ธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโอกาสโตแบบก้าวกระโดดยาก หลัง e-Procurement นโยบายภาครัฐที่หวังใช้กระตุ้นอี-คอมเมิร์ซให้เกิดเจ้า
ของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ถอด ใจ เพราะมูลค่าโครงการต่ำ กำไรน้อย ซึ่งจะส่งถึง
B2B ที่ยังต้องร้อง เพลงรอ ขณะที่คนไอทีเชื่อ B2B เกิดแน่แต่ต้องใช้เวลาและอดทน
นายสุภรัฐ เอื้อวัฒนะสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ป๊อป เน็ตเวิร์ค จำกัด
ผู้ให้บริการเกี่ยวกับตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Marketplace และเป็นอีกหนึ่งรายที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีของกรมบัญชีกลาง
ในการได้สิทธิ์เป็นผู้ให้บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) ของภาครัฐเปิดเผยถึงการดำเนินกิจการ
เกี่ยวกับการทำ B2B หรือ Business to Business ว่า B2B เป็น การผสมผสานหลายอย่างเข้าด้วยกัน
และเชื่อว่าธุรกิจนี้จะต้องทำแบบ ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเป็นเรื่อง ใหญ่ ที่สำคัญธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตจะไม่โตเร็ว
แต่ก็เชื่อว่าจะเติบโตแบบต่อเนื่อง
"ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเน็ตจะไม่โตแบบก้าวกระโดด แต่ก็เชื่อว่าจะโตแบบสม่ำเสมอ"
ส่วนนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้เอกชนเข้ามาให้บริการ e-Procurement เพื่อกระตุ้นอี-คอมเมิร์ซ
เพราะยังไม่ตื่นตัวนั้น นายสุภรัฐกล่าวว่า การที่ภาครัฐมี นโยบายออกมากระตุ้นเป็นเรื่องที่ดี
หากเรื่องดังกล่าวเกิดหรือประสบผลสำเร็จจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการทุกราย
"e-Procurement เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้น B2B แต่ e-Procurement ขณะนี้เริ่มมีการแข่งขันกันสูง
และผิดคอนเซ็ปต์ไป"
สำหรับการทำ e-Procurement ซึ่งมีผู้ให้บริการ 6 ราย เริ่มถอดใจ เพราะเห็นว่าทำแล้วไม่คุ้มค้า
เนื่องจากมูลค่าโครงการน้อย รายได้ต่ำ และมีการแข่งขันกันสูง
ด้านนางสาวกนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ อินเตอร์เนต เคเอสซี ในฐานะคนวงการอินเทอร์เน็ต
ให้ความเห็นเกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซแบบ B2B ว่า ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ซื้อขายกันได้โดยตรงโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างผู้ซื้อที่เป็นบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือหน่วยงานรัฐ
ว่าจะสามารถซื้อของได้ถูกกว่าวิธีการจัดซื้อแบบปรกติ เพราะจะเปรียบเทียบราคาของผู้ขายหลายๆ
เจ้าได้พร้อมกัน และจะได้ราคาพิเศษเนื่องจากการที่ผู้ขายจะต้องแข่งขันกันอย่างโปร่ง
ใสผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่รู้ว่าคู่แข่งจะเสนอราคาขายที่เท่าไร
ขณะเดียวกันผู้ขายจะได้ประโยชน์จาก B2B Marketplace ที่สามารถจะขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้ซื้อใหม่ๆ
ได้โดยไม่ต้องลงทุนในด้านการตลาด หาลูกค้าเหมือนแบบ การค้าปรกติ และสามารถจะเปลี่ยน
ราคาและเสนอราคาขายได้บ่อยแค่ไหนก็ได้ ทำให้มีความคล่องตัวต่อระบบการจัดการและลดต้นทุนประกอบการได้ในที่สุด
B2B ดูแล้วเหมือนจะดี แต่ในความเป็นจริงขณะนี้มีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้อีคอมเมิร์ซแบบ
B2B ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนประเมินสถานการณ์กันไว้ในปี 2000 ที่บรรดานัดลงทุนและประเภทกองทุนทั้งหลายต่างจัดเงิน
ลงทุนในธุรกิจ B2B มากถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท
ทั้งหมดลงทุนไปในบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์ B2B, บริษัทที่เป็น B2B เว็บท่า ที่เป็นตัวกลางจัดระบบแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายรวมกันมีจำนวนถึง
142 บริษัท
แต่พอเริ่มดำเนินการจริงต้อง ประสบกับปัญหาคือ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่อยากจะที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการซื้อขายแบบออนไลน์
ที่ต่างไปจากการจัดซื้อแบบเดิมที่รู้จักทั้งผู้ซื้อและผู้ขายดีอยู่แล้ว ความสัมพันธ์ที่มีกันมายาวนานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ตลอดจนความเชื่อที่ว่าการใช้โทรศัพท์ แฟกซ์ส่งราคา และจัดการประมูล แบบใส่ ซองปิดผนึกก็มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญในการได้พูดคุยเห็นหน้าเห็นตากัน
จะสามารถต่อรองราคาตกลงทำธุรกิจกันได้ดีกว่า
อุปสรรคอีกข้อหนึ่ง คือ ทัศนคติของผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ แตกต่างไปจากผู้บริหารระดับกลาง
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยทั่วไป ที่ผู้บริหารต้องการเข้าสู่ระบบการจัดการสมัยใหม่จาก
Industrial age เข้าสู่ Information age โดยพยายามผลัก ดันนำระบบใหม่มาใช้ แต่อาจจะไม่
ได้ฝึกในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติคน การเรียนรู้ของคน จะช้ากว่าการเปลี่ยนเปลงในเทคโนโลยีเสมอ
โดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์และไอที
รอยต่อในการเปลี่ยนแปลงจากยุคปฏิวัตอุตสาหกรรมไปยังยุคอุตสาหกรรมข่าวสารสารสนเทศ
ยังคงต้องใช้เวลาให้ผู้คนทั่วไปยอม รับ และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำระบบใหม่มาใช้
เช่น ต้นทุนอุปกรณ์ฮาร์ด แวร์ ซอฟต์แวร์ ค่าฝึกอบรมพนักงาน ตลอดจนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลองผิดลองถูก
ทั้งหมดจะเกิดก่อนที่จะสามารถประหยัดต้นทุนได้จริงจากการใช้ระบบ B2B
เรื่องของเปอร์เซ็นต์ที่ผู้ขายต้องจ่าย ให้แก่บริษัทกลางที่เป็นผู้จัดทำระบบและบริหาร
B2B ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ B2B ไม่เกิด เพราะผู้ขายมองว่าทำไมจึงต้อง มาจ่ายให้แก่คนกลาง
สู้นำเปอร์ เซ็นต์ตัวนี้ไปลดให้ผู้ซื้อโดยตรงดีกว่า แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่าผู้ขายส่วน
ใหญ่ยังพอใจที่จะติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรงแบบเห็นหน้าค่าตา เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้ในระยะยาว
มากกว่าที่จะต้องผ่านอินเทอร์เน็ต
"ผู้ที่ทำธุรกิจ B2B ขณะนี้คงต้องใช้ความอดทน ทำความเข้า ใจ และต้องช่วยฝึกอบรมผู้ซื้อและผู้ขายให้เข้าใจถึงประโยชน์ในอนาคต
พร้อมกับสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายควบคู่กับไปด้วย ยังไงๆ B2B
ก็เกิดแน่ แต่ต้องใช้ระยะเวลา ผู้ที่ทำธุรกิจนี้ต้องอดทนจนกว่าเวลานั้นจะมาถึง"
นางสาวกนกวรรณกล่าว