ปัจจุบันบรรดา บลจ.เริ่มทยอยออกกองทุนใหม่ เพื่อยั่วน้ำลายนักลงทุน ที่ชอบความเสี่ยงสูง
โดยเฉพาะกองทุนหุ้นทุน (equity fund) โดยอาศัยตลาดหุ้น เริ่มฟื้นตัว และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากตกต่ำ
เช่นเดียวกันสำหรับนักลงทุน ที่นิยมความเสี่ยงต่ำๆ นี่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ในการเข้าลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
(fixed-income fund) แม้จะไม่คึกคักเหมือนกองทุนหุ้นทุน
การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ บลจ.กรุงไทย ภายใต้เวลา ที่เหมาะสม พร้อมเสนอสินค้า ที่ฉีกแนวจากบลจ.อื่นๆ
ดูเหมือนจะได้รับความสนใจดีพอ สมควร แม้ว่าบลจ.กรุงไทยจะไม่ใช่น้องใหม่ในวงการก็ตาม
หลังจากธนาคารกรุงไทยได้ควบรวมกิจการของธนาคารมหานครเมื่อปี 2541 ก็ได้
บลจ.มหานครไว้ด้วย ณ จุดนั้น ธนาคารเล็งเห็นโอกาสการดำเนินธุรกิจกองทุนรวมว่ามีความเป็นไปได้ถึงศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต
และยังขยายฐานไปยังนักลงทุนรายย่อยได้มาก
ดังนั้น ธนาคารจึงเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นเดิมของบลจ. มหานคร 100%
(ธนาคารมหานครถือ 25%, อินโดแคม ฮ่องกง 5%, บงล.มหาธนกิจ 10%, บงล.ธนไทย
10%, บงล.ธนนคร 10%, อินทรประกันภัย 10% และอินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต
10%) โดยใช้เม็ดเงิน ประมาณ 100 ล้านบาท แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ และเพิ่มทุนเข้าไปอีก
100 ล้านบาท เมื่อปลาย ปี 2542 ยังผลให้บลจ.กรุงไทย มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น
200 ล้านบาท
แม่ทัพการดำเนินธุรกิจของบลจ. กรุงไทย คือ วิเชฐ ตันติวานิช ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร
ในอดีตเขาทำหน้าที่ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บลจ.กสิกรไทย ระหว่างปี 2535-2537
จากนั้น เข้าไป จับงานใน บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
เมื่อปลายปี 2537 อีก 2 ปีถัดมากลับมา ที่ บลจ. กสิกรไทยอีกครั้งในฐานะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
และกลางปี 2542 เข้ามาจัดวางโครงสร้าง และ ระบบการทำงานใน บลจ.กรุงไทย
ภารกิจหลักของวิเชฐ คือ การ ทำกองทุนรวมให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากภายใต้การแข่งขัน ที่รุนแรง
ในอุตสาหกรรมกองทุนรวมขณะนี้
"เรามีปรัชญาการทำธุรกิจ 4 ข้อ คือ ทำตามนโยบายของแบงก์กรุงไทย
ประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน ตัวแทนขาย และตัวบริษัท การพัฒนาองค์กรทุกรูปแบบ
และพยายามทำให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น อย่างน้อยในเรื่องการเงิน และการลงทุน"
วิเชฐ กล่าวถึงภาระหน้าที่สำคัญ
ยุทธศาสตร์ของวิเชฐในการดำเนินธุรกิจครั้งนี้ จะใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็นบทเรียน
เพราะ ที่ผ่านมาธุรกิจกองทุนรวมเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ตลาดหุ้นบูม ทำให้มองว่าการเติบโตของกองทุนรวม
"เกิดผิด ที่" นั่นคือ เกิดกับตลาดหุ้นก่อน และนักลงทุนได้ผลตอบแทนกันมาก
ขณะที่กองทุนรวมแต่ละแห่งต่างฉวยโอกาส "น้ำขึ้นให้รีบตัก"
นี่เป็นการมองอดีตแล้วนำมาผสมผสานกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจขอ งบลจ.กรุงไทย
ทำให้วิเชฐอยากเข้ามากอบกู้ชื่อเสียงธุรกิจกองทุนรวมอีกครั้ง พร้อมทั้งหาคำตอบว่าจะทำอย่างไร ที่ช่วยให้นักลงทุนมีฐานะทางการเงิน และการลงทุนในระยะยาวได้มากขึ้น
ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการออกแบบสินค้าให้ฉีกแนวต่างจากคู่แข่ง
โดยการเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงไทย เพื่อวัยศึกษา และกองทุนเปิด กรุงไทย เพื่อวัยเกษียณ
มูลค่าโครงการละ 5,000 ล้านบาท
"เชื่อว่าการสร้างสินค้าออกมาจะทำให้ลูกค้าเข้าใจตรงกับ ที่เราเสนอก่อน ที่จะเข้ามาลงทุน
ซึ่งลำบากมากแต่นั่นคือ สิ่งสำคัญ ที่เราต้องทำ" วิเชฐกล่าว
แม้ว่านโยบายการลงทุนจะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่บลจ.กรุงไทยพยายามเน้นให้นักลงทุนดูถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมว่านำเงินไปลงทุน ที่ไหน
จะทำให้นักลงทุนได้คิด และมีเป้าหมายก่อนลงทุน การดำเนินการเช่นนี้วิเชฐถือว่าเป็นรูปแบบใหม่
"เพราะ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันถ้าคิดจะลงทุนกับกองทุนรวมประกันชีวิตหรือเงินฝากมักจะไม่มีเป้าหมายว่าจะนำไปทำอะไร
คิดแต่อยากได้เงินเพิ่มขึ้นเท่านั้น "
ความมุ่งมั่นของการออกกองทุนรูปแบบนี้ เพื่อให้คนไทยทั้ง ที่เป็นนักลงทุนหรือยังไม่เป็นนักลงทุนตั้งเป้าหมายว่าจะนำเงินของตนเองหารายได้มาไป
ใช้ทำอะไรในอนาคต เป็นจำนวนเท่าใดให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยเก็บสะสมลง ทุนผ่านกองทุนรวมบลจ.กรุงไทยในระยะยาว
ดังนั้น กองทุนรวมภายใต้ โครงการจะเป็นกองทุน ที่ออกแบบเป็นพิเศษให้เหมาะกับการใช้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก
จนวัยชรา หรือ ที่เรียกว่า Lifestyle Investment
แรงผลักดัน ที่ทำให้บลจ.กรุงไทย ออกกองทุนลักษณะนี้ คือ ความแตกต่างของคนในการใช้เงินแต่ละช่วงชีวิต
"เราจึงสะดุดไอเดียตรงนี้ ว่าถ้าเกิดสินค้าของเราสามารถ ที่จะอยู่คู่กับการใช้ชีวิตของคนตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิตก็น่าจะดี"
ด้านกลยุทธ์การลงทุนของบลจ. กรุงไทย เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจหรือลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีหรือเงินฝาก
โดยไม่ลงทุนในหุ้นเลย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทน ที่เหมาะสม
เนื่องจากทราบดีว่านักลงทุนต้อง การความมั่นคง และยอมรับความเสี่ยงน้อยสำหรับการวางเป้าหมายอนาคตไว้ ที่การศึกษาของบุตรหลาน
หรือเป้าหมายอนาคตหลังวัยเกษียณ
อีกทั้งนักลงทุนสามารถประมาณการค่าเล่าเรียนหรือประมาณการค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ เพื่อวางแผนลงทุน
ได้ก่อนตัดสินใจลงทุน "ดังนั้น ถ้านักลงทุนจะคบกับเราจะต้องรู้ว่าตนเองมีเป้าหมายอะไร
และตนเองเป็นนักลงทุนประเภทไหนก่อน"
ส่วนผลตอบแทนวิเชฐตอบสั้นๆ ว่า "สูงกว่าอัตราเงินฝาก"
คาดว่าจะมีผลตอบแทนอยู่ระดับเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ทั่ว
ๆ ไป
สำหรับความหวัง ที่นักลงทุนจะเข้ามาซื้อหน่วยลงทุน วิเชฐตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้ประมาณ
10,000 คน เนื่องจากเป็นเวลา ที่เหมาะสมในการออกกองทุน กฎ เกณฑ์ของทางการเปิดกว้าง และสนับสนุนให้มีการลงทุนแบบระยะยาว
สินค้า และรูปแบบการลงทุนมีมากขึ้น ที่สำคัญเครือข่ายของบลจ.กรุงไทย ที่จะ
ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมีมากที่สุดในประเทศ นั่นคือ การขายหน่วยลงทุน ผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทย ที่มีอยู่กว่า
500 แห่งทั่วประเ ทศ
ตัวเลข ที่ตั้งเป้าไว้แม้ว่าจะดูไม่มากมายอะไร แต่เป็นเพราะการมองเห็นถึงการฟื้นตัวของธุรกิจกองทุนรวม ที่เป็นไปตามเศรษฐกิจโดยรวม
แต่ปัจจัย สำคัญคือ ความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อธุรกิจกองทุนรวม ปัจจุบันกองทุน
รวมหลายแห่งกำลังพยายามเรียกสิ่งนี้กลับมา
อย่างไรก็ตามวิเชฐยังมองโลกในแง่ดีโดยใช้ทฤษฎีเข้ามาประกอบว่าตั้ง แต่นี้เป็นต้นไปนักลงทุนรายย่อยจะเข้าไปลงทุนด้วยตนเอง
"แทบจะเป็นไปไม่ได้" เพราะความซับซ้อน ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ความรวดเร็ว
ความเข้าใจที่ดี และมี เม็ดเงินขนาดใหญ่ถึงจะทำอะไรแล้ว "ชนะ"
"ถ้าเรียกศรัทธากลับมาได้เร็วเท่าไหร่ และทำธุรกิจด้วยจรรยาบรรณธุรกิจ
จะฟื้นตัวเร็ว เพราะว่าในทางทฤษฎี และปฏิบัติธุรกิจบลจ.จะเป็นตัวเชื่อมที่ดี ที่
สุดสำหรับรายย่อย ที่จะเข้ามีบทบาทหรือมีโอกาสรับผลตอบแทนเหมือนกับ รายใหญ่ๆ
ได้ จะต้องผ่านพวกเราเท่านั้น "