ตันศรี ดาโต๊ะ มูฮัมหมัด บิน ฮัจยี มูฮัมหมัด ตาอีฟ (TAN SRI DATO MUHAMMAD
BIN HAJI MUHAMMAD TAIB) ประมุขแห่งรัฐเซลังงอร์ (CHIEF MINISTER OF SELANGOR
STATE) ประเทศมาเลเซีย ในฐานะรัฐเจ้าของที่ดินสำหรับเมืองใหม่ปุตราจายา เป็นผู้ลงนามในข้อสัญญาเพื่อใช้ที่ดินในการสร้างเมืองใหม่กับรัฐบาลกลาง
ความคิดริเริ่มในการสร้างเมืองปุตราจายา เพื่อเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางบริหารของรัฐบาลกลางมาเลเซียเกิดจากอะไร
เราต้องการเมืองหลวงที่แท้จริง เหมือนกับหลาย ๆ ประเทศ อย่างออสเตรเลีย
แอฟริกา ที่มีการแยกชัดเจนว่าจะกำหนดให้เมืองใดเป็นเมือง เกษตร เมืองศาสนา
เมืองอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงแบบผสม หรือเมืองหลวงทางการค้า เราต้องแบ่งให้ชัด
เมืองปุตราจายาจะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหลวงแห่งการบริหาร
(THE ADMINISTRATER CAPITAL) ประกอบด้วยกระทรวงต่าง ๆ อย่างเซลังงอร์มี SHAH
ALAM เป็นหลวงของรัฐ ส่วนกัวลาลัมเปอร์ก็เป็นเมืองหลวงของรัฐบาลประเทศมาเลเซียในขณะนี้
ในครั้งนี้รัฐบาลกลางต้องจ่ายเงินค่าที่ดินให้กับรัฐเซลังงอร์ เหมือนเมื่อครั้งสร้างเมืองกัวลาลัมเปอร์หรือไม่
ไม่เหมือนกัน คราวก่อนเป็นการเทคโอเวอร์กัวลาลัมเปอร์ รัฐบาลกลางจ่ายเงินให้กับรัฐเซลังงอร์จำนวนหลายพันล้านริงกิต
(1 ริงกิต ประมาณ 10 บาท) เป็นค่าที่ดินด้วยการผ่อนชำระเป็นเวลา 7 ปี แล้วกัวลาลัมเปอร์ก็กลายเป็นลิขสิทธิ์ของรัฐบาลกลาง
ส่วนที่ดินที่จะสร้างเมืองปุตราจายาจำนวน 4,400 เฮกเตอร์ (27,500 ไร่)
ที่ทำสัญญาเพื่อสร้างเมืองกับรัฐบาลกลาง ยังคงเป็นของรัฐเซลังงอร์ โดยรัฐบาลกลางไม่ต้องจ่ายเงินกับรัฐเซลังงอร์
และรัฐบาลเซลังงอร์ยังเป็นผู้จ่ายค่าเวนคืนที่ดินไปแล้วจำนวน 700 ล้านริงกิจ
( 7 พันล้านบาท) ให้กับเจ้าของที่ดินเดิม
พื้นที่ตั้งเมืองปุตราจายา เป็นลักษณะไข่แดงล้อมรอบด้วยพื้นที่ของรัฐเซลังงอร์จำนวน
11,000 เฮกเตอร์ (68,750 ไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่สวนปาล์มที่รัฐเซลังงอร์มีการวางแผนที่จะพัฒนาไปพร้อม
ๆ กับปุตราจายา เช่น ในรูปของที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมรีสอร์ต ในส่วนนี้รัฐเซลังงอร์ก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง
เพื่อให้การสนับสนุนการทำงานกับรัฐบาลกลางโดยเชื่อว่าการร่วมกันพัฒนาอย่างเต็มที่จะทำให้พื้นที่นับแต่กัวลาลัมเปอร์
ผ่านปุตราจายา ถึงสนามบินเป็นเมืองขนาดใหญ่เหมือนโยโกฮาม่ากับโตเกียว อย่างไรก็ดี
ตอนนี้ทั้งเมืองยังมีแต่ต้นไม้ไม่มีเมือง แต่ต่อไปทุกอย่างจะเกิดขึ้น
ปุตราจายาจะมีอะไรเป็นจุดเด่น
การที่เราใช้เงินถึง 2 หมื่นล้านริงกิต (2 แสนล้านบาท) เพราะเราต้องการเมืองหลวงที่เป็น
SUPER CAPITAL และสวยงาม เราต้องการทุก ๆ อย่างในอนาคต นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์
และจะทำให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)
รัฐเซลังงอร์จะเป็นเจ้าของปุตราจายาหรือไม่
เราไม่รู้ ขณะนี้ไม่มีอะไรมาก แต่ที่แล้วมาเราได้เซ็นสัญญาว่าที่ดินเป็นของรัฐบาลเซลังงอร์
เราไม่คิดว่าจะมีปัญหา เพราะเรามองไปข้างหน้า เราต้องการหลีกปัญหา
ปุตราจายาเป็นเมืองที่เรามีความตั้งใจกับมันมากที่สุด ต้องการให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
เพราะตอนนี้ในเมืองคุณภาพชีวิตด้อยลง ไม่มีที่ให้เด็กวิ่งเล่น การสร้างสิ่งดี
ๆ จะทำให้คุณภาพในอนาคตดีขึ้น จะได้มีผู้นำที่ดี ดังนั้นเราต้องมีความภูมิใจในการพัฒนาครั้งนี้
เพราะเราได้ประสบการณ์จากเมืองอื่น ๆ แล้ว
เรียกว่าปัญหาของเราในวันนี้ จะเป็นการวางแผนที่ดีสำหรับอนาคต
การพัฒนาเมืองใหม่ครั้งนี้มีการร่วมมือกับต่างประเทศบ้างหรือไม่ หรือทำกันเองเฉพาะหน่วยงานในประเทศมาเลเซีย
เรามีบริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศ 6 ราย ที่ร่วมกันคิดออกมาเป็นไอเดียนี้
เราไม่จำเป็นต้องให้ต่างชาติเข้ามาช่วย เพราะเราสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง
ในลักษณะที่เรียกว่า "จากมาเลเซีย เพื่อมาเลเซีย โดยมาเลเซีย"
อีกอย่างต่างชาติอาจคิดราคาสูง และคนมาเลเซียก็ทำอะไรได้มากมาย
ถ้าปุตราจายาเติบโตขึ้นมากแล้วรัฐเซลังงอร์จะเป็นอิสระแก่ตัวเองหรือไม่
คำตอบนี้อ่อนไหว (SENSITIVE) มาก ที่จริงแล้วเราได้ให้กัวลาลัมเปอร์กับรัฐบาลกลางไปครั้งหนึ่งแล้ว
ปุตราจายาเองก็ให้กับรัฐบาลเหมือนกัน แต่จะไม่เป็นแบบเดิมอีก คือจะไม่ให้อีกเพราะชาวเซลังงอร์รู้สึกสูญเสียไปมากแล้วปุตราจายาก็จะยังคงเป็นของเซลังงอร์ด้วย
เงินที่เราจ่ายให้ประชากรในพื้นที่ 800-2000 คน จะเป็นในลักษณะจ่ายเงินชดเชยตามราคาประเมินที่ดินของรัฐ
หรือถ้าเกี่ยวกับการทำงานก็จะถูกย้ายให้ไปทำที่อื่น ให้ไปอยู่อีกที่ที่รัฐหาให้
ด้วยการพูดและตกลงกันดี ๆ ถ้าบริเวณรอบนอกพื้นที่เจ้าของที่ดินก็ยังคงมีสิทธิ์ทำในสิ่งที่ตนต้องการ
แต่ถ้าในพื้นที่ต้องทำตามแผน
ยังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนอีกหรือไม่
เราซื้อทุกอย่างครบแล้ว ทุกคนก็เห็นด้วย ไม่มีปัญหา และต่างเฝ้าดูการเติบโต
ชาวบ้านแถวนั้นมีความสุขมาก
ราคาที่ดินขึ้นสูงมาก
แน่นอน เมื่อก่อน 6,000 ริงกิต (6 หมื่นบาท) ต่อ 3 เฮกเตอร์ (ประมาณ 19
ไร่) เดี๋ยวนี้ 1 เฮกเตอร์ (ประมาณ 6 ไร่) ขายได้ 150,000 ริงกิต (1 ล้าน
5 แสนบาท) ราคาขึ้นไปสักสองสามร้อยเปอร์เซ็นต์ได้
คุณจะมีหน้าที่อะไรเมื่อปุตราจายาแล้วเสร็จ
ผมก็ยังคงอยู่ SHAH ALAM ตำแหน่งเดิมใครก็ตามที่ทำงานที่นี่ ถ้าเขายังอยู่ในตำแหน่งเขาก็อยู่ที่เดิม
ทุก ๆ 5 ปีจะมีการเลือกนายก ผมอยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 1986 (พ.ศ. 2529)
5 ปีเลือกตั้งใหม่ 1 ครั้ง
คาดหวังอย่างไรต่อนาคตของเซลังงอร์
เรามั่นใจว่าเราจะเป็นรัฐที่พัฒนาแล้วในปี 2005 เมื่อก่อนเราตั้งใจจะใช้เวลาอีก
15 ปี แต่รุดหน้าไปก่อนที่ตั้งไว้ เรามั่นใจว่าการพัฒนาครั้งนี้จะทำให้มีอุตสาหกรรมของชาติถึง
40% เข้ามาตั้งอยู่ที่เซลังงอร์
คิดว่าการก่อสร้างทั้ง 2 เฟส จะเสร็จตามกำหนดหรือไม่
เราวางไว้ปี 2005 เราจะเป็นรัฐแนวหน้าของประเทศมาเลเซีย
มีคนเรียกร้องว่าบางรัฐไม่ได้รับการดูแล จะทำอย่างไร
ให้เขาย้ายมาอยู่รัฐเซรังงอร์ มาสร้างตัวที่นี่
ทำไมต้องเป็นเซลังงอร์
เพราะมีทุกสิ่งพร้อมในเซลังงอร์ นักธุรกิจ ทำเลที่ตั้งใกล้กัวลาลัมเปอร์ซึ่งก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของเซลังงอร์
และเพราะผมอยู่เซลังงอร์ ผมต้องการเห็นเซลังงอร์ก้าวหน้า
รัฐอื่นจะได้รับการพัฒนาเหมือนกับเซลังงอร์ไหม
แน่นอน ทุก ๆ รัฐมีการเคลื่อนไหวเร็วมาก ต่างอยากจะพัฒนามีการเข้ามาคุยกับเรา
ผมเชื่อว่ารัฐรอบ ๆ ต้องได้รับการขยายอย่างน้อยก็เพราะผลการเจริญเติบโตของเซลังงอร์
ก็ในเรื่องของที่อยู่อาศัย เซลังงอร์จะเป็นเมโทรโพลิเทน เมืองรอบ ๆ ก็จะมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนกันเป็นซูเปอร์สเตท
คาดว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในอนาคตได้บ้าง
ไม่มีอะไร เราก็เหมือนประเทศไทย ใฝ่หาแต่ความสงบ
ในสายตาของคุณ คุณมองประเทศไทยอย่างไร
ประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบมาก ส่วนเรื่องรถติด ผมคิดว่าต้องให้มีความเจริญกระจายออกไปรอบนอกเมืองเพื่อบรรเทาความหนาแน่นในเมือง