ไขปริศนาโครงข่าย "ไทยโมบาย" อืด ซีเมนส์ย้ำติดระเบียบกับต้นทุนค่าเช่า


ผู้จัดการรายวัน(18 กุมภาพันธ์ 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

ซีเมนส์ไขปริศนา ความล่าช้าโครงข่ายไทยโมบาย โทรศัพท์มือถือ 1900 เมกะเฮิรตซ์ เกิดจากสัญญาที่ไม่เป็นเทิร์นคีย์สมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะประเด็นระเบียบปฏิบัติและ ค่าใช้จ่าย ทำให้ไทยโมบายเสียโอกาสทางธุรกิจ ย้ำอุปกรณ์ซีเมนส์ อยู่ในโกดังกว่า 6 เดือนแล้ว และพร้อมอัพเกรดจนถึง 3G

นายสมชัย ขีปนวรรธน์ รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัท ซีเมนส์กล่าวถึงความล่าช้าในการติด ตั้งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ของไทยโมบายว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นเพราะสัญญาที่ทำไว้ตอนต้นไม่รวม การหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน, ระบบสื่อสัญญาณและระบบกำลังไฟฟ้า

"ปัญหาคือระเบียบปฏิบัติและค่าใช้จ่าย"

ซีเมนส์รับผิดชอบสถานีฐานประมาณ 250 ไซต์ ติดตั้งแล้วเสร็จ ประมาณ 160 กว่าไซต์ ที่เหลืออีก 30 กว่าไซต์มั่นใจว่าจะเสร็จภายในสิ้นเดือนก.พ.ส่วนอีก 50-60 ไซต์อยู่ระหว่างจัดหาสถานที่ติดตั้ง ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนมี.ค. หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนเม.ย.ในส่วนของสถานีฐานซีเมนส์กับอีริค-สันแบ่งกันคนละครึ่งจากจำนวน 524 ไซต์

ความล่าช้าในการติดตั้งเครือข่ายเป็นเพราะระเบียบปฏิบัติของไทยโมบายที่ยังหนีไม่พ้นกรอบรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้ จ่ายในการหาสถานที่ติดตั้งเครือข่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ยุทธศาสตร์ ที่มีการใช้งานหนาแน่นอย่างสยาม สแควร์ หรือย่านใจกลางธุรกิจอย่าง สีลม

"สมมุติไทยโมบายได้รับอนุมัติค่าเช่าไซต์มี 2-3 หมื่นบาท แต่ที่แถวสยามสแควร์หรือสีลมคิด 8 หมื่นบาทต่อเดือน ก็หมดปัญญา เช่าแล้ว"

การหาสถานที่ติดตั้งเครือข่าย เป็นสิ่งที่ทำให้งานสะดุดในช่วง 6 เดือนแรกหลังเซ็นสัญญา ทั้งๆที่อุปกรณ์ของซีเมนส์ถูกนำเข้ามาตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้วครบเรียบร้อยทุกสถานีฐาน แต่ไม่สามารถติดตั้งได้เพราะไม่มีไซต์ ในแง่ซัปพลายเออร์ การดีเลย์เรื่องเก็บเงินเป็น ต้นทุน ต้องจ้างยาม ต้องมีประกันและภาพพจน์ก็เสีย เหตุผลส่วนหนึ่งคือสถานภาพในการเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกฎระเบียบที่ค่อนข้างเข้มงวด ไม่อนุญาตให้มีการทำ งานแบบเอกชน

ปัญหาอุปสรรคคือระเบียบที่ระบุให้ไทยโมบายต้องเลือกไซต์ติด ตั้งเครือข่ายจากไซต์เดิมของโทรศัพท์มือถือในระบบ 470 เมกะ-เฮิรตซ์ หลังจากนั้นเป็นที่ทำการไปรษณีย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) สำนักบริการของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ที่ของทีเอ เมื่อหมดจากนี่แล้วจึงสามารถเช่าจากเอกชนทั่วไปได้ รวมทั้งงานทุกอย่างกระจุกอยู่ที่ผู้จัด การใหญ่เพียงคนเดียว แม้กระทั่งการเช่าที่ทำให้ไม่สามารถคล่องตัวในการปฏิบัติงานได้ ภาพสะท้อนคือความล่าช้าในการติดตั้งเครือข่าย

"เสียเวลามากกว่า 6 เดือน ในการตั้งกรรมการเจรจาและกำหนดค่าเช่า การมี 2 หน่วยงานทำงานร่วม กันค่อนข้างลำบาก ถ้าจะทำงานแบบเอกชนต้องยอมรับ อาจไม่ต้อง ระดับผู้จัดการใหญ่ แต่อาจเป็นระดับรองลงมา ไมได้มองว่าแค่ 2-3 หมื่นเป็นหลัก แต่ต้องมองว่าโอเปอเรเตอร์รายอื่นเช่าเท่าไหร่ ถ้ารับได้ ก็น่าจะยอมรับให้ผู้บริหารระดับรองใครก็ได้มาเซ็นสัญญาภายใต้กรอบที่กำหนดไว้"

เขาย้ำว่าอุปกรณ์สถานีฐานที่นำเข้ามาสำหรับไทยโมบาย เป็นอุปกรณ์ชุดเดียวกับที่ติดตั้งให้เอไอเอส ซึ่งของเอไอเอสได้อัพเกรดยกระดับจาก 2G ไปเป็น 2.5 G หรือเครือข่าย GPRS เรียบร้อยแล้วรวมทั้งซีเมนส์ยังมีแผนเสนอไปจนถึงระดับ 3G อุปกรณ์ของซีเมนส์สามารถอัพเกรดด้วยการเพิ่ม ซอฟต์แวร์เข้าไปเพื่อยกระดับให้เครือข่ายไทยโมบาย ที่อยู่ในยุค 2G ก้าวไปสู่ 2.5G หรือแม้กระทั่งไปสู่ 3G ได้

ซีเมนส์มีเทคโนโลยี3G แล้ว โดยการเป็นพัฒนาร่วมกับเอ็นอีซี เพื่อบุกตลาดทั้งยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่นที่ถือเป็นตลาดโทรศัพท์มือถือที่มีความก้าวหน้าทั้งการใช้งานเทคโนโลยี แอปพลิเคชั่นและมีราย ได้ต่อเลขหมายที่สูง
ในสายตาของซัปพลายเออร์ไทยโมบาย ซีเมนส์มองว่าจุดแข็งของไทยโมบายอยู่ที่1.ต้นทุนไล เซ็นต์ไม่มี 2.และได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต 10% ไม่ต้องจ่าย 3. เบสิกอินฟราสตรักเจอร์มหาศาลอาคารสถานที่ ระบบสื่อสัญญาณ บุคลากร 4.มีไลเซ็นต์ 3G เพียงคนเดียว

ซึ่งในแง่การลงทุนทศท.ควรคำนึงถึงอินฟราสตรักเจอร์เดิมที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นชุมสายสื่อสารข้อ มูลเอทีเอ็ม ชุมสายโทรศัพท์พื้นฐาน ชุมสายโทรศัพท์มือถือ ไอพีเน็ตเวิร์ก ระบบสื่อสัญญาณต่างๆ ต้องมีการใช้ประโยชน์สูงสุด

"อนาคตทุกอย่างเป็นเรื่องของ การยูทิไลซ์ทุกอย่างให้เป็นประ โยชน์ ทุกอย่างจะวิ่งบนไอพีหมด ชุมสายเราด้านวอยซ์พร้อมไป 3G ได้เลยโปรดักส์เรามีครบเบสมีทุกประเภท การโคโลเคชั่นทำได้หมด เพียงแต่ถนนไม่ใช่เรื่องสำคัญ ไทยโมบายต้องคิดให้ออกว่าจะเอารถอะไรมาวิ่งบนถนน 3G มากกว่า"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.