ห้องทำงานที่ตกแต่งด้วยสไตล์เรียบง่าย แต่แฝงศิลปะ ที่ถูกเลือกสรรอย่างดี บนชั้น 15 ของอาคารสเตท ทาวเวอร์ ดูจะเข้ากันได้ดีกับเครื่องโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ของแมคอินทอช ที่อยู่เบื้องหน้าของหญิงสาวผู้นี้
"ผู้จัดการ" พบรัฐวดี บัวเลิศ ในช่วง เช้าของวันทำงานปลายเดือนกุมภาพันธ์
หญิงสาวร่างเล็ก หน้าใส วัยไม่เกิน 30 ปี บุคลิกที่เรียบง่าย ใบหน้าไร้เครื่องสำอาง
ดูจะตรงกันข้ามกับภาระอันหนักอึ้งที่เธอรับผิดชอบอยู่ทุกวันนี้
ด้วยความที่เป็นทายาทเพียงคน เดียว เธอถูกวางตัวสืบทอดกิจการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ต่อจากราศี บัวเลิศ ผู้เป็น แม่ ที่ริเริ่มธุรกิจนี้เมื่อหลายปีมาแล้ว
หลังเรียนจบปริญญาตรี จาก BSC Management Studies Royal Holloway, University
of London รัฐวดี เริ่มงานแรก ที่บริษัทแชลเลนจ์ พรอพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ในปี
2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ จึงเป็นช่วงที่เธอได้เรียนรู้การทำงานอย่างเต็มที่
เธอใช้เวลา 5 ปีเต็มในการเรียนรู้ ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของกลุ่ม
จนกระทั่งต้นปี 2546 เธอได้ขึ้นเป็นกรรมการผู้อำนวยการ แชลเลนจ์ พรอพเพอร์ตี้
กรุ๊ป อย่างเต็มตัว
โครงการ State Tower อาคารสูง 68 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 330,000 ตารางเมตร
โครงการยิ่งรวยนิเวศน์ และโรยัล ปาร์ค วิลล์ 3 โครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่ม
คือความรับผิดชอบของเธอ
บุคลิกกระฉับกระเฉงเต็มไปด้วยไฟของการทำงานของคนรุ่นใหม่ของรัฐวดี ไม่เพียงแต่ริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ
มาใช้ในการ บริหารงาน ความสนใจในเรื่องของข้อมูล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเป็นพิเศษ
ตั้งแต่สมัยเรียน ทำให้เธอริเริ่มนำระบบ ไอทีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มแชลแลนจ์อย่างจริงจัง
"สนใจมาตั้งแต่เรียนแล้ว ถ้ามีคอร์ส เกี่ยวกับไอทีจะลงเรียนตลอด พอมาทำธุรกิจยิ่งต้องใช้มากขึ้น
ผู้นำการตลาดของธุรกิจนี้ เขาใช้ไอทีเป็นหัวใจ ในแง่ของเรายังเป็นจุดเริ่มต้น
แต่มันเป็นกลยุทธ์หลักของเรา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ข้อมูลสำคัญขนาดไหน คนที่รู้มากเท่านั้นจะได้เปรียบคนอื่น"
เธอบอกถึงความเข้าใจและเห็นถึงการใช้ข้อมูล
จากองค์กรธุรกิจที่ห่างไกลกับการใช้ระบบไอที คอมพิวเตอร์มีไว้ใช้งานแค่แผนก
บัญชีการเงิน การใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากไปกว่าเพิ่มความสะดวกแทนการบันทึกด้วยมือ
แม้จะมีอินเทอร์เน็ตใช้งาน แต่เป็น eMail แทนการใช้โทรศัพท์ทาง ไกล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับต่างประเทศ
แชลเลนจ์ กรุ๊ป ในยุคของเธอจึงเป็นยุคการริเริ่มการลงทุนด้านไอทีอย่างแท้จริง
ซึ่งเธอได้รับไฟเขียวจากผู้เป็นแม่อย่างเต็มที่ แผนกไอทีถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับกับการนำไอทีมาใช้สร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในธุรกิจอย่างจริงจัง
งานแรกของเธอ เริ่มต้นด้วยการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อแชร์ข้อมูล ลดการใช้กระดาษ
และเอกสารลงใบประกาศต่างๆ ที่มีต่อเนื่อง จากฝ่าย นิติบุคคล อาคารชุด ฝ่ายก่อสร้าง
และ memo ถูกแทนที่ด้วยระบบอิเล็ก ทรอนิกส์ ผ่านเครือข่าย LAN เพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยให้กับผู้บริหาร ความจำเป็น ที่มองข้ามไม่ได้ในการสร้างฐานข้อมูล
คือ การออกแบบฐานโปรแกรม จึงต้อง เน้นที่ความสะดวกและง่ายในการใช้เรียกดูข้อมูลได้ง่ายที่สุด
"อย่างคุณแม่ บอกว่าใช้ mouse ใช้แล้วปวดหัว เราต้องหาโปรแกรมที่ทำให้
เขาใช้ง่ายๆ ต้องคำนึงถึงผู้ใหญ่ด้วย"
ลำดับต่อไปคือ การสร้างฐานข้อมูล รวมของโครงการโดยการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์
ทั้งที่เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรยิ่งรวยนิเวศน์ โครงการโรยัล ปาร์ค วิลล์
ที่แยกกันอยู่คนละสถานที่ เชื่อมโยงฐานด้านการขายที่เกิดขึ้นจริงเข้ากับเครือข่ายข้อมูล
ที่สำนักงานใหญ่ บนโครงการ State Tower บนถนนสีลม
ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้บริหารจะเรียกดูข้อมูลของโครงการหมู่บ้านยิ่งรวย
ไม่ว่าจะเป็นรายงานการขาย รายงานโอนบ้านที่ ขายแล้ว รายงานคนที่เข้ามาเยี่ยมโครงการ
รวมทั้งรายงานการก่อสร้าง โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ site งานโดยตรง
"ตรงนี้ช่วยได้มาก ในกรณีที่ผู้บริหารต้องดูหลายๆ โครงการ เขาจะเรียก ดูความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา
ไม่ต้องเข้าไปที่ site งานเองทุกวัน" รัฐวดีบอกถึงข้อดี
แต่การลงทุนด้านไอทีที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ และใช้ประโยชน์สูงสุดสำหรับ เธอ
กลับไปอยู่ที่การติดตั้งระบบ Customer Relation Management หรือ CRM สำหรับรัฐวดีแล้ว
นี่คือหัวใจของการทำธุรกิจในยุคใหม่ ที่ต้องนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจในยุคนี้
ที่ต้องอาศัยความเร็วในการตัดสินใจ ยังเป็น เครื่องมือที่เธอเชื่อว่าเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
"ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเรามีสินค้าตรงใจเขาหรือเปล่า
ถ้าเรามีสินค้าโดนใจเขา ไม่มี เหตุผลอะไรที่เขาจะไม่ซื้อ วันนี้เราขอก้าวไปทีละขั้น
ต้องปูรากฐานให้แน่นก่อน จากนั้นจะก้าวไปถึงไหนก็ไม่มีปัญหา" รัฐวดีบอกความมุ่งมั่น
ระบบ CRM ไม่ใช่แค่การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการสร้างฐานข้อมูลของลูกค้าที่นำมาประมวล ผลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการตลาด
การปรับปรุง และสร้างสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภค
ในแง่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ข้อมูลที่จัดเก็บจะมาจาก 2 ทาง ทางแรก คือ
จากแบบสอบถามลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นที่มาของการวิเคราะห์เบื้องต้นว่า
พนักงานขายโครงการ คนที่เยี่ยมชมและจำนวนของลูกค้าซื้อโครงการ คิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด
ข้อมูลชุดที่สอง มาจากลูกค้าพักอาศัยในหมู่บ้านหรือโครงการ โดยข้อมูลจากส่วนนี้จะได้จากคำร้อง
คำติ คำชม ปัญหาต่างๆ ที่เขาได้รับ
ฐานข้อมูลเหล่านี้ บวกผสมกับข้อมูล ที่ได้จากศูนย์รับร้องทุกข์ทางโทรศัพท์
hotline ที่มีให้ลูกค้าของโครงการที่ใช้โทรเข้ามาร้องเรียน จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบ
CRM ที่นำมาประมวลผลเพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและปรับปรุงโครงการให้ตรงใจลูกค้า
"บางครั้งการตัดสินใจของผู้บริหาร ก็อาจไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
เพราะไม่ว่าจะเป็นอายุ และรายได้ที่แตกต่างไปจากลูกค้า ทำให้เราเข้าไม่ถึงความต้องการจริงๆ
ของเขา ถ้าเราตัดสินใจจากผู้บริหารอย่างเดียว แต่ถ้าเรามีข้อมูลของลูกค้ามา
backup มีระบบประมวลออกมาว่า นี่คือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นแนวทางในการที่เราจะสร้างบ้าน
หรือประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของเขา" รัฐวดีบอก
แม้ว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์ด้วยกัน การใช้ไอทีของกลุ่มแชลแลนจ์
กรุ๊ป ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่เป็นการเริ่มต้นที่มาจากความเข้าใจ และผ่านการเรียนรู้มาแล้วระดับหนึ่ง
ในแต่ละวัน รัฐวดีจะใช้เวลาช่วงเช้าก่อนลงมือทำงาน เริ่มท่องอินเทอร์เน็ต
ค้นหาข้อมูล ติดตามข่าวสารทั่วไป เว็บไซต์ ของสำนักงานข่าวทั้งในและต่างประเทศ
ที่เธอ bookmark เอาไว้
"โดยเฉพาะเว็บไซต์ของคู่แข่งเข้าไป ดูทุกวัน" เธอบอกอย่างอารมณ์ดี และที่ขาดไม่ได้
คือ เว็บไซต์ อุปกรณ์ไอที และรถยนต์ที่เธอชื่นชอบเป็นพิเศษ
เครื่องปาล์ม V อุปกรณ์ประจำตัวมีไว้ช่วยในเรื่องของการนัดหมาย นอกจาก
เครื่องพีซี เพนเทียม 3 ความจุ 1 กิ๊กกะไบต์ บนโต๊ะของเธอ ที่เธอบอกว่าใช้มานานแล้ว
แต่ยังไม่คิดจะเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ โนเกีย รุ่น 6610 ล่าสุด ที่มีสปีกเกอร์โฟน
ไว้ใช้ งานบนโต๊ะทำงาน เพื่อทำงานไปด้วยรับสายโทรศัพท์ไปด้วย
อุปกรณ์ไอทีชิ้นล่าสุด ที่เธอกำลังสนใจเป็นพิเศษในเวลานี้ คือ โน้ตบุ๊คคอม
พิวเตอร์ power book G4 รุ่นล่าสุดของแมคอินทอช ที่เธอซื้อมาเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับงานกราฟิกดีไซน์
เพื่อใช้เป็นส่วน หนึ่งของการปรับปรุงเว็บไซต์ www.chal-lenge.co.th ที่เธอดูแลด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด
เพราะเห็นประโยชน์จากเว็บไซต์ เป็นสื่อไปถึงลูกค้า
"โบรชัวร์ ถ้าหนา ลูกค้าก็ไม่อ่าน นอกจากค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ให้ข้อมูลมากๆ
ก็ไม่ได้ จ้างเซลส์มาพูดกับลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงก็ไม่ได้ แต่เว็บไซต์ดูได้ตลอดเวลา"
เป้าหมายของเธอ จึงเป็นการปรับปรุง web site เดิมที่เน้นการให้ข้อมูล เพียงอย่างเดียว
พัฒนาให้มีความเป็น interactive เพื่อตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น
"มีการคำนวณเชื่อมโยงไปถึงธนาคารที่จะอนุมัติในเรื่องของเงินกู้ เบื้องต้น
เรียกว่าเป็น one stop ให้กับลูกค้า" รัฐวดีบอกถึงเป้าหมาย
กระเป๋าทำงานข้างกายเธอที่ต้องหอบหิ้วมาทุกวัน จึงเป็นกระเป๋าสีดำใบใหญ่
ที่มีล้อลาก ภายในนอกจากบรรจุด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค แมคอินทอช
G4 รุ่น ล่าสุดแล้ว ยังเป็นที่ใช้เก็บกล้องวิดีโอ กล้อง ถ่ายรูป และอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ
ที่เธอหอบหิ้วไปด้วยเสมอ เพื่อเก็บภาพต่างๆ ที่เธอพบเห็นตามที่ต่างๆ
ยามว่างในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ห้างสรรพสินค้าที่เธอแวะเวียนไปเป็นประจำ
จึงไม่ใช่แหล่งรวมเสื้อผ้าแฟชั่นระดับหรู แต่เป็นห้างสรรพสินค้าไอที แหล่งรวมอุปกรณ์
แม้ว่าจะไม่ได้ซื้ออุปกรณ์สักชิ้นก็ตาม
รัฐวดี จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่สะท้อนความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของการ
นำข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจในโลกอินเทอร์เน็ตที่เธอคุ้นเคยเป็นอย่างดี