ปุ๋ยแห่งชาติ:เกิดแน่แต่โตยาก


นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2537)



กลับสู่หน้าหลัก

ในที่สุด โครงการปุ๋ยแห่งชาติ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากไอเดียของแทรคโนแครต ในรัฐบาลชุดพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้ฤกษ์ลงเสาก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย หลังจากล้มลุกคลุกคลานมาถึง 12 ปี เพราะความไม่แน่นอนของนโยบาย แลความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม ที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น การเกิดนั้นพิสูจน์แล้วว่านกลำบาก แต่การเติบโตอาจจะยิ่งยาวกว่า

ความแช่มชื่นของเกษตรกรไทย ที่ได้มองเห็นผืนนาอันเขียวชะอุ่ม ต้นกล้าที่ชูรวงทองอันสดใสนั้น ไม่ได้เกิดมาจากน้ำฝนทีหลั่งไหลมาตามฤดูกาลหรือจากความขยันหมั่นเพียรของตัวเกษตรกรที่ต้องคอยประคบประหงมต้นกล้าให้แข็งแรง เท่านั้น กำลังสนับสนุนที่จะทำให้ต้นกล้าเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีผลผลิตเต็มตามพิกัดที่ต้องการ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

ปุ๋ย อาหารหลักของพืช นอกจากเป็นตัวนำมาซึ่งความเบิกบานใจของเกษตรกรไทยแล้ว ก็ยังนำมาซึ่งธุรกิจระดับหมื่นล้าน ที่มีอุณหภูมิการแข่งขันร้อนแรงไม่แพ้สินค้าประเภทอื่น และด้วยความเป็นสินค้าที่เป้นความต้องการพื้นฐานจองเกษตรกร ซึ่งหากเกิดปัญหาด้านราคา หรือขาดแคลนขึ้นแล้ว ก็ย่อมส่งผลให้มีความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าได้และในที่สุดก็จะจุดชนวนให้เกิดปัญหาการเมืองมได้ไมายาก

" โครงการปุ๋ยแห่งชาติ" จึงได้ถูกดำริขึ้นในช่วงปี 2524-2525 ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี อันเป้นสมัยของนักวิชาการ( technocrats) ประจวบเหมาะกับช่วงนั้น ประเทศไทยได้พบกับความช่วงโชติชัชวาลย์ เมื่อสามารถค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และเป็นที่มาของโครงการชายฝั่งทะเลตะวันออกในเวลาต่อมา ผลพลอยได้อันมากมายมหาศาลจาการผลิตก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแอมฃดมเนียไนเตรท หรือตัวอื่น ๆ ย่อมเป็นใบเบิกทางที่สำคัญ ที่จะทำให้โครงการปุ๋ยแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

โดยในขั้นแรกนั้น ได้มีการคัดเลือกกลุ่มบริษัทสแกนดิเนวียมาเจรจาเพื่อตั้งดรงงานปุ๋ยเคมี โดยได้แต่งตั้งให้จิรายุ อิศรากูร ณ อยุธยา เป็นประธานอนุกรรมการเจรจา แต่เค้าแห่งปัญหาที่ไม่รู้จักจบสิ้นของโครงการนี้ก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมานั้นไม่สามารถเจรจากับทางสแกนดิเนเวีย ได้สำเร็จ

การก่อตั้งบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด ในปี 2525 จึงเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งที่หวังจะมีองค์กรที่มาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่มิวายจะต้องประสบปัญหาอีกครั้ง เมื่อผู้ร่วมก่อตั้งหลายฝ่ายต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างว่า จะจัดตั้งองค์กรแห่งนี้ในรูปแบบไหนดี

โดยกระแสความคิดหนึ่งมองว่า หากจัดตั้งเป็นรูปรัฐวิสาหกิจแล้ว การสนองตอบต่อปัญหาเกษตรกรทั่วประเทศ น่าจะทำได้ทั่วถึงและเป็นธรรมกว่าในขณะที่ถ้าหากจัดตั้งเป้นบริกาทเอกชนแล้ว การทำงานก็จะคล้องตัวกว่า สามรถแข่งขันกับบริษัทเอกชนผู้นำเข้าปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ในที่สุดก็มีข้อยุติที่จะจัดตั้งในรูปของบริษัทเอกชน ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 50 ล้านบาท รัฐถือหุ้น 45% ในวงเงิน 22.5 ล้านบาท ในขณะที่ เอกชนถือ 55% วงเงิน 27.5 ล้านบาท

ประธานปุ๋ยแห่งชาติแรกเริ่มประเดิมจึงต้องเป็นคนของรัฐที่มีศํกยภาพสูง และกำลังมาแรงในช่วงนั้น ม.ร.ว. จัตุมงคล " หม่อมเต่า" แคนดิเดท ที่แรงที่สุดในช่วงนัน จึงต้องเข้ามารับหน้าเสื่อในโครงการนี้เป้นคนแรก

ต่อมาในกลางปี 2528 ทางกระทรวงการคลังก็ได้ช่วยเหลือโดยได้ทาบทามแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วยเหลือโครงการนี้ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการว่าจ้างบริษัทฟอสเตอร์ วิลเลอร์ ให้เป้นที่ปรึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจนถึงการประมูลการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งปรากฏผลว่ากลุ่มชิโยดะและมารูเบนนิ ร่วมกับกลุ่มมิตซุยและซิอิโตะ ได้ชนะการประมูลในวงเงิน 252 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกประมาณ 6,804 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่วงเงินที่เสนอมานี้ ต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดไว้เกือบ50% โดยราคากลางในตอนแรกกำหนดไว้ 538 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 14,526 ล้านบาท

แหล่งข่าวผู้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ มาตั้งแต่ต้น ให้ทัศนะว่า ด้วยเหตุที่ผู้รับเหมาก่อสร้างหลักเสนอวงเงินก่อสร้างมาต่ำกว่าราคากลางเป็นอย่างมาก และคณะกรรมการก็รับข้อเสนอให้ดำเนินการไปนั้น ถือเป็นความผิดบทแรก ๆ ของโครงการนี้ ซึ่งในที่สุด สัญญาที่เซ็นไว้กับผู้รับเหมาหลักในช่วงแรกนี้ ก็ล้มไปโดยปริยายในที่สุด เมื่อเกิดการพลิกผันของสถานการณ์ในช่วงต่อไป

แต่หลังจากที่มีการเซ้นสัญญากับผู้รับเหมาหลักรายแรกที่เข้ามาทำFครงการนี้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2528 ก็มีกระแสความขัดแย้งขึ้นอีก โดยมีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะพยายามขัดขวางไม่ให้มีการก่อสร้างโรงงานจขึ้น จนกระทั่ง เสนาะ อูนากูล เลขาธิการสภาพัฒน์ ในขณะนั้น ได้เชิญฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งกัน ให้มาพบปะเจรจากันเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2528 ที่โรงแรมอิมพิเรียล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

เนื่องจาก ฝ่าย ม.ร.ว. จตุมงคล ในฐานะประธานบริษัทที่มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า อย่างไรเสียโครงการนี้ก็ต้องเกิด และจะเริ่มมีกำไรในปีที่ 3 ก็มีกระแสความขัดแย้งขึ้นอีก โดยมีความพยายามหายฝ่ายที่จะพยายามขัดขวางไม่ให้มีการก่อสร้างโรงงานขึ้น จนกระทั่ง เสนาะ อูนากูล เลขาธิการสภาพัฒน์ ฯ ในขณะนั้น ได้เชิญฝ่ายต่าง ๆ ทีมีความขัดแย้งกัน ให้มาพบปะเจรจากันเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2528 ที่โรงแรมอิมพิเรียล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

เนื่องจาก ฝ่าย ม.ร.ว. จตุมงคล ในฐานะประธานบริษัท มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า อย่างไรเสียโครงการนี้ก็ต้องเกิด และจะเริ่มมีกำไรในปีที่ 3 แต่ทาง ฝ่ายบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( IFCT) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้กู้ต่อจากองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น (OECF) กลับมีความเห็นที่แตกต่างไปว่า โครงการนี้น่าจะมีจุดคุ้มทุนเริ่มได้ในปีที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางธนาคารกรุงเทพฯ ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของปุ๋ยแห่งชาติ รวมถึงไทยเซ็นทรัลเคมี ค่ายปุ๋ยรายใหญ่ในขณะนั้นและปัจจุบัน ก็มีความเห็นว่า โครงการนี้ไม่น่ามีความเป็นไปได้ จะขาดทุนตลอด ไม่มีโอกาสได้กำไร

ความแตกแยกทางด้านความคิดครั้งนี้ทำให้เริ่มมีความคิดว่า โครงการปุ๋ยแห่งชาตินี้น่าจะถูกขึ้นหิ้งไว้ก่อน รอจนกว่าสถานการณ์จะสุกงอมแล้ว จึงค่อยหยิบมาทำ

เพราะหลังจากนั้น กระแสการเมืองก็ได้มาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้มากขึ้น จนกระทั่งบีบให้ ม.ร.ว. จตุมงคล ต้องลาออกจากตำแหน่งไป เกษม จาติกวณิช เข้ามารับช่วงเป็นประธานคนที่ 2 แต่จนแล้วจนรอด เกษมก็ไม่สามารถทนต่อแรงบีบการเมืองที่รุกเร้ามาทุกทิศได้ ก็ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อเดือนตุลาคม 2529 โดยอยู่ในตำแหน่งนี้ได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น

แหล่งข่าวผู้เกี่ยวข้องกับปุ๋ยแห่งชาติรายเดิมกล่าวว่า ช่วงนั้นเกษมวุ่นวายใจเป็นที่สุด ทั้งนี้เพราะการเข้ามารับตำแหน่งประธานของปุ๋ยแห่งชาตินี้ ได้ รับการร้องขอจากสมหมายฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังในขณะนั้น ซึ่งเป็นที่เคารพรักใคร่อย่างสูงของเกษม ให้เข้ามาเป็นผู้สานต่อโครงการนี้ เพราะความเชื่อใจในความสามารถของเกษม ที่สามารถบริหารจนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลงานดีเยี่ยมแห่งหนึ่ง

" แต่แล้ว คุณเกษม ก็ต้องอกหักในที่สุด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งรัฐมนตรีการคลังจากสมหมายมาเป็นสุธี สิงห์เสน่ห์ ซึ่งได้ประกาศ มาก่อนหน้าว่า จะไม่สนับสนุนให้โครงการปุ๋ยแห่งชาติได้เกิดขึ้น ทำให้ช่วงนั้นคุณเกษมต้องซีดเซียว จนล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ ในเวลาต่อมา จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ถ้าหากมีใครจะไปขอให้คุณเกษมได้เล่าความหลังครั้งอยู่ปุ๋ยแห่งชาติแล้ว จะได้รับคำปฏิเสธตอบกลับมาทุกครั้ง เพราะคุณเกษมไม่อยากจะกลับไปหวนรำลึกถึงเรืองนี้อีกต่อไปเลย" แหล่งข่าวเล่าให้ฟัง ถึงปัญหาของประธาน โรงงานปุ๋ยแห่งชาติ คนที่ 2

ความผันแปรของนโยบายรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทที่จะเป็น กำลังสำคัญในการผลักดันโครงการปุ๋ยแห่งชาติอีกต่อไปนั้น ได้เมมากขึ้นในช่วงต่อมา ผนวกกับความผกผันด้านราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกที่ตกต่ำลงมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าเงินเยน แหล่งเงินกู้ของโครงการกลับแข็งขึ้น จากจุดนี้เองทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และระดับรองของโครงการนี้ เช่น การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย หรือ บริษัท ค้าปุ๋ยเอกชนไม่มีความแน่ใจว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ จึงได้มีการชะงักโครงการมาตลอด 5 ปีหลังจากที่เกษมได้ลาออกไป

ในระหว่างนั้น ได้มีการแต่งตั้งประธานใหม่ให้เข้ามาดูแลองค์กรนี้ คืออรัญ ธรรมโน แต่ก็ไม่มีการผลักดันให้องค์กรเดินหน้าต่อไป ในขณะที่ กระแสการเมืองได้เข้ามามีบทบาทในองค์กรนี้รุนแรงขึ้นอีก โดยได้พยายามเสนอแนวทางแก็ไขปัญหาด้วยการให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้นมากขึ้น ในอัตรา 49 หรือ70% แต่ด้วยสถานการณ์การเมืองที่พลิกผันในช่วงปี 2531-32 ทำให้โครงการต้องชะงัก จนไม่รู้ว่าโครงการนี้จะเริ่มต่อได้เมื่อไร

ช่วงต่อมาก็ได้มีการพยายามจะปลุกผีปุ๋ยแห่งชาติขึ้นมาจากหลุมอีกครั้งในปี 2532 ในช่วงที่พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกันนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งมนัส ลีวีระพันธ์ ให้มานั่งในตำแหน่งประธานปุ๋ยแห่งชาติเป็นคนที่ 4 โดยยังมีความพยายามเช่นเดิมที่จะทำ ให้องค์กรนี้เป็นรัฐวิสากิจ จนทำให้ผู้หุ้นหลายรายจากค่ายปุ๋ยต้องถอนตัวออกไป เช่นบริษัทเอเชียอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี เนื่องจากเบื่อหน่ายในนโยบายโลเลของรัฐบาล

ปี 2534 ดูจะเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ครั้งหนึ่งของปุ๋ยแห่งชาติ ในยุคที่บรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมกับประธานคนที่ 5 ของบริษัทคือปรีดี บุญยัง โดยในขั้นแรกนั้นได้มีการรผลัดกันให้ปุ๋ยแห่งชาติเพิ่มทุนจดทะเบียนให้มากขึ้น เพิ่มดำเนินการได้ทันที หรือไม่ก็ยุบเลิกโครงการเสีย แต่ก็เป็นเหมือนคลื่นกระทบฝั่งเช่นเดียวกับที่ผ่านมา

ความหวังดูจะสดใสเรืองรองขึ้นเมื่อมีการได้เจราจากับบริษัทผาแดง อินดัสตรี และบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ ( NPC) ให้เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนที่มากพอสมควรของปุ๋ยแห่งชาติ โดยผาแดงถือในอัตรา 24.4% และเอ็นพีซี ถือในอัตรา 5% โดยมีความหวังเป็นอย่างมาว่า ผลพลอยได้จากการผลิตของผู้ถือหุ้นใหม่ทั้ง 2 นี้คือกรดซัลผุริคจากผาแดง ในอัตรา 545,876 ตันและก๊าซไนโตรเจน จำนวน 856,220 ตันต่อปี จะเป็นแหล่งวัตถุหลักในการผลิตปุ๋ย

ความพลิกผันของโครงการปุ๋ยแห่งชาติ ยังมีต่อมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ยุคของนายอนันท์ ปัยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2535 ก็ได้มีมติให้ขายหุ้นทั้งหมดที่รัฐบาลบถืออยู่ให้กับผาแดง อินดัสตรี โดยอ้างว่า ต้องการให้เอกชนดำเนินการอย่างเต็มที่ ในขณะที่รัฐเอง ก็มีภาระที่ต้องแบกรับมากอยู่แล้ว แต่พอมาถึงช่วงที่ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2536 ก็ได้มีการกลับมติในสมัยอานันท์ทิ้งเสีย โดยไม่ให้ขายหุ้นให้กับผาแดง เพราะมองว่ารัฐต้องดูและเรื่องดังกล่าวถึงแม้ดครงการจะให้ผลตอบแทนต่ำก็ตาม

แต่เมื่อตกมาถึงพ.ศ.ปัจจุบัน ความวุ่นวายในองค์กรที่ชื่อว่า บริษัทปุ๋ยแห่งชาติก็ยังไม่สร่างซา เมื่อกาลเวลาผ่านไป แต่ยังหาอะไรที่เป็นแก่นสารไม่ได้กับโครงการนี้ ในขณะที่ ผาแดงฯ เองต้องประสบกับปัญหาภายในตัวเอง จนกระทั่งไม่สามารถเข้าไปแบกรับภาระที่ต้องเข้าไปอุ้มปุ๋ยแห่งชาตินี้ได้ต่อไป จึงได้เตรียมการจะขายหุ้นของตัวเองที่มีอยู่ 24.4% ออกมาเสีย โดยในขั้นแรกได้ให้กระทรวงการคลังเข้ามาแบกภาระไว้ 5% ก่อน โดยเหลือหุ้น ไว้เพียง 19.4% แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สถานการณ์ภายในของผาแดงฯ ให้ดีขึ้น

อะไรคือปัญหาภายในของผาแดง ฯ ที่หนักเสียจนต้องตัดส่วนย่อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอดไว้

ในอดีตทีผ่านมา เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมสังกะสี นับเป็นอุตสาหกรรมที่หอมหวนชวนลงทุนเป็นยิ่งนักราคาสังกะสีในตลาดโลก ในช่วงที่ดีสุดขีดนั้น เคยขึ้นไปสูงถึงเมตริกตันละ 2,000 เหรียญ ในขณะที่ ต้นทุนการผลิตของผาแดงต่ำเพียง 1,000 เหรียญ ตันเท่านั้น

ผาแดงฯ เป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่มีเงินสดหมุนเวียน โดยในปี 2535 มีมากถึง 1,289 ล้านบาท ทำให้การขยายการลงทุนใหม่ ไม่จำเป็นต้องให้เห็นฐานะอันมั่นคงที่พร้อมที่จะขยายการลงทุนใหม่ขึ้นมาได้ตลอดเวลา ผลการดำเนินการของผาแดง ฯ สามารถสร้างกำไรกลับคืนผู้ถือหุ้น ในรอบ 10 ปี เป็นจำนวนเงินถึง 3,700 ล้านบาท มองเข้าไปวงการหุ้นที่ผ่านมา ประดาเซียนหุ้นทั้งหลาย ต่างก็เคยยกย่องให้ผาแดงฯ เป็นหุ้นบูลชิพที่ต้องไม่คลาดสายตา เพราะราคาเคยขึ้นไปสูงสุดถึบกว่า 2,000 บาท

แต่ความหอมหวาน ดังว่า นี้ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว?

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น กับผาแดงฯ ในรอบปี ส่งผลให้เครดิตความเป็นบริษัททีมั่นคงลดฮาบลงไปทันที นับแต่ผลประกอบการของบริษัทได้ลดลงอย่างน่าใจหาย โดยลดลงจาก 2,485 ล้านบาท ลงมาเหลือเพียง 1,979 ล้านบาเท่านั้นในปี 2536 คือลดลงมากถึง 25% และกำไรสุทธิ ได้ลดลงจาก 725 ล้านบาท เหลือเพียง 215 ล้านบาท หรือลดลงมากถึง 23% สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ความตกต่ำทางด้านความต้องการสังกะสีทั่วโลก จนมีผลทำให้ราคาตกลงมาเหลือเฉลี่ยเพียง 960 เหรียญเท่านั้น

การประกาศล้มโครงการถลุงแร่ทองแดง ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มูลค่า 12,750 ล้านบาท ซึ่งผาแดงถือหุ้นอยู่ 51% ในนามบริษัทระยอง คอปเปอร์ อินดัสสตรี จำกัด รวมถึงการเลื่อนการดำเนินการของโรงถลุงแร่สังกะสี แห่งที่สองในนามบริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เมททัลส์ จำกัด ที่ผาแดงถือหุ้นอยุ่ 51% ซึ่งมีมูลค่าโครงการมากถึง 8,100 ล้านบาท เพราะบริษัทเอ็มจี ผู้ร่วมทุนเยอรมันประสบกับภาวะล้มละลายนั้น

ก็เป็นอีก2ปัจจัยที่ผาแดงต้องมีจุดตกต่ำเช่นทุกวันนี้

นอกจากโครงการของผาแดงฯ เผงที่ต้องประสบกับปัญหาแล้ว โครงการร่วมทุนระหว่างผาแดงฯ กับบริษัทพุงซาน จากเกาหลี ที่จะร่วมผลิตทองที่จะนำไปใช้ทำเหรียญกษาปณ์ ก็ประสบปัญหาเช่นกัน ในแง่ของยอดขายที่ไม่ตรงกับเป้าที่วางไว้ จนต้องชะลอโครงการ

ผู้สันทัดกรณีและใกล้ชิดกับผาแดงฯ เผยว่า ถือได้ว่าเป็นคราวเคราะห์ของผาแดงฯ เองที่ต้องมีวันนี้ ทั้งที่ผาแดงฯ มีมือบริหารที่ความสามารถซึ่งวงการยอมรับถึง 2 คน คือประวิทย์ คล่องวัฒนกิจ, อาสา สารสิน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ซึ่งปัจจุบันไปอยู่ธนาคารกรุงเทพ ทั้ง 3 ได้ช่วยกันผลักดันในผาแดงฯ มีอดีตที่โชติช่วงชัชวาลย์ดังกล่าว

แต่ก็ยังมีความเชื่อมั่นอย่างลึก ๆ ว่า ในวันข้างหน้าผาแดงฯจะต้องกลับมาผงาดอีกครั้งหนึ่ง

เพราะมีกระแสความคิดที่จะสรรหาทิศทางในการลงทุนโครงการใหม่จากผู้บริหารผาแดงฯ บ้างแล้ว ในขณะที่อุตสาหกรรมสังกะสี ซึ่งเป็นรากฐานของผาแดงฯ เองก็พร้อมจะฟื้นกลับมาได้ในอนาคต ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ผาแดงฯ คงต้องหวนคำนึงถึงการเข้าไปร่วมสังฆกรรมกับปุ๋ยแห่งชาติอีกครั้งแน่นอน

ก็ลองคิดดูว่า ปริมาณของนายโปรดักส์ที่เหลือจาการถลุงแร่สังกะสีคือเอมโมเนีย ซัลเฟต ที่ มหาศาลนั้น ทางผาแดงฯ จะเอาไปใช้ทำอุตสาหกรรมอะไรที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด ก็คงหนีไม่พ้นปุ๋ยอย่างแน่นอน เพราะฉธนั้นผาแดงฯ จึงยังคงหุ้นตัวเองไว้ 4% ไม่ได้ถอนตัวออกไปเสียทีเดียว

จากหุ้นที่เหลืออยู่ 19.4% ที่ผาแดงถืออยู่ จึงต้องมีการยักย้ายถ่ายเทให้ผู้ถือหุ้นรายอื่น ที่มีศักยภาพพอจะรับได้ ซึ่งถ้าทอดสายตาไป ก็คงมีแต่เพียงการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( ปตท) และธนาคารออมสินเท่านั้น ที่จะเข้ามารับหน้าเสื่ออันนี้ ได้ ดังนั้นหลังจากเจรจาที่ใช้เวลาไม่นาน ปตท.ก็ตกลงในหลักการที่จะเข้ามาถือหุ้นมากขึ้นหลังจากที่มีการเพิ่มทุนจากเดิม 650 ล้านบาท เป็น 3,000ล้านบาท โดยจะถือหุ้นเพิ่มจากเม12% เป็น 25% คิดเป็นจำนวนเงิน 900 ล้านบาท ในขณะที่ธนาคารออมสินจะเข้ามาถือหุ้นเพิ่มจากเดิม 10% เป็น 17% อันจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นรวมของรัฐและรัฐวิสาหกิจมีเพิ่มขึ้นเป็น 48%

ในส่วนของปตท.ที่ต้องเข้ามารแบกภาระของปุ๋ยแห่งชาติมากขึ้นนี้ แม้ว่าจะกระอักกระอ่วนใจอยู่บ้านในขั้นแรก แต่ผลประกอบการของปุ๋ยแห่งชาติปัจจุบันที่ได้กระเตื้องขึ้นพอสมควร แล้วโดยในครึ่งปีแรกของปี 2537 นี้ปุ๋ยแห่งชาติมียอดจำหน่ายถึง 600 ล้านบาท จากการนำปุ๋ยต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย สูงกว่าผลประกอบการในช่วงเดียวกัน ของปี 2536 ถึง 700% โดยเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะส่งผลให้กำไรถึง 10 ล้านบาท หลังที่ต้องประสบภาวะขาดทุนมาตลอด โดยในปี 2535 รายได้ของบริษัทมีเพียง 64.51% ล้านบาทเท่านั้น ลดลงกว่า 80% จากปี 2534

สิ่งเหล่านี้ทำให้ปตท. เริ่มมีความหวังว่า ถ้าหากได้เข้าไปลักดันทำให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้นจริงจังแล้ว นอกจากข้อดีที่ปตท.หวังไว้ในขั้นแรกว่า โครงการปุ๋ยแห่งชาติจะเป็นแหล่งรองรับผลพลอยได้จากากรผลิตแก๊สของปตท.แล้ว ยอดขายที่เป็นกอบเป็นกำจะช่วยเกื้อหนุนสถานะกิจการของปตท.ไปในตัวด้วย

แต่จะเป็นจริงได้ดังหวังหรือไม่นั้น ก็อยุ่ที่ว่าในปัจจุบันโครงการปุ๋ยแห่งชาติก้าวหน้าไปขั้นไหน

ณัฐ จามรมาน กรรมการผู้จัดการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาได้มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทมิตซุย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ชิปบิลดิ้ง จำกัด บริษัทฮุนได เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทอิโตซุ คอร์ปอรเรชั่น จำกัด เข้ามาร่วมเป็นคอนซอร์เตียมเพื่อการก่อสร้างโรงงานปุ๋ยแห่งชาติ โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 28 เดือน ในวงเงิน 8,800 ล้านบาท โดยได้มอบหมายให้มิตซุยฯ ดูแลการก่อสร้างโรงงานเป็นหลัก ในขณะที่ฮุนไดและอิโตซู จะดูแลส่วนประกอบอื่น เช่น โกดัง คอนเวย์เยอร์ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในสิ้นปีนี้ เมื่อมีการวางเงินมัดจำ 10% ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงว้า ทางปุ๋ยแห่งชาติได้เซ้นสัญญากับสถาบันการเงินผู้สนับสนุนโครงการแล้วในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยได้มีการเจรจากับแบงก์ต่าง ๆ ไว้บ้างแล้ว เช่นธนาคารไทยพาณิชย์ กรุงไทย กสิกรกไทย และไอเซฟซีที

" ขณะนี้เราเริ่มทำเข็มเทสต์โครงการนี้ไปแล้ว ในเดือนตุลาคม เราก็จะเริ่มขนย้ายคนเข้าไปทำงานได้ทันที โดยเราได้ให้ฟอสเตอร์ มิลลเอร์ บริษัทที่ปรึกษาที่เราติดต่อมาก่อนหน้าให้เป็นที่ปรึกษาโครงการเช่นเดิม และให้ซิตี้แบงก์เป็นทีปรึกษาทางด้านการเงิน จนถึงขณะนี้เราเชื่อมั่นว่างบประมาณ ที่ตั้ง ไว้คงไม่บานปลายอย่างแน่นอน แต่อาจจะติดขัดบ้างในเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งเรากำลังต่อรองอยู่กับทางแบงก์ผู้สนับสนุนโครงการให้ลดลาวาศอกลงมาบ้าง" ณัฐ กล่าว

ดังนั้น จนถึงขณะนี้ ณัฐจึงค่อนข้างมั่นใจว่า ประเภทที่ว่าโรงงานปุ๋ยแห่งชาติจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องพูดต่อไปอีกแล้ว แต่สิ่งที่ณัฐเป็นห่วงมาก คือการสานต่อโครงการให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตสู่ท้องตลาดที่ต้องมีคุณภาพสูง สามารถเปิดช่องทางให้ปุ๋ยแห่งชาติได้เข้าไปมีสัดส่วนทางการตลาดแข่งกับคู่แข่ง ได้อย่างเต็มที่

ทางด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีคุณภาพสูง ในช่วงแรกของการผลิตปุ๋ยด้วยตัวเองนี้ ทางปุ๋ยแห่งชาติจะผลิตปุ๋ยเชิงเดี่ยวก่อนเป็นการประเดิม โดยจะเริ่มจากปุ๋ยแอมโมเนียซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธาตุไนโตรเจน (N) และจะตามมาด้วยปุ๋ยNP ซึ่งจะเป็นส่วนผสมระหว่างธาตุไนโตรเจน และฟอสพอรัส ซึ่งฟอสฟอรัสนี้ เริ่มมีแนวโน้มว่าสามารถจะผลิตได้ในประเทศบ้างแล้ว แต่ก็มีไม่มากนัก และจะตามมาด้วยปุ๋ย NPK ซึ่งจะครบสูตรของปุ๋ยสมบูรณ์แบบ โดยในส่วนของ K โปตัสเซียม หรือโปแตช นั้น ในขณะนี้โครงการอาเซียนโปแตชในไทย ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของประเทศในอาเซียน ก็เดินหน้าไปมากพอสมควรแล้ว

เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยสูตรผสมนี้ แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในวงการปุ๋ยให้ความเห็นว่า ถ้าหากปุ๋ยแห่งชาติคิดจะปุ๋ยสูตรนี้แล้ว งบประมาณที่มี่อยู่น้อยนิดเพียง 8,800 นี่ย่อมไม่เพียงพออย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านขึ้นไป และเมื่อปุ๋ยแห่งชาติขาดผู้สนับสนุนทางด้านวัตถุดิบรายสำคัญไปคือ ผาแดง ฯ แม้ว่าจะมีปตท. เข้ามาเป็นกองทุนหนุนอยู่ก็ตาม แต่ผลพลอยได้จากปตท. ส่วนใหญ่จะเป็นแอมโมเนียซัสเฟส หรือยูเรีย ที่อาจจะหาจากที่อื่นมาทดแทนได้ค่อนข้างง่าย แต่ผลพลอยได้จากผาแดงจะเป็นกรด sulphuric acid ซึ่งเหมาะมากที่จะทำมาเป็นฟอสฟูริค หรือ ตัว p ของปุ๋ยค่อนข้างจะหายากจากที่อื่น

" แต่ด้วยเหตุที่นโยบายของรัฐตั้งเป้าไว้ว่า อย่างไรเสียปุ๋ยแห่งชาติก็จะต้องเกิด เขาจึงต้องผลักดันให้โรงงานปุ๋ยเกิดขึ้นมาให้ได้ก่อน หากมีปัญหาว่าผลิตได้ไม่ครบตามสูตรที่ตั้งไว้ ก็ไว้แก้กันในอนาคต ก็คงเหมือนกับฟิลิปปินส์ ที่โรงงานฟิลล์ฟอลส์ ซึ่งเป็นโรงงานปุ๋ยแห่งชาติของเขาเหมือนกัน ที่ต้องประสบปัญหาขาดทุนอยู่จนทุกวันนี้ แต่ก็ต้องทนต่อไป" นอกจากนั้นแล้ว แหล่งข่าวจากค่ายปุ๋ยชั้นนำในตลาดยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า เป้าหมายของปุ๋ยแห่งชาติตั้งไว้ว่า จะต้องผลิตปุ๋ยให้ได้ถึง 1 ล้านตัน ได้มีการเตรียมการเรื่องสต็อคที่เก็บ รวมถึงคาดการณ์ด้านผลผลิตทางการเกษตร ต่อปี ให้สอดคล้องกับปุ๋ยที่จะผลิตออกมาหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยแห่งชาติ นอกจากจะมีความภาคภูมิใจกับเป้าหมาย 1 ล้านตันที่ต้องผลิตให้ได้แล้ว สูตรอาหารที่ปุ๋ยแห่งชาติเป็นผู้คิดค้นก็คือ 28-28-0 ดูจะเป็นความเชื่อมั่นอีกประการหนึ่งว่า จะสามารถเป็นจุดขายสำคัญที่จะโน้มน้าวเกษตรกรให้หันมาสนใจได้ โยปุ๋ยแห่งชาติย้ำหนักแน่นว่า ด้วยสูตรดังว่านี้ ผู้ซื้อจะได้สูตรอาหารสูงกว่าสูตรยอดนิยม 16-20-2 ที่จะมีธาตุอาหารเพียง 36% ในขณะที่สูตรใหม่จะมี ธาตุอาหารมากถึง 56%

" เราต้องเน้นให้เขาเห็นคุณค่าที่คุณซื้อนั้นเป็นธาตุอาหารนะ ไม่ใช่แบบค่ายอื่นที่เขาเติมฟิลเลอร์ เข้าไปให้เต็ม สูตรนี้เราทำร่วมกับกรมส่งเสริมเกษตรทำไปแล้วประมาณ 200 แปลง ยังมีอีก 156 แปลง ที่จะต้องทำเร็ว ๆ นี้ ซึ่งหากจะเปรียบเทียบราคาแล้วจะพบว่า ปุ๋ยสุตรใหม่นี้ก็ไม่ได้แพงกว่าสูตรเก่ามากนัก โดยสูตรใหม่ถุงละ 280 บาท ในขณะที่สูตรเก่าขายถุงละ 230 บาท" ณัฐ ยังเผยด้วยว่า ปุ๋ยสูตรใหม่นี้จะใช้เพียง 17 กิโลกรัม ต่อไร่ก็ได้ทีแล้ว ซึ่งหากเป็นปุ๋ยสูตรยอดนิยมจะต้องใช้มากถึง 25 กิโลกรัม ต่อไร่

ผู้เชี่ยวชาญ ในวงการปุ๋ยรายเดิม ให้ทัศนะถึงกลยุทธ์สูตรใหม่ของปุ๋ยแห่งชาติว่า ปุ๋ยประเภทนี้ผู้ที่นำไปใช้จะต้องมีความรู้ทางด้านเกษตรกรรมดีพอสมควร โดยต้องรู้จักวิธีใช้ให้คุ้มค่า ไม่จำเป็นต้องให้มาก เพราะจะเกิดการสูญเปล่า

" ที่ปุ๋ยแห่งชาติ จะโปรโมทปุ๋ย 28-28-0 ของเขานั้น ก็ไม่รู้ว่าจะโปรโมทไปทำไม เพราะมีปุ๋ยผลิตออกมาไม่กี่หมื่นตันเท่านั้น คงเป็นการสร้างตราเสียมากว่า นอกจากนั้นปุ๋ยหมื่นกว่าตันนั้น ก็เป็นปุ๋ยที่ตกค้างมาจากปีที่แล้วเสียด้วย " ผู้เชี่ยวชาญรายที่ว่า วิพากษ์ปุ๋ยแห่งชาติ

กลยุทธ์ที่เน้นเป็นจุดขายอีกจุดหนึ่งของปุ๋ยแห่งชาติก็คือ การใช้ถุงปุ๋ยแบบเย็บที่สามารถดึงออกมาได้ และมีข้อดีเด่นก็คือ ใช้วิธีเย็บด้วยความร้อนสามารถเห็นเม็ดข้างในได้ เพื่อให้ผู้ซื้อไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเจอการปลอมปน ซึ่งที่ผ่านมาทำให้ภาพพจน์สินค้าปุ๋ยเสียไปอย่างมาก

สิ่งที่จะเน้นเป็นพิเศษอีกประการ คือ เนื่องจากปุ๋ยแห่งชาติเป็นบริษัทที่เกิดด้วยความร่วมมือนอกจากภาครัฐและสถาบันธุรกิจเอกชนต่าง ๆ แล้ว ยังรวมถึงค่ายปุ๋ยอีก 62 ราย ซึ่งค่ายเหล่านี้พร้อมเสมอที่จะเป็นลูกค้าปุ๋ยแห่งชาติ ซึ่งณัฐเผยว่า พร้อมจะใช้ศักยภาพของโรงงานที่จะก่อตั้งในอนาคต นำมาผลิตปุ๋ยสูตรยอดนิยมส่งให้กับผู้ถือหุ้นได้ ด้วยการใช้เวลาไม่มากนัก หรืออาจจะผลิตปุ๋ย ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรเข้มข้นส่งให้กับค่ายปุ๋ยใด ๆ ที่ต้องการก็ได้

อย่างไรก็ณัฐ ก็จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ปกป้องส่วนแบ่งของตนเอาไว้ ดังนั้นปุ๋ยแห่งชาติจะไม่ยอมผลิตปุ๋ยสูตรเฉพาะ 28-28-0 ให้กับค่าเสียใดที่เรียกร้องเข้ามาอย่างแน่นอน

ทางด้านศักยภาพการตลาด ที่จะส่งให้องค์กรใดมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ระบบการจัดจำหน่ายที่ดีดูจะเป็นไม้ตายที่จะทำให้องค์กรนี้มีชัยไปกว่าครึ่งเนื่องด้วยประสบการณ์รัฐที่เคยทำงานกับชลประทานซิเมนต์มาเกือบ 10 ปี ก่อนหน้าจะมาอยู่ที่ผาแดงฯ อีก 12 ปี แล้วจึงถูกส่งตัวให้มารับงานที่ปุ๋ยแห่งชาติ ทำให้เขามีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงเกี่ยวกับช่องทางจัดจำหน่าย

ดังนั้นระบบการจัดจำหน่ายของปุ๋ยแห่งชาติ ณัฐจึงพยายามจะทำให้เหมือนกับบริษัทปุ๋ยทั่ว ๆ ไป ทุกประการ แต่พยายามจะให้มีจุดเด่นที่จะเจาะเข้าขายสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ เป็นสำคัญ เน้นการขนส่งไปถึงลูกค้าทุกรูปแบบ ทั้งทางเรือ รถไฟ และรถยนต์ โดยได้มีการตั้งเป้าหมายไว้ว่า อย่างน้อยเมื่อโรงงานปุ๋ยแห่งชาติเปิดได้ภายในปี 2540 จะต้องมีดีลเลอร์อยุ่ในมือของปุ๋ยแหงชาติประมาณ 200 ราย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีดีลเลอรือยู่ในยความควบคุมของปุ๋ยแห่งชาติแล้วเพียง 70 รายก็ตาม

การที่ดิลเลอร์อยู่มากเท่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ปุ๋ยแห่งชาติจำเป็นต้องมีมาตรการรักษาดีลเลอร์ให้อยุ่กับตัวเองให้นานที่สุด แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เหลือวิสัยที่องค์การปุ๋ยแห่งชาติ ซึ่งไม่ใช่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีข้อจำกัดด้านความคล่องตัว และข้อสำคัญคือไม่สามารถใช้กลวิธีทางการตลาด ( Marketing Tactics) ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดราคา ซึ่งดูจะเป็นข้อห้ามสำคัญหากคิดจะดำรงองค์กร ท่า ที่จะเอาสินค้าเข้าสู่ตลาดให้ได้ รวมถึงการตัดราคา หากมีความจำเป็นจะต้องทำ ผมก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ผมก็ไม่ได้ขาย ส่วนเรื่องอทธิพลหนุนหลังค่ายปุ๋ยบางราย ที่จะปิดกั้นการเติบโตของเรานั้น เราเชื่อว่าอยู่ทีเกษตรกรมากกว่า และด้วยชื่อของปุ๋ยแห่งชาติ คงเป็นตรารับประกันที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเราไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว" ณัฐ เผยด้วยว่า นอกจากกระบวนการทางการตลาดโดยตรงแล้ว ทางปุ๋ยแห่งชาติยังได้เตรียมการส่งเสริมการขายทางอ้อม ด้วยการจัดงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพดินให้ดีขึ้นด้วยการจัด " รถคลีนิคดิน" ออกไปให้บริการกับเกษตรทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีแล้ว 2 คัน และจะเพิ่มอีกในช่วงต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปุ๋ยแห่งชาติจะมีความคิดที่จะเร่งระดมสรรพกลยุทธ์ ที่จะหาญหักกับค่ายใหญ่ในตลาดมากน้อยเพียงใด แต่ความเป็นห่วงของณัฐ ที่จะปลักดันให้ปุ่ยแห่งชาติสามารถยืนหยัดและแข่งขันกับค่ายใหญ่ในตลาด ก็ยังเป็นสัจจะธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านศักยภาพแห่งชาติที่จะพยายามเจาะ " ไข่แดง" ประดาดีลเลอร์สำคับของค่ายผู้ใหญ่ในวงการปุ๋ย อย่างเช่นไทยเซ็นทรัลเคมี เกษตรรุ่งเรือง ส่งเสริมการเกษตรไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน เพราะเครือข่ายใยแมงมุมที่แต่ละค่ายสร้างกันมานับเป็นสิบปีนั้น ความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะให้ผู้มาใหม่ ซึ่งแม้จะมีภาพพจน์แห่งชาติ เข้ามาเกี้ยวเอาไปเป็นดีลเลอร์ให้ปุ๋ยแห่งชาติได้ง่ายๆ

ตัวอย่างเช่นไทยเซ็นทรัลเคมี ในเครือของศรีกรุงวัฒนา ซึ่งถือได้ว่า เป็นค่ายใหญ่ในวงการ ซึ่งมีสัดส่วนในตลาดปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 40% และมีดีลเลอร์ที่อยุ่ในมือประมาณ 500 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นดีลเลอร์ที่มีความ " ภักดี" ( Loyalty) ต่อไทยเซ็นทรัลเคมีไม่ต่ำกว่า 200 ราย โดยดีลเลอร์เหล่านี้จะรับแต่ปุ๋ยจากเซ็นทรัลมาขายเท่านั้น แม้ว่าในรูปแบบของตลาดเสรีปัจจุบันจะเปิดโอกาสให้รับของรายอื่นมาขายได้ด้วยก็ตาม

ทั้งนี้เป็นเพราะไทยเซ็นทรัลเคมี พร้อมจะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดทุกรูปแบบเช่นเดียวกัน ไม่ว่า จะเป็นการจัดรางวัลชิงโชค การตัดราคาแข่งกับเจ้าอื่น โดยเฉาะอย่างยิ่งระดับบริหารชั้นสูงอย่างประเสริฐตั้งตรงศักดิ์ ที่ประกาศตัวเองเป็น " พ่อค้า" มาตลอดระยะเวลาที่ค้าปุ๋ยมากว่า 20 ปี ดังนั้นจึงพร้อมจะลงไปลุยในทุกปัญหาที่มีเข้ามา พร้อมกันนั้นประเสริฐยังมีมือขวาทีมีความสามารถจนเป็นที่ขึ้นชื่อในวงการอย่างไพบูลย์ รัตนาภรณ์ชัย ซึ่งช่วยกันเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ด้วยเครือข่ายของไทยเซ็นทรัล เคมี ที่มีบริษัทลูกมากถึง 12 บริษัท ที่มีสินค้าปุ๋ยครบทุกประเภท ตั้งแต่ปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยน้ำ บริการที่มีให้ครบทุกขั้นตอน หรือแม้แต่บริการเสริมทีมีเช่นเดียวกับปุ๋ยแห่งชาติ นั่นก็คือ การวิจัยและพัฒนานั้น ก็ได้มีการจัดตั้งบริษัทเซ็นทรัลเคมีวิจัยพัฒนา จำกัด ซึ่งจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อวิจัยและตรวจสอบคุณภาพเนื้อดินที่เหมาะจะใช้ในการเกษตรแต่ละประเภทให้กับลูกค้าเกษตรกร หรือสถาบันภาครัฐ และหรือภาคเอกชนต่าง ๆ ที่ร้องขอมา โดยก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้าน บาท บริษัทแห่งนี้ยังได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอด้วย ได้เริ่มมีการทำนาแปลงสาธิตแถวปราจีนบุรี ใช้ที่ดินประมาณ 100 กว่าไร่

ด้วยเครือข่ายที่เพียบพร้อมซึ่งมีสมรรถภาพเพียงพอจะผลิตปุ๋ยใช้เองได้นี้เอง เมื่อผาแดงฯ ต้องถอนตัวออกจากปุ๋ยแห่งชาติไป ไทยเซ็นทรัลเคมีก็เป็นค่ายหนึ่งที่เข้าตากรรมการ และได้มีการชักชวนให้เข้ามาแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่นี้ด้วย แต่ไทยเซ็นทรัลเคมีต้องปฏิเสธไป เพราะแม้จะมองเห็นลางๆ ว่า ปุ๋ยแหงชาติ จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่ยังไม่เห็นลุ่ทางว่า ปุ๋ยแห่งชาติจะสามารถผลิตปุ๋ยเชิงผสมด้วยเงินทุน หรือโรงงานเท่าทีมีอยู่นี้ได้อย่างไร

ซึ่งปัจจุบันทางไทยเซ็นทรัลเคมี ก็มีโครงการที่จะเข้าไปร่วมทุนกับทางคาโปแลกตัม เพื่อนำบายโปรดักส์ คือแอมโมเนียซัลเฟต มาใช้ผสมเป็นปุ๋ยของตัวเองต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีการเจรจากันในเร็ว ๆ นี้

" อันที่จริง ไทยเซ็นทรัลเคมีเขาก็ประสบปัญหาด้านยอดขายบ้างในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา การที่เหลือปุ๋ยค้างปี ไปขายปีต่อไปนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่ไทยเซ็นทรัลเคมีประสบมาตลอด ทำให้เขามีความระมัดระวังตัวในการเข้าไปร่วมลงทุนกับค่ายอื่นพอสมควร เพราะเขารู้ดีถึงหลักการลงทุนในอุตสาหกรรมปุ๋ยว่า จะลงทุนแต่น้อยไม่ได้ อย่างน้อยต้องเป็นหม่นล้านขึ้นไป" ผู้ทีคลุกคลีในธุรกิจค้าปุ๋ยรายหนึ่งกล่าว

นอกจาการขยายตัวของไทยเซ็นทรัลเคมี แล้วค่ายอื่นอย่างเช่นเกษตรกรุ่งเรือง หรือส่งเสริมเกษตรไทย ต่างก็เตรียมปกป้องดีลเลอร์ของตนอย่างเต็มที่เช่นกัน ถึงแม้ว่าโดยศักยภาพของทั้ง 2 ค่าย จะไม่สามารถใช้วิธีส่งเสริมการขายได้เท่าเทียมกับทางไทยเซ็นทรัลเคมี แต่จะเป็นเครื่องปิดกั้นที่ทำให้ปุ๋ยแห่งชาติเข้ามามีสัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้นไม่ง่ายนักไปด้วย

โดยเฉพาะความหวังที่ปุ๋ยแห่งชาติจะใช้โอกาสของตนที่มีผู้ถืหุ้นประกอบด้วยผุ้ค้าปุ๋ยกว่า 60 รายมาเป็นแขนขา ในการกระจายปุ๋ยตนเองออกไปนั้น ในภาวะตลาดปกตินั้น ก็ไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใด แต่หากดเป็นในช่วงที่ตลาดมีการขันสูง แขนขาเหล่านั้นจะต้องช่วยเหลือตัวเอง ด้วยนการโ)รโมทสินค้าของตนให้ขายได้ก่อนอย่างแน่อน

กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ปุ๋ยแหงชาติหวั่นเกรงกันมากที่สุดคือ แผนการสกัดกั้นของผุ้ค้าปุ๋ยรายอื่น ด้วยการเติมสต็อคปุ๋ยแก่ตัวแทนจำหน่าย จนไม่สามารถเก็บสต็อคของปุ๋ยยี่ห้ออื่นได้ ซึ่งกลวิธีเหล่านี้แม้ว่าณัฐ จะรู้ซาบซึ้งก็ตาม แต่ด้วยศักยภาพปัจจุบัน อันจำกัดของปุ๋ยแห่งชาติ คงทำอะไรไม่ได้มากมาย

" อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะพบกับความยากลำบากในการทำตลาดค่อนข้างมากก็ตาม แต่เราก็ภูมใจว่า ปุ๋ยแห่งชาตินี้จะเป็นผู้ regulate ราคาปุ๋ยภายในประเทศ ถ้าปุ๋ยขึ้นราคาอย่างผิดสังเกตในอนาคต ถ้าหากผมไม่ขึ้น ดูซิว่าจะมีใครกล้าขึ้นและถ้าหากผมลง จะมีใครตามผมหรือไม่ " ณัฐ กล่าวในที่สุด

โครงการปุ๋ยแห่งชาติ ที่ล้มลุกคลุกคลานมาถึง 12 ปี บัดนี้ได้ฤกษ์ที่จะก่อกำเนิดอย่างแน่นอนแล้ว โดยสาเหตุที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นนั้นเพื่อสนองคำสั่งที่ว่า " นโยบายอยุ่เหนือเหตุผล" โดยไม่สนใจว่าโรงงานจะเกิดได้จริงหรือไม่ หรือเพื่อสนองความนึกคิดของนักวิชาการรุ่นแรกที่ไม่ต้องการให้ตนเองต้องเสียหน้า เหล่านี้ล้วนไม่ใช่สิ่งสำคัญ

แต่ข้อสำคัญก็คือ ในตลาดปุ๋ยที่พื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว ถูกยึดครองไว้ด้วนเครือข่ายของของธุรกิจค้าปุ๋ยเอกชนรายใหญ่ ๆ ไว้เกือบหมดแล้ว ประสบการณ์ในการค้าปุ๋ยและกลยุทธ์ต่าง ๆ ต้องนับว่าผู้มาใหม่อย่างปุ๋ยแห่งชาติ ตกเป็นรองอยู่หลายช่วงตัว บางทีการเกิดอาจจะขลุกขลัก ทุลักทุเล กินเวลายาวนานกว่าทศวรรษ แต่การเติบโตอาจ จะเหน็ดเหนื่อยยากลำบากกว่าก็ได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.