ส่งแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ เจ้าหนี้-รัฐบาลไทยโล่งอก


นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

กลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย (ทีพีไอ) และเจ้าหนี้ของบริษัทได้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ และปรับโครงสร้างหนี้ ราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ต่อศาลล้มละลาย นับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ ปัญหาหนี้สิน ที่ยืดเยื้อมากว่าสองปี และยังเป็นการสะสางปัญหาเงินกู้ ที่ไม่ก่อราย ได้ครั้งใหญ่ที่สุดของไทยด้วย

การลงนามข้อตกลงระหว่างทีพีไอ และเจ้าหนี้บรรลุผล อย่างรวบรัด โดยไม่แถลงข่าวใดๆ นอกจากออกแถลงการณ์ ร่วม ที่ระบุว่าแผนการดังกล่าว "เป็นแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการที่จะฟื้นฟูกิจการทีพีไอให้ มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง" แต่กว่า ที่จะบรรลุข้อตกลงตามเส้นตายวันที่ 17 มกราคมได้ผู้เกี่ยวข้องต้องประชุมกันหลายต่อหลายรอบ รวมทั้งมีการประชุมผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ถึงวันละสามครั้ง เนื่องจากเจ้าหนี้ต่างวิตกกังวลว่าข้อตกลงจะล้มเหลวซ้ำรอยเหมือนเมื่อ 11 เดือนก่อน

แผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอไม่ได้ทำให้เจ้าหนี้โล่งอกเท่านั้น รัฐบาลไทยเองก็คลายความกังวลเช่นกัน เพราะ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ต้องการให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดสัดส่วนของเงินกู้ ที่ไม่ก่อรายได้ลง จากเดิม ที่สูงถึง 43 % ของ ยอดเงินกู้ของสถาบันการเงิน อีกทั้งบรรดาผู้บริหารกองทุนต่างๆ ก็จับตา อย่างใกล้ชิด เพราะข้อตกลงนี้จะเป็นมาตรวัดความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินของไทยด้วย

ข้อตกลงนี้ยังเป็น "สัญญาณใน ทางที่ดี" ในสายตาของเคนเนธ อึ๊ง หัว หน้าฝ่ายวิจัยของไอเอ็นจี แบริ่ง ซีเคียวริตี้ส์ (ประเทศไทย) (ING Bearing Securities Thailand) แต่เขาก็ทิ้งท้ายว่า "เรื่องนี้มันนานมากแล้ว แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าจะลงเอยเพียงแค่นี้"

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของทีพีไอ เพราะทันที ที่บรรลุข้อตกลง ราคาหุ้นของธนาคารกรุงเทพก็ขยับขี้น 3.3% ส่วนในกระดานต่างประเทศก็ขยับขึ้น 6.8%

ทีพีไอลงนามในข้อตกลงร่วมกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ 12 รายที่เป็นเจ้าหนี้รวม 68% ของมูลหนี้ทั้งหมด ที่สูงถึง 3.478 พันล้านดอลลาร์ (ราว 3.2 พันล้านดอลลาร์เป็นส่วนของเงินต้น และราว 300 ล้านดอลลาร์เป็น ดอกเบี้ย ที่พอกพูนขึ้นมา) ยอดหนี้ทั้งหมดของทีพีไอ คิดเป็น 5% ของยอด เงินกู้ ที่ไม่ก่อรายได้ ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจไทย

เจ้าหนี้ของทีพีไอนอกจากจะมีธนาคารกรุงเทพแล้ว ยังมีบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ-ไอเอฟซี (International Finance Corp.) ธนาคารส่งออก และนำเข้าสหรัฐอเมริกา (U.S. Export-Import Bank) ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank America Corp.) และซิตี้แบงก์ (Citibank)

ทั้งนี้ ศาลล้มละลายอนุญาตให้คัดค้านแผนฟื้นฟูดังกล่าวภายในระยะ เวลา 30 วัน หลังจากนั้น จะนำแผนการดังกล่าวออกปฏิบัติได้ในเดือนมิถุนายนปีนี้

ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีระยะเวลาห้าปี จะมีการปรับลดหนี้ลงด้วยการ แปลงส่วนของการชำระดอกเบี้ยจำนวนหนึ่งเป็นทุน โดยให้เจ้าหนี้เข้าถือหุ้น ของบริษัทเป็นสัดส่วน 30% นอกจากนั้น ทีพีไอยังต้องชำระเงินต้นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้ และชำระเงินต้นอีก 500 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2002

นอกจากนั้น ผู้บริหารจำนวนหนึ่งของทีพีไอจะเป็นผู้ดูแลการดำเนินงานตามแผน ส่วนประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือ ทีพีไอ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการ จะเป็นผู้บริหารกิจการประจำวันเท่านั้น

นักวิเคราะห์ชี้ว่า แม้สาระส่วนใหญ่ของแผนการฟื้นฟูกิจการจะไม่แตก ต่างจากแผนการฟื้นฟู ที่เคยมีทีท่าว่าจะบรรลุข้อตกลงได้ตั้ง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แต่ครั้งนี้ต้องนับว่า "เป็นชัยชนะของฝ่ายเจ้าหนี้มากกว่าฝ่ายลูกหนี้" เนื่องจากรายละเอียดในข้อตกลงยอมให้เจ้าหนี้เข้าควบคุมกิจการทีพีไอ ได้หากทีพีไอบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟื้นฟูกิจการ และยังเปิด โอกาสให้ฝ่ายเจ้าหนี้แก้ไขเนื้อหาข้อตกลงได้ด้วย

ส่วนสาเหตุที่ทีพีไอต้องยอมลงนามในข้อตกลงก็เพราะฝ่ายเจ้าหนี้ได้ เตือนว่าจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลล้มละลายทันที หากทีพีไอไม่ยอมลงนามตามกำหนด และก่อนหน้านี้ ในเดือนธันวาคม ทีพีไอ!ได้จัดทำแผนเพิ่ม ทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปลดหนี้ โดยติดต่อกับวาณิชธนกิจหลายแห่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวก็ ไม่เห็นด้วย เพราะแผนการออกหุ้น ใหม่นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขรายละเอียดในแผนฟื้นฟูกิจการใน ประเด็นการผิดสัญญา และการจัดสรรการควบคุมเงินสดหมุนเวียนของทีพีไอภาย ใต้การดูแลของเจ้าหนี้ด้วย

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กล่าวว่า บริษัทไม่ได้ตั้งใจ ที่จะชะลอการลงนามข้อตกลงดังกล่าว และว่าฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ไว้วางใจเขาก็เพราะต้องการเข้าควบคุมกิจการเสียเอง เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขาดว่าจะพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนหลังจาก ที่ทีพีไอลงนามในข้อตกลงแล้วเท่านั้น

ทั้งหมดนี้จึงยังรอให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้เจรจาตกลงกันต่อไป การสะสางหนี้ทีพีไอจึงอาจไม่จบด้วยข้อตกลงล่าสุดนี้เท่านั้น (The Asian Wallstreet Journal 17-18 January 2000)



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.