การเปลี่ยนระบบการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยนำ ระบบคอมพิวเตอร์แมชชิ่ง
มาใช้แทนระบบการเคาะกระดานด้วยมือเมื่อปี 2534 นับเป็นการพลิกโฉมหน้าธุรกิจหลักทรัพย์ของไทยครั้งใหญ่
เพราะ ความรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลทำให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นเฉลี่ยต่อวันเพิ่ม
สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด
พัฒนาการทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต ได้ ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจหลักทรัพย์อีกครั้ง
คราวนี้นักลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นเข้าไปยังระบบของบริษัทหลัก ทรัพย์ได้โดยตรงผ่านอินเตอร์เน็ต
ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้นักลงทุน ที่กระจาย ตัวอยู่ทุกหนทุกแห่ง สามารถเรียกดูข้อมูล
และตัดสินใจซื้อขายหุ้นได้ตลอด เวลา โดยไม่จำเป็นว่าในพื้นที่นั้น จะมีห้องค้าตั้งอยู่หรือไม่
"จากระบบนี้ ต่อไปจะมีนักลงทุนหน้าใหม่เพิ่มเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
โดยเฉพาะนักลงทุน ที่มีความรู้พอจะวิเคราะห์ด้วยตนเองได้ และใช้อิน เตอร์เน็ตเป็น"
วิกิจ ขจรณรงค์วณิช กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป
(ประเทศไทย) โบรกเกอร์ ที่เปิดให้บริการซื้อขายหุ้นผ่านระบบอิน เตอร์เน็ตเป็นรายแรกของไทย
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
บล.ฟิลลิป ได้เปิดให้บริการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตตั้งแต่วันที่
29 ธันวาคม 2542 โดยนักลงทุน ที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นทางอินเตอร์เน็ต กับบริษัทในวงเงินขั้นต่ำสุด
50,000 บาท สามารถส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นได้ทาง เว็บไซต์ POEMS (Phillips's
Online Electronic Mart System) ที่ Address HTTP://WWW.POEMS.IN.TH
ในระยะแรก ที่เปิดให้บริการวิกิจตั้งเป้าหมายว่าจะมีลูกค้า ที่เปิดบัญชีซื้อ
ขายหุ้นผ่านทางอินเตอร์เน็ตประมาณ 1,000 ราย มีรายได้จากบริการนี้ ประมาณ
5% ของรายได้รวมของบริษัท
แนวคิดให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการรับคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายอย่างจริงจังตั้งแต่วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ
เข้ามาเป็นกรรมการ และผู้จัดการ เนื่องจากเห็นว่าเป็น ช่องทางใหม่ในการซื้อขายหุ้น
ประกอบกับปัจจุบันตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง
ไต้หวัน หรือสิงคโปร์ ต่างเปิดให้นักลง ทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตได้แล้ว
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การซื้อขาย หุ้นทางอินเตอร์เน็ต
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 และวันที่ 10 มกราคม ที่ ผ่านมา ได้ออกข้อบังคับเรื่องการซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ต
พ.ศ.2543 มารองรับธุรกรรมดังกล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งได้เตรียมความพร้อม ที่จะ เปิดให้บริการดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นบล.ธนชาติ บล.เอก ธำรง บล.เจเอฟธนาคมฯลฯ แต่บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)
มีความพร้อม มากกว่า เนื่องจากบริษัทแม่ ที่สิงคโปร์ และสาขา ที่ฮ่องกงได้เปิดให้บริการซื้อ
ขายหุ้นทางอินเตอร์เน็ตมากว่า 3 ปี จึงสามารถให้บริการได้เป็นรายแรก ส่วนบริษัทอื่นคาดว่าจะเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้น
ไป
"เราเป็นประเทศเปิด ตลาดหุ้นของเราต้องแข่งขันกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค
เมื่อเขามีบริการนี้ให้นักลงทุน เราก็ต้องมีเช่นกัน และถ้าเราเปิดตัวก่อน
จะได้เปรียบ เพราะคนจะได้รู้ว่าเรามีเทคโนโลยีนี้ได้มาจอง ที่ก่อน"
วิกิจกล่าว ถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเปิดให้บริการเป็นรายแรก
อย่างไรก็ตาม ช่องทางการลงทุน ที่เปิดกว้างขึ้น วิกิจมองว่ายังไม่มีผล เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนในช่วง
1-2 ปีนี้ โดยเฉพาะ นักลงทุนในประเทศ ที่ส่วนใหญ่ยังเคยชินกับการพูดคุย ขอคำแนะนำจากเจ้า
หน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ อยู่