผู้ผลิตในบ้านเรากับต่างประเทศซึ่งออกคือ โรงพิมพ์จะต้องกล้าลงทุนไปก่อน บนความเชื่อมันในคุณภาพของตัวเอง เขาประมาณว่า จะต้องเงินราว 200 ล้านบาทเพื่อลงทุนติดตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือปกแข็ง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายอันหนึ่งของเขาบนเส้นทางชีวิตเถ้าแก่โรงพิมพ์ที่เขาก้าวมาด้วยไม่ได้ตั้งใจ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.