ปาเท็กซ์ : ธุรกิจสายเลือด ของบุญธรรม นิธิอุทัย


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

แม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นงานบริหารเหมือนกัน แต่ความแตกต่างขององค์กรทำให้การบริหารงานในฐานะคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และการเป็นกรรมการผู้จักการบริษัทปัตตานี อุตสาหกรรม(1971) จำกัดของดร. บุญธรรม นิธิอุทัย แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บุญธรรมเคยตัดสินใจเลือกงานบริหารในปัตตานีอุตสาหกรรมครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อ 2 ปี ก่อนโดยบอกลาออกจากการเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขาเป็นผู้ปลุกปั้นมากลับมือเพื่อมาดำเนินงานบริหารในธุรกิจครอบครัว ซึ่งพี่ชายเคยรับผิดชอบอยู่มาด่วนสิ้นชีวิตไปอย่างกะทันหัน

ในโอกาสที่"ผู้จัดการ"ได้รับเชิญไปเยี่ยมกิจการลูกค้าของบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแงประเทศไทย บุญธรรมเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ธุรกิจสานเลือดที่ผมทำอยู่เวลานี้หมายความว่าเป็นธุรกิจที่กันมาแต่รุ่นปู่ของผม เดิมเป็นเพียงโรงงานยางเครป คือหางยางที่เหลือจากน้ำยางข้น เป็นผลพลอยได้ที่นำเอามาทำพื้นรองเท้าได้ และก็มีการส่งยางดิบออกจำหน่ายในต่างประเทศบ้าง โดยมีราคาขึ้นลงตามภาวะตลอด"

ต่อมาบุญธรรมพบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์จากน้ำยางประเภทใดที่มีตลาดขยายตัวได้ดีเท่าฟองน้ำ ไม่ว่าจะเป็นลูกโป่ง ถุงมือ หรือตุ๊กตาก็ตาม เขาจึงเริ่มทำผลิตภัณฑ์ฟองน้ำที่ทำโดยยางธรรมชาติ 100%

ปัตตานีอุตสาหกรรมจึงเริ่มผลิตที่นอนหรือฟูก และหมอนออกจำหน่ายถายใต้ยี่ห้อ "ปาแเท็กช์ หรือ PATEX " บุญธรรมอ้างว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมีอายุการใช้งาน 15 ปีขึ้นไป

บุญธรรมเปิดเผยโดยว่า "ระหว่างปี 2512 - 2524 ดันล้อปมาติดต่อซื้อผลิตภัณฑ์ของเราไปใส่ชื่อยี่ห้อดันล้อปขาย แต่ภายหังหันไปนิยมประเถทโพลียูรีเทนแทนเพราะว่าราคาถูกกว่ามากและก็ไปบุกตลาดล่างมากขึ้นด้วย ประกอบกับทางบริษัทฯไม่สามารถผลิตสิ้นค้าได้ทันความต้องการในท้องถิ่นเองจึงงขอยกเลิกคำสั่งชื้อจากดันล้อปไป"

หลักจากที่จบการศึกษาปริญญาเอกที่ NATIONL COLLEGE OF RUBBER TECHNOLOGY ที่กรุงลอนดอนเมื่อปี พ.ศ 2515 ได้ PH.D. ด้านยางเป็นคนแรกๆ ของเมืองไทยแล้วบุญธรรมกลับมาสอนวิชายางที่มหาวิทยาสงขลานครินทร์ ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากจึงจนสามารถผลักดันให้ตั้งคณะวิทยาศาสนตร์ฯขึ้นมาได้ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องยางมามากมายหลายรุ่น

"แต่ไม่มีนักศึกษาคนไหนที่สำเร็จการศึกษาแล้วมาทำงานที่บริษัทผมเลย"

หลักจากที่บุญธรรมลาออกไปคุมกาจการส่วนตัวอยู่ผรักหนึ่งก็ต้องกลับมาสอนหนังสือในคณะที่เขาสร้างขึ้นมาเอง ในคณะมาอาจารย์ที่สอนเรื่องยางอยู่เพียง 4 คนเท่านั้น รวมทั้งตัวบุญธรรมด้วย

ตอนนี้บุญธรรมจึงต้องทำงานสองที่ควบคู่กันไป ทำให้เกิดปัญหาว่าไม่สามารถทุ่มเทให้ทางหนึ่งทางใดอย่างเต็มที่

ปัตตานีอุตสาหกรรมมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 ตัวคือน้ำยางข้น ผลิตได้ปีละ 2,340ตันที่นอนยางฟองน้ำ 5,000ชิ้น/ปี หมอน 15,000 ใบ/ปี และยางเครป 177 ตัน/ ปี

ส่วนที่ทำกำไรมากที่สุดคือที่นอนยางฟองน้ำ ซึ่งมีกำไรประมาณ 23-40 % ของยอดขาย ส่วนน้ำยางข้นนั้นมีกำไรเพียง 8 % ของยอดขายเท่านั้น

อันที่จริง ในช่วงที่โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รับรู้ในระยะแรก อุตสาหกรรมน้ำยางข้นเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความต้องการถุงมือและถุงยางอนามัยมีสูงมาก โรงงานทำน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว จาก 8 โรงเป็น 33-35 โรง

เป็นความโชคดีของปัตตานีอุตสาหกรรมในการที่บุญธรรมไม่ได้พึ่งพิงการผลิตแค่น้ำยางข้นและยางเครปเท่านั้น

ยางเป็นวัตถุดิบที่นำไปทำอะไรได้ตั้งมากมายหากรู้จักคิดค้น ที่นอนและหมอนฟองน้ำจากยางธรรมชาติได้รับการตต้อนรับอย่างดีจากลูกค้า บุญธรรมเล่าว่า "65% เป็นลูกค้าตามบ้านที่ติดต่อผ่าน เอเยนต์ 30% เป็นลูกค้าโรงแรมและ 5% เป๋นลูกค้าโรงพยาบาลบรรดาโรงแรมและโรงพยาบาลในภาคใต้ล้วนแต่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา"

ความที่ผลิตภัณฑ์ทำขึ้นมาจากยางธรรมชาติล้วนๆ ทำให้เป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศอย่างมาก บริษัทในเบลเยียมแห่งหนึ่งเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าใช่ยางธรรมชาติ 100% หรือไม่

ทั้งนี้เริ่มมีแนวประการหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป คือแนวคิดที่ว่าในร่ายกายคนเรามีพลังงานแม่เหล็ก การที่จะรักษาพลังงานนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมคลายก็โดยการใช้วัตถุที่ทำจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่มีเหล็กเจือปน และเก้าอี้ หมอนที่นอน ที่ทำจากยางธรรมชาติล้วนๆ จึงเป็นที่สนใจนิยมกันมาก

กลางเดือนกรกฎาคม 2534 ปัตตานีอุตสาหกรรมตกลงจัดส่งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติจำนวน 4 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค้า ตู้ละ 3.5 แสนบาทไปจำหน่ายในเบลเยียม โดยผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่าย และแต่งให้เป็นเอเยนต์จำหน่ายในประเทศทั่วยุโรป

ก่อนหน้านี้ก็มีลูกค้ามาขอซื้อไปขายที่มาเลเชียบ้างแล้ว และได้เข้ามาเจรจาขอเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในมาเลย์ด้วย

บุญธรรมเปิดเผยว่า "ตลบาดผลิตภัณฑ์ที่ทำจจากยางธรรมชาติยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง ปัญหาของปัตตานรีอุตสาหกรรมคือเรื่องกำลังการผลิตที่ยังไม่ค่อยจะพร้อม ทำให้เราไม่สามารถขยายตัวได้มากว่านี้"

กล่าวให้ชัดเจนลงไปคือ การขาดกำลังคนโดยเฉพาะผู้บริหาร ช่างเทคนิคนักวิศวฯและนักเคมี

ปัญหาเรื่องเครื่องจักรที่มีราคาค่อนข้างสูงมาก แต่เดิมที่มีการซื้อเครื่องจักรจากเยอรมันนี และเนเธอร์แลนด์ตต่อมาพยายามประดิษเลือนแบบขึ้นคุณภาพพอใช้ได้แต่ยังไม่ดีเท่าต้นแบบ

ประการสุดท้ายคือเรื่องเงินทุน ทางนี้ปัตตานีฯ มีทานจดทะเบียน 3.2 ล้านบาท มียอดขายปาละ 40 ล้านบาท และมีฐานะเป็นลูกค้าขั้นดีของบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ว่าไปแล้วปัญหาเรื่องเงินทุนไม่ใช่ประเทด็นสำคัญแต่อย่างไรเพราะว่าบริษัทฯ ยินดีให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ปรระเด็นคือบุญธรรมไม่สามารถขยายงานได้มากกว่าที่เป็นอยู่ตราบใดที่รับภาระการสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บุญธรรมเปิดเผยด้วยว่า "ส่วนเรื่องการร่วมทุนนั้นผมยังไม่ได้คิด คือเราเติบโตจากบริษัทผู้ผลิตหากมาการร่วมทุนผมส่งสัยว่างานที่เป็นการค้นคว้าทดลองจะจตะทำต่อไปได้หรือไม่ ใจผมมอยากที่จะขยายตัวในการศึกษาเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยมากกว่าที่จะขยายตัวในทางกว้างคือเล่นเรื่องตลาดอย่างเดียว"

นี่เป็นแนวคิดของนักเคมีโดยแท้ทั้งที่มีตัวเลขอยู่ในมือว่ายอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 20 % ทุกปี เมื่อใดก็ตามในอนาคตดร. บุญธรรมได้มาดำเนินการธุรกิจสายเลือดอย่างเต็มตัว เขาต้องวิธีบริหารงานวิจัยค้นคว้ากับการทำธุรกิจให้สอดคล้องกันจนได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.