โตโยต้าไทย เปิดโลกว้าง ถึงยุคส่งออกเสียที


นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2538)



กลับสู่หน้าหลัก

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ก้าวถึงยุคแห่งการส่งออก ที่ผ่านแผนงานและการวางรากฐานมาแรมปี อย่างน้อย 5 ปี ที่แผนนี้ ได้ส่วนโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคมไทย แม้ตัวเลขส่งออกปีล่าสุดจะมีเดียง 750 คัน แต่หลังจากโตโยต้า เกต์เวย์ เริ่มต้นผลิต เราจะเห็นตัวเลขส่งออกสวยหรูกว่าที่เป็นอยู่

และมิใช่โครงการถ่ายทอด เทคโนโลยี เท่านั้น ที่เตรียมรองรับแผนการส่งออก หรือทำให้เห็นภาพชัดแต่กิจกรรมรอบด้านอีกมาก ที่หนุนทำให้ภาพลักษณ์แห่งยุคการส่งออกปรากฏชัดขึ้นมา

นายที ชาโต้ ประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีของบริษัทว่า ตลอดระยะเวลา 33 ปี ที่โตโยต้า ได้ดำเนินอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น ได้เน้นการพัฒนาสินค้ามาโดยตลอด จนทำให้ยอดขายของบริษัท มีจำนวนมากที่สุดในตลาดรถยนต์ไทยติดต่อกันมารจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 15 แต่นั่นคงเป็นเพราะว่าบริษัทได้วางแนวนโยบายที่เสริมสร้างสังคมไทย และอุตสาหกรรม ของไทยเป็นสำคัญด้วย

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ใช้ทุนจำนวนมากในการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ใช้ในการวางรากฐานด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งทั้งหมด ก็เพื่อทางสร้างศักยภาพให้แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในภาคอุตสากรรมการผลิตรถยนต์ของบริษัท

โครงการดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย การพัฒนาทรัพยากรบุคลของโตโยต้า ไทยเอง การให้ความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ การถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ให้กับสถาบันในระดับอาชีวะศึกษาที่สังกัดกรมอาชีวะศึกษา และสถาบันราชมงคล รวมทั้งการสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน และวิทยากรทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น การจัดตั้งโรงเรียนช่างยนต์โตโยต้า เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ด้านช้างยนต์ ซึ่งเป็นโครงการระหว่างทดลอง และการร่วมสนับสนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ป้อนให้กับโตโยต้าเหล่านี้ สุดท้ายก็เพื่อความเติบโตและมั่นคงของโตโยต้าไทย ที่มีความมั่นใจว่า ภาคการตลาดจ้องเดินด้วยความมั่นคงของภาคอุตสาหกรรม

สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ป้อนให้กับโตโยต้านั้น ทางโตโยต้าได้เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในด้านของการรักษาและควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า ให้ได้คุณภาพที่ดี และสม่ำเสมอ รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้สิค้าที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง

นายนินนาท ไชยธีระภิญญโญ กรรมการบริษัทฝ่ายวิศวกรรม กล่าวถึงเหตุผลการพัฒนาและถ่ายเทิดเทคโนโลยีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ว่า การที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งป้อนให้กับโตโยต้า ไม่สามรถผลิตชิ้นงานให้ได้คุณภาพทัดเทียมระดับโลก ด้วยต้นทุนที่สามารถส่งออกแข่งขันกับตลาดต่างประเทศไทด้ นั่นก็หมายความว่า โตโยต้าจะยังไม่สามารถส่งออกสินค้าประเทศในระยะยาว

ผู้บริหารของโตโยต้า ไทย กล่าวอย่างมั่นใจว่า เมื่อโครงการโรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ซึ่งเป็นดรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ ตั้งอยู่ในอาณานิคมอุตสาหกรรม เกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา เสร็จสมบูรณ์ และเริ่มการผลิต เมื่อนั้นการส่งออกของโตโยต้า ไทย จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น จากปัจจุบัน ที่การส่งออกมีเพียงประมาณ 0.59 % ของยอดการจำหน่ายในประเทศ

นายนินนาท กล่าววถึงความคืบหน้าโครงการโตโยต้า เกตเวย์ ว่า คาดว่าในดือนกุมภาพันธ์ 2539 จะสามารถเปิดดำเนินการผลิต ซึ่งจะทำให้บริาษัทมีกำลังการประกอบรถยนต์ได้สูงสุดปีละ 200,000 คัน ทั้งเป็นการผลิตจากดรงงานโตโยต้า เกตเวย์ จำนวน 50,000 คันต่อปี และจาก คอมเพล็กซ์ ของบริษํท ที่สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงงานในปัจจุบันอีก 150,000 คันต่อปี ซึ่งนายที ซาดต้ ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า การที่บริษัทมีนดยบายผลิตรถยนต์ให้ได้ปีละ 200,000 คัน จึงต้งเตรียมบุคลากรไว้รองรับอยู่แล้ว ส่วนการส่งออกเป็นเรื่องของกแผนระยะยาว

ความเกี่ยวเนื่องที่หนุนให้เห็นภาพว่าโตโยต้า ไทย กำลังเข้าสู่ยุคการส่งออกอีกประการหนึ่ง ก็คือ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่น มักประสบปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ บริษัททเครือข่ายที่มีอยุ่ทั่วโลก ต้องนำเข้าชิ้นส่วนของรถยนต์ ในจำนวนที่สูงพอสมควร ซึ่งทำให้การทำตลาดในประเทศยากลำบากยิ่งขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้น เป็นลำดับ ยิ่งทำให้การสั่งซื้อชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่น ต้องประสบปัญหาเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนผสมโรงเข้าไปอีก

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศญี่ปุ่น จึงวางนโยบายในการเสริมฐานการผลิตนอกประเทศ ให้มีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะฐานการผลิตในเอเชีย ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่ตลาดรถยนต์มีอัตราเติบโตน่าสนใจมากที่สุด

เมือ่ปลายปีที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากโตโยต้า ไทย ว่า ผลสำรวจของโตโยต้า มอเตอร์ เกี่ยวกับคุณภาพของการประกอบรถยนต์โตโยต้า จากฐานการผลิตโตโยต้าทั่วโลก 25 ประเทศ นั้น โตโยต้าไทยได้รับคะแนนสูงสุดในการประกอบรถยนต์ 2 รุ่น คือรถยนต์นั่ง โคโรล่า และปิก อัพ ไฮลักซ์ ซึ่งนับเป็นการรับรองทางอ้อมในภาคของการผลิต

ดูด้านตลาดในปีล่าสุด โตโยต้า ไทย สามารถ ครองอันดับหนึ่งตลาดรถยนต์ของไทยไว้ได้ ด้วยยอดจำหน่าย 126,477 คัน ซึ่งยอดจำหน่ายนี้ ทำให้ให้ตลาดรถยนต์โตโยต้า ในไทย ขยับแซงออสเตรเลียขึ้นมา เป็นอันดับ 2 ของตลาดรถยนต์โตโยต้า ทั่วโลก รองจากสหรัฐอเมริกา เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ไมนับตลาดรถยนต์โตโยต้าในญี่ปุ่น

การที่ตลาดโตโยต้า ไทย ขยับขึ้นมาเป็นปีที่ 2 นั้นมีความหมายมาก

" โตโยต้า ไทย มีเจตจำนงแน่วแน่ ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะเป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออกในอนาคต" คำกล่าวของนายที ซาโต้ ซึ่งอาจเป็นบทสรุป



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.