เมื่อ 5 ปี ที่แล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นเพียงวิทยาลัยยาลัยเอกชนเปิดใหม่แห่งหนึ่งเท่านั้น
แต่ด้วยพื้นฐานความคิดของผู้บริการที่เน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตรตามความต้องการของตลาดแรงงานเป็นหลัก
จนทำให้กลายเป็นจุดขายที่โดดเด่นในสถาบัน สิทธิชัยโภไคยอุดม คือผู้นำอย่าวงแท้จริงทั้งทางด้านวิชาการและการบริหารมหาวิทยาลัย
ผู้ซึ่งมีแนวคิดในการบริหาร ที่ว่าการบริหารไม่จำเป็นต้องเรียน แต่ต้องมีพรสวรรค์และให้คอมมอนเซนซ์ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
แม้เป็นความเห็นที่แตกต่าง แต่ห้าปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า เขาได้ทำเรื่องราวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
และตัวเขาเองเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวถึง
ท่ามกลางความใฝ่ฝันและความคาดหวังที่จะยกระดับขึ้น สู่ความเป็นชาติอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว
ความเป็นจริงที่เป็นมานาน และกำลังเป็นอยู่คื อประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก
ข่าวบริษัทฮานา ไมรโครอิเล็กทรอนิกส์ วางแผนเคลื่อนย้ายการลงทุนไปสู่จีนและเวียดนาม
เพระไม่สามารถหาแรงงานที่มีฝีมือในเมืองไทยได้อย่างเพียงพอ ซึ่งปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ดิ
เอเลี่ยน วอลล์สตรีท
เจอร์นัล เมื่อไม่นานมานี้ คือรูปธรรมของปัญหาที่สำคัญที่ส่งสัญญานเตือนถึงผลเสียหายที่จะตามมาในอนาคต
มาซายูกิ คูซูมิ ผู้อำนวยการขององค์การเจโทร ประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า บริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาหนักในเรื่องนี้
เนื่องจกานักศึกาาที่จบทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของไทยมีเพียงปีละไม่กี่พันคน
ในขณะที่ความต้องการมีมากกว่านี้ 3-4 เท่า
ปัญหานี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงการปล่อยปละละเลยระบบการศ฿กษาของรัฐ
ซึ่งใช้งบประมาณไปได้ในด้านอื่นมากกว่าการศึกษา ประกอบกับระบบราชการมที่มากด้วยขั้นตอนเข้าครอบครองการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ
การบริหารที่ไม่ยืดหยุ่น การบริหารที่ไม่ได้เงยหน้ามองถึงการพัฒนาของเทคโนดลยี
จนกระทั่งไม่สามารถผลิตบุคลากรที่จำเป็นต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
เรื่องมันเริ่มต้นที่การมีงบประมาณน้อย เงินเดือนไม่มากพอจะชักชวนให้วิศวกรมาเป็นอาจารย์
ช่วงว่างเงินดือนระหว่างภาครัฐกับเอกชนที่ต่างกันราวฟ้ากับเหว อาจารย์ที่จบปริญญาตรีจะได้เงินเดือนประมาณ
5,000
บาท
หรือแม้กระทั่งวิศวกรทั่กวิชาชีพอาจารย์จริง ๆ ก็ยังอึดอัดกับระบบราชการ
ต่างหลีกเลี่ยงการสอนในสถาบันของรัฐและไปสอนให้กับสถาบันเอกชน ตัวอย่างเช่น
หากสอนในสสถาบันของรัฐอาจารย์ต้องเสียเวลากับขั้นตอนมากมายในการเบิกเงินเพียง
2,000 - 3,000 บาท ในขณะที่ถ้าสอนในสถาบันเอกชนเสร็จในแต่ละครั้ง จะมีคนนำค่าตอบแทนไปให้ทันที
" แค่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว กว่าจะซื้อได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน
ระบบไม่ยืดหยุ่น กว่าจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ เครื่องนั้นก็จะล้าสมัยไปแล้ว"
อาจารย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐบาลท่านหนึ่ง กล่าวกับผู้จัดการ
แม้กระทั่ง นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธการบดี มหาวิทยาลัย ยังเคยกล่าวว่า
มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเหมือนต้นไม้ที่ถูกตอนจนทำให้แคระเกร็น เพระาระบบการบริหารที่ไม่คล่องตัว
เป็นที่น่าดีใจที่รัฐบาลก็ทราบถังความขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่บ้าน
แต่ก็น่าเสียใจเมื่อรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณและความพยายามในการเปลียนแปลงการบริหารที่มากพอ
อันจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นความพยายามยังคงอยู่ในกรอบการบริหารของระบบราชการ
ซึ่งมีความพยายามที่ผิดทาง
จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งก็เตรียมดครงการที่พยายามหลุดพ้นออกมาจากระบบที่เรื้อรังมานานอย่างระบบราชการ
โครงการทุกอย่างของมหาวิทยาลัยของรัฐ จะต้องอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐจและสังคมแห่งชาติ
งานที่นอกเหนือจากนั้นเป็นที่รู้กันว่าผู้บริหารจะทำไมได้
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
ที่เป็นความต้องการของตลาด
แต่ก็เปิดโครงการนี้ไม่ได้ เพราะ ไม่ได้บรรจุอยู่ในแผนฯ 7 ต้องรอไปถึงแผนฯ
8 ซึ่งจะเริ่มอีก 2-3 ปีข้างหน้า
" เทคโนโลยีไปไวกว่าขั้นตอนของรัฐ ใครจะไปรู้ถึงความต้องการของตลาดได้อย่าถูกต้อง
เราต้องยืดหยุ่นมากว่านี้ ถ้าเราจะเขียนในแผนเผื่อ ๆ ไว้หลายโครงการ ก็จะถูกบังคับให้ทำตามแผนที่เขียนไว้ทุกอย่าง
ซึ่งก็กลัวว่าการคาดการณ์ของเราผิดพลาด เราะอยากทำแบบโครงการศึกษาพิเศษที่ไม่ได้พึ่งรัฐบาล
แต่ให้ค่าตอบแทนอาจารย์เท่ากับเอกชน ก็กลัวว่า จะไม่ผ่านการพิจารณา"
ประกิจ ตังติสานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง กล่าว
ท่ามกลางปัญหาแห่งความขาดแคลนวิศวกรและเงื่อนไขการบริหารระบบราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอชน
จึงน่าจะเป็นที่พึ่งของรัฐบาล ไม่ว่าคุณจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ถ้ามีตัวเลขของจำนวนวิศวกรที่เพิ่มมากขึ้น
ก็น่าจะแก้หน้าของรัฐบาลได้อยู่บ้าง
ทันทีที่รัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยเริ่มมีนโยบายเร่งรัดการผลิตวิศวกร มหาวิทยาลัย
เอกชน หลายแห่ง ก็ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีประทุม มหาวิทยาลัยสยาม
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี
วิทยาลัยเทคโนโลยีสกลนคร วิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
การตอบรับการสร้างวิศวกรบัณฑิตจากภาคเอกชน พร้อมกับการลงทุน ก้อนโตของแต่ละสถาบัน
รวมทั้งค่าหน่วยกิตและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นักศึกษาต้องจ่ายประมาณ แล้วแต่ละครอบครัว
ที่ต้องการให้ลูกเป็นวิศวกรจากสถาบันศึกษาเอกชน จำเป็นต้องลงทุนประมาณ 2,000,000
บาท ตลอดเวลาสี่ปีของการศึกษา
ในบรรดาสถาบันที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
เป็นหนึ่งเดียวที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อน ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มุ่งเน้นบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นแห่งแรก
มหาวิทยาลัยเอน แห่งนี้ มีผู้ริเริ่มโครงการเป็นอาจารย์ที่มีประสสบการร์จากเทคดนโลยีเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง ส่วนหนึ่ง ร่วมกับยงศักดิ์ คณาธนวนิช ผู้เป็นเจ้าของในเครือแหลมทองอุตสาหกรรม
และครอบครัวของอนันต์ อนันตกูล อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งสามส่วนถือหุ้นในจำนวนที่เท่ากัน
กลุ่มอาจารย์สามคนแรกที่ร่วมก่อตั้ง คือสิทธิชัย โภไคยอุดม, เลอเกียรติ
วงศ์สารพิกูล,และเดเนียล บนริน ทั้งสามคนมีวุฒิการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอก
สองคนนั้นลาออกจาการเป็นอาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง อีกคนนั้นเป็นอดีตอาจารย์พิเศษของสถาบันเดียวกัน
" ผมทำงานกับอาจารย์สิทธิชัยมาตลอด ตั้งแต่ที่ผมมาสอนที่ลาดกระบังแล้วพออาจารย์มาตั้งที่นี่
ผมก็ออกมาร่วมงานด้วย " เลอเกียรติ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงการเข้ามาร่วมงานในมหาวิทยาลัยมหานคร
" คนที่เป็นหมอก็อยากมีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง เราเป็นวิศวกร อยากมีบริษัท
ในขณะที่ เราเป็นวิศวกร และเป็นนักการศึกษาด้วย เราก็อยากมีมหาวิยาลัยเป็นของเราเอง
" สิทธิชัยพูดถึงในการลงทุนกับธุรกิจการศึกษาด้วยเงินลงทุน 200 ล้านบาท
สำหรับส่วนร่วมทุนอีกสองรายนั้น ชักชวนเข้ามาตามความสัมพันธ์ส่วนตัวที่สืบเนื่องตั้งแต่รุ่นพ่อ
สิทธิชัยจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ เมืองซิดนีย์
ออสเตรเลีย เมื่อปี 2516 โดยสอบได้เป็นที่หนึ่งของคณะซึ่งทำให้ได้รับข้อเสนอให้รับทุนจากมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียมากว่า
10 แห่ง แต่เขาเลือกรับทุนพิเศษของมหาวิทยาลัยเดิม เพี่อศึกษาปริญญาเอก ที่เรียกว่า
Dean's Scholarship ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ได้ยากที่สุดของมหาวิทยาลัย
หลังจากปริญญาเอกในสาขาวิชา solid state eletronics เมื่อปี 2519 สิทธิชัยกลับบ้าน
มาเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง
กว่า 12 ปี ที่เขามีประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยของรัฐ จนกระทั่งเขาดำรงตำแหน่งคณบดี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ เขาย่อมรู้ดีถึงข้อจำกัด และข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยของรัฐมากพอที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขและเป็นแนวทางในการบริหารมหาวิทบาลัยของตนเอง
ปี 2512 คือปีที่สิทธิชัย ก้าวออกมาจาการเป็นข้าราชการ โดยการตั้งวิทยาลัยเป็นของตนเอง
ตอนที่ตั้งมหาวิทยาลัยครั้งแรก เมื่อปี 2532 ซึ่งในตอนนั้นยังมีฐานะเป็นวิทยาลัยอยู่
เพิ่ง
จะได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐให้เป้นมาหวิทยาลัยในปีนี้เอง มีเพียงคณะเดียวคือคณะวิศวกรรมศาสตร์
หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ในปี 2535 จึงเปิดสอนคณะสัตวแพทย์อีกคณะหนึ่ง จนถึงปัจจุบันคงมีการเรียนการสอนเพียงสองคณะนี้เท่านั้น
และไม่มีนโยบายที่จะเปิดคณะใหม่เพิ่มขึ้นอีก ต่างมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งของรัฐและของเอกชน
โดยทั่วไป ที่พยายามขยายสาขาวิชาออกไปให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา
ในหลักการแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีคณะที่ขอเปิดไว้กับทางทบวงมหาวิทยาลัยครบตามเงื่อนไขของการที่จะมีสถานะเป็นมาหวิทยาลัยได้
แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ กก็มีเพียงสองคณะที่ว่านี้ ที่มีการเรียนการสอนจริง
ๆ
สิทธิชัย บอกว่า เขาต้องการให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ดำเนินงานในลักษณะ
" แคบแต่ลึก"
" เราจะเปิดแค่สองคณะนี้เท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกัน
คนอื่นปกติจะพยายามหาเหตุผลแต่เราไม่ปกติ" อธิการบดีหนุ่มใหญ่ที่จะมีอายุครบ
46 ปีเต็มในเดือนหน้านี้กล่าว
เหตุผลในการเปิดคณะสัตวแพทย์นั้น เดเนียล บรีน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่มีแต่ชื่อบอกว่า
ประเทศไทยยังขาดแคลนสัตว์แพทย์อีกมากทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครจึงเป้นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวและแห่งแรกในขณะทีเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์
แต่ทิศทางหลักของมหานครมีอยู่เพียงเดียวคือ การเป็นมหาวิทยาลัยทางวิศวกรรมศาสตร์
ตามความชำนาญของสิทธิชัย เขาบอกว่า " เราไม่เพียงแต่ตั้งมหาวิทยาลัย
แต่ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งทางด้านวิศวะด้วย"
คนที่รู้จักสิทธิชัย พูดถึงตัวตนของเขาว่า เป็นคนเก่ง กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็น
มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก มากจนภาพลักษณ์ในสายตาของคนที่มีโอกาสสัมผัสด้วยหลายคน
เห็นว่าเขาคือคนที่มี " เงาใหญ่กว่าตัว"
ด้วยบุคลิกเช่นนี้เอง จึงไม่น่าแปลกที่การบริหารงานทุกอย่างรวมศูนย์การตัดสินใจอยู่ที่เขาคนเดียว
ซึ่งอยู่ในสภาพมีเพียงคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นแกนหลักเพียงคณะเดียว ขอบเขตของการบริหารงานจึงไม่ยุ่งยาก
ซับซ้อน กล่าวไว้ว่ารากฐานที่วางไว้ และทิศทางในอนาคตของมหาวิทยาลัยอยู่ที่สิทธิชัยคนเดียว
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของมหานครก็อยู่ที่เขาคนเดียว
การพิจารณาคุณภาพของวิศวกรที่สถาบันการศึกษาผลิตออกมานั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย
เพราะการจะหวังพึ่งทบวงหมาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพคหกรรมศาสตร์
ก็อาจจะยาก เพระาทั้งสององค์กรพิจารณามาตรฐานจากหลักสูตรที่เปิดสอนและจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษาของแต่ละสถาบัน
ในความเป็นจริงแล้ว หลักสูตรเหล่านี้แทบจะลอกเลียนจากต้นฉบับเดียวกัน หรือแม้กระทั่งจำนวนอาจารย์เองก็ไม่ง่ายนักที่จะตรวจสอบว่า
ชื่อที่ปรากกฎในสถาบันต่าง ๆ ว่าเป็นอาจารย์ประจำ จะมาสอยเต็มเวลาจริง ๆ
หรือเปล่า
" มันไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก ถ้าหากจะมีนายทุนที่จะสร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์
เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะแค่หาอาจารย์ทีมีประสบการณ์ทางการศึกษา มาร่างหลักสูตร
จากนั้นจึงตามล่ารายชื่อลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นวิศวกร เข้าเป็นอาจารย์ประจำแต่เวลาสอนก็จ้างอาจารย์พิเศษที่ไม่มีเวลามาใส่ใจมากนักกับนักศึกษาให้มาสอน"
แหล่งข่าวในวงการการศึกษาท่าหนึ่งกล่าวกับ " ผู้จัดการ"
องค์กรที่จะสามารถชี้ชัดได้ว่าสถาบันใดที่ผลิตบุคลากรที่ดีได้ก็คือ บริษัทที่รับวิศวกรเหล่านั้ทำงาน
ปัจจุบันมหานครผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ออกไปแล้ว 2 รุ่น ประมาณ
1,000 คน ซึ่งในภาวการณ์ขาดแคลนวิศวกร แน่นอว่า ส่วนใหญ่จะมีงานทำ แต่การประเมินว่า
ส่วนใหญ่จะมีงานทำ แต่การประเมินคุณภาพของผลผลิตจากมหานครนั้น ระยะเวลาช่วงสั้น
ๆ เพียง 1-2 ปียังไม่อาจบอกได้ว่า คุณภาพเป็นอย่างไร
สิทธิชัย เคยกล่าวว่า " ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนที่จบเราจะต้องการันตรีได้ว่า
จะต้องสามารถทำงานได้ดี
ด้วยเหตุนี้ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มหานคร จึงใช้ระบบการวัดผลที่เรียกว่า
" เอฟ ตัดทิ้ง" หรือ การที่นักศึกษาสามารถรีเกรดด้วยการลงวิชาที่สอบตกใหม่แล้ว
วิชานั้นจะไม่ถูกนำมาคิดเกรดในใบทรานสคริปของนักศึกษาที่จบจะไม่ปรากฏเกรดเอฟเลย
" เด้กที่ผ่านวิชาใด ๆ ได้ก็คือ ผ่านจริง ๆ ผ่านไม่ได้ก็สอบตก ติดเอฟไป
แต่เราก็ให้โอกาสแก้ตัวใหม่ลงใหม่จนมีความสามารถที่จะผ่านได้ เรารับประกันว่าเด็กผ่านวิชานั้นเราะว่าเขาเข้าใจวิชานั้นดีพอ
เป็นผลดีกับอาจารย์ส่วนหนึ่ง ก็คือ ไม่มีการปล่อยให้เด็กผ่านด้วยเช่นกัน"
สิทธิชัย กล่าวถึงเหตุผลการใช้ระบบรีเกรดในมหาวิทยาลัย
ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรที่ผู้ปกครองจะสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่า จำนวนเงินร่วมสองแสนบาทที่ลงทุนส่งลูกหลานเข้ามาเรียน
จะเป็นการลงทุนที่คุ้มคา
สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นเครื่องวัดคุณภาพของการเรียนการสอนในมหานครก็คือ
การลงทุนทางด้านอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ เปรียบได้เช่นวัตถุในการผลิตวิศวกรออกสู่ตลาดแรงงาน
" ตอนนี้เรามีอาจารย์ประจำเกือบ 200 คน เราเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เรามีปัญหาเรื่องอาจารย์น้อยมาก
เพราะทุกอรทิยืจะมีอาจารยืมาสมัคร 3-4 คน " สิทธิชัย กล่าว
เหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้มหานคร ไม่มีปัญหาเรื่องอาจารย์คือ อัตราเงินเดือนนของอาจารย์ที่มาสอนให้มหานครนั้น
อยู่ในระดับสามารถแข่งขันได้กับภาคเอกชนอื่น ๆ โดยอาจารย์ทีมีวุฒิปริญญาตรีเงินเดือนระดับ
12,000-18,000 บาท ปริญญาโท 18,000-25,000 บาท และปริญญาเอก 30,000-40,000
บาท
คนที่กำหนดอัตราเงินเดือนคือสิทธิชัย
" ผมเชื่อว่า สำหรับปริญญาตรี เงินเดือนเราดีกว่าอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ
เพราะโดยเฉลี่ยอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่หนึ่งหมื่นห้าร้อยถึงหมื่นสองพันห้าร้อยบาท
อัตราเงินเดือนในระดับปริญญาโทเรา ก็ดีกว่า ปริญญาเอกเราอาจจะสุ้อุตสาหกรรมไม่ได้
แต่คนที่มาอยู่กับเราก็เป็นนักวิชาการอยู่แล้ว คนที่ต้องการหาเงินเยอะๆ ก็ไปทำงานกับอุตสาหกรรม"
อธิการบดี มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าว
การจัดการเรื่องเงินเดือน นับเป็นความโดดเด่นประการหนึ่งของการบริหารบุคคลของสิทธิชัย
นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่น่าสนใจก็คือ การสร้างอาจารย์ในระดับปริญญาโทขึ้นเอง
โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท และส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ปีละ 12 คน
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
แม้ว่าปริญญาโท มหานคร เริ่มมาได้เป็นปีที่สองแล้ว มีนักศึกษาประมาณ 20-30
คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการศึกษาฟรี แต่ก็ไม่ได้มีการเซ็นสัญญาผูกมัดให้กับอาจารย์สอนที่มหาวิทนยาลัยหลังจบการศึกษา
" การเรียนปริญญาโทของเราหนักมาก ถ้าคิดให้ได้กำไรต้องคิดหลายแสนบาทเลย
ซึ่งคงไม่มีใครมาเรียน ผมเชื่อในความภักดีของคน คนไหนที่ดูแล้วไม่ภักดี เราก็ไม่ส่งไป
เราก็เลือกเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าไม่เลือก ผมดูหน้าก่อน ถ้าไม่ชอบหน้าผมก็ไม่รับเป็นอาจารย์
ผมดูว่าน่าไว้ใจมั๊ย ผมว่าคนเราใช้เวลาดูกันสักสองสามนาทีก็พอ เราส่งเขาไปเรียนต่อค่าใช่จ่ายประมาณ
350,000 ต่อปีต่อคน ในระหว่างที่เรียนก็ยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ เราพยายามทำให้เขาสบายใจที่จะอยู่กับเรา
เรื่องอะไร เขาจะไปทำงานกับริษัทอื่น " อธิการบดี หมาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
กล่าวถึงวิธีบริหาร
บุคลากรหลักในมหาวิทยาลัย แห่งนี้ประกอบด้วย นักศึกษา 4,000 คน อาจารย์
200 คน จบการศึกษาระดับปริญญาโท 25-26 คน ปริญญาเอก 40-50 คน ที่เหลือเป็นระดับปริญญาตรีที่มีหน้าที่ในการคุมห้องปฏิบัติการเท่านั้น
อาจารย์ที่มีหน้าที่สอนจะสอนเพียงสัปดาห์ละประมาณ 5 ชั่วโมง เท่านั้น เพื่อว่าจะได้มีเวลาเหลือพอในการทำวิจัย
" ด้วยการพัฒนาอาจารย์ของเรา เราเชื่อว่าในสิบปี คุณภาพอาจารย์ของเราจะไม่ด้อยไปกว่าใครไม่ว่าสถาบันใดก็ตาม
เป็นมหาวิทยาลัย ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาอาจารย์ก็เป็นโรงเรียนประชาบาลนั่นเอง"
เนื่องจากสิทธิชัย สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
จึงเป้นการง่ายขึ้นที่จะมีการร่วมมือทางด้านวิชาการ และมีโครงการเปิดการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเป็นภาษาอังกฤษในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกับอิมพิเรียล คอลลเลจ อันเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่
และมีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ
"ภาษาอังกฤษ มันเป็นแฟชั่น เดี๋ยวไม่มีจะหาว่าห่วย เฮงซวย ก็เลยเปิดซะหน่อย
เราคิดว่า จะเปิดให้ดีเปิดให้ถูกต้อง แต่คงไม่ได้กำไรอะไร อาจจะขาดทุนด้วย
แต่คงจะมีเพราะเดี๋ยวนี้คนเห่อเรื่องการเป็นอินเตอร์เนชั่นแนล" สิทธิชัย
กล่าวถึงโครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาษาอังกฤษที่จะเปิดสอนเร็ว ๆ นี้ โดยมีรนักเรียนประมาณ
50 คน
การเติบโตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นั้นมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก
แม้กระทั่ง นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีโอกาสมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยกล่าวชมถึงการเติบโตอย่างมาก
และเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีเกินหน้ามหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง
การเติบโตของมหาวิทยาลัยนี้อาจเนื่องมาจากวาผู้บริหารไม่สามารถนำกำไรออกไปใช้กิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยได้เกิน
15% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ตามที่พระราชบัญญัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
ดังนั้นในช่วงเพียงครึ่งทศวรรษเท่านั้น พื้นที่ 20 ไร่ก็เริ่มคับแคบ เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับโครงการสร้างอาคารเก้าชั้นสองหลังเท่านั้น
" เรามาตั้งตรงนี้ เราะว่าที่ราคาถูกและบรรยากาศของหนองจอกสงบ ตอนตั้งตอนแรกใคร
ๆ บอกว่าเจ๊งทั้งนั้น เพราะว่ามันอยู่ไกล แต่ถึงขั้นนี้แล้ว ห้าปีที่แล้วตรงนี้ไม่มีอะไรเลย
ทุ่งนาหมาดรถเมล์ก็นาน ๆ มาที แต่เราก็อยู่ได้มา 5 ปี แล้ว และยังมีโครงการขยายต่อไปเรื่อย
ๆ " สิทธิชัย กล่าว
40% ของค่าใช้จ่ายมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร คือเงินที่จ่ายให้อาจารย์
40%-50% เป็นการใช้จ่ายในเรื่องการวิจัย ที่เหลืออีก 5% - 10% เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่เรียน
ด้วยอัตราส่วนการใช้จ่ายที่ให้กับอาจารย์ที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังให้ความสำคัญในเรื่องของงานวิจัย
จึงทำให้จำนวนอาจารย์ประจำที่หมาวิทยาลัย แห่งนี้มีมากว่ามหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งอื่น
" ทุกมหาวิทยาลัยก็ทำอย่างเราได้ อาจารย์ก็หาสิจ่ายมากขึ้น ทำบรรยากาศดี
ๆ อาจารย์ก็มาเองเขาจะยอมไหมที่จะกันเงินค่าหน่วยกิตที่รับมาจากนักศึกษา
เป็นเงินสำหรับอาจารย์เกือบหมด อาจารย์ระดับปริญญาโทของเรามีเงินเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ
28,000 บาท ผมกลัวแต่ว่า มหาวิทยาลัยอื่น เขาทำได้ แต่เขาไม่ทำ เขาคุ้นกับการที่จ่ายให้อาจารย์
5% สร้างตึก 10%
สิทธิชัย เป็นผู้บริหารและเจ้าของมหาวิทยาลัย เอกชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันการศึกษาเข้าเป็นสมาชิในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย
เหตุผลที่ว่า อาจจะทำให้ผู้บิรหารมหาวิทยาลัยเน้นที่การพยายามทำกำไรให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นพอใจ
อันจะส่งผลกระทบถึงนักศึกษา
" ผมไม่เห็นด้วยเลย กับความคิดนี้ สถาบันการศึกษาไม่น่าที่จะมาเน้นการทำกำไรกันมากมาย
เราอยุ่ได้โดยไม่เอาเปรียบสังคม " เขากล่าว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพิ่งจะมีอายุได้ 5 ปีเท่านั้น เป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินไป
สำหรับการเมินคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหาขาดแคลนวิศวกรทำให้ผู้จ้างงานไม่มีทางเลือก
แต่การลงทุนในเรื่องอาจารย์ผู้สอน ทั้งในแง่การสร้าง การให้โอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถ
การให้ผลตอบแทนของมหานคร นับได้ว่า เป็นการสร้างฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา
ที่จะส่งผลให้เห็นกันได้ในระยะยาว