ลักษณะกองทุนรวมอสังหาฯ ตามเกณฑ์ ก.ล.ต.

โดย สุจินดา มหสุภาชัย
นิตยสารผู้จัดการ( มีนาคม 2550)



กลับสู่หน้าหลัก

ลักษณะสำคัญทั่วๆ ไปของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) กำหนดให้จัดตั้งได้นั้น พอสรุปได้เป็นสังเขปดังนี้

1. จะต้องเป็นกองทุนปิดประเภทที่ไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน แต่บริษัทจัดการจะต้องนำไปจดทะเบียนไว้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อ-ขาย

2. ต้องเป็นกองทุนที่มีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

3. กองทุนสามารถจัดตั้งได้ 2 รูปแบบ คือ

- กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง เป็นกองทุนรวม
ที่กำหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อ หรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้ว
ในโครงการ

- กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง เป็นกองทุนรวมที่กำหนดเพียง
ประเภท และทำเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ใน
โครงการเท่านั้น

4. กองทุนจะต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาและมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิในการเช่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value : NAV) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี

5. อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วไม่น้อยกว่า 80% และไม่อนุญาตให้กองทุนรวมซื้อที่ดินว่างเปล่า ทั้งนี้ กองทุนรวมจะต้องถืออสังหาริมทรัพย์ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี

6. ในกรณีที่กองทุนรวมมีกำไรสุทธิในแต่ละปี บริษัทจัดการกองทุนรวมจะต้องจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิประจำปีนั้นๆ


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.