ชื่อ : สัญญาณการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ


นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ภาวะเศรษฐกิจ ที่ล่มสลายลง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากในโครงสร้างภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ร่วมทุนรายใหม่

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศ สัญญาณของการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญคือ การเปลี่ยนชื่อบริษัท ซึ่งเป็น การบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างผู้ถือหุ้น ตลอดจนทิศทาง และลักษณะธุรกิจ

สัญญาณดังกล่าว ได้เริ่มปรากฏ ขึ้นตั้งแต่ปี 2541 หลังจากมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเพียง 5 เดือน และเริ่มมีมากขึ้นอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา

จากการรวบรวมข้อมูลของ "ผู้จัดการ? เฉพาะบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีบริษัท ที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่ออย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 13 บริษัท ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงิน

เหตุผลการเปลี่ยนแปลงชื่อของแต่ละบริษัท เกือบทุกแห่งจะคล้ายคลึงกัน คือ มีผู้ร่วมทุนรายใหม่ หรือมีการปรับเปลี่ยนทิศทางของธุรกิจ

ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะธนาคาร ที่มีการเปลี่ยนชื่อทั้ง 3 แห่ง คือ ธนาคารไทยทนุ ธนาคารนครธน และธนาคารรัตนสิน เกิดขึ้นจากการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่เข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น

กลุ่มสถาบันการเงิน นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากนโยบายแยกบริษัทเงินทุนออกจากบริษัทหลักทรัพย์ ของแบงก์ชาติ ที่มีการปฏิบัติตามกันมาแล้วหลายแห่ง

จะมีแปลกแยกออกไปบ้างก็คือ กรณีของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ที่ต้อง การสร้างภาพพจน์ใหม่ให้เป็นสากลขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทลูกคือ ชินแซทเทล ไลท์ต้องมีการเปลี่ยนชื่อตาม

ที่น่าสนใจคือ กรณีของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร และเอฟซีบี โฮล- ดิ้ง ที่เป็นการเปลี่ยนชื่อเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวโน้ม ที่จะเกิดขึ้นอีกมากกับบริษัทอื่นๆ ในอนาคต (รายละเอียดการเปลี่ยนชื่อบริษัทดูในตาราง)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.