TATL และ SVI ตัวอย่างความล้มเหลวของหุ้นอิเล็กทรอนิกส์


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

ข่าวฉาวโฉ่ที่เกิดขึ้นกับหุ้นอิเล็กทรอนิกส์สองตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ SVI และ TATL เป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงแฝงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนของการดำเนินงานทางธุรกิจ แต่สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจมากกว่ากลับเป็นเรื่องราคาและการซื้อขายหุ้น ต้นตอของปัญหาทั้งหมดเริ่มจากจุดที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีผู้รู้ด้านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะ และซับซ้อนมากกว่าสินค้าทั่วไปเข้ามาร่วมพิจารณาการรับหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ถึงกับมีการกล่าวว่าอาจารย์มารวย "ไปโดนเขาหลอกอีกแล้ว !"

ยังไม่ทันที่ข่าวความไม่ชอบมาพากลในหุ้นเซมิคอนดัคเตอร์ฯ (SVI) จะจางหายไปข่าวด้านลบของหุ้นอิเล็กทรอนิกส์อีกตัวหนึ่งก็กระหึ่งขึ้น่ในวงการค้าหลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยหลายคนที่ขาดทุนจากการเก็งกำไรในหุ้นเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น ฯ (TATL) ไม่ยอมยุติปัญหาการอันเดอร์ไรท์หุ้น TATL ที่นำโดยบงล.ภัรทรธนกิจง่าย ๆ

ล่าสุดมีจดหมายเวียนมาถึง "ผู้จัดการ" โต้แย้งการเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์ราย 3 วันฉบับหนึ่งที่เขียนสนับสนุนการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินจนสามารถพัฒนาเพิ่มมูลค่าหุ้น และทำน้าที่เป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น TATL ของภัทรฯ โดยกล่าวว่า "จุดมุ่งหมาย (ของการโต้แย้ง) ก็เพื่อทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนารวมทั้งสร้างสรรค์ให้อันเดอร์ไรเตอร์มีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตนเอง"

ประเด็นที่ว่าอันเดอร์ไรเตอร์มีส่วนรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหนในการนำหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ TATL และ SVI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คงไม่จำเป็นต้องพิจารณากันอีกเพราะนักลงทุนได้ทำการตัดสินไปเรียบร้อยแล้ว

สิ่งที่ "ผู้จัดการ" ใคร่นำเสนอในที่นี้คือในส่วนของตลาดทรัพย์ฯ เองนั้นก็มีข้อบกพร่องไม่น้อย ที่อนุญาตให้หุ้นอิเล็กทรอนิกส์ประเภท SUB-CONTRACT HOUSE เข้าไปจดทะเบียนซื้อขายได้ทั้งที่หลายบริษัทมีหลักประกันไม่แน่นอนนักต่ออนาคตการดำเนินธุรกิจ

หุ้น SVI เข้าข่ายวิกฤตโดยนักลงทุนกลุ่มหนึ่งกำลังรวมตัวกันขอซื้อกิจการ ด้วยการซื้อหุ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งเพื่อรับช่วงการบริหารต่อ

ส่วนหุ้น TATL นั้นยังไม่ถึงระดับวิกฤติ แต่ยังมีปัญหาว่าการซื้อ CODE-A-PHON CORP (CAP) เป็น SYNERGY หรือการนำเงินออกนอกประเทศกัน แน่

ผู้เชี้ยวชาญในวงการอิเล็กทรอนิกส์ไทยซึ่งมีประสบการณ์มากมายมหาศาลในวงการอิเล็กทรอนิกส์ของสหรับให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมไม่เคยเห็นเลยว่าบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่มีฐานะเป็น SUB-CONTRCT HOUSE หรือบริษัทรับจ้างประกอบ จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นในสหรัฐฯได้ ยกเว้นเมื่อเร็ว ๆ นี้มีอยู่รายหนึ่งที่เมือง NUARK แต่ในเวลาต่อมาไม่นานก็เจ๊งและถูกถอนชื่อออกจากตลาดไป สำหรับที่เมืองไทยนี่พูดง่าย ๆ ว่า SET ท่านโง่มานาน"

ทั้งนี้บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ควรจะมี PRODUCT LINES ของตัวเองและมีการ DIVERSIFIES ด้วย เช่น VARIENT มีทั้งหมดกว่า 250 PRODUCT LINES ส่วนที่ฮิวเลตต์ แพคการ์ดมี 1,000 กว่า PRODUCT LINES และมีการแตกแขนงสินค้าออกไปมากมาย

หากเป็นบริษัทรับจ้างประกอบก็ควรจะมี SUB CONTRACT เพียง 10% เท่านั้น ที่เหลือเป็นสินค้าของตนเองและควรจะมีหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D) ของตนเองเพราะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเกิดและตายได้ภายใน 6 เดือน -2 ปี

หน่วยวิจัยและพัฒนาจะทำหน้าที่คิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แล้วนำมาทดสอบตลาดดูว่า จะไปได้ไหม

ดังนั้น หากจะมีการร่วมทุนสิ่งที่บริษัทรับจ้างประกอบในเมืองไทยควรจะทำคือร่วมทุนกับบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง แวเรียนท์ เอทีแอนด์ที เอชพี ยีอี เป็นต้น และควรจะทำสัญญาให้แน่ชัดด้วยว่าจะต้องมีการส่งออเดอร์มาให้บริษัทในเมืองไทยเป็นผู้ผลิต มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี

บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการร่วมทุนแต่ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า "เป็นเรื่องจำเป็นมากแต่ไม่ใช่การไปซื้อกิจการ เพราะการไปซื้อบริษัทระดับกลางก็ยังคงเป็นลูกจ้างเขาอยู่ และยังจะต้องบริหารบริษัททั้งเมืองไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องยุ่งมาด้วย"

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวอีกว่า "แม้กระทั่ง GSS ซื้อ ARRAY TECHNOLOGY INC. และ TATL ซื้อ CAP ก็เป็นเรื่องที่ผมยังรู้สึกไม่มีความมั่นใจในอนาคตของบริษัททั้งสองมากพอ"

ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ประธานกรรมการบริษัทโปรเฟชั่นแนล อิควิตี้ แมเนจเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น (PEMCO) ซึ่งมีประสบการณ์ช่ำชองในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเคยทำงานกับบริษัทมีชื่อหลายแห่งใน SILICON VALLEY ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ ยาวนานถึง 18 ปีก่อนจะกลับมาบุกเบิกงานที่เมืองไทยเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ในสหรัฐฯนั้นมีการจัดอันดับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์กัน 3 กลุ่มคือ LEAGUE ใหญ่ ๆ ด้วยกัน ซึ่งในการนี้สามารถบอกได้เลยว่าบริษัทนี้จะมีอายุอยู่ได้กี่ปี จะไปเมื่อไหร่ หรือจะปล่อยให้เจ๊ง และผมเคยทำงานในส่วนของการวางแผนปรับปรุงกิจการที่กำลังมีปัญหาขนาดหนัก วันหนึ่ง ๆ จะเจอรายชื่อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปัญหาในระดับต่าง ๆ 4-5 ราย"

กลุ่มบริษัทกลุ่มแรกเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งมีชื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กรวมกันประมาณ 30 กว่ารายเป็นหุ้นบลูชิพ เช่น ไอบีเอ็ม แวเรียนท์ ยีอี ล็อคฮีท เอชพี เป็นต้น

กลุ่มสองค่อนข้างจะมีการกระจุกตัวอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ เป็นบริษัทกึ่งเทรดดิ้ง ทั้งนี้การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นั้นควรจะเริ่มจากการบุกกิจการด้านการตลาดก่อนคือมีใบสั่งซื้อมาและกระจายไปตามโรงงานต่าง ๆ ที่เป็น SUB-CON-TRACT HOUSE ฝ่ายการตลาดมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายโรงงาน/การผลิต บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่จะมีลักษณะที่ว่าผลิตสินค้าขึ้นมารายการหนึ่ง เช่น แพ็คลิ้งค์ เป็นตัวอย่างที่ชัดที่สุด เมื่อสินค้าตายไปคือมีคู่แข่งที่ดีกว่ามาก บริษัทก็ต้องปิดกิจการไป

แต่คนก่อตั้งจะร่ำรวยไปก่อนหน้าที่บริษัทจะเจ๊งแล้ว เพราะกิจการเหล่านี้สามารถคืนทุนได้ใน 3-4 เดือนเท่านั้น

กลุ่มบริษัทอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มที่สาม คือบรรดาบริษัทรับจ้างประกอบทั้งหลาย

ARRAY และ CAP จัดอยู่ในกลุ่มที่สอง แต่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากในเมืองไทยและหลายรายที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยเป็นบริษัทในกลุ่มที่สาม

ทว่าบริษัทในกลุ่มที่สามกลับไปซื้อกลุ่มที่สองซึ่งเชียรช่วงไม่เห็นด้วย เพราะยังไงเสียก็หนีไม่พ้นการรออร์เดอร์จากบริษัทกลุ่มแรก

ขณะที่หากสามารถร่วมทุนกับบริษัทกลุ่มแรกได้ ก็เป็นอันมีหลักประกันเรื่องออร์เดอร์และเทคโนโลยีแน่นอน

TATL ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตประกอบและจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และอุปกร์สื่อสารโทรคมนาคม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คือโทรศัพท์ไร้สายหรือ CORDLESS TELEPHONE และ KEY TELEPHONE

บริษัทฯ เริ่มผลิตโทรศัพท์ไร้สายเพื่อการส่งออกเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2531 โดยขายตรงไปยังบริษัทลูกค้าคือบริษัท CODE-A-PHONE และ ใช้เครื่องหมายการค้า CODE-A-PHONE

ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2531 บริษัทฯ ได้ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นส์ คอมพิวเตอร์ซิสเต็มส์ จำกัด (TACS) เพื่อทำการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

TACS ทำการผลิตพจนานุกรมคอมพิวเตอร์แบบมือถือ (HAND-HELD LINAUISTIC COMPUTER) ขายให้แก่บริษัท KEYTELEPHONE ทั้งหมด และผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิสก์ให้แก่ลูกค้าในประเทศ ได้แก่ SYSTEM NEC ELECTRONICSCOMPUTER HARD DISK DRIVES SEAGATE ELECTRONIC SYSTEMS FEATURE TELE-PHONE ให้ GOLDSTAR

ในการดำเนินการผลิตสินค้าของทั้งสองบริษัทในปีแรกนี้ ปรากฏว่ามีผลการดำเนินการขาดทุนโดยบริษัทฯ ให้เหตุผลว่ามีการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากในระยะแรกทั้งจากค่าเสื่อมราคาและภาวะดอกเบี้ยจ่าย

นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายเป็นการผลิตก็มีสัดส่วนค่อนข้างสูงมาก เพราะบริษัทฯมีความชำนาฯในการประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์น้อย

ปี 2531 TATL มีการขาดทุนสิทธิ 26.47 ล้านบาท และในปี 2532 ก็ยังคงขาดทุนสุทธิอีก 13.41 ล้านบาทแม้จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่าก็ตาม

ปี 2533 TATL สามารถเพิ่มรายได้จากการขาย ขึ้นมาเป็น 203.74 ล้านบาท

ในงวด 6 เดือนแรกของปี 2534 (ระหว่าง 9 สิงหาคม 2533 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2534) สามารถทำกำไรสุทธิสำหรับงวดได้ 48.42 ล้านบาท ซึ่งพอเพียงที่จะล้างขาดทุนสะสมได้หมด

อย่างไรก็ดี ตัวเลขงบการเงินที่เกิดขึ้นจริงในงวดแรกของปี 2534 ต่างไปจากประมาณการที่เสนอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯอย่างมาก รายการรายได้จากการขายที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าประมาณการถึง 3.83 เท่ากำไรสุทธิสำหรับงวดต่ำลง 2.45 เท่า

มิพักต้องดูว่ามีการลงทุนใน CAP โดยไม่ได้อยู่ในประมาณการหรือไม่ได้มีการตระเตรียมล่วงหน้ามาก่อน รายการค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารก็สูงกว่าที่ประมาณการไว้ 2 เท่ามีดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มมากขึ้น 11 เท่า ดำเนินงานงวด 6 เดือน ของ TATLX

ข้อเท็จจริงคือบริษัทฯ ประสบปัญหาเรื่อง ตลาดตั้งแต่ปลายปี 2533 แล้ว

ลูกค้ารายใหญ่ในสหรัฐฯสั่งงดออร์เดอร์กะทันหัน ส่วนตลาดในประเทศซึ่งมีบริษัทซีเกตเป็นลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งก็ประสบปัญหาตลาดชะลอตัว อันส่งผลกระทบต่อออร์เดอร์ที่มีกับ TATL

ปัญหาเรื่องตลาดเป็นอุปสรรคสำคัญที่ TATL แก้ไม่ตก ตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนปัจจุบันปัญหานี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่กระทรวงการคลังยืดเยื้อการอนุมัติหุ้น TATL ไว้นาน ถึง 9 เดือนกว่าจะอนุมัติให้เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้

TATL พึ่งพองตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำคัญของโลกแห่งเดียวคือสหรัฐฯ และมีคำสั่งซื้อต่างประเทศมาจาก CAP เพียงบริษัทเดียวด้วยซ้ำไป

มันเป็นความเสี่ยงอย่างมโหฬารของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทรับจ้างประกอบทุกรายในเมืองไทย ก็เป็นเช่นนี้

ปลายปี 2533 บรรยงค์ พงษ์พานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บงล.ภัทรธนากิจ ในฐานะกรรมการ TATL ที่เข้ามาร่วมงานด้วยการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินก่อนที่จะปล่อยเงินกู้ให้ TATL และได้เข้ามาเป็นกรรมการในภายหลัง จัดการแก้ปัญหานี้ด้วยการซื้อกิจการของบริษัท CAP เจ้าของออร์เดอร์ทั้งหมดของ TATL เสียเลย

บรรยงค์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราคิดจะซื้อทั้งหมด แต่มันเป็นเงินลงทุนมหาศาลกว่า 1,000 ล้านบาท ซื้อไม่ไหว ก็เลยเอาแค่ 51% เพื่อเป็นเสียงส่วนใหญ่ในคณะกรรมการฯ มูลค่าเงินลงทุนลดลงมาเป็น 450 ล้านบาท"

บรรยงค์เปิดเผยด้วยว่า "การซื้อครั้งนี้ก็เพื่อยืนยันว่าบริษัทจะมีลูกค้ามากขึ้นในระยะยาว เราจะโอนคำสั่งซื้อที่มีกับบริษัทรับจ้างประกอบอื่น ๆ มาที่ TATL"

CAP เป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์การสื่อสาร ตั้งอยู่ที่พอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน สินค้าที่มีชื่อของบริษัทคือโทรศัพท์ไร้สายธรรมดา โทรศัพท์ไร้สายในย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์และเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติด้วยเทปคาสเสทขนาดเล็ก เครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติระบบดิจิตอล และระบบทูอินวัน

บรรยงค์เปิดเผยด้วยว่า "CAP มียอดขายปีละ 80 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2,000 ล้านบาทหากโอนคำสั่งซื้อมาให้ TATL สัก 50% ก็จะทำให้ TATL มีรายได้เพิ่มนับ 1,000 ล้านบาท"

ดูเหมือนบรรยงค์จะฝากความหวังการหาตลาดไว้ที่ CAP อย่างมาก ๆ

เชียรช่วงซึ่งครั้งหนึ่งเกือบจะมีประสบการณ์เข้าทำงานกับ CAP กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "CAP เป็นแค่บริษัทรับ่จ้างประกอบ พวกนี้ไม่เคยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่อเมริกาได้ CAP ส่งออร์เดอร์ให้โรงงานในเกาหลีประกอบ แล้วเอามาขายในอเมริกาสินค้าของเขาเกิดมาตัวหนึ่งแล้วก็ตายไป คือโทรศัพท์ไร้สาย และเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัตินี่แหละเพราะตอนหลังชาร์ปกับพานาโซนิคก็เข้ามาแย่งตลาดไปกินหมด"

"CAP เป็นบริษัทไม่มีชื่อเสียงอะไรเลย อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่คนไทยไม่รู้ เชียรช่วงเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"

"ผู้จัดการ" พยายามสอบถามข้อเท็จจริงไปทางโฮ เชง ชิว กรรมการผู้จัดการ TATL แต่ไม่ได้รับคำตอบ

มันเป็นไปได้ที่คนไทยโดยเฉพาะ นักลงทุนรายย่อยทั้งหลายจะไม่ทราบเรื่องรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท CAP กล่าวง่าย ๆ คือคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในสหรัฐยากที่จะรู้และเข้าใจเรื่องพวกนี้

ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ TATL ซื้อ CAP 51% ในวงเงิน 18 ล้านเหรียญสหรัฐ

ไม่ใช่เงินจำนวนน้อยเลยสักนิด

ทั้งยังจ่ายเป็นเงินสด โดยบรรยงค์กล่าวว่านำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน 660 ล้านบาทไปจ่าย ที่เหลือนำไปขยายกิจการ

เมื่อครั้งศิวะ งานทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท งานทวีอิเล็กทรอนิกซิสเต็มส์ จำกัด ซื้อกิจการของไทร์คอมมิวนิเคชั่น องค์ ในยุโรปและศูนย์วิจัยในแคนนาดานั้น เขาใช้เงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่มูลค่าสินค้าระหว่าง CAP กับไทร์ฯ แตกต่างกันมาก

ไทร์ฯ เป็นบริษัทขนาดกลางในนิวยอร์ก ชำนาญด้านการออกแบบคีย์โฟนซีสเต็ม มียอดขายเฉลี่ยปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ มีเครือข่ายการจำหน่ายทั่วโลก ในยุโรปมีฐานใหญ่ที่อังกฤษ ในเอเชียอยู่ที่สิงคโปร์และมีศูนย์การวิจัยและพัฒนาการออกแบบที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา

และไทร์คอมมิวนิเคชั่นฯ ยังเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย

จังหวะที่ศิวะซื้อไทร์ฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เป็นช่วงที่ไทร์ฯสาขาอิตาลีเพิ่งได้สัญยาติดตั้งระบบสถานีเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมภาคพื้นดินให้รัฐบาลอิตาลีรวม 7 แห่งมูลค่าประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งศิวะก็ได้ผลประโยชน์นี้มาด้วย

นอกจากนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนา ที่โตรอนโตมีนักวิจัยฝีมือดีอีกกว่า 10 คน มีเทคโนโลยี SMALLUNIT KEY PHONESYSTEM และกำลังพัฒนาระบบ ISDN อีกด้วย

ราคา 20 ล้านเหรียญสหรัฐที่ศิวะ จ่ายจึงไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับผลประโยชน์มากมายเหล่านี้

เทียบกับ CAP ที่มีสินค้าไม่กี่ตัว มีเปอร์เซ็นต์ของการรับจ้างประกอบมากกว่า 10% ของการผลิตสินค้าทั้งหมด โดยมีโรงงานกระจายไปทั่วทั้งในเกาหลีไต้หวัน มาเลเซียและจีน รวมถึงโรงงาน ขนาด 160,000 ตารางฟุตที่สำนักงานใหญ่ในพอร์ตแลนด์แต่มุ่งตลาดอยู่เพียง ในสหรัฐที่เดียวเท่านั้น และไม่มีการพูดถึงงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แต่อย่างใด

ถึงแม้จะเป็นบริษัทเก่าที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2501 เป็นซัพพลายเออร์อุปกรณ์โทรคมนาคมให้เอทีแอนด์ทีเบลล์ซิสเต็ม และรัฐบาลสหรัฐ แต่ในส่วนที่เป็นผลประโยชน์หรือซินเนอยี่ที่ TATL จะได้รับคืออะไร

นอกจากเรื่องการโอนออร์เดอร์ของ CAP ที่สั่งไปยังโรงงานอื่น ๆ มาให้ TATL แล้ว บรรยงค์กล่าวว่า "จะช่วยให้ TATL มีช่องทางการขยายกิจการมากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับการความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของ CAP เป็นหลัก และหาก TATL มีสินค้าใหม่ ๆ ก็จะกระจายเข้าสู่มือผู้จำหน่ายในสหรัฐฯหรือยุโรปได้ง่ายขึ้น"

นั่นหมายความว่าการาขยายกิจการก็ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการหาตลาด หรือหาออร์เดอร์ของ CAP และเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ TATL จะสามารถ คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้

ศิวะอนุมัติเงิน 5 ล้านดอลลาร์ให้ศูนย์วิจัยไทร์ฯ ที่โตรอนโตเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ISDN ให้ได้ภายในเวลา 16 เดือนตั้งแต่พฤษภาคม 2533

TATL อยู่ในขั้นที่จะทำเช่นนี้ได้หรือยัง

มันเป็นปัญหาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และนักลงทุนรายย่อยควรให้ความสนใจมากพอ ๆ กับเหล่าผู้บริหาร

เรื่องของ TATL ยังไม่เลวร้านเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเรื่องของบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์เวนเจอร์ อิน-เตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ SVI ซึ่งผู้ดำเนินการเรื่องการซื้อกิจการคนหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "หาก SVI ล้มเมื่อไหร่ หน้าตาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เมืองไทยแตกทันทีเราจะเข้าไปเทคโอเวอร์โดย ทุนของไต้หวันกับฮ่องกงและมีกลุ่มคนไทยด้วยคือ ทางบง.เอกธนกิจ"

เหตุที่จะมีการซื้อกิจการเกิดขึ้นในครั้งนี้เพราะ" SVI ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามประมาณการที่เสนอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ซึ่งเมื่อทำไม่ได้ก็อาจต้องถูกปลดออกจากตลาดฯ และจะมีผลเสียต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวม จะไม่มีคนมาลงทุนอีก" แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

ความคืบหน้าของการซื้อกิจการ SVI กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง ก่อนหน้านี้มีกลุ่มนักลงทุนต่างชาติกลุ่มหนึ่งเสนอตัวขอซื้อกิจการ SVI แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญในวงการอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศรู้จักกลุ่มนักลงทุนเหล่านี้ดีว่าเป็นพวกาเขี้ยวทั้งนั้น เป็น INSIDER TRADE

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "กลุ่มที่จะเข้ามาเป็นพวก STARLIGHT ELECTRONICS และกลุ่ม STANLEY HO คนพวกนี้มีสูตรการซื้อกิจการคืออ้างว่ามีบริษัทอยู่ จะเอา L/C ส่งมาให้ แต่พวกเขามาองการลงทุนระยะสั้นมากพอมี L/C เข้ามา ราคาหุ้นขึ้น ก็ขายทิ้ง นี่มันเป็นอย่างนี้แหละ ผมรู้จักสูตรพวกนี้ดี"

ในวงการอิเล็กทรอนิกส์นั้นรู้จักกันดีว่าใครเป็นอย่างไร กลุ่มไหนลงทุนจริงระยะยาว ซึ่งในหลายกรณีเจ้าของหุ้นแม้จะเป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็อาจไม่รู้จักคนเหล่านี้ได้ แต่ผู้ที่เคยทำงานด้าน CORPORATE PLANNING ในวงการอิเล็กทรอนิกส์จะรู้ดี

TATL และ SVI เป็นกรณีศึกษาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯพึงสังวรณ์อย่างมาก ๆ มันสะท้อนความจริง ประการหนึ่งว่าข้อพิจารณาเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ เข้าจดทะเบียนในตลาดที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ

แต่ตลาดหลักทรัพย์มองว่าข้อวิจารณ์ทั่ว ๆ ไปประกอบกับคุณวุฒิความสามารถของกรรมการที่ตลาดฯ แต่งตั้งขึ้นเพียงพอแล้ว ข้อเสนอของกระทรวงการคลังจึงตกไป ประกอบกับหน่วยงานทั้งสอง มี "ความการเมือง" กันอยู่มาก

น้อยครั้งที่จะมีความเห็นสอดคล้องกันได้ในหน่วยงานทั้งสองนี้

"ผู้จัดการ" ไม่มั่นใจว่าโฮ เชง ชิวจะเดินทางกลับจากต่างประเทศเมื่อไหร่ เขาได้เตรียมคนเข้าร่วมบริหารงาน cap ที่โอเรกอนแล้วหรือยัง ใคร รายการสั่งซื้อสำหรับงวดครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ในปี 2534 TATL มีหลักประกันเรื่องยอดขายอย่างไรบ้างมีการวางแผนแก้ไขปัญหาคำสั่งซื้ออย่างไร

เพราะอนาคตของหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขกันได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคทางการเงินแบบที่บรรยงค์เคยทำมากับ TATL และกลุ่มนักลงทุนใหม่ที่นำโดยยูยีน ลี แห่งเอกธนกิจจะเข้าไปทำใน SVI

ตลาดหลักทรัพย์ก็น่าจะรู้เรื่องนี้อย่างดี ความล้มเหลวของหุ้นอิเล็กทรอนิกส์สองตัวนี้ควรทดแทน ด้วยการกำหนดมาตรการที่รัดกุมมากขึ้นในการพิจารณารับหลักทรัพย์ครั้งต่อ ๆ ไป



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.