4 มกราคม วันแรกของการทำงานในปี 2543 กรม ที่ดินได้ประกาศราคาประเมิน ที่ดินทั่วประเทศใหม่
ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ไปจนถึง
ปี 2546 ราคาประเมิน ที่ดิน ที่ประกาศออกมา ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับคนทั่วไป
โดยมีการปรับลดลงมาเป็นส่วนใหญ่ เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เฉลี่ยประมาณ 25% ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ
ที่ดินริมถนนสีลม เขตบางรัก ยังครองแชมป์ราคาประเมินสูงที่สุดในประเทศไทย
ตารางวาละ 6 แสนบาท หรือไร่ละ 240 ล้านบาท ลดลงจาก ที่ประเมินไว้ตารางวาละ
8 แสนบาท เมื่อปี 2539
ส่วน ที่ดิน ที่มีราคาถูกที่สุดในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นที่ดินบริเวณคลองสามวา
เขตมีนบุรี ราคาประเมินยังยืนอยู่ ที่ตารางวาละ 200 บาท เนื่องจากเป็นที่ดินตาบอด
และยังเป็นที่ลุ่มสำหรับรองรับน้ำ ก่อนระบายออกไปยังแม่น้ำบางปะกง ทำให้มีน้ำท่วมเกิดขึ้นทุกปี
ไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้
อย่างไรก็ตาม ยังมี ที่ดินอีกบางแห่ง ที่มีราคาประเมินเพิ่มสูงขึ้น เช่น
ที่ดินบนถนนนราธิวาสราชนครินทร์
เขตยานนาวา ที่ราคาประเมินใหม่เพิ่มขึ้นมาเป็นตารางวาละ 170,000 บาท จากเมื่อ
4 ปีก่อน ที่ถูกประเมินไว้เพียง
ตารางวาละ 90,000 บาท
วิเชียร รัตนะพีระพงศ์ อธิบดีกรม ที่ดิน ให้เหตุผลถึงราคาประเมินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงว่าเนื่องจากสภาพ ที่ดิน ที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่นมีการสร้าง หรือปรับปรุงสาธารณูป-โภคให้ดีขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนา ที่ดินสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรร
หรือราคาเดิม ที่เคยประเมินไว้คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
สำหรับ ที่ดินในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ราคายังทรงตัว จะมีเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย
โดยที่ดิน ที่มีราคาประเมินแพงที่สุด อยู่บนถนนประชาธิปัตย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
มีราคาประเมินไร่ละ 160 ล้านบาท ลดลง 11% จาก ที่เคย ประเมินไว้ไร่ละ 180
ล้านบาท เมื่อปี 2539
ส่วน ที่ดิน ที่มีราคาประเมินต่ำที่สุด อยู่ ที่ต.ไล่ไก่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
มีราคายืนเท่ากับเมื่อปี 2539 ในราคาไร่ละ 2,000 บาท (รายละเอียดดูในตาราง)