"ดีแทค"มุ่งยึดผู้นำสื่อสารมัลติมีเดีย ประกาศความสำเร็จ"EDGE"รายแรก


ผู้จัดการรายวัน(4 เมษายน 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

"ดีแทค" ประ กาศความเป็นผู้นำการสื่อสารมัลติมีเดีย ผนึกพันธมิตรระดับโลกโนเกีย ก้าวข้ามเทคโนโลยีการสื่อสารไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังประสบความเร็จในการทดลองเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด EDGE บนเครือข่ายของดีแทค มั่นใจการทดลองทั้งระบบจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เปิดทางสู่นวัตกรรมบริการใหม่ๆ บนมือถือได้หลากหลายมากกว่า ด้วยคุณภาพสูงกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่าดีแทคเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี โดย ได้ก้าวข้ามเทคโนโลยีในปัจจบันไปอีกขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีสื่อ สารของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังประสบความสำเร็จจากความร่วมกับโนเกียในการทด ลองเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด EDGE บนเครือข่ายของดีแทค โดยการทดลองทั้งระบบจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนพฤษภาคมนี้

ทั้งนี้ EDGE(Enhanced Data Rate for GSM Evolution) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประ-สิทธิภาพของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยจะเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลกว่า 3 เท่าของระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเปิดทางสู่นวัตกรรมบริการใหม่ๆ บนมือถือได้หลากหลายมาก กว่า ด้วยคุณภาพสูงกว่า เช่น ภาพ ชัดเจน ภายใต้เสียงที่คมชัด

"การทดลองในครั้งนี้ถือเป็น การเตรียมความพร้อมให้กับดีแทค ในการเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประ เทศไทย เมื่อมีความต้องการจากตลาดอย่างชัดเจนและเพียงพอ โดยขณะนี้ดีแทคเป็นผู้ประกอบการรายแรกของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการทดลองเทคโนโลยี EDGE"

ด้านนายคริสเตียน สทรันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โนเกีย เน็ตเวิร์ค กล่าวว่าแนวโน้มในปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่าในปี 2546 กระแสความสนใจในเทคโนโลยี EDGE กำลังมาแรง โอเปอเรเตอร์ จำนวนมากได้เริ่มดำเนินงานในการวางเครือข่ายและทดลองใช้เทคโนโลยี GSM/EDGE ซึ่งในครั้งนี้โนเกียมีความยินดีที่ดีแทคได้แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้ามาสู่มาตรฐานโลกของจีเอสเอ็ม และเชื่อมั่นในเทคโนโลยีของโนเกีย

โนเกียได้นำเทคโนโลยี EDGE ไปดำเนินการให้กับโอเปอ-เรเตอร์แล้วถึง 36 รายใน 23 ประ เทศ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2545 และในปีนี้โนเกียมีแผนงานที่จะทดลองระบบ EDGE อีก 14 ครั้งในทุกทวีปทั่วโลก

นายซิคเว่ กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากความร่วมมือในการทดลองเทคโนโลยี EDGE แล้ว ดีแทคและโนเกียยังได้ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพเครือข่ายและบริการเสริมในหลายโครงการ นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา โดยล่าสุดดีแทคได้วางเครือข่าย GPRS ความเร็วสูง ด้วย เงินลงทุนมากกว่ 500 ล้านบาท และ ดีแทคยังเป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่มีระบบ GPRS ครอบคลุมประชากร 92% ทั่วประเทศ ซึ่งช่วย ให้ผู้ใช้บริการทั้งระบบพรีเพดและโพสต์เพดสามารถใช้บริการเสริมต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

นอกจากนี้ดีแทคและโนเกียยังได้ร่วมกันพัฒนาบริการ MMS และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทาง การไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เทคโนโลยี MMS ช่วยให้ผู้ใช้บริการของดีแทคทั้งประเภทเหมาจ่ายรายเดือนและแบบเติมเงิน สามารถส่งรูปภาพ เสียง และวิดีโอคลิป ไปพร้อมกับข้อความได้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปิดให้บริการ MMS ไปแล้วมีจำนวนผู้ใช้ MMS ของดีแทคเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนข้อความ MMS ที่ส่งผ่านระบบ ดีแทคเพิ่มขึ้นจากวันละประมาณ 1,000 ข้อความในเดือนกุมภาพันธ์เป็นมากกว่า 2,000 ข้อความในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูง ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับความร่วมมือต่อไประหว่างดีแทคและโนเกียคือการ สาธิตวิธีการใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับบริการ MMS แก่ผู้ใช้บริการทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นการใช้ MMS ของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เอไอเอสขยาย GPRS

ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งวันกลุ่มสารสนเทศและการสื่อสารเคลื่อนที่ บริษัท ซีเมนส์ จำกัด หรือ ซีเมนส์ โมบาย เปิดเผยว่าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เลือกซีเมนส์เป็นผู้ดูแลด้านเครือข่ายจีพีอาร์เอส (General Packet Radio Service-GPRS) โดยซีเมนส์ โมบายจะเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับบริการระบบจีพีอาร์เอสให้กับเครือข่ายจีเอสเอ็มของเอไอเอส

ทั้งนี้ซีเมนส์ โมบาย จะทำ การติดตั้งเทคโนโลยีจีพีอาร์เอสให้กับเครือข่ายไร้สายระบบจีเอสเอ็ม 900 และระบบอื่นๆ ที่มีอยู่ของ เอไอเอสในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

โซลูชั่นจีพีอาร์เอสประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายต่างๆ อาทิ SGSN (Serving GPRS Support Node) และ GGSN (Gateway GPRS Support Node), Switch Commander, เกทเวย์ และระบบไฟร์วอลล์ (Fire wall) รวมถึงซอฟต์แวร์ที่อัพเกรดสำหรับเครือข่ายระบบสวิตชิ่ง

การติดตั้งโซลูชั่นดังกล่าวนี้จะช่วยให้เอไอเอสสามารถนำเสนอ บริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้มากยิ่ง ขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตที่มีความ เร็วสูงขึ้น บริการด้านมัลติมีเดีย แมสเซจจิ้ง (Multimedia Mes-saging - MMS) และ WAP แอปพลิเคชั่นที่หลากหลาย (Wireless Application Protocol) เป็นต้น เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนี้ คาดว่าจะให้บริการได้ทั่วประเทศประมาณต้นเดือนเมษายนนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.