มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในตลาดธุรกิจการเงิน และตลาดทุนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์ทั่วโลกที่มีสถิติการหมุนเวียนเข้าออก
และการโยกย้ายงานระหว่างบริษัทของบรรดานักการเงินในตลาดกันสูง ยิ่งในตลาดที่กำลังก่อตัวไปสู่การพัฒนาขั้นสูงด้วยแล้ว
การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงานจะสูงมากดังที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้
พวกเอ็มบีเอจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐฯ ทราบดีว่า การเข้าอกและโยกย้ายงานในตลาดธุรกิจของวอลล์สตรีทของพวกเอ็มบีเอเป็นเรื่องปกติ
เพราะเข้าใจดีว่าธรรมชาติของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์มันมีความผันผวนไม่มีอะไรแน่นอน
เมื่อตลาดหุ้นตกต่ำบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ จะประสบปัญหาขาดทุนมาก การปลดเจ้าหน้าที่ออกเพื่อลดต้นทุนก็มักจะตามมาเสมอ
หรือในทางตรงข้ามเมื่อตลาดหุ้นเฟื้องฟู คนที่อยู่ในธุรกิจนี้ทุกคนก็ได้ผลตอบแทนกันมหาศาลสูงกว่าธุรกิจอื่น
ๆ
สัจธรรมข้อนี้พวกเอ็มบีเอซาบซึ้งดี และพร้อมที่จะยอมรับกฎธรรมชาติของธุรกิจในตลาดนี้
ในตลาดที่กำลังพัฒนาอย่างเมืองไทย พวกเอ็มบีเอที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจคอเปอเรทไฟแนนซ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์มีไม่มากนัก
ค่าตัวพวกเอ็มบีเอที่อยู่ในธุรกิจนี้จึงสูงมาก ๆ
การโยกย้ายงานจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุผลค่าตัวเป็นแรงจูงใจสำคัญ
แต่ชัยพัฒน์ สหัสกุล เป็นคนที่ถูกยกเว้นจากเหตุผลนี้
ชัยพัฒน์ สังกัดชีวิตการทำงานของตัวเองอยู่ในธุรกิจการเงินและตลาดทุนมาตลอด
เขาอายุประมาณ 37 ปี จบเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์
นิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อ 4 ปีก่อน
เขาเคยเป็นนักวิจัยผู้ช่วยวีรพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบันสมัยอยู่ที่ทีดีอาร์ไอหรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นเวลานานปีครึ้ง
ก่อนที่จะถูกณรงค์ชัย อัครเศรณีชักชวนมาทำงานเป็นนักวิจัยตลาดทุนที่ไอเอฟซีที
และที่ไอเอฟซีที ชัยพัฒน์ ก็ได้สร้างผลงานที่ฮือฮาให้กับวงการธุรกิจหลักทรัพย์เมื่อสร้างดัชนีซีเอ็มอาร์ไอขึ้นเป็นครั้งแรก
ดัชนีซีเอ็มอาร์ไอ เป็นเครื่องมือวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในตลาดโดยใช้ฐานในการคำนวณที่วอลุ่มของหุ้นที่มีการซื้อขาย
ซึ่งต่างจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้ฐานของปริมาณหุ้นที่จดทะเบียน
ดังนั้นดัชนีซีเอ็มอาร์ไอที่ชัยพัฒน์สร้างขึ้น จึงเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งในการวิเคราะห์และอ่านการเปลี่ยนแปลงสภาพตลาดที่มีการซื้อขาย
นอกจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ บุคคลัภย์และทิสโก้ที่มีอยู่ก่อนแล้ว
ความเป็นนักวิจัยและวิชาการของชัยพัฒน์ก็มาถึงจุดอิ่มตัว เมื่อเขาเริ่มเบื่อหน่ายอยากให้ตลาดการเงินมาองเขาว่าสามารถเป็นนักบริหารที่ดีได้
"ก่อนที่ผมจะมาอยู่ที่มอร์แกนเกรนเฟล ทางอาจารย์อัศวิน ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่แบงก์นครธนก็อยากให้ผมไปทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่แบงก์
แต่ผมก็ปฏิเสธเพราะเบื่อ อยากทำงานบริหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวธุรกิจบ้าง"
ชัยพัฒน์เล่าให้ฟังถึงความต้องการหนีออกจากหน้าที่วิชาการที่เขาทำมาตลอดกว่า
3 ปี ตั้งแต่จบปริญญาเอก
ชัยพัฒน์มาอยู่มอร์แกนเกรนเฟลประเทศไทยตามคำชวนของณรงค์ชัยที่เขานับถือ
ในฐานะอดีตอาจารย์ที่ปรึกษาทำวิทยาพิพนธ์ปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ และความผูกพันตั้งแต่สมัยณรงค์ชัยอยู่ไอเอฟซีทีและทีดีอาร์ไอ
เมื่อณรงค์ชัยมาเป็นประธานกลุ่มบริษัทเครือสุวิทย์และเสรี โอสถานุเคราะห์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟ
และมอร์แกนเกรนเฟลประเทศไทย ก็ดึงชัยพัฒน์มาอยู่ด้วย
มอร์แกน เกรนเฟล ประเทศไทยทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและวาริชธนกิจเป็นเครือข่ายหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิก ของมอร์แกนเกรนเฟลที่ลอนดอน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วเพิ่งถูกดอยซ์แบงก์ของเยอรมนีซื้อกิจการไป
"ธุรกิจประกันการจัดจำหน่ายหุ้นทำไม่ได้เพราะไม่มีใบอนุญาต" ชัยพัฒน์พูดถึงส่วนหนึ่งของข้อจำกัด
ธุรกิจวาณิชธนกิจของมอร์แกนที่ตลาดเมืองไทย
ชัยพัฒน์ทำหน้าที่บริหารฝ่ายคอเปอเรทไฟแนนซ์ที่เพิ่งตั้งขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการและขึ้นตรงต่อณัฐศิลป์
จงสงวน กรรมการผู้จัดการมอร์แกน เกรนเฟลประเทศไทย
ผลงานที่มอร์แกน ชัยพัฒน์เล่าว่าเขาทำดีลทั้งหมด 4 ดีล เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้บรษัท
ยูนิคอร์ด ไทยแลนด์ฟิชเชอรี่ ซันโยยูนิเวอร์แซลและแจีกเจียอุตสาหกรรรมในการนำหุ้นเข้าตลดาหลักทรัพย์น
"มูลค่าหุ้นทั้งหมดของทั้ง 4 บริษัทที่ออกขายหลายพันล้านบาท ใหญ่ที่สุดก็คือ
ยูนิคอร์ดประมาณ 800 ล้านบาท" ชัยพัฒน์เล่าให้ฟังถึงผลงานของเขา
ชัยพัฒน์อยู่กับมอร์แกนเกรนเฟลเกือบ 2 ปี ก็ลาออกมาอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการมารวยผดุงสิทธิ์ บริหารงานฝ่าย ต่างประเทศและการพัฒนาตราสาราหลักทรัพย์ใหม่
ๆ
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรผมามาอยู่ก็เพื่อจะได้มีโอกาสมีส่วนช่วยพัฒนาตลาดฯ
ซึ่งโอกาสกำลังเปิดอยู่ ยิ่งได้ท่านรัฐมนตรีช่วยวีรพงษ์ที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาตลาดหุ้นด้วยแล้วผมก็คิดว่าเป็นโอกานสเหมาะที่จะมาอยู่ตรงนี้"
ชัยพัฒนาพูดถึงเหตุผลที่มาอยู่ตลาดหุ้นทั้งที่เงินเดือนและตำแหน่งต่ำกว่า
คนในวงการรู้กันทั่วไปว่ารายได้ผลตอบแทนที่มอร์แกนย่อมสูงกว่าที่ตลาดหุ้น
คนที่มีประสบการณ์และความรู้อย่างชัยพัฒน์ โดยทั่วไปถ้าติดยึดอยู่ที่แรงจูงใจด้านเงินเดือนและผลตอบแทนเป็นหลักรับรองไม่มีใครมาอยู่
"ผมสามารถหางานในตลาดฯได้ง่ายดาย เมื่อไรก็ได้และเงินเดือนสูง ๆ ด้วยถ้าผมต้องการ"
ชัยพัฒน์ยืนยันถึงปรัชญาการทำงานของเขา
แต่ความที่เขาไม่ต้องการหมกมุ่นอยู่กับงานทางวิชากรมากเกินไปจนภาพในตลาดธุรกิจมองเขาเป็นนักวิชาการมากกว่านักบริหาร
"ตรงนี้ผมกลัวว่าจะเป็นเช่นนั้น"
เพราะจริง ๆ แล้วชัยพัฒน์มาอยู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เพื่อต้องการพิสูจน์ให้ตลาดฯ
รู้ว่าเขาก็สามารถเป็นนักบริหารที่ดีได้ ถ้าต้องการเหมือนกับที่ในอดีตเขาต้องการแสดงให้ตลาดธุรกิจรู้ว่าเขาสามารถเป็นนักวิชาการที่ดีได้
ก็แปลกดีที่คนในตลาดธุรกิจการเงินระดับชั้นมันสมองมีประเภทนี้อยู่