การตัดสินใจอย่างกล้าหาญชาญชัยของบุญชัย เบญจรงคกุล ต่อการบุกยึดอำนาจ ในแทค
เป็นปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ ที่มีคนตั้งคำถามมากมาย แต่คนที่น่าจะเข้าใจ
และรู้ความหมายจริงๆ ก็น่าจะมีภูษณ ปรีย์มาโนชรวมด้วย
อันที่จริงแล้ว การเข้ามานั่งเก้าอี้ "กรรมการผู้จัดการ? บริษัทโทเทิ่ล
แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือแทค ของบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรม การบริหารบริษัทยูไนเต็ด
คอมมูนิเก-ชั่น อินดัสตรีส์ หรือยูคอม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2543 น่าจะเป็นเรื่องธรรม-
ดาสามัญของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่จะเข้ามาดูแลกิจการในบริษัทลูก ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้
แต่การตัดสินใจของเขาในวันนั้น กลับกลายเป็นเรื่องของปฏิบัติการแบบเบ็ดเสร็จ
ที่บุญชัยตัดสินใจประกาศเข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ ต่อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
โดยไม่ได้อยู่ในวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นมาก่อน และ ที่สำคัญเป็นเรื่อง
ที่ผู้บริหารของแทคไม่รู้มาก่อน และจะรู้ไม่ได้
เป็นการกระทำ ที่แตกต่างไปจากบุคลิกประนีประนอมของบุญชัยอย่างสิ้นเชิง
"ในฐานะของผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด และมีบทบาท ที่จะชี้ชะตาบริษัทสูงสุด
สิ่งที่ต้องทำก็คือ วันที่ 13 มกราคม ถ้าไม่ทำก็ถือว่าไม่รับผิดชอบ นั่นเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วสำหรับผม
ถ้าไม่เคลียร์ปัญหาเหล่านี้ให้จบสิ้นโดยเร็ว? คำกล่าวของบุญชัย ที่บอกกับ
"ผู้จัดการ? มีความหมายยิ่งนัก
บุญชัยให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ? ในห้องทำงานใหม่บนชั้น 29 ตึกชัย ที่เคยเป็นห้องที่ภูษณใช้บัญชาการแก่ผู้บริหารมืออาชีพทุกๆ เช้า เป็นการให้สัมภาษณ์หลังจากปฏิบัติการยึดอำนาจ
แบบเบ็ดเสร็จมาได้เพียง 2 วัน คำพูด ที่เขาให้สัมภาษณ์จึงยังเต็มไปด้วยอารมณ์
เพราะผลจากการกระทำของบุญชัยในวันนั้น หมายถึงการที่บุญชัย และภูษณจะไม่สามารถเดินร่วมเส้นทางกันได้อีกต่อไป
และเป็นการปิดฉากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกิจการ และลูกจ้างมืออาชีพ ที่เคยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาถึง
18 ปีเต็ม
บุญชัยเองก็เคยพูดอยู่บ่อยครั้งว่าความสำเร็จของยูคอมเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างเขา
และภูษณ จนสามารถรู้ใจ รู้ความคิด ของกัน และกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด จะรู้ทันทีว่าอีกฝ่ายคิดอะไร
รู้ว่าอีกฝ่ายชอบหรือไม่ชอบอะไร รับอะไรได้หรือไม่ได้ ดังนั้น เมื่อทำธุรกิจ
หรือจะลงทุนธุรกิจไหน ต่างก็ตัดสินใจได้ทันที
แต่ความรับผิดชอบในฐานะเจ้า ของกิจการ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด และในฐานะความรับผิดชอบ
ที่มีต่อตระกูลเบญจรงคกุล ทำให้บุญชัยต้องตัดสินใจ
เพราะสิ่งที่บุญชัยต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้งระหว่างเจ้าของกิจการ
และผู้บริหาร มืออาชีพธรรมดา แต่มันหมายถึงความอยู่รอดของแทค อันเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าที่สุด
เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ของตระ-กูลเบญจรงคกุล ไม่ใช่สายการบิน ดาว เทียม หากแทคเป็นอะไรลงไปย่อมหมายถึงความอยู่รอดของตระกูลเบญจ-รงคกุล
ที่สุจินต์ เบญจรงคกุล ผู้เป็นพ่อบุกเบิก และสร้างมากับมือจะต้องมา ล่มสลายในมือของเขา
และอุปสรรคสำคัญที่สุด ที่ทำ
ให้การเยียวยาแก้ปัญหาของแทค ไม่สามารถลุล่วงไปได้ ก็คือ มืออาชีพ ที่บุญชัยรู้ใจที่สุดของเขานั่นเอง
เป็นสิ่งที่บุญชัย จะยอมไม่ได้ !
สภาพของแทคเวลานี้ ในสายตา ของบุญชัย ก็คือ ธุรกิจ ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
จากหนี้สินก้อนมหึมา ภาวะบีบรัดในเรื่องการแข่งขัน และการที่แทคเองก็อ่อนแอลงอย่างมากหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมาแทคจึงไม่ต่างอะไรกับคนไข้เจ็บหนัก ที่จำเป็นต้องได้รับการเยียวยาเป็นการด่วน
การปรับโครงสร้างหนี้ของแทค มูลค่า 573 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ทำขึ้นใน ปี
2541 เป็นการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป 5 ปี เป็นการแบ่งจ่ายเป็นงวด เพื่อให้มีกำลังชำระหนี้
ยูคอมจะจ่ายน้อยมากในช่วงปีที่ 1-4 พอมาถึงปีที่ 5 ยูคอมต้องเทจ่ายทีเดียว
308 ล้านบาท เป็นการประนอมหนี้ ที่แตกต่างไปจาก กรณีของทีเอ และสามารถ มีการลดหนี้
(Hair Cut) หรือแปลงหนี้เป็นทุน เป็นการบรรเทาภาระในการจ่ายหนี้สินลงได้มาก
แทคมีหนี้พิเศษ ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ การยืดหนี้ จำนวน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือ 3,200 ล้านบาท ที่จะต้องชำระภายในสิ้นปี เป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่ทำให้บุญชัยมองว่าด้วยสภาพ
ที่แทคเป็นอยู่เวลานี้ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะหา Strategic Partner นำเงินเข้ามา
เพื่อนำเงินจากการขายหุ้นมาชดใช้หนี้ก้อนนี้
ปีที่แล้วแทคได้เพิ่มทุนจำหน่าย หนี้ให้กับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม จำนวน 26.4
ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 2.65 เหรียญสหรัฐ (106 บาท) เพื่อนำเงินมาชำระหนี้พิเศษก้อนแรกให้แก่เจ้าหนี้
มูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,800 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลงของการยืดหนี้ ที่ทำไว้
การจะใช้วิธีเพิ่มทุนเป็นเรื่อง ที่ละเอียดอ่อน และอันตรายเกินไปกับการบริหารกิจการที่มีหุ้นกระจายอยู่ในมือผู้ถือหุ้น
รายย่อยมากเกินไป
โครงสร้างผู้ถือหุ้นของแทคภายหลังการเพิ่มทุนในปีที่แล้ว ก็คือ ยูคอมจะมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงจาก
68% เหลือ 65.10% ที่เหลือเป็นหุ้นขององค์ การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
10.60% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 24.40%
"เพราะถ้าทำอะไรให้เกิดความไม่เข้าใจจะกระทบต่อราคาหุ้นทันที สำหรับบริษัท
ที่มีหนี้ เรื่องสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือ หนี้สินต่อทุน? บุญชัยเล่าให้
"ผู้จัดการ? ฟัง
ลึกลงไปกว่านั้น บุญชัยรู้ดีว่า การเพิ่มทุนด้วยการขายหุ้นในตลาด หลักทรัพย์
ไม่ส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นใหญ่แน่ หากหุ้นกระจัดกระจายไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อย
จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำให้เอกภาพในการบริหาร ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ในทางกลับกันหุ้นไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารมืออาชีพ
ที่จะอาศัยการขาดเอกภาพจากหุ้น ที่กระจัดกระจาย เข้ามามีบทบาทในการบริหารงาน
โดยที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ สิ่งที่ตามมาก็คือ การมองการลงทุน
ที่แตกต่างกันระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และรายย่อย
เป็นปัญหาใหญ่ ที่บุญชัยจะยอม ไม่ได้ !
ซึ่งครั้งหนึ่งบุญชัยเองก็เคยต้องยินยอมเปิดทางให้กับบริษัท Sommers (UK)
Limited เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ เพื่อต้องการพยายามรักษาอำนาจในการบริหารเอาไว้
(อ่านล้อมกรอบ)
นอกเหนือจากหนี้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แทคมีภาระ ที่ต้องหาเงินมาชำระหนี้ก้อนใหญ่
ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในการประนอมหนี้ เป็นหนี้ ที่เกิดจากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
จำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 14,000 ล้านบาท เป็นส่วนของ ECD (Europian
Convertible Debenture) ผสมกับแยงกี้บอนด์ เป็นภาระอันหนักอึ้ง ที่แทคจะต้องชำระภายในปี
2001 ที่จะถึงนี้
"วันนี้หลับตานึก เงินจำนวนนี้ไม่ รู้จะหามาจากไหน แทคจะขายอะไรได้เงินหมื่นกว่าล้านบาท
ขายตึกก็ไม่ได้ ขายเซลไซต์ก็ไม่ได้ ขายแอร์ไทม์ ยอดรายรับทั้งปีหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือไม่ถึงสองพันล้านบาท
หักดอกเบี้ยยังไม่พอ นี่คือ ปัญหาใหญ่? บุญชัยเปิดใจ
แทค ในเวลานี้ตกอยู่ในสภาพ ที่อ่อนแอลงมากๆ ไม่อยู่ในภาวะ ที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโดยเฉพาะ
เอไอเอส ที่เข้มแข็งเอามากๆ ในช่วง ที่ผ่านมา และต้นเหตุของการบริหารงาน
ที่ผิดพลาดไม่ได้มองสภาพของปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้
บุญชัยมองว่าการวางแนวรบในเรื่องการแข่งขันของแทค ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพ
ที่แท้จริง แทคยังคงใช้กลยุทธ์การตลาดท้าชนกับเอไอเอส ทั้งๆ ที่แทคไม่มีความพร้อมเหมือนในอดีตอีกแล้ว
"ปัจจุบันเราถือว่าด้อยกว่าเขาอยู่แล้ว เรามองเอไอเอสเป็นคู่แข่งทั้งๆ
ที่เรายังแย่อยู่ ทุกคนต้องยอมรับความจริง ต้องยอมรับไปในแนวเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่
มันปนเปกันไปหมด ทิศทางการเมืองเอย อะไรเอย การแข่งขันในตลาดก็ทำไปในแนวทาง
ที่ไม่แข็งแรง ไม่ชัดเจน ลูกค้าคือ ใคร เป็นยังไงเรายังไม่รู้เลย? บุญชัยกล่าว
ดังนั้น ถึงแม้แทคจะมียอดขายเพิ่มขึ้นทุกเดือน แต่แทคจะมียอดคืนเครื่องทุกเดือนที่สำคัญไปกว่านั้น
ก็คือ กลยุทธ์การตลาดที่ต้องการเร่งเพิ่มยอดขายต้องใช้งบลงทุน มากกว่าการรักษาฐานลูกค้าให้อยู่ในมือมากกว่าหลายเท่า
ตัวนัก
นอกจากนี้ ปัญหาความผิดพลาดในเรื่องของการไม่โฟกัสธุรกิจ ขยายการลงทุนในธุรกิจ
ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง และมีความซ้ำซ้อนกับยูคอม เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งของแทคในสายตาของบุญชัย
"ผมตอกย้ำเสมอว่า ที่นี่คุณต้องไม่ลืมว่า แทคเป็นบริษัทสัมปทาน ไม่ได้ฟรีเหมือนกับบริษัททั่วไป
เงื่อนไขหลายอย่างคุณทำไม่ได้ ไม่ใช่เดินไปแล้วบอกทำ ต้องไปขออนุมัติการสื่อสาร
เพราะคุณเป็นผู้รับช่วงจากการสื่อสารเท่านั้น มีข้อจำกัดเยอะ รายได้ก็ต้องแบ่งให้การสื่อสาร
และบางอย่างเขาก็จำกัดไม่ให้ทำ และถ้าให้ผมเลือกกับการที่จะเอาเงินไปลงในธุรกิจอินเตอร์เน็ตหลายร้อยล้านบาท
สู้ผมเอาเงินไปลงเพิ่มคุณภาพให้การบริการไม่ดีกว่าหรือ? บุญชัยระบายความรู้สึก
ภายใต้สภาพ ที่มีหนี้ท่วมตัว และอ่อนแออย่างมาก แทคยังต้องมาเจอแรงบีบคั้นจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือ
จากจำนวนคู่แข่ง ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่สำคัญ ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรง ที่อยู่ในระบบดิจิตอล
จีเอสเอ็ม 900 เป็นตลาดเดียวกับแทค
คู่แข่งใหม่ทั้งสองรายนี้ เป็นผลพวงเกิดจากการที่แทคได้เคยเซ็งลี้ ตัดแบ่งขายไลเซนส์โทรศัพท์มือถือคลื่นความถี่
1800 ขายออกไปให้กับกลุ่ม สามารถ และไออีซี ของกลุ่มเอ็มกรุ๊ป
ยิ่งไปกว่านั้น การจับคู่กันระ-หว่างชินคอร์ป และดีพีซี เป็นยุทธ ศาสตร์การรวมกิจการที่น่ากลัวมากๆ
และจะส่งผลกระทบโดยตรงกับแทคจากการที่คู่แข่งขันจะมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
"มันไม่เหมือนการแข่งขันกับเอไอเอส เป็นเครื่องคนละระบบ ลูกค้าจะเอาชิป
1800 มาใส่เครื่อง ที่ใช้ระบบ
จีเอสเอ็ม 900 ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นระบบ 1800 เหมือนกับเขาใส่ได้ทันที ตรงนี้สิน่ากลัว?
บุญชัยกล่าว
การรวมกิจการของทั้งสอง นอก จากจะทำให้ เอไอเอส และดีพีซี กลายเป็นเจ้าของส่วนแบ่งตลาดมากกว่า
60 % ของตลาดโทรศัพท์มือถือ
การผนึกกิจการครั้งนี้ ทั้งเอไอเอส และดีพีซีจะไม่มีอุปสรรคในเรื่องของเทคโนโลยีระหว่างระบบจีเอสเอ็ม
900 และจีเอสเอ็ม 1800 ยังเท่ากับเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การผนึกกิจการระหว่างบริษัทโทรคมนาคม
การใช้เครือข่ายร่วมกันในลักษณะ duo mode ที่มีการพัฒนาให้ระบบทั้งสองทำงานร่วมกันได้อยู่แล้ว
ซึ่งเวลานี้ก็มีการนำเครื่องลูกข่ายรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นระบบ duo mode ออกมาวางจำหน่ายมากพร้อมจะทำตลาดได้ทันที
ที่สำคัญ ระบบจีเอสเอ็ม 900 ของเอไอเอส ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของแทค จะแข็งแรงขึ้นมาทั่วประเทศทันทีจากการ
รวมกิจการของดีพีซีในครั้งนี้
ปัญหาเทคโนโลยีระหว่างจี-เอสเอ็ม 900 และจีเอสเอ็ม 1800 ที่ แตกต่างกันก็คือ
สัญญาณความแรง ของcell site ระหว่างระบบทั้งสอง จีเอสเอ็ม 900จะมีสัญญาณความแรง
ที่กว้างไกลกว่า เหมาะสำหรับการติดตั้งในต่างจังหวัด ที่จำเป็นต้องให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด
แต่ความเล็กของ cell site ของระบบจีเอสเอ็ม 1800 จะทำให้ระบบนี้มีสัญญาณ
ที่สามารถทะลุทะลวงได้ดีกว่า ระบบจีเอสเอ็ม 900 เหมาะสำหรับการใช้ในเมือง
ที่มีประชากรหนาแน่น ทำ ให้ระบบบริการของจีเอสเอ็มพ่ายแพ้ต่อจีเอสเอ็ม 1800
ในเขตตัวเมืองมาตลอด
"การจับคู่กัน เท่ากับเป็นการขจัดจุดอ่อนของจีเอสเอ็ม ที่มีอยู่เดิมออกไปได้ทันที
เอไอเอสจะมีเครื่องลูกข่ายระบบ duo band เสริมเข้าไปในพื้นที่ ที่เป็น cell
site ของดีพีซี ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ เครื่องลูกข่ายจะทำงานโดยอัตโนมัติ
ทำให้การครอบคลุมพื้นที่ของจีเอสเอ็มแข็งแรงขึ้นทันที? บุญชัยสะท้อนเรื่องนี้กับ
"ผู้จัดการ?
ขณะเดียวกัน ดีพีซี ซึ่งใช้ระบบ จีเอสเอ็ม 1800 จะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นทันที
10 เท่าตัว ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยอาศัยเครือข่ายของเอไอเอส ที่มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ
การรวมกิจการดีพีซี และเอไอเอส ไม่ได้หมายถึงการรวมกันของ โอเปอเรเตอร์สองรายแต่เท่ากับเป็นการรวมกลุ่มของโอเปอเรเตอร์ข้ามชาติ
พันธมิตรข้ามชาติ ที่อยู่ข้างของเอไอเอสก็คือ สิงคโปร์เทเลคอม และ ดีพีซี
ก็มีมาเลเซียเทเลคอม ซึ่งทั้งบริษัทสื่อสารข้ามชาติทั้งสองรายนี้ก็มีเครือข่ายธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
ที่ลงทุนอยู่ในประเทศต่างๆ มากมาย ที่จะทำให้การโรมมิ่ง ทั้งจากระบบเดียวกัน
และต่างระบบครอบคลุม การผนึกกิจการของดีพีซี และเอไอเอส จึงเท่า กับเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์
Globalization ที่จะก่อให้เกิดอำนาจต่อรองทางการแข่งขัน สำหรับการเปิดเสรี
ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
บริษัท ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิส หรือ WCS เป็นโอเปอเรเตอร์อีกรายที่แทคได้แบ่งขายคลื่นความถี่ให้กับกลุ่มเอ็มกรุ๊ป
แต่เป็นการถือหุ้นร่วมกันระหว่างแทค และไออีซี ของกลุ่ม เอ็ม กรุ๊ป แต่ต่อมาเกิดปัญหาขึ้น
กลุ่ม เอ็มกรุ๊ปได้ถอนตัวออก เหลือแต่แทค ที่ยังมีหุ้นอยู่บางส่วน หุ้นส่วนใหญ่ยังคงถือโดยบริษัทโกลด์แมนแซคส์
และบริษัทโคเรียเซลลูลาร์
"ผู้ถือหุ้น 2 ราย เขาบอกแล้วว่า เขาต้องการขายหุ้นของ WCS ออกไป และก็กำลังเจรจากับบริษัทสื่อสารโทร-คมนาคมทั่วโลกเราเองคงไม่มีปัญญาไปซื้อหุ้นพวกนี้ขึ้นมา
เจ้าหนี้เองก็ไม่ยอม?
นอกเหนือจากคู่แข่ง 2 รายที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แล้ว ความเคลื่อนไหว ที่สำคัญของโทรศัพท์มือถือในยุคที่
3 หรือ Third Generation เป็นเทคโน-โลยีใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ที่จะก้าวไปสู่ยุคของสื่อสารข้อมูลที่เป็นแนวโน้ม
ที่สำคัญของโลก ก็เกิดความเคลื่อนไหว ที่น่าจับตามอง
ในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา เมื่อกระทรวงคมนาคม มีมติให้คณะกรรม การบริหารคลื่นความถี่
(กบถ.) อนุมัติ คลื่นความถี่ 2000 เมกะเฮิรตซ์ ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เพื่อนำไปออกใบอนุญาตในการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือยุคที่
3 แก่เอกชนแล้ว โดยไม่รอให้คณะมนตรีสื่อสารแห่งชาติ (มสช) เป็นผู้ออกใบอนุญาต
"มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การแข่งขันเสรีกำลังจะมีขึ้นในอีกไม่ช้า
จากการที่จะมีใบอนุญาตโทร-ศัพท์มือถือใหม่เกิดขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 3-5 รายในตลาด
3 G จากผู้บริการรายเก่า และใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยยังไม่ต้องพูดถึงการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า?
บุญชัยกล่าว
สภาพความอ่อนแอ และหนี้สิน ที่รุมเร้าแทคในเวลานี้ นอกจากจะไม่สามารถไปสู้รบปรบมือกับเอไอเอสได้แล้ว
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคู่แข่งรายใหม่ ที่กำลังเข้า มาในตลาดเหล่านี้ ที่มีความพร้อมในเรื่องเงินลงทุน
และเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดสำหรับแทคในเวลา นี้ และทางออกเดียว
ที่จะช่วยเยียวยาให้แทคได้ คือ การที่ต้องมี Strategic Partner เข้ามาเหมือนกับหลายองค์กร
เวลานี้
การขายหุ้นให้กับ Strategic Partner เป็นทางออกเดียว ที่บุญชัยเชื่อ ว่าจะช่วยเยียวยาให้กับแทคได้ดีที่สุด
ไม่มีทางเลือกอื่นเพราะนอกจากแทคจะได้เงินจากการขายหุ้นให้กับพันธมิตรข้ามชาติมาชดใช้หนี้
80 ล้านเหรียญสหรัฐ แทคยังจะมีเงินทุนเหลือสำหรับใช้ในการขยายเครือข่าย และการมีพันธมิตรข้ามชาติ
ที่เป็นยักษ์ใหญ่ จะทำให้การเจรจาต่อรอง เพื่อขอยืดหนี้ 350 ล้านเหรียญทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ
"เงิน 350 ล้านเหรียญอย่าคิดว่า จะเป็นอัจฉริยะ ที่คิดหาเงินมาจ่ายได้
หรือยืดหนี้ออกไปได้ จะแปลงเป็นเงินบาท แปลงเป็นหุ้นหรือจะหาเงินมาจ่าย มันต้องเลือก
เดี๋ยวนี้มันไม่มี Financial Engineering แบบพิสดารอีกแล้ว? บุญชัยกล่าวอย่างมีอารมณ์
ที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ เป็นทางเลือกเดียว ที่แทค จะยังคงสิทธิความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ที่จะมีสิทธิ์ขาดในการบริหารงานเช่นเดิม ข้อตกลงในการขายหุ้นให้กับ Strategic
Partner จะอยู่ในสัดส่วน 25% ซึ่งจะเป็นทั้งการขายหุ้นในส่วนของยูคอม และเพิ่มทุนบางส่วน
นั่นหมายความว่ายูคอมยังคงดำรง การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่มีสิทธิ์ขาดในการกำหนดทิศทางของธุรกิจได้
หากใช้วิธีอื่น เช่น การเพิ่มทุนจะถูกขายออกไปในตลาด ไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อย
ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้บริหารมืออาชีพ ที่จะเข้ามากุมอำนาจในการบริหารจากการที่หุ้นกระจัดกระจายออกไป
นอกจากนี้ การมีพันธมิตรข้ามชาติหมายถึงการที่จะลดต้นทุนในการซื้ออุปกรณ์แล้ว
การสร้าง Know-how ใหม่ๆ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี และการตลาดที่จะได้รับจากการร่วมกลุ่มในเรื่องของเทคโนโลยี
และแก้จุดอ่อนในเรื่องของการโรมมิ่ง
ที่แล้วมาแทคมีปัญหาเรื่องการโรมมิ่ง หรือการเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ระบบเวิลด์โฟน
1800 ใช้งานในประ-เทศอื่นๆ ที่ใช้ระบบเดียวกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ
เพราะจะทำให้แทคสามารถมองเห็นถึงทิศทาง การพัฒนาระบบ 1800 ในอนาคตว่าจะไปในทิศทางใด
บุญชัยเชื่อว่าการมี Strategic Partnet จะช่วยให้แทคสามารถปิดจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ได้
"การโรมมิ่งระบบร่วมกัน จะทำ ให้เรารู้แนวโน้มของโลกด้วยว่า เขาจะแปลงตัวเองไปทางทิศไหน
เขากำลังจะมองเรื่องอะไร เรื่องของอินเตอร์เน็ต เราจะได้เตรียมตัว หรือหาเทคนิคเหล่านั้น
มาใส่ในระบบของเราได้?
แต่การหา Strategic Partner ในช่วงเวลา 2 ปีที่แล้วมา ต้องลงเอยด้วยความล้มเหลวทุกครั้งเมื่อเรื่องมาถึงแทค
"พันธมิตรข้ามชาติทุกราย เข้ามาถึง ที่แล้วก็ล้มทุกที เพราะเขากลัว
กับการที่ประธานบริษัทไม่มีอำนาจแล้ว จะมาปกป้องผู้ถือหุ้นได้อย่างไร? คำชี้แจงของบุญชัย
แต่จะต้องไม่ใช่ครั้งนี้ !
สาเหตุที่สำคัญ บุญชัยบอกว่า ความแตกต่างในเรื่องของแนวคิด ที่ไปกันคนละด้านกับผู้บริหารมืออาชีพภายใต้การนำของภูษณ
ความสำเร็จในฐานะของมืออาชีพ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การบริหารธุรกิจสัมปทานโทรศัพท์มือถือให้เติบโต
และสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ภูษณเชื่อว่า ความสำเร็จเหล่านี้มาจากการบริหารองค์กร
ที่เป็นเอก เทศ ความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ถือหุ้น และลูกค้าให้ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน
อยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของมืออาชีพ และเป็นสิ่งที่เขาพยายามทำมาตลอด
ภูษณไม่รู้สึกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับแทค เขายังเชื่อว่าแทคยังคงเข้มแข็ง
เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ด้วยรากฐานขององค์กร ขนาดของธุรกิจ และฐานลูกค้า
ที่มีอยู่ ถึง 1 ล้านราย สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรสามารถเดินไปได้ด้วยตัวเอง
อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยน แปลงใดๆ ภายในบริษัท
"บริษัทขนาดนี้ มันใหญ่พอควร และมีฐานลูกค้าอยู่ตั้ง 1 ล้านราย โอกาส
จะเกิดความเสียหายได้ ก็มีแต่จะทำผิดนโยบายรุนแรง ก็สุดแล้วแต่จะคิด แต่สำหรับผมแล้ว
องค์กรมันเดินได้ของมันโดยธรรมชาติแล้ว? นี่คือ ความเห็น ที่ภูษณพยายามบอกกับ
"ผู้จัดการ?
ภาวะหนี้สิน ที่เกิดขึ้นในแทค เป็น การกู้ยืมเงินในลักษณะของ Project Finance
คือ การกู้ยืมเงินโดยเอาโครง การสัมปทานไปค้ำประกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทโทรคมนาคมมักใช้วิธีนี้ในการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน
ดังนั้น ด้วยวิธีการกู้ยืมเงินในลักษณะนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ ที่จะต้องออกมารับผิดชอบเป็น การส่วนตัวจากภาระหนี้สิน ที่มีอยู่เหล่านี้แม้แต่น้อย
เพราะจากโครงสร้างทาง การเงิน ที่เขาเป็นผู้ออกแบบไว้ ได้ปก ป้องความเสียหาย
ที่จะเกิดแก่ผู้ถือหุ้น ไว้หมดแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องมีการเซ็นค้ำประกันเงินกู้เป็นการส่วนตัว
ซึ่งแตกต่างไปจากบริษัทอื่นๆ ที่เจอวิกฤติด้วยกัน
"ใครจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ถ้าเขาติดคุกทำไมผมจะไม่ติดคุกกับเขา
แต่ถ้าเขารวยน้อย ผมก็ไม่รู้ว่าจะให้เขารวยมากได้อย่างไร ในฐานะของ มืออาชีพ
เรารู้ดีว่าการที่จะเซ็นค้ำประกันส่วนตัว หรือเอา ที่ดินไปค้ำประกันจะเกิดปัญหาตามมา?
ภูษณ ชี้แจง
ด้วยเหตุนี้เอง ภูษณจึงไม่เห็นความจำเป็นที่แทค จะต้องมี Strategic Partner
เข้ามาถือหุ้นเหมือนอย่างที่บุญชัยเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรข้ามชาติเข้ามาถือหุ้น
พันธมิตรข้ามชาติในสายตาของภูษณ ไม่ได้มีความเก่งเหนือกว่า คนไทย เทคโนโล-
ยีก็ไม่ได้มีความแตกต่าง นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของการลงทุนในประเทศของพันธมิตรข้ามชาติ
ก็ เพื่อต้องการขยายอาณาจักรทางธุรกิจ สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตัวเอง ไม่ได้ต้อง
การลงทุนระยะยาวหรือสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทในท้องถิ่น รากฐานของธุรกิจสื่อสารก็เป็นของคนไทยทั้งสิ้น
"ไม่ใช่ผมไม่ชอบพันธมิตรข้ามชาติ แต่ผมคิดของผมว่าถ้าอะไร ที่มันยังอยู่ได้ด้วยตัวเอง
ก็ควรจะอยู่ต่อไป เขาไม่ได้มีอะไรเหนือเรา ไม่จำเป็นต้องรับกระแสโลกาภิวัตน์ตามแฟชั่น
เขาต้องการความยิ่งใหญ่ เขาเอาเงินมาลง ทุนเขาก็ต้องเอาเงินกลับไป?
การเปิดทางให้มีพันธมิตรข้ามชาติ ซึ่งมีความแตกต่างทั้งในด้านของวัฒนธรรม
การทำงาน วิธีการมอง ธุรกิจ วิธีการบริหารจะแตกต่างกันไป เป็นเรื่องยาก ที่ทั้งสององค์กรจะทำงานร่วมกันได้ในระยะยาว
แต่หากไม่สามารถปิดกั้นได้ และต้องมีพันธมิตรข้ามชาติจริงๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบร้อน
แต่ควรจะรอให้ มีแผนแม่บทโทรคมนาคม และรอให้มีคณะมนตรีสื่อสารแห่งชาติ ที่จะออกกำหนดขอบเขตหรือกติกาในเรื่องของบริการโทรคมนาคมหลังการเปิดเสรีออก
มาก่อน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานให้พันธ-มิตรข้ามชาติเดินตามกติกาเหล่านี้
"อันนี้ผมพูดในกรอบใหญ่ คือ ถ้าต้านไม่ได้แล้ว เขาจะเข้ามาอย่างไร
มันเหมือนกับการขายธนาคาร ไม่รู้ว่าเปิดช่องว่างให้โปร่งใสขนาดไหน เข้ามา
โดยไม่มีกติกา ไม่ได้กำหนดราคาขั้นต่ำในการบริการไว้ เพื่อปกป้องสังคม เพราะประเทศมีวิกฤติ
บริษัทไทยมันเล็กกว่ากันเยอะ ถ้าเข้ามาแล้วไม่ได้กำหนดในแผนแม่บท หรืออยู่ในกรอบ
แต่เข้ามาแบบเจรจาลับๆ แล้วซื้อไปเลย ไม่มีการกำหนดขอบเขตในเรื่องราคา เรื่องคุณภาพการให้บริการ
ผมไม่เห็นด้วย?
ภูษณยังเห็นด้วยว่าการดำเนินงานของแทคภายใต้การบริหารงานของมุสตาฝ้า ในฐานะของกรรมการผู้จัดการ
ได้มีการปรับแนวทางไปตามทิศทาง ที่ควรจะเป็นมาตลอด นั่นก็คือ ปรับปรุงมาตรฐานในเรื่องของบริการ
เพื่อยกระดับการให้บริการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดไปหมดแล้ว
"ผมคิดว่า คุณมุสตาฝ้า ในฐานะของกรรมการผู้จัดการ เขาได้ทำไปหมดแล้วในเรื่องของบริหาร
ถ้าเราไม่ทำ ลูกค้าจะไม่อยู่กับเรา โทรศัพท์มือถือ ก็มีข้อดีอย่างหนึ่ง คือ
ไม่อยากเปลี่ยน เบอร์ ถ้าบริการไม่เลวจนเกินไป เขาก็ไม่อยากเปลี่ยน? ภูษณจึงไม่คิดว่า
แทคมีข้อบกพร่องในเรื่องของการให้บริการ เหมือนกับ ที่บุญชัยมองเห็นข้อบกพร่องในเรื่องเหล่านี้
ภูษณมองว่าความสำเร็จขององค์กร ไม่จำเป็นที่จะต้องหมายถึงผลงาน ในเรื่องของเม็ดเงิน
รายได้ หรือการที่มีกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว ที่จะเป็นองค์กรที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว
แต่ควรจะสามารถตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ดังนั้น ในความคิดของภูษณแล้ว
ไม่ใช่เรื่องผิด ที่แทค จะให้น้ำหนักในเรื่องการตอบแทนสังคม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการออกแบบสื่อโฆษณา
ที่มุ่งเน้นในเรื่องของสังคม แทน ที่จะเป็นเรื่องของการโฆษณา เพื่อมุ่งสร้างยอดขาย
เหมือน ที่คู่แข่งอย่าง เอไอเอสทำ
ปัญหา ที่เกิดขึ้นของแทคเวลานี้ ในสายตาของภูษณเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ
ที่ต่างกัน มุสตาฝ้าต้องการบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ใช่เรื่องผิด เพราะการบริหารงานในฐานะของผู้บริหารมืออาชีพ
ต้องมีความโปร่งใส สร้างความสมดุลให้ผู้ถือหุ้น ดูแลผลประ-โยชน์ของลูกค้า
ในแง่ของยูคอมก็ในฐานะของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งถือหุ้นในแทค 68% จำเป็นต้องดูแลภาพรวมขององค์กร
ซึ่งทำให้กิดความขัดแย้งได้ง่าย
"ผมเห็นเรื่องนี้มา 2 ปีแล้ว แต่ผมไม่ได้อยู่ในวิสัยทัศน์ ที่จะทำอะไรได้
เนื่องจากการที่เราเป็นผู้บริหารมืออาชีพ เพราะฉะนั้น การเป็นผู้บริหารมืออาชีพก็ต้องมีตำราของมัน
ต้องดูหุ้นทั้งรายเล็กรายใหญ่ ดูแลภาพลักษณ์ ดูแลลูก ค้า ต้องสร้างสมดุลพวกนี้ให้ได้?
ภูษณกล่าว
ก่อนหน้านี้บุญชัยใช้การเจรจา ด้วยการพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานกับผู้บริหารของแทค
การพบปะกับผู้บริหารของแทค ซึ่งเกิดจากการที่บุญชัยแสดงท่าทีไม่พอใจในการบริหารงานของผู้บริหารมาหลายครั้ง
"พอเราแสดงออกมาว่าไม่ค่อย happy กับเรื่องแผน เรื่องทิศทาง พอมีความรู้สึกนี้ออกมาเขาก็เลยจัดให้ผมพบกับเจ้าหน้าที่บริหารทุกวันพุธของทุกสัปดาห์
เพื่อ ที่จะได้คุยว่าวันนี้เขาได้วางแผนอะไรออกมาบ้างแล้ว" บุญชัยเล่า
แต่การพบเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ในช่วงเวลา 4 เดือนที่แล้วมา บุญชัยบอกว่าเป็นเพียงการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้บริหารระดับสูงของแทคเท่านั้น
ไม่มีภูษณร่วมแม้แต่ครั้งเดียว และเป็นเพียงการรายงานให้รับรู้แนวทางหรือนโยบาย
ซึ่งแนวนโยบายเหล่านี้ก็ได้สั่งการมาแล้วทุกๆ เช้าจากภูษณว่าได้มีการตัดสินใจอะไรไปแล้วบ้าง
โดยที่บุญชัยไม่มีส่วนร่วมในการเข้าไปกำหนดทิศทางแต่อย่างใด
"คุณภูษณเขาสั่งการผู้บริหารของแทคทุกคนตอนเช้า มันแย้งกับสิ่งที่เขาบอกว่า
เขาไม่ได้เข้ามาในนี้เลย เขาสั่งการทุกวัน สั่งการในห้องนี้ (ห้องที่บุญชัยมานั่งทำงานหลังจากยึดตำแหน่ง
กรรมการผู้จัดการจากมุสตาฝ้า) สั่งตั้งแต่เช้าจนเ ที่ยง และก็ปล่อยให้ผู้บริหาร
ลงไปพบผมชั้น 12 ทุกวันพุธ เพื่อ ที่จะเล่าว่าได้ตัดสินใจอะไรกันไปแล้ว?
บุญชัย เล่า พร้อมกับชี้ไป ที่ห้องทำงานบนชั้น 29 ที่ตกแต่งสไตล์อังกฤษ ที่เขายึดมาจากภูษณ
สิ่งที่บุญชัยกล่าวมานี้ ขัดแย้งกับ ที่ภูษณบอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่าตัวเขาได้ลาออกจากกรรมการผู้จัดการ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวการบริหารงานในแทค
ได้ 3 ปีแล้ว จะเข้ามา ที่ตึกแทคบ้าง อาทิตย์ละวันหรือสองวันเท่านั้น
การมองปัญหาขององค์กร ที่แตกต่างกันแบบไปคนละขั้วนี้เอง และจากท่าทีของภูษณ
ที่แสดงออกอย่างชัด เจนไม่ต้องการให้บุญชัยเข้ามายุ่งเกี่ยวการบริหารงานในแทค
ก็เป็นเรื่อง ที่บุญชัยจะยอมไม่ได้เช่นกัน ในฐานะของ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อตระกูลเพราะหากแทคเป็นอะไรไปย่อม
หมายถึงความสูญเสียของตระกูลเบญจรงคกุลต่อธุรกิจ ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นเส้น
เลือดสำคัญของยูคอม ซึ่งหมายถึงการ สูญเสียรายได้มหาศาลของตระกูล
การถือหุ้นของตระกูลเบญจรงค-กุล ไม่ได้ถือโดยตรงในบริษัทแทค แต่ถือผ่านบริษัทยูคอม
ซึ่งตระกูลเบญจ-รงคกุล ถือหุ้นรวมกันทั้งสิ้น 29.33% เป็นหุ้นอันดับ 2 รองจากซอมเมอร์ส
ยูเค ที่ถืออยู่ 29.61% แล้วยูคอมจะเข้า ไปถือในแทคอีกครั้งหนึ่ง โดยยูคอมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถืออยู่ในแทค
68% เพราะนอกจากความรับผิดชอบ ที่มีต่อตระกูลแล้ว ภาระหนี้สินเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่เขาได้ตกลงกับ Strategic Partner ไว้แล้ว ซึ่งจำเป็นที่เขาต้องสร้างความมั่นใจให้กับบริษัท
Telenor ให้เกิดความชัดเจนในแทคมากที่สุด
"ในฐานะ ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด และมีบทบาทสูงสุด ที่จะเป็นผู้ ชี้ชะตา
ก็ต้องทำเหมือนอย่างที่ผมทำเมื่อวันที่ 13 ถ้าไม่ทำถือว่าไม่รับผิดชอบ มันเป็นโอกาสสุดท้ายแล้ว
เพราะเราเจรจากับพันธมิตรต่างชาติอยู่รายหนึ่ง ซึ่งใกล้งวดไปทุกที เพราะถ้าไม่เคลียร์ตรงนี้เขาจะหนีไปอีก
เมื่อเขาหนีไป ผมก็ต้องเริ่มเจรจากับเจ้าใหม่ จะดึงเวลา ไปอีก 8 เดือนเป็นอย่างน้อย
การทำ due diligence ต้องใช้เวลามาก?
และนี่เอง ที่ทำให้บุญชัยไม่สามารถรอมชอมได้อีกต่อไป !
การตัดสินใจของบุญชัยเมื่อวันที่ 13 มกราคม ด้วยการยึดเก้าอี้กรรมการผู้จัดการจากมุสตาฝ้า
หมันงะ โดยย้ายมุสตาฝ้าไปเป็นรองประธานกรรม การบริษัท ก็เท่ากับเป็นการยึดอำนาจจากภูษณโดยตรง
ซึ่งจะเป็นผู้วางนโยบายอยู่เบื้องหลังผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ของแทค เพราะตราบใด
ที่ภูษณยังกุมอำนาจการบริหารงานในแทค โอกาส ที่บุญชัยจะเข้าไปมีบทบาทกำหนดงานตามทิศทาง
ที่กำหนดได้ก็เป็นเรื่องยาก เป็นสิ่งที่บุญชัยจะรอไม่ได้อีกต่อไป
การตัดสินใจในวันนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะความกังวลใจในเรื่องของ การเข้าไปพัวพันในเรื่องการเมืองของภูษณไม่เป็นผลดีต่อการเป็นบริษัทสัมปทาน
ที่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐ อย่างบริษัทแทค ซึ่งเป็นเหตุผลรองลงมาเท่านั้น
แต่เป็นเพราะการเจรจากับบริษัท Telenor บริษัทโทรคมนาคม จากประ-เทศนอร์เวย์
ที่จะเข้ามาเป็น Strategic Partner เดินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว เป็นเรื่องจำเป็นที่บุญชัยจะต้องเคลียร์บทบาทของตัวเอง
ในฐานะ ที่เป็นเจ้า ของกิจการ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่จะต้องเป็นผู้กุมอำนาจ
ที่แท้จริง
และจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องการทำธุรกิจของแทค ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการขยายขอบเขตไปในธุรกิจ
ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง และหลายธุรกิจก็มีความซ้ำซ้อนกับบริษัทยูคอม ก็จำเป็นต้องตัดทิ้ง
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่ Telenor ต้องการความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้
นั่นก็คือ ที่มาของการตัดธุรกิจ ที่ไม่จำเป็น และเกี่ยวเนื่องทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสนามกอล์ฟ
เซ็นจูรี่ปาร์ค ร้านค้าปลีกเอเอ็ม / พีเอ็ม ยุบบริษัท ไอทีสตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาบริการเสริม
ยุบเหลือเป็นแค่แผนกเดียว
เพราะความต้องการของบุญชัย ก็คือ ต้องการให้ Strategic Partner ของแทค และยูคอมเป็นรายเดียวกัน
เพื่อให้การบริหารงานไปในทิศทางเดียว กัน ไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
ดังนั้น บุญชัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้างธุรกิจของแทค ให้เกิดความชัดเจน
หลังจาก ที่ได้ปรับโครงสร้างของยูคอมเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2542 ที่ได้กำหนดบทบาทในเรื่องของการลงทุนในธุรกิจสื่อสาร
7 กลุ่ม ประกอบไปด้วย ธุรกิจให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ธุรกิจทรังก์เรดิโอ
ธุรกิจรับออกแบบ และ ติดตั้งระบบโทรคมนาคม ธุรกิจวิทยุ ธุรกิจอินเตอร์เน็ต
ธุรกิจค้าอุปกรณ์ลูกข่าย และธุรกิจเซอร์วิสโพรไวเดอร์ให้บริการเรื่องข้อมูล
และเป็นสาเหตุที่ทำให้บุญชัย ย้ำมาตลอดถึงความจำเป็น ที่เขาต้องมองภาพรวมขององค์กรเขาไม่สามารถ
แยกปัญหาระหว่างแทค และยูคอมออกจากกันได้ จำเป็นต้องบริหารงานให้อยู่รอดทั้งคู่
เพราะหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นอะไรไป ย่อมกระทบกับอีกบริษัทหนึ่งทางอ้อม
แทคเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของยูคอม เช่นเดียวกับ ที่เอไอเอสเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้กับชินคอร์ปอเรชั่น
ถึงแม้ยูคอมจะมีธุรกิจเดิม ที่ยังเข้มแข็งเพียงใด แต่ก็มีข้อจำกัดไม่เหมือนกับแทค
ที่ยังคงสร้างรายได้ต่อเนื่อง จาก ค่าแอร์ไทม์ ที่สร้างรายได้ให้กับแทค ปีละหมื่นล้านบาท
และหากไม่มีแทคแล้ว โอกาส ที่ยูคอมจะได้ Strategic Partner มาถือ หุ้นก็เป็นเรื่องยาก
การได้บริษัท Telenor มาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุน นอกจากจะเกื้อหนุนในเรื่องของธุรกิจโทรศัพท์มือถือแล้ว
จะช่วยในเรื่องของอินเตอร์เน็ต ดาวเทียม จะเป็นผลดีกับโครงการลาวสตาร์ ที่ยูคอมยังถือหุ้นอยู่
และต้องการดำเนินธุรกิจต่อ แต่ขาดเงินทุนในการยิงดาวเทียม
Telenor เป็นบริษัทโทรคมนา- คมจากประเทศนอร์เวย์ ที่มีธุรกิจครอบคลุมในเรื่องของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
มียอดลูกข่ายระบบจีเอสเอ็ม ในประเทศนอร์เวย์ 2 ล้านเครื่อง มีการขยายการลงทุนไปใน
17 ประเทศ มีทั้งระบบจีเอสเอ็ม 900 จีเอสเอ็ม 1800 และนอร์ดิก 900 และล่าสุดได้มีการลง
ทุนในประเทศมาเลเซีย ในบริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่เทเลนอร์จะเข้าไปเป็นผู้บริหารงาน
นอกจากนี้เทเลนอร์ยังมีธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ต ภายใต้ชื่อเทเลนอร์ เน็กซ์เทล
(Telenor Nextel) ให้บริการที่สามารถป้อนผ่านอินเตอร์เน็ต โดยมีจุดเน้น ในด้านการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
การสื่อสาร การโฮสต์ (hosting) และบริการเน็ตเซ็นตริก (netcentric ser- vices)
มีบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม ภายใต้ชื่อบริษัทเทเลนอร์ แซทเทิลไลต์ เซอร์วิส
(Telenor Satellite Services) ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งระดับภูมิภาค
และระดับโลก โดยเป็นผู้ซัปพลาย และดำเนินการผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ดาวเทียมเป็นฐาน
รวมทั้งบริการแพร่ ภาพกระจายเสียง การสื่อสารเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน และใต้ทะเล
และบริการเครือ ข่ายดาวเทียม
บริการเครือข่ายในชื่อของ เทเลนอร์ เน็ตเวิร์ค (Telenor Network) มีบริการที่หลากหลายในด้านการดำเนินการเครือข่าย
และบริการซ่อมบำรุง มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ดำเนินการโทรคมนา -คมสาธารณะ และมีบริการทั้งแบบเต็มรูป
และการสนับสนุนเฉพาะส่วน
บริการไอพี บรอดแบนด์ ให้บริการหลากรูปแบบทั้งบริการที่ต้องอาศัยการสื่อสาร
ระบบบรอดแบนด์ และอินเตอร์เน็ตในการส่งผ่าน และหยุดบริการทั่วยุโรป และส่วนอื่นๆ
ของโลก และยังเรียกค่าบริการเป็นอัตราต่ำที่สุดในโลกด้วย
บริการไดเรคตอรี่ ภายใต้ชื่อ เท-เลนอร์ มีเดีย (Telenor Media) พัฒนา ผลิต
และจัดจำหน่ายสมุดรายนาม หรือไดเรคตอรี่หลายประเภทด้วยกัน รวมทั้งยังบริหารกิจการที่ให้บริการด้านนี้ทั้งในประเทศ
และระหว่างประเทศด้วย
หากพลาดจาก Telenor แล้ว นั่นหมายความว่าบุญชัยจะต้องเจรจากับ Strategic
Partner รายอื่นๆ ซึ่งการเจรจาจะมีขั้นตอนหลายอย่าง ไม่ว่าประเมินทรัพย์สิน
บัญชี ยอดลูกค้า ที่จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน ซึ่งจะไม่ทันกับการชำระหนี้พิเศษ
80 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มีกำหนดชำระในปีนี้ และนั่นหมายถึงอำนาจในการต่อรองจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ บุญชัย และเจ้าหนี้ต้องการเลย
"ยิ่งถอย เท่ากับว่าอำนาจต่อรอง เราจะหมดลงไปเรื่อยๆ องค์กรเองก็จะตกอยู่ในภาวะ
ที่แย่ลงไปเรื่อยๆ?
สำหรับในฐานะของมืออาชีพ ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา บุญชัยบอกว่า เขาได้ตอบแทนให้กับภูษณอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว
ในฐานะของมืออาชีพคนหนึ่ง ที่ทุ่มเทให้กับบริษัทด้วยหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
จำนวน 3% ซึ่งภูษณ บอกกับ "ผู้จัดการ? ราคาหุ้น ที่ขายไปเวลานั้น 1%
มีค่ามากกว่า 400 ล้านบาท บุญชัยบอกกับ "ผู้จัดการ? ว่า เป็นการตอบแทน
ที่มากที่สุดเท่า ที่มืออาชีพไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดจะได้มาแล้ว
เพราะประวัติศาสตร์ของแทค นับจากนี้เป็นต้นไป จะเหลือเพียงบุญชัย เป็นผู้ลงมือเขียนเรื่องราวจากนี้โดยลำพัง
ไม่มีมืออาชีพอย่างภูษณเป็นผู้ร่วมเขียนอีกต่อไป ส่วนเรื่องจะลงเอยอย่างไร
เป็นสิ่งที่บุญชัยจะต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของกิจการ ที่จะมาสวมบทผู้บริหารมืออาชีพต่อไป
กับสิ่งที่เขาทำลงไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2542 ที่ผ่านมากันต่อไป