บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป " หมี่จัง" เป็นสินค้าตัวแรกที่ กลุ่มนำเขามาจากไต้หวัน
มุ่งเข้าสู่ตลาดประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2534 นายทีซี วู กรรมการผู้จัดการ
บริษัท นำเชา ( ประเทศไทย) จำกัด ขณะนั้น ได้ประกาศเป้าหมายการทำตลาดหมี่จังในปีแรกว่า
ต้องการมีส่วนแบ่งตลาดราว 10-15% ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งระบบ ซึ่งมีมูลค่าราว
2,100 ล้านบาท และภายใน 3 ปี จะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำของตลาดบะหมี่สำเร็จรูประดับพรีเมี่ยม
ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ในตลาดรวมประมาณ 18%
แต่จนทุกวันนี้ ทุกอย่างดูเหมือนจะผิดคาด
การท้ารบกับรุ่นพี่ในตลาดบะหมี่สำเร็จรูป อย่างมาม่า ยำยำ ไวไว ซึ่งครอบครองส่วนแบ่งตลาดอยู่เกือบ
100% ของหมี่จังในครั้งนั้น เป็นที่จับตากันว่าตลาดบะหมี่สำเร็จรูปประเทศไทยจะมีการพลิกโฉมหน้าไปเช่นไร
เพราะหากเปรียบเทียบความพร้อมแล้ว นำเชา ( ประเทศไทย) น่าจะมีกำลังมากพอที่จะทำได้อย่างที่พูด
ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ศักยภาพ ของบริษัทแม่อย่างนำเชา ไต้หวัน ที่มีประสบการณ์ในการผลิตและการตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมานาน
จนสามารถผลักดันให้บะหมี่กึ่ง สำเร็จรูป " ลิตเติ้ลกุ๊ก" เป็นผู้นำในไต้หวัน
หรือการทุ่มเทเรื่องการลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหารและบะหมี่สำเร็จรูปในประเทศไทย
ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่า สูงเกือบ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้ว
ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกอีกด้วย เฉพาะอย่างยิ่งด้านผลิตภัณฑ์บะหมี่สำเร็จรูป
นำเชา ได้มอบหมายให้โรงงานในไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งกลับไปจำหน่ายด้วยการยกเลิกฐานการผลิตบะหมี่สำเร็จรูปกึ่งสำเร็จที่ไต้หวันไปเลย
ประการสุดท้าย นำเชา ได้ทุ่มงบประมาณด้านการทำตลาด เพื่อผลักดันหมี่จังอย่างเต็มที่
ไม่ว่าจะเป็นการว่าจ้างบริษํท ดีทแฮล์ม ( ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้กระจายสินค้าและทำตลาด
หรือการมอบหมาย ให้บริษัททลีฃดอ เบอร์เนทเป็นเอเยนซี โฆษณา ด้วยงบดังกล่าว
ทำให้เสียงซดน้ำซุปหมี่จังด้วยคความเอร็ดอร่อยของพลทหารในหนังโฆษณาเปิดตัว
ยังก้องอยู่ในหูผู้บริโภคจนถึงทุกวันนี้
แต่นำเชามีจุดอ่อนประการสำคัญ คือการขาดประสบการณ์การทำการตลาดในประเทศไทย
ดังจะเห็นได้จากนำเชามอบหมายผลิตภัณฑ์สำคัญอีก 1 ตัว คือ ขนมข้าวอบกรอบ "
ปู้เช่อปู้เข่อ" ให้บริษัทอินช์เคป มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นผู้กระจายสินค้าและทำตลาดให้
ซึ่งในครั้งนั้น นำเชา คาดหวังว่า การว่าจ้างผู้นำทางด้านการตลาดอย่างดีทแฮล์มและอินช์เคป
มาร์เก็ตติ้ง จะมาช่วยแก้ปัญหาได้ แต่หลังจากให้เวลาเกือบ 3 ปี นำเชาก็พบว่า
ความคิดดังกล่าวไม่สามารถทำให้นำเชาประสบความสำเร็๗ในตลาดเมืองไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของหมี่จัง
ซึ่งเป้นความหวังสำคัญของนำเชา จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดครั้งสำคัญเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
" ผลประกอบการของบริษัทในปี 2537 ที่ผ่านมา ต่ำกว่าเป้าหมายที่เราคาดไว้
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาการเปลี่ยนแหลงครั้งสำคัญ คือการไม่ต่อสัญญาการจัดจำหน่ายกับบริษํทผู้แทนจำหน่ายสินค้าให้กับเรา
2 บริษัท และได้แต่งตั้งทีมงานบริหารขายขึ้นมารับผิดชอบสินค้าเองเป็นครั้งแรก
ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ในการทำการตลาดไปช่วงหนึ่ง" นายแดนนิส เฉิน ประธานบริษัทกลุ่มบริษัท
นำเชา ประเทศไต้หวัน ซึ่งต้องเข้ามาควบคุมดูแลตลาดเมืองไทย ด้วยตัวเอง กล่าว
ปัจจุบันทีมงานบริหารการขายของนำเชา ( ประเทศไทย) ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา
จำนวน 30 ตำแหน่ง มีนายชัชวาล เอียมพัฒนาสุข เป็นผู้รับผิดชอบในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด
นายเดนนิส เฉิน กล่าวถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า เพราะต้องเรียนรู้ตลาดประเทศไทยด้วยตัวเอง
" การที่เรามอบให้บริาทดิสทรบิวเตอร์ขายสินค้า ทำให้เราไม่ได้เรียนรู้ตลาดเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาสินค้าในอนาคต"
นอกจากเหตุผลที่นายเฉิน อ้างแล้ว มีความเป็นไปได้มากว่าสาเหตุสำคัญที่นำเชาตัดสินใจดึงหมี่จังและปู้เช่อปู้เข่อ
กลับมา เพราะต้องการเป็นผู้พลิกสินค้าพื้นเมืองของบริษัทเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของหมี่จัง
ซึ่งมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อ 3 ปีก่อน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามมุ่งหวังไว้แต่น้อย
แม้ว่าผู้บริหารจะพูดย้ำเสมอว่า หมี่จังประสบความสำเร็จในตลาดเป็นที่น่าพอใจมาก
ผู้บริหารของนำเชา ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่า ขณะนี้หมี่จัง มีส่วนแบ่งในตลาดเท่าไหร่
แต่หากประมาณจากเป้าหมายการขายรวมของนำเชาในปีนี้ ซึ่งตั้งไว้ที่ 200 ล้านบาท
และจะพบว่า หมี่จังจะมียอดขายประมาณ 160-175 ล้านบาท
ตัวเลขดังกล่าว หักจากยอดขายปู้เช่อปู้เข่อ ซึ่งนำเชาอ้างว่ามีส่วนแบ่งตลาดประมาณ
1.3% ของตลาดมูลค่า2,000 -3,000 ล้านบาท โดยที่ยังไม่ได้หักยอดขายของบะหมี่สำเร็จรูปลิดเติ้ลกุ๊ก
และซิยมัยไรซ์แครกเกอร์ ซึ่งเพิ่งแนะนำเข้าสู่ตลชาดเมื่อเร็ว ๆ นี้ และคาดว่า
ยังมีตัวเลขการขายไม่มากนัก
จากตัวเลขประมาณการยอดขายหมี่จังที่ 160-175 ล้านบาทดังกล่าว หากเทียบเป็นส่วนแบ่งตลาดแล้ว
จะพบว่า หมี่จังมีส่วนแบ่งอยู่เพียง 4-4.5% ของมูลค่าตลาดรวม 4,000-8,000
ล้านบาท ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างไกลกับเป้าหมายที่นำเชาคาดหวังไว้มากมาย
ณ วันนี้ แม้ว่านำเชา จะไม่ได้ประกาศกร้าวถึงเป้าหมายอันสวยหรูของหมี่จังอีกต่อไป
แต่นำเชาก็ยังกล่าวอย่างมั่นใจว่า ยังยืนหยัดต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ เพราะเชื่อมั่นในส่วนสนับสนุนอื่น
ๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง การควบคุมดูแลเรื่องการขาย การตลาดและการส่งออก
รวมทั้งการมีโนว์ฮาวที่พร้อมจะสนับสนุนในทุกทาง
รวมทั้งนำเชายังวางแผนที่จะเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ในประเทศไทยให้ได้ใน
5 ปีข้างหน้า โดยสนใจที่จะผลิตและทำตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิด เฉพาะอย่างยิ่งน้ำดื่ม
ไอศกรีม และบีสกิต ซึ่งเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างดีมาแล้วในไต้หวัน
เมื่อถึงเวลานั้นได้พิสูจน์กันอีกครั้งว่า นำเชา จะนำเอาประสบการณ์จากหมี่จังไปช่วยสร้างสินค้าตัวอื่น
ๆ ได้หรือไม่