ในช่วงปลายปี 1997 ต่อกับปี 1998 ภาวะเศรษฐกิจของเอเชีย กำลังตกต่ำถึงขีดสุด
และเป็นเวลาเดียวกับ ที่เอ็นเอสเอ็มกำลังขาดเงินทุน ดำเนินการสำหรับโรงงานแห่งใหม่พอดี
ขณะเดียวกัน จอร์จ โซรอส นักเก็งกำไรระดับโลกก็ได้เล็งหาเหยื่อรายใหม่ และเขาก็เลือกเอ็นเอสเอ็มเมื่อสบโอกาส
โซรอสร่วมมือกับบริษัทประกันชีวิต "จอห์นแฮนคอค" บริษัทด้านพลังงาน
"เอ็นรอน" (Enron) และ "สตีล ไดนามิคส์" (Steel Dynamics)
ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กกล้าจากอินเดียนา อัดฉีดเงิน 50 ล้านดอลลาร์ให้เอ็นเอสเอ็มออกหุ้น
สามัญใหม่ โดยที่ ที่ปรึกษาด้านการเงินของเอ็นเอสเอ็มในขณะนั้น คือ "แมคโดนัลด์
แอนด์ โค.ซีเคียวริตี้ส์" (McDonald & Co. Securities) แห่งโอไฮโอ
ช่วยระดมเงินอีก 450 ล้านดอลลาร์ในรูปของหนี้ ที่มีความเสี่ยงสูง ( และอีก
150 ล้านดอลลาร์จาก Banque Nationale de Paris) ทั้งนี้ สตีล ไดนามิคส์ เข้ามาดูแลด้านการบริหารงานรายวันของเอ็นเอสเอ็ม
การปรับโครงสร้างทุนเป็นที่กล่าวถึงอย่างชื่นชมว่าเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจในเอเชียตะวันออก
หนังสือพิมพ์ The Nation ยกให้เป็น "การจับคู่ ที่ยอดเยี่ยม" แต่แล้วอีกสองสามเดือนให้หลังโซรอสก็ตีจากไปอย่างเงียบเชียบ
เมื่อบรรลุข้อตกลงทั้งหมดแล้ว
ต้องนับว่าโซรอสจากไปอย่างชาญฉลาดทีเดียวเพราะในวันที่ 1 สิงหาคม 1998 เอ็นเอสเอ็มก็ไม่สามารถชำระหนี้จังค์บอนด์ได้
จนสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ประกาศจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม "D" และพันธบัตรจังค์บอนด์ของเอ็นเอสเอ็มยังมีมูลค่าการซื้อขายในเดือนมกราคมอยู่ ที่
15 เซ็นต์จากราคาดอลลาร์ ที่ตราไว้หน้าตั๋ว
วันที่ 31 ธันวาคม 1998 สตีล ไดนามิคส์ ก็บอกเลิกสัญญาการเข้าบริหารกิจการกับเอ็นเอสเอ็ม
ตามมาด้วยการที่นักลงทุนหลายต่อหลายราย ยื่นฟ้องอันเดอร์ไรเตอร์ของเอ็นเอสเอ็ม
(มี GleacherNat West, McDonald & Co., PainWebber และ ECT Securities)
ว่าฉ้อโกง
คำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้นกันแน่ นักลงทุนใหม่ๆ ประเมินภาวะวิกฤติทางการเงินในเอเชียตะวันออกต่ำเกินไป
หรือเพราะพวกเขาเกิดความไม่มั่นใจใน ทำนองเดียวกับเมื่อครั้งเกิดวิกฤติในรัสเซีย
ยิ่งกว่านั้น เมื่อผู้ผลิตเหล็กกล้าใน รัสเซีย โปแลนด์ และประเทศเกิดใหม่ในยุโรปอื่นๆ
พากันทุ่มตลาดเหล็กกล้า ก็ทำให้ราคาเหล็กรีดร้อนของไทยตกลงจาก 353 ดอลลาร์ต่อตันในช่วงต้นไตรมาส ที่สองของปี
19 98 ลงมาเหลือเพียง 253 ดอลลาร์ในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน และดิ่งต่อลงมา ที่
183 ดอลลาร์ในช่วงปลายปี ภาวการณ์เช่นนี้ คีธ บัส (Keith Busse) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสตีล
ไดนามิคส์ กล่าวว่าเป็น "ช่วง ที่มีการสลับสับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์การผลิตเหล็กกล้า"
แกรี ฮีสลีย์ (Gary Heasley) ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และรับผิดชอบ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอ็นเอสเอ็มยืนยันว่าพายุร้ายได้พัดผ่าน
ไปแล้ว และหากเอ็นเอสเอ็มหาเงินมาได้อีก 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นทุน ดำเนินการ และบริหารการเงินระยะยาวแล้ว
กิจการก็จะเริ่มทำเงินได้อีกครั้ง
ความเห็นของฮีสลีย์อาจจะถูก เพราะเอเชียกำลังพลิกฟื้น และปริมาณความต้องการเหล็กกล้ากำลังเพิ่มขึ้น
ราคาของเหล็กรีดร้อนสูงขึ้น 9% จากระยะเดียวกันในปีที่แล้ว อยู่ ที่ 275 ดอลลาร์ต่อตัน
และมีลูกค้ารายใหญ่ อย่าง Kloeckner Steel Tradi ng และ Preussag Trading
แห่งเยอรมนีรอท่าอยู่
โรงงานแห่งใหม่ของเอ็นเอสเอ็ม ที่ชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด
กำลังจะเป็นโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ของจีเอ็ม การผลิตเหล็กรีดร้อน และเหล็
กรีดเย็นสำหรับรถยนต์จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนอื่นๆ
มีอัตราเติบโตถึง 92% และ 127% ในเดือนสิงหาคม และ กันยายนปีที่แล้ว (เมื่อเทียบปีต่อปีจากปีก่อนหน้า)
นอกจากนั้น โรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบสำหรับป้อนให้ตลาดเยอรมนี ก็ยังคงดำเนินการ
มีพนักงานถึง 300 คน และยังมีโรงงานในชลบุรีอีกแห่ง ที่ผลิตเหล็กรีดเย็นชุบสังกะสี
ซึ่งมีถึงห้าสายการผลิตก็กำลังใกล้เสร็จสมบูรณ์
ปกติแล้วบริษัท ที่ล้มละลายจะต้องพักการซื้อขายหุ้นตามกฎของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แต่ทั้งๆ ที่กิจการเอ็นเอสเอ็มยังคงขาดทุน และ ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึ่ง 72
ล้านดอลลาร์ในครึ่งปีแรกของปี 1999 หุ้นของ เอ็นเอสเอ็มก็ยังคงมีการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง
ราคาปิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีที่แล้วอยู่ ที่ 10 เซ็นต์ต่อหุ้น (เพิ่มจาก
8 เซ็นต์ในเดือนก่อนหน้า) จากมูลค่าทุนตามราคาตลาด 70 ล้านดอลลาร์
แม้จะฟังดูดี แต่การสะสางปัญหาทางการเงินของเอ็นเอสเอ็มก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ
อุปสรรคยังรออยู่ข้างหน้าอีกมากมาย เพราะเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปีที่แล้ว
เอ็นเอสเอ็มได้ขอเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สิน ที่ไม่ก่อรายได้จำนวน 800 ล้านดอลลาร์ (350 ล้านดอลลาร์เป็นหนี้ของธนาคารในประเทศ
และ อีก 450 ล้านดอลลาร์ เป็นหนี้จากจังค์บอนด์) สวัสดิ์ยังมีบริษัทอื่นๆ
ที่ค้าง ชำระหนี้อีก 1,300 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมุ่ง มั่นอย่างเขาก็ประกาศว่า "ไม่ชำระหนี้
ไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย และไม่หนี" คำ ประกาศกร้าวนี้ไม่ใช่คำพูดเปล่า
แต่เขาทำจริง โดยเฉพาะข้อที่ว่า "ไม่หนี" เพราะเขาได้พบปะกับบรรดาเจ้าหนี้อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อเร่งหาลู่ทางแก้ไขปัญหา
ฮีสลีย์ และเดวิด สติกเลอร์ (David Stickler) ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่ง ของเอ็นเอสเอ็ม
ต่างก็เชื่อมั่น ว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะประสบความสำเร็จ และคาดว่าสถานการณ์จะค่อยๆ
ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อหนี้จำนวนหนึ่งถูกแปลง เป็นหุ้นบริษัทต้นปี 2000 นี้
ทั้งสองยังคาดว่าเอ็นเอสเอ็มจะสามารถระดม เงินราว 75-100 ล้านดอลลาร์ จากการเสนอจองซื้อหุ้นใหม่
ซึ่งจะทำให้ การดำเนินกิจการเริ่มต้นใหม่อย่างมั่นคง
ว่ากันว่า ในวงการธุรกิจ ถึงตายแล้วก็ฟื้นคืนชีพได้ (Forbes Global, November
29,1999)